WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 1, 2011

รายงาน: ความไม่เป็นธรรมมีอยู่จริง!

ที่มา ประชาไท

ข่าวความเดือดร้อนจากเหตุน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้คนส่วนใหญ่มุ่งมองปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ว่าจะเป็นปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้น การอพยพผู้คน การเก็บเกี่ยวผลผลิต การให้ความช่วยเหลือชดเชยแก่ผู้เสียหาย กระทั่งการแก้ปัญหาและการจัดการน้ำ แต่ในท่ามกลางความเดือดร้อน สิ่งที่น่าใคร่ครวญมากขึ้น ไม่ใช่เพียงเรากำลังเผชิญกับปัญหาภัยพิบัติธรรมชาติ หากกำลังเผชิญกับปัญหา “ความไม่เป็นธรรม” ที่เกิดขึ้นด้วย กรณีการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ด้วยการสร้างแนวกันน้ำสองฝั่งริมแม่น้ำและปิดประตูกั้นทุกจุด ดันน้ำไหลไปท่วมพื้นที่ข้างเคียงแทน ดังที่ ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา สะท้อน อย่างเห็นภาพไว้ว่า “ประเทศไทยมีปัญหาน้ำท่วมสูงถึงหลังคาบ้าน ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายมากมาย ทรัพย์สมบัติของชาวบ้านที่ซื้อหามาด้วยเงินทองที่แสนจะหายากก็ถูกน้ำพัดพา อันตรธานไปหมด แต่คนกรุงเทพยังคงใช้ชีวิตปกติ ว่างจากงานก็ช้อปปิ้ง ดูหนัง ฟังเพลง ทำสิ่งที่ตนเองสนใจ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาน้ำท่วมเลย”

[1]

ในการประชุมวิชาการ “ความเป็นธรรมและความไม่เป็นธรรมในสังคมไทย” เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แม้การประชุมจะล่วงเวลามาแล้ว แต่ปัญหาที่ยาวนานนับแต่อดีตและคงต่อเนื่องถึงอนาคต ทำให้ปัญหาความเดือดร้อนและความทุกข์ร้อนของผู้คนในกรณีต่างๆ เตือนให้ระลึกถึง “ความไม่เป็นธรรม” ที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยหลากหลายประการ
ท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์ เสถียรไทย ประธานมูลนิธิธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมแสดง ความห่วงใยต่อการฟ้องร้องในคดีสิ่งแวดล้อม หรือ “คดีโลกร้อน” ซึ่งชาวบ้านมักตกเป็นจำเลย และถูกปรับเป็นจำนวนนับล้านบาท ทั้งที่ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ที่ถูกปล่อยออกมาจากการผลิตเพื่อดำรงชีพ ของชาวบ้าน เทียบกันไม่ได้เลยกับปริมาณก๊าซที่ถูกปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้การยังชีพด้วยการเกษตรดั้งเดิมกลายเป็นผู้ร้าย เป็นอาชญากรต่อสิ่งแวดล้อม แต่กลับไม่ถูกทำกับโรงงานอุตสาหกรรมและโครงการของรัฐที่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ผศ.ดร.ชัยยนต์ ประดิษฐ์ศิลป ผู้ศึกษากรณีอุตสาหกรรมฉายภาพความมั่งคั่งของอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก กรณีมาบตาพุดที่ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมหนัก ลงทุนสูง ต้องพึ่งการลงทุนจากต่างประเทศ นักการเมืองท้องถิ่นได้ประโยชน์ แต่การเกิดขึ้นของนิคมอุตสาหกรรมได้โยนภาระและผลกระทบให้แก่ชุมชนและคนใน พื้นที่ กลายเป็นพื้นที่แห่งความหวาดระแวงและเต็มไปด้วยความทุกข์ “แทบจะไม่มีคนระยองทำงานในโรงงาน คนชั้นกลางจากที่อื่นได้เงินเดือนเป็นหมื่นเป็นแสน แต่คนระยองเจอปัญหารุมล้อม โรงเรียน วัด โรงพยาบาลต้องย้ายหนีออกไป มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและหาดพังเพราะถมที่สร้างโรงงาน การทำอุตสาหกรรมแย่งน้ำภาคครัวเรือน ขณะที่ยังเจอกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับโรงงาน และปัญหาสังคม ทั้งยาเสพติด แหล่งอบายมุข”

