WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 1, 2011

เก็บไว้อ่าน: รวมทวีตคนข่าวเล่าเหตุการณ์คืนรัฐประหาร 49

ที่มา ประชาไท

เหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย.49 ผ่านมา 5 ปี ในการรำลึกปีนี้ คนทำสื่อหลายค่ายเล่าเหตุการณ์คืนรัฐประหาร รวมถึงห้วงความคิดเกี่ยวกับการรัฐประหาร ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างทวิตเตอร์ ประชาไทขอทำหน้าที่รวบรวมมานำเสนอ


กิตติ สิงหาปัด @kitti3Miti
อดีตผู้สื่อข่าวไอทีวี ปัจจุบัน ผู้ประกาศข่าวรายการสามมิติ ช่อง3

วันนี้ ครบรอบ 5 ปีรัฐประหาร สาธุชนพึงถามตัวเองว่าชีวิตแต่ละท่านเปลี่ยนไปอย่างไรหลังรัฐประหาร ไม่ต้องตอบมาที่ผม

เวลานี้เมื่อ 5 ปีที่แล้วผมกำลังจัดรายการฮอทนิวส์ทางไอทีวี แม้ว่ากลิ่นปฏิวัติจะโชยมาแต่หัวค่ำ แต่มันก็ยังไม่เกิดจนผมจบรายการทหารก็ขึ้นตึกพอดี

ทหารชุดที่ไปยึดไอทีวีแต่งกายชุด รบอาวุธครบมีพลสื่อสารแบกวิทยุสื่อสารเสาอากาศยาวๆ หนึ่งคนไปถึงหัวหน้าชุดบอก "ทำงานตามปกติครับรอดูสัญญาณ ททบ.5ไว้"

อาจกล่าวได้ว่า ชีวิตของผมพลิกผันมาเป็น 3 มิติในปัจจุบันนี้ เพราะการรัฐประหาร19 กันยาโดยแท้

หลังยึดอำนาจ มีทหารถือเอ็ม 16 นั่งดูผมจัดรายการฮอทนิวส์สดๆ อยู่สองสามคืน จนอาจจะคิดว่าไม่เหมาะจึงออกไปรักษาการณ์แถวหน้าลิฟท์

ทหารจากราบ 11 ที่มาควบคุมไอทีวี อยู่นาน จนภายหลังก็คุ้นเคยกัน

ในฐานะเป็นคนรุ่นที่เกิดในยุคที่โลกมาไกลแล้ว ผมจึงไม่อาจยอมรับการกระทำรัฐประหารรัฐบาลประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นในประเทศใดๆ ในโลก

ตวงพร อัศววิไล @pui_tuangporn
อดีตผู้สื่อข่าวไอทีวี ปัจจุบัน ผู้สื่อข่าววอยซ์ทีวี

เห็น @kitti3miti ทวีตรำลึกรัฐประหาร 19 กย. เมื่อครั้งอยู่ไอทีวี ก็เลยทำให้อดรำลึกความหลังไม่ได้ ขอเล่าสู่กันฟังบ้างค่ะ

ช่วงเย็น 19 กย. 49 กำลังขับรถกลับบ้าน แต่ถูกโทร.กลับให้เข้าสถานีด่วน คนโทรตามเขาบอกว่า คอนเฟิร์ม วัน ว.เวลา น.แล้ว มารอต้อนรับพี่ทหารได้เลย

เมื่อกลับถึงสถานีไม่กี่นาที ทหารจากราบ 11 ก็ขึ้นมาถึงกองบก.ข่าว เราก็เชิญให้ หน.ที่คุมกำลังมานั่ง ทหารก็สอบถามเราบางเรื่อง

ขณะนั้นดิฉันรับผิดชอบโต๊ะการ เมือง ช่วงนั้นมีโทร.ทางไกลจากนิวยอร์ค ถามว่า ขอให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกอากาศสดได้หรือไม่ ดิฉันตอบไปว่า "ทหารมาแล้ว"

ตัดไปที่ช่อง 9 เนื่องจากทหารหลงทางไปถึงที่หมายช้ากว่าวันว.เวลา น.ที่วางไว้ ทำให้ คุณทักษิณ ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้ แต่ก็ถูกตัดกลางอากาศ

