WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 1, 2011

จุลสิงห์ วสันตสิงห์ เคลียร์ปมไม่ฎีกา คดีเลี่ยงภาษีหุุ้น"ชินคอร์ป"...ตัดสินไม่ได้มองชื่อคน

ที่มา มติชน


มติชน 30 กันยายน 2554

หมายเหตุ - นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด (อสส.) ให้สัมภาษณ์และตอบคำถามถึงเหตุผลที่ไม่ฎีกาคดีการหลีกเลี่ยงภาษีหุ้น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือชินคอร์ป ภายหลังนายถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) พร้อมทีมกฎหมาย ปชป. เข้ายื่นหนังสือถึงนายจุลสิงห์ เพื่อขอสำเนาเอกสารคดีดังกล่าว เมื่อวันที่ 29 กันยายน

นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ เปิดประเด็นว่า ผมพร้อมให้ความร่วมมือกับคณะทำงานพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า ความเห็นทางกฎหมายแตกต่างกันได้ และถ้าได้พูดจาทำความเข้าใจกันแล้วทำให้เกิดความปรองดองได้ โดยการขอสำเนาเอกสารต่างๆ นั้นไม่ขัดข้อง และจะให้คำตอบได้ภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งคงไม่ช้าเกินไป เพราะในวันที่ 5 ตุลาคมนี้ คณะกรรมาธิการองค์กรอิสระของวุฒิสภาได้เชิญไปชี้แจงและให้เหตุผลถึงคำสั่ง ไม่ฎีกาคดีภาษีหุ้นชินคอร์ปในประเด็นที่หลายคนยังสงสัยอยู่ พร้อมจะไปชี้แจงเพื่อแสดงความบริสุทธิ์และความโปร่งใส

- คำพิพากษาศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ต่างกัน เหตุใดคดีนี้จึงไม่ให้ศาลฎีกาตัดสิน

ปัญหาข้อกฎหมายแตกต่างกัน ทำไมศาลมี 3 ศาล ทำไมไม่มีศาลฎีกาศาลเดียวแล้วจบไปเลย เอาศาลอุทธรณ์ไปทิ้งไว้ไหน ถ้าทุกอย่างจะต้องไปศาลฎีกาหมด จะมีศาลอุทธรณ์ไว้ทำไม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 255 พนักงานอัยการมีดุลพินิจอิสระในการพิจารณาสั่งคดี และการปฏิบัติหน้าที่ ความเห็นหยุดที่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ก็มี แต่ยอมรับว่าบางเรื่องคดีสำคัญต้องไปที่ศาลฎีกา

- ให้ความมั่นใจกับสังคมได้หรือไม่ว่า ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญเพื่อส่วนรวมไม่ใช่ปกป้องใคร

แน่นอน และเป็นความชอบธรรมของ ปชป.ที่จะสงสัย

- คดีนี้ไม่ใช่มีคำพิพากษาที่แย้งกันระหว่างศาลอุทธรณ์กับศาลชั้นต้น แต่ยังมีความเห็นของอธิบดีศาลและความเห็นที่เป็นมติของคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ให้อัยการยื่นฎีกาในคดีนี้

อธิบดีศาลเห็นพ้องกับผม ส่วนที่เห็นว่าโทษของนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ไม่ควรมีการบรรเทาโทษนั้น ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาศาลชั้นต้นลงโทษ ศาลอุทธรณ์ลงโทษ เพียงแต่รอหรือไม่รอ อัยการไม่ฎีกาก็ตกไป

- เพราะอัยการไม่ฎีกาจึงตกไปทำให้เกิดข้อสงสัยว่าอัยการตัดตอนกระบวนการยุติธรรมหรือไม่

หน่วยงานที่รับรองความเป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ คือ ศาลกับอัยการ ทำไมจึงไม่สงสัยศาลอุทธรณ์บ้าง กล้าว่าหรือไม่ ทำไมศาลอุทธรณ์ตัดสินไม่ถูกต้อง มีใครกล้าพูดบ้าง สำนักงานอัยการก็รับรองความเป็นอิสระเหมือนกันทำไมถึงพูดถึงแต่อัยการ ผมก็อ่านยึดคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นหลักและก็เห็นพ้องด้วย