ในกรณีเหมืองแร่ อ.ดร.นฤมล อรุโณทัย ชี้ให้เห็นว่า หลายกรณีบริเวณที่ได้รับสัมปทานไม่ใช่พื้นที่ว่างเปล่าในการจะทำเหมืองแร่ ได้ แทบทุกแห่งจึงส่งผลกระทบต่อชุมชน แม้ว่าการทำเหมืองแร่จะทำให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแต่รายงานของ ธนาคารโลกระบุว่า มีปัญหาเรื่องธรรมาภิบาลที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็นกรณีความขัดแย้ง หรือการคอร์รัปชั่น แทนที่ทรัพย์ในดินเหล่านี้จะนำไปสู่การพัฒนากลับกลายเป็น “คำสาปแช่ง” (the Curse of resource) ทำให้เกิดความยากจน ทุกข์เข็ญ และเจ็บป่วย การแก้ปัญหาฐานคิดที่มองว่าเหมืองแร่แบบ “อรรถประโยชน์นิยม” ซึ่งเป็นการมองประโยชน์ที่อ้าง “ส่วนรวม” แต่มองข้ามความทุกข์ร้อนของผู้คน ทำให้ “นายทุนไม่กี่รายได้ประโยชน์ แต่พื้นที่เสี่ยงภัยเป็นของคนชนบท” ล้วนเป็นสิ่งที่ค้ำยัน “ความไม่เป็นธรรม”

แม้แต่ในกรณีโรงงานนิวเคลียร์ที่มีการประโคมข่าวประชาสัมพันธ์ข้อดี แต่ผลักข้อเสียให้พ้นออกไป กระทั่งวิกฤตการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุคุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น จะช่วยลดเสียงสนับสนุนไปบ้าง ก็ใช่ว่าการผลักดันให้เกิดโรงงานนิวเคลียร์ขึ้นจะยุติลงไป ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย ได้ นำเสนอประเด็นการวิเคราะห์ระบบเชิงสังคมเทคนิค (Socio-Technical System) เพื่อชี้ให้เห็นว่า การพิจารณาเทคโนโลยีแต่ละอย่าง เช่น โรงงานนิวเคลียร์ ไม่สามารถพิจารณาโดยตัวมันเองเฉพาะการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เท่านั้น แต่จำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทางสังคมร่วมด้วยเสมอ “เทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องของผู้เชี่ยวชาญ แต่ประชาชนและภาคประชาสังคมจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วม และมีบทบาทนำในการตัดสินใจเลือกและกำหนดทิศทาง รวมถึงการพัฒนา “ทางเลือกด้านเทคโนโลยีอื่น” ให้เกิดขึ้นจริงและเป็นรูปธรรม”

ประจักษ์พยานถึง “ความไม่เป็นธรรม” ยังสะท้อนผ่านงานวิจัยเรื่องที่ดิน พงษ์ทิพย์ สำราญจิต จากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) ทำให้เห็นภาพรวมของการจัดการทรัพยาการไม่เป็นธรรม โดยพบว่า กลุ่มคนระดับบนของสังคมจำนวนร้อยละ 20 ถือครองสิทธิกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนที่ดินทั้งหมด หรือเฉลี่ย 200 ไร่ต่อคน ขณะที่คนที่เหลือจำนวนร้อยละ 80 ของประเทศมีสิทธิถือครองที่ดินได้เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น หรือเฉลี่ยคนละ 1 ไร่เศษ ทั้งนี้การถือครองจำนวนน้อยอยู่แล้ว ก็ยังเผชิญกับปัญหาการละเมิดสิทธิ ดังที่ได้รวบรวมไว้ ได้แก่ การประกาศเขตป่าทับที่ดินทำกินของประชาชน (กฎหมายมาทีหลัง แต่มีอำนาจเหนือกว่าชาวบ้านที่อยู่มาดั้งเดิม)การถูกแย่งชิงการใช้ประโยชน์ ในที่ดิน การถูกประกาศยึดคืนหรือเวนคืนภายหลังการได้จัดสรรที่ดินจากรัฐ การถูกฟ้องบุกรุก หรือถูกผลักไส ขับไล่ออกจากที่ดิน ซึ่งคนไร้ที่ดินเข้าไปพัฒนาจากที่รกร้างว่างเปล่า “คนจนถูกดำเนินคดี และถูกละเมิดสิทธิถูกกีดกันการเข้าไปใช้ทรัพยากร”

การเสนอนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทได้กลายเป็น “ข้อถกเถียง” ในสังคมทันทีที่ประเทศไทยมีรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย ทำให้การพูดคุยประเด็นดังกล่าวถูกผูกโยงไปกับเรื่อง “การเมือง” จนบิดเบือนโจทย์ “ความเป็นธรรม” ของค่าแรง หรือค่าแรงในปัจจุบันนั้นเป็นธรรมหรือไม่ ผศ.ดร.นภาพร อติวาชยพงศ์ อ้างอิงนิยามค่าจ้างขั้นต่ำขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) คือ ค่าจ้างที่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพลูกจ้างและเลี้ยงสมาชิกในครอบครัวอีก 3 คน ซึ่งค่าแรงของไทยเลี้ยงคนเดียวยังไม่พอ ทำให้เห็นร่วมกันว่า ค่าแรงที่ได้รับย่อมไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และย่อมไม่เป็นธรรมด้วย

ทิศทางการ “ถกเถียง” เรื่องนี้ต้องละสายตามองผลประโยชน์และการรักษาผลประโยชน์ของนายทุนลงบ้าง และปรับระดับให้มองเห็นคุณภาพชีวิตของลูกจ้างและครอบครัว ซึ่งพวกเขาควรได้ลืมตาอ้าปาก มีชีวิตอยู่ในสังคมได้มากขึ้น

