WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, September 28, 2011

สังคมสงฆ์และพุทธศาสนา มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ที่มา ประชาไท

ผมพูดในรายการ “ปอกเปลือกข่าว” (ทางสปริงนิวส์ ศุกร์ที่ 23 กันยายน ที่ผ่านมา) ว่า “ถ้ายกเลิกระบบสมณศักดิ์ได้จะดีที่สุด เพราะระบบสมณศักดิ์เป็นระบบศักดินาพระที่เป็นมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์” แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลาทำให้อธิบายเหตุผลไม่ละเอียดพอ จึงอยากนำมาเขียนเพื่อแลกเปลี่ยนถกเถียงกันต่อไป

สังเกตไหมครับ เวลาที่พระหรือนักวิชาการชาวพุทธพูดถึงแนวคิดทางสังคมการเมืองของพุทธศาสนา มักจะยกตัวอย่างว่า พระพุทธเจ้าสร้างสังคมสงฆ์ขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างจาก สังคมระบบชนชั้นแบบกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ของศาสนาพราหมณ์ ระบบสังคมสงฆ์เป็นระบบสังคมในอุดมคติที่มีเสรีภาพ และความเสมอภาค เป็นแบบอย่างของสังคมที่มีความเป็นประชาธิปไตย
แต่คำถามคือ ข้ออ้างดังกล่าวจะมีความหมายอะไร ในเมื่อความเป็นจริงคือ สังคมสงฆ์ปัจจุบันมีระบบสมณศักดิ์หรือระบบศักดินาพระอันเป็นมรดกสมบูรณาญา สิทธิราชย์ และโครงสร้างการปกครองของสงฆ์ปัจจุบันก็เป็นโครงสร้างตามกฎหมายเผด็จการคือ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ที่ตราขึ้นในสมัยเผด็จการจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ฉะนั้น ระบบของสังคมสงฆ์ปัจจุบัน จึงเป็นมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์บวกระบบเผด็จการที่เป็นมรดกยุคสฤษดิ์ ซึ่งระบบเช่นนี้ขัดแย้งโดยพื้นฐานกับโครงสร้างสังคมสงฆ์ที่พระพุทธเจ้ากำหนด ขึ้นตามพระธรรมวินัย
โครงสร้างของสังคมสงฆ์ตามพระธรรมวินัยนั้น พระสงฆ์เสมอภาคกันภายใต้พระธรรมวินัย หมายความว่า พระทุกรูปได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามพระธรรมวินัย และเมื่อประพฤติผิดพระธรรมวินัยก็ได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคภายใต้ มาตรฐานเดียวกัน ได้รับพุทธานุอนุญาตให้ครอบครองไตรจีวรและอัฐบริขารเท่าที่จำเป็นเสมอกัน หากได้รับบริจาคส่วนเกิน เช่นรับบริจาคจีวรเกินกว่าที่มีสิทธิ์ครอบครอง ก็ต้องมอบส่วนเกินนั้นให้เป็นของสงฆ์หรือของส่วนรวม ประชาคมสงฆ์สามารถพิจารณาให้สมาชิกของสงฆ์รูปอื่นซึ่งขาดแคลนนำของส่วนรวม นั้นไปใช้ประโยชน์ได้ ภายใต้เงื่อนไขที่ยุติธรรมแก่พระทุกรูปอย่างเท่าเทียม
สังคมสงฆ์แบบพุทธกาลไม่มีฐานันดร (จะว่าไปพระพุทธเจ้าคือผู้สละฐานันดรมาเป็นสามัญชน แต่พระสงฆ์ปัจจุบัน มีพื้นเพมาจากชนชั้นล่าง แต่พยายามไต่เต้าขึ้นไปสู่ความมีฐานันดร) การแสดงความเคารพต่อกันถืออาวุโสทางพรรษา (บวชก่อน-หลัง) แต่การยกย่องให้มีบทบาทสำคัญ เช่น เป็นพระอัครสาวก เป็นเอตทัคคะ (เป็นเลิศ) ในด้านต่างๆ พิจารณาจากความสามารถ ไม่ได้พิจารณาจากลำดับอาวุโส เช่น พระสารีบุตร กับพระโมคคัลลานะ บวชทีหลังพระปัญจวัคคีย์ แต่ได้รับแต่งตั้งเป็นอัครสาวกซ้าย-ขวา ตามความสามารถของท่านทั้งสอง เป็นต้น