วันนั้นอยู่ไอทีวีจนเช้าช่วงดึกๆ ก็แลกเปลี่ยนค.เห็นกับทหารที่มาคุมสถานี จน 7 โมงเช้าถึงอนุญาตให้ออกอากาศจำได้ว่าอ่านประกาศ คปค.จนเมื่อยเลย

จำได้ว่าบอกกับหัวหน้าชุดว่า "ไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยจะงอกจากปลายกระบอกปืน" เพราะเคยมีประสบการณ์ร้ายจากเหตุการณ์ พ.ค. 35

ยอมรับว่า ทหารชุดนี้ฝึกปฏิบัติการจิตวิทยามวลชนมาดีจริงๆ จากคนแปลกหน้าวันนั้น ต่อมาคุ้นเคยกันมากขึ้น ดิฉันยิงปืน M16 พอได้เพราะฝึกที่ราบ 11

มีคนทวีตถาม เรื่องสายทางไกลจากนิวยอร์ค พอตอบว่า "ทหารมาแล้ว" ก็จบข่าวสิคะ แปลว่า ยึดสถานีไว้ได้แล้ว

หลังรัฐประหาร 49 ก็เข้าสู่ยุคสุดท้ายของไอทีวี รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ โดยคุณหญิงทิพาวดี เดินหน้าเรื่องปัญหาสัมปทาน ต่อสู้กันถึงศาล รธน.

แก้ไขต่อสู้เรื่องไอทีวีในศาล ปกครอง ก่อนหน้านั้นไปยื่นหนังสือกับนายกฯสุรยุทธ์ 2 ครั้ง หลังเปลี่ยนผ่านเป็นทีไอทีวี และจอมืดในที่สุด ม.ค.50

ถ้าจะบอกว่าหนึ่งในบันได 4 ขั้นของ คมช. คือการปิดสื่ออย่างไอทีวี ก็ได้ อาทิตย์ก่อน สุนัย จุลพงศธร อภิปรายว่า TPBS เกิดจากเหล้า บุหรี่ รถถัง


สุทธิชัย หยุ่น @suthichai
ผู้บริหารสื่อเครือเดอะเนชั่น

วันนี้ครบรอบห้าปีรัฐ ประหาร...คนต่อต้านทหารปฏิวัติต้องต่อต้านทุกครั้งที่ปฏิวัติ...อย่าเลือก ต่อต้านบางปฏิวัติ...ผมต่อต้านทุกปฏิวัติไม่ว่ายุคไหน

พิสูจน์ว่าสื่อไหนต่อต้านหรือ สนับสนุนรัฐประหาร...ให้ย้อนกลับไปอ่านบทนำหน้าหนึ่งของสื่อนั้นๆ... ทุกอย่างมีหลักฐาน ไม่มีใครปฏิเสธความจริงได้

ถนอมปฏิวัติ, สุจินดาปฏิวัติ, บิ๊กบังปฏิวัติ...ใครมีจุดยืนอย่างไร...สื่อ, นักวิชาการ, นักการเมือง, นักธุรกิจ...แค่ย้อนกลับไปอ่านเท่านั้น

ถ้าคุณต่อต้านรัฐประหารจริง, ต้องไม่ยอมรับใครก็ตามที่ไปทำงานให้คณะปฏิวัติ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

คนที่ได้สัมปทานจากคณะปฏิวัติไม่มีสิทธิอ้างว่าต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

ทุกครั้งที่รัฐประหาร นักการเมือง, นักธุรกิจ, แอคทิวิสท์ทั้งหลายหายไปหมด...ทิ้งไว้แต่นักข่าวตัวเล็กๆ ที่ต้องเผชิญกับการทำหน้าที่รายงานข่าว

เกิดรัฐประหารครั้งใด บางคนลี้ภัยได้ บางคนหนีเข้าป่าได้ บางคนหลบเข้าค่ายทหารได้ แต่คนข่าวที่รับผิดชอบต้องทำงานกลางแจ้ง ถูกคุกคามก็ต้องทำงาน

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่คนไทยทุกกลุ่มต้องร่วมกันต่อต้านรัฐประหารในอนาคต...แต่ต้องทำเพื่อคนทั้งประเทศ

นอกจากต่อต้านการรัฐประหารที่ทำให้บ้านเมืองเสียหายย่อยยับแล้ว เราก็ยังต้องต่อต้านเผด็จการที่แฝงมาทุกรูปแบบด้วย!