- ถ้าคดีนี้จำเลยไม่ใช่คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ อดีตภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะตัดสินคดีในลักษณะนี้หรือไม่

การตัดสินไม่ได้ มองชื่อคน ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจำเลยจะชื่อใดทั้งสิ้น ทุกอย่างเป็นไปตามการพิจารณาของอัยการทุกขั้นตอน ไม่มีการเร่งรัด มีคณะทำงานพิจารณาตามสายงาน ดุลพินิจในการสั่งคดีที่เป็นลายลักษณ์อักษรของผมยึดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เป็นหลัก

- การสั่งไม่ฎีกาคดีภาษีหุ้นคาบเกี่ยวกับการสั่งไม่ฟ้องนายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จึงถูกมองว่าอัยการเปลี่ยนไปตามการเมือง

คดีนายนพดล อัยการสูงสุดเร่งสอบถามพยานชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นคณะทำงานของคณะกรรมการมรดกโลก (ยูเนสโก) ไปยังประเทศฝรั่งเศสถึง 3 ครั้ง แต่ช่วงเวลาตรงกันพอดี ซึ่งผมมีหน้าที่อธิบายให้ประชาชนเข้าใจและหายสงสัย โดยคดีดังกล่าวความเห็นของชาวฝรั่งเศสถือเป็นหลักฐานสำคัญในคดี และเป็นพยานที่ตรงประเด็นมากที่สุด ซึ่งเมื่อส่งความเห็นมาอัยการก็มีหน้าที่ส่งความให้ ป.ป.ช.พิจารณา แต่การพิจารณาว่าช้าหรือเร็วในการตอบกลับมานั้น อัยการไม่สามารถควบคุมได้ การที่อัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง แต่ ป.ป.ช.เห็นต่างและมอบหมายให้สภาทนายความยื่นฟ้องเองก็ถือเป็นกระบวนการตาม หลักกฎหมายที่ทำได้

- สิ่งที่ตัดสินใจเป็นการทำลายศรัทธาประชาชนที่มีต่อองค์กรอัยการหรือไม่

อัยการเวลาจะสั่งคดีต้องถามใครหรือไม่ ผมจะสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง อุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ต้องถามใคร และประชาชนศรัทธาอะไร ศรัทธาในความเป็นอิสระของอัยการใช่หรือไม่ เวลาสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ต้องไปถามรัฐบาล ฝ่ายค้าน หรือจำเลยหรือไม่ ในเมื่อรัฐธรรมนูญรับประกันความเป็นอิสระ เราหวงแหนเราก็ได้มาแล้ว ศรัทธาของประชาชนหมายถึงอัยการสูงสุดต้องฎีกาทุกเรื่องหรืออย่างไร

หลังวันที่ 5 ตุลาคม จะอ่านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้ฟัง คำพิพากษาวางหลักกฎหมายได้ดีที่สุดแล้ว เพราะฉะนั้นเมื่ออ่านคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์แล้วหักล้างเหตุผลของศาลชั้นต้น ก็เป็นสิ่งที่อัยการจะฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ เหตุผลที่นำมาพิจารณาไม่มีอะไรที่นอกสำนวน แค่เปิดคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ แล้วพิจารณาว่า พอใจเหตุผลของศาลอุทธรณ์ที่ตัดสินหรือไม่

ในยามที่บ้านเมืองมีสองฝักสองฝ่าย ถ้าสั่งไปในทางที่ฝ่ายหนึ่งพอใจ ฝ่ายที่สองก็อยากจะถอดถอน ผมเคยถูกทั้งสองฝ่ายต่อว่า ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดคือความเป็นกลาง ใครที่ทำไม่ดีก็ต้องออกจากองค์กรนี้ไป ผมจะรักษาไว้ซึ่งความเป็นอิสระและเที่ยงธรรม ถ้ามีใครบอกว่าคดีใดวิ่งเต้นได้ก็แจ้งมา จะดำเนินการให้ คดีอาญาหรือกระบวนการยุติธรรมมีธงไม่ได้ว่าเรื่องนี้อยากให้ฟ้อง อยากอุทธรณ์ ฎีกา การจะฟ้องต้องดูสำนวนการสอบสวน การจะอุทธรณ์ต้องดูคำพิพากษาศาลชั้นต้น การจะฎีกาหรือไม่ต้องดูคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ มีกระบวนการ