แต่โครงสร้างการปกครองสงฆ์ปัจจุบัน การขึ้นสู่ตำแหน่งการปกครองสงฆ์ระดับสูง เช่น เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม หรือเป็นพระสังฆราช ต้องเป็นไปตามลำดับอาวุโสด้านสมณศักดิ์ ทำให้พระหนุ่มๆ ที่มีความรู้ความสามารถไม่มีโอกาสเข้ามาบริหารงานคณะสงฆ์ อีกทั้งโครงสร้างของมหาเถรสมาคมก็เป็นโครงสร้างการบริหารแบบรวบอำนาจ หรือเป็นเผด็จการตาม พ.ร.บ.ที่ออกในยุคสฤษดิ์ดังกล่าวแล้ว นี่ยังไม่รวมถึงการวิ่งเต้นเรื่องสมณศักดิ์ที่มีการ “จ่ายเงินใต้โต๊ะ” ดังที่เป็นข่าว (และไม่เป็นข่าว) ซึ่งนับวันจะกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดามากขึ้นในวงการสงฆ์ ทำให้เกิดปัญหาว่า พระที่วิ่งเต้นใช้จ่ายเงินใต้โต๊ะเพื่อให้ถูกเสนอชื่อเลื่อนสมณศักดิ์นั้น ถือว่า “ต้องอาบัติปาราชิก” ขาดจากความเป็นพระหรือไม่ หากถือว่าต้องอาบัติปาราชิก ชาวบ้านจะแน่ใจได้อย่างไรว่าพระที่มีสมณศักดิ์ที่กราบไหว้กันอยู่นั้น ได้สมณศักดิ์นั้นๆ มาด้วยการจ่ายเงินใต้โต๊ะหรือไม่
ที่จริงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ก็มีคณะสงฆ์ฝ่ายก้าวหน้าที่เรียกตัวเองว่า “คณะปฏิสังขรณ์” พยายามเคลื่อนไหวให้มี พ.ร.บ.ปกครองสงฆ์ที่เป็นประชาธิปไตยให้สอดคล้องกับทางบ้านเมือง มีการเข้าพบ นายปรีดี พนมยงค์ ที่บ้านป้อมเพ็ชร จนในที่สุดทำให้เกิด พ.ร.บ.การปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ที่มีโครงสร้างการปกครองสงฆ์แบบประชาธิปไตย คือมีสังฆสภา และสังฆมนตรีคล้ายๆ กับคณะรัฐมนตรีทางบ้านเมือง แต่ต่อมา พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวก็ถูกฉีกทิ้งในยุคสฤษดิ์
ว่ากันว่าเหตุผลที่ต้องฉีก พ.ร.บ.ดังกล่าวทิ้ง เนื่องจากวันหนึ่งจอมพลสฤษดิ์ได้ไปฟัง (บ้างว่าแอบฟังอยู่หน้าประตูห้องประชุม) การประชุมสังฆสภา เห็นบรรยากาศพระถกเถียงกันเหมือนบรรยากาศในสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เขาเห็นว่าไม่น่าเลื่อมใส จึงต้องฉีก พ.ร.บ.นั้นทิ้งไป แต่นั่นเป็นวิธีคิดของเผด็จการที่อย่างไรก็รับไม่ได้กับบรรยากาศความเป็น ประชาธิปไตยอยู่แล้ว ที่สำคัญเขาต้องการคุมคณะสงฆ์ให้ได้ เช่น ไม่อยากให้พระสอนธรรมะเรื่อง “สันโดษ” เพราะเห็นว่าขัดกับนโยบายพัฒนาประเทศ พระก็ต้องไม่สอน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การกระทำของสฤษดิ์ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะในเมื่อเขาเป็นเผด็จการ เขาก็ต้องทำของเขาแบบนั้นอยู่แล้ว แต่การที่พระสงฆ์และชาวพุทธที่มักอ้างว่า “พระพุทธเจ้าสร้างสังคมสงฆ์ให้เป็นสังคมที่มีเสรีภาพ (วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบกันได้) มีความเสมอภาคเป็นแบบอย่างของความเป็นประชาธิปไตย” กลับยังยึดมั่นระบบสมณศักดิ์อย่างเหนียวแน่น และยอมรับกฎหมายเผด็จการจวบปัจจุบันนี่ต่างหากที่เป็นเรื่องแปลกอย่างไม่อาจ อธิบายได้
จริงๆ แล้ว หากย้อนไปถึงหลักการที่แท้จริงของพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่ระบบสมณศักดิ์และ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับเผด็จการเท่านั้น ที่พระสงฆ์และชาวพุทธพึงปฏิเสธ แม้แต่ “คติทศพิธราชธรรม” พระสงฆ์และชาวพุทธก็ควรยืนยันให้ชัดเจนตามหลักการที่แท้จริงของพุทธศาสนา ด้วย