ประวิตร โรจนพฤกษ์ @pravitr
ผู้สื่อข่าวอาวุโส นสพ.เดอะเนชั่น

น่าละอาย: คนจำนวน1ที่ไม่เคยต่อต้านรัฐประหาร 19 ก.ย. หรือสนับสนุนเงียบๆ เกิดอาการกินปูนร้อนท้อง พร่ำเพ้อว่า ตนไม่เคยสนับสนุนรปห.

5 ปี รปห. 19 ก.ย. อยากรู้ว่า สื่อไหนยืนอยู่ตรงไหน ให้ช่วยกันกลับไปอ่านบทบรรณาธิการแต่ละฉบับ รวมทั้งคอลัมนิสต์ที่ชื่นชอบต่างๆ หลายคนอาจแปลกใจ

19 กย 49 แม้กระทั่ง มติชนยังเขียนในบทบรรณาธิการ 22 กย. 49 ว่าทำไมจึงจำเป็นต้องมีรปห. แถมแนะนำบรรดานายพลที่ยึดอำนาจว่าควรทำอะไรบ้าง

ส่วนคมชัดลึก หลังรปห. 49 ก็เขียนบทบรรณาธิการที่พยายามอธิบายว่า ทำไมรปห.ครั้งนั้นเป็นรปห.เพื่อชาติ และต่างกับรปห.ครั้งที่ผ่านๆ มาอย่างไร

ส่วนนสพ.The Nation เขียนลงบทบก. ฉบับ 21 ก.ย.49 ว่า ผู้ทำรปห.ต้อง "ฟื้นฟู" ค.มั่นใจของประชาชนไทยผู้รักประชาธิปไตย... (ต่อ)

(ต่อ) และแสดงให้เห็นว่า การพัฒนาประชาธิปไตยครั้งนี้จะยั่งยืน

5ปีที่แล้ว นสพ.ผู้จัดการเขียนบทบก. 22 ก.ย.49 แสดงค.ยินดีต่อความสำเร็จ ในการปฏิบัติการ ของทหาร "ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

คงเป็นประโยชน์มิใช่น้อย หากแต่ละคนจะถามตนเองว่า 5ปีที่แล้ว 19 ก.ย. 49 คุณอยู่ไหน ทำอะไร หรือไม่ได้ทำอะไร เพราะอะไร ตอนเกิดรัฐประหาร

5ปีรัฐประหาร19 ก.ย.เรามาลองนึกถึงมรดกคมช.ว่ามีอะไรอยู่บ้าง เรามาระลึกถึงคนที่ออกมาต่อต้านคนแรกๆ ซึ่งตอนนี้บางคนต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ

และที่ลืมไม่ได้สำหรับ 5 ปีรปห.คือ ขอระลึกถึงผู้ที่ต่อต้าน ทั้งยังมีชีวิต เสียชีวิต บาดเจ็บ และลี้ภัย ขอคารวะ

ผิดหวัง ครบรอบ 5 ปีรัฐประหารทั้งที ไม่เห็นบท บก.มติชนเขียนอธิบายว่า สื่อหลักรวมถึงมติชน เคยสนับสนุนหรือยอมรับอำนาจทหารไปได้อย่างไร

5 ปีผ่านไป สื่อหลักทำราวว่า ไม่เคยสนับสนุนรปห.19 กย.&ไม่สนใจถามว่าทำไมถึงเคยสนับสนุน+ทุกวันนี้ก็ยังสนับสนุนมือที่มอง ไม่เห็นหรือไม่?

สังคมที่ไม่เรียนรู้ว่า 5 ปีที่แล้วคนออกไปยื่นดอกไม้ให้คณะรปห.19 กย.ได้อย่างไร&นิ่งดูดายได้อย่างไร เป็นสังคมเสี่ยงต่อการทำผิดซ้ำซ้อน