- ขอถามย้ำถึงเหตุผลที่ไม่ฎีกา

เชื่อในเหตุผลของศาลอุทธรณ์ เชื่อในความเห็นของคณะทำงานที่เสนอผ่านรองอัยการสูงสุดมา เรื่องนี้นอกจากเนื้อกฎหมายแล้วว่าควรฎีกาหรือไม่ ยังต้องดูหลักนิติธรรม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 ที่ทุกองค์กรต้องปฏิบัติ ใครอยากจะฎีกาหรือไม่ฎีกาต้องอ่านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ก่อน และเมื่ออ่านเหตุของผมแล้วค่อยพิจารณาว่าควรจะดำเนินการอย่างไรหรือไม่ ความเห็นทางกฎหมายเห็นต่างกันได้ ขอให้การวินิจฉัยเป็นไปอย่างสุจริต มีเหตุผลประกอบ ถ้าทำไม่ดี ผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ก็ถอดถอนได้ หากพิจารณานอกสำนวนหรือไปฟังหลักฐานจากที่อื่นใดนอกเหนือจากคำพิพากษาศาล อุทธรณ์ ก็ยื่นถอดถอนได้เลย

- คนกำลังมองว่าอัยการทำตัวเป็นศาลฎีกาเสียเอง

คนมองก็มอง ไม่ได้ว่าอะไร แต่ถ้าคุณบอกว่าผมเป็นศาลฎีกาเสียเอง ก็จะถามหน่อยว่ามีศาลอุทธรณ์ไว้ทำไม ถ้าทุกอย่างต้องไปที่ศาลฎีกาหมด ตามรัฐธรรมนูญทุกเรื่องไม่ต้องไปศาลฎีกา ถ้าอะไรที่ไม่เป็นสาระ คดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง สั่งไม่อุทธรณ์มันก็จบได้ ซึ่งเป็นกฎหมาย นอกจากนี้กฎหมายไม่ได้บังคับให้อัยการต้องฎีกาในคดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาล ชั้นต้นเห็นแย้งกัน ตอนนี้ไม่อยากให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาวุ่นวายกับกระบวนการยุติธรรม ถ้าข้อข้องใจสอบถามได้ ควรปล่อยให้ผู้อยู่ในหน้าที่ใช้ดุลพินิจ ไม่อยากให้รบกวนดุลพินิจ ถ้าใช้ดุลพินิจไปแล้วมาอธิบายทำความเข้าใจกัน หลังชี้แจงวุฒิสภาจะตอบทุกคำถาม

- กรณีอัยการเข้าร่วมเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจอาจเป็นช่องให้ถูกมองว่าเป็นผลประโยชน์ต่างตอบแทน

รัฐธรรมนูญให้อัยการเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจได้ โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการอัยการ (กอ.) แต่ถ้าเราเข้าไปเป็นบอร์ดแล้วรู้สึกว่าทำงานไม่ได้ ก็ออกมา ที่สำคัญอัยการตั้งตัวเองไม่ได้ รัฐบาลหรือผู้ถือหุ้นเป็นผู้ตั้ง ทุกรัฐบาลมีอำนาจตั้งบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ถ้าอย่างนี้จะบอกได้หรือไม่ว่าเป็นกลาง ไม่ใช่เปลี่ยนรัฐบาลแล้วเปลี่ยนตัว ผมไม่ต้องการให้เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้น

การฟ้องคดีไม่ใช่วัตถุประสงค์ของอัยการ ฟ้องหรือไม่ฟ้องอยู่ที่สำนวนการสอบสวน หลายคดีศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตัดสินยกฟ้อง แต่ศาลฎีกาลงโทษ ไม่ใช่ว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตัดสินผิด นี่คือกระบวนการยุติธรรม