เพราะทศพิธราชธรรม พระพุทธเจ้าตรัสสอนในบริบทของการปฏิเสธระบบชนชั้นแบบกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ท่านยืนยันว่ากษัตริย์ไม่ได้ถูกพระเจ้าสร้างมา หรือให้มีอำนาจแบบเทวสิทธิ์มาปกครองประชาชน แต่กษัตริย์ถูกประชาชนสมมติหรือแต่งตั้งขึ้น และการเป็นกษัตริย์ที่ดีต้องมีทศพิธราชธรรม ซึ่งการมีทศพิธราชธรรมนั้นต้องวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้ เพราะหากวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบไม่ได้ จะรู้ได้อย่างไรว่ามีทศพิธราชธรรมอย่างบริบูรณ์ไม่บกพร่องอย่างที่สรรเสริญ กัน (อย่าลืมว่าในแง่ความบริสุทธิ์โปร่งใสตามพระธรรมวินัย พระพุทธเจ้าก็เรียกร้องให้ชาวพุทธตรวจสอบพระองค์ได้ อย่างที่เปรียบเทียบว่า “ทองแท้ไม่กลัวไฟ” หรือ “มือที่ไม่มีบาดแผลจุ่มลงไปในหม้อยาพิษก็ไม่เป็นไร”)
คำถามคือว่า เวลาคณะสงฆ์หรือชาวพุทธพูดถึงความมั่นคงของพุทธศาสนาในบริบทโลกปัจจุบัน คณะสงฆ์หรือชาวพุทธตั้งโจทย์กันอย่างไร? ความมั่นคงของพุทธศาสนาหมายถึงความมั่นคงของระบบสมณศักดิ์ใช่ไหม หมายถึงความมั่นคงของโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์ตาม พ.ร.บ.เผด็จการ 2505 ใช่ไหม ความมั่นคงของพุทธศาสนาต้องขึ้นต่อความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ หรือขึ้นต่ออุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์เท่านั้นใช่หรือไม่
หรือว่าความมั่นคงของพุทธศาสนาจำเป็นต้องสร้างสังคมสงฆ์ตามพระธรรม วินัยที่มีเสรีภาพและความเสมอภาคให้เป็นจริง เป็นสังคมสงฆ์ที่เป็นอิสระจากอำนาจรัฐให้มากที่สุด สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในเชิงจริยธรรมได้ เป็นสังคมสงฆ์ที่เป็นของประชาชน มีความสามารถตอบสนองต่อการแก้ทุกข์ของปัจเจกบุคคลและสังคม ปรับตัวเข้ากับยุคสมัยได้ดี มีความเป็นประชาธิปไตย พระสงฆ์เปิดกว้างทางความคิด รับฟังและเรียนรู้เท่าเท่าความคิดสมัยใหม่มากขึ้น ชาวบ้านเข้ามาตรวจสอบดูแล อุปถัมภ์ค้ำชูด้วยศรัทธา หากเขาเห็นว่าการมีอยู่ของคณะสงฆ์ และพุทธศาสนาเป็นประโยชน์ต่อสังคม
โดยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แล้ว พุทธศาสนาอยู่มาได้เพราะสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อปัญหาสังคมได้ในระดับที่ สังคมในยุคนั้นๆ ยอมรับ ซึ่งหมายความว่าความมั่นของของพุทธศาสนาอยู่ที่พุทธศาสนาเกิดประโยชน์ต่อ สังคมอย่างสมสมัย ฉะนั้น ความมั่นคงของพุทธศาสนาในปัจจุบันและอนาคตก็จำเป็นต้องตอบโจทย์ด้วยเช่นกัน ว่าพุทธศาสนาจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมปัจจุบันและอนาคตในแง่ไหน อย่างไร
แต่หากยังติดอยู่ใน “กับดัก” ของอุดมการณ์หรือจิตสำนึกแบบพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ทำงานผ่านโครง สร้างสังคมสงฆ์ภายใต้ระบบสมณศักดิ์และ พ.ร.บ.เผด็จการ พ.ศ.2505 ภายใต้กับดักเช่นนี้ รังแต่จะทำให้สถาบันสงฆ์ และบทบาทการชี้นำทางศีลธรรมของพุทธศาสนาโดยรวมอ่อนแอลงเรื่อยๆ!