ในทางปรัชญาการเมืองกล่าวถึงเรื่องความเป็นธรรม ซึ่งเป็นด้านกลับของ “ความไม่เป็นธรรม” ไว้มากและมีความเป็นมายาวนาน ผศ.นพนันท์ วรรณเทพสกุล แบ่งไว้เป็น 2 แนวทางกว้างๆ ได้แก่ ความเป็นธรรมแนวเสรีนิยม และความเป็นธรรมแนวสังคมนิยม โดยแนวทางแรกนั้นอ้างอิงให้ความสำคัญกับ “ความแตกต่าง” นับแต่โสกราตีสที่ถือว่าความยุติธรรมเป็นธรรมชาติหนึ่งเช่นเดียวกับความมี เหตุผล พลเมืองที่มีสถานะและหน้าที่ต่างกัน ทุกคนได้ทำหน้าที่นั้นอย่างถูกต้อง โดยที่เพลโต ศิษย์ของโสกราตีสถือว่า สังคมประกอบด้วยชนชั้น แต่ละชนชั้นมีหน้าที่ต่างกันไป ความยุติธรรมหรือความเป็นธรรมเป็นผลการแบ่งแยกหน้าที่ในสังคม กระทั่งอริสโตเติล แม้จะมองความเสมอภาคที่คล้ายจะไม่มี “ความแตกต่าง” แต่แนวคิดความเสมอภาคตามสัดส่วน ก็ทำให้เกิดความแตกต่าง ซึ่งบุคคลจะใช้ความแตกต่างทำประโยชน์และได้รับผลประโยชน์ตามความสามารถของ เขา โดยหลักความเป็นธรรมของนักคิดกลุ่มนี้เป็นรากฐานสังคมประชาธิปไตย เป็นบรรทัดฐานในการกำหนดนโยบายของรัฐแบบเสรีนิยมที่ให้ความสำคัญกับสิทธิและ เสรีภาพ

ส่วนความเป็นธรรมแนวสังคมนิยม ถือว่า มนุษย์มีคุณค่าเท่าเทียมกัน แต่ละคนมีความต้องการอันจำเป็นเหมือนกัน แต่การปฏิบัติต่อคนอย่างไม่เท่าเทียมกันคือความไม่เป็นธรรม เว้นแต่การปฏิบัติดังกล่าวเป็นไปเพื่อช่วยเหลือคนยากไร้ คนพิการ คนที่มีโอกาสน้อยกว่า และคนเจ็บป่วย เพื่อยกระดับคนในสังคมให้ได้รับสิ่งจำเป็นพื้นฐานเท่าเทียมกัน ซึ่งในความคิดของคาร์ล มาร์กซ์ นักคิดคนสำคัญ ถือว่า ต้องปฏิบัติต่อคนในฐานะที่มีความจำเป็นเหมือนกัน ในทางตรงข้ามการใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์ในการใช้ประโยชน์ จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม เพราะคนที่มีความสามารถจะได้เปรียบคนอื่น

คำอธิบายความเป็นธรรมแต่ละแนวทางมีจุดยืนคนละขั้ว จึงมีแนวทางประนีประนอมระหว่างแนวทางเสรีนิยมและแนวสังคมนิยมขึ้น โดยนักปรัชญาการเมืองอเมริกันชื่อ จอห์น รอลส์ เสนอว่า หลักความยุติธรรมต้องสร้างโดยมีจุดเริ่มต้นจากความเท่าเทียมในฐานะมนุษย์ แต่การแบ่งสันปันตามความสามารถ ส่วนจะทำให้มนุษย์แสดวงหาวิธีการให้ตนเองได้ผลประโยชน์มากที่สุด และลดภาระให้น้อยที่สุด ขณะที่หากพวกเขาไม่รู้ว่าตนเองอยู่ตรงจุดไหนที่อาจจะได้เปรียบหรือเสีย เปรียบ จะเกิดการสร้างเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์แก่คนระดับล่าง เพราะทุกคนรู้สึกว่าตนเองอาจตกลงมาในตำแหน่งล่างสุดได้เท่าๆ กัน การมองความเป็นธรรมเช่นนี้จึง “เป็นความเป็นธรรมที่คำนึงถึงทั้งสิทธิเสรีภาพของบุคคล และการยอมสละสิทธิบางประการเพื่อคนที่เสียเปรียบ”

เมื่อมองผ่านแนวคิดความเป็นธรรมเหล่านี้ กรณีศึกษาและปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงปัญหาสังคมที่นำเสนอไว้ ล้วนแต่เป็นผลพวงที่เกิดขึ้นภายใต้ระบบเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในแนวเสรีนิยม ที่ให้ความสำคัญกับการใช้ความสามารถของมนุษย์ในการแสวงหาผลประโยชน์อย่างสุด ลิ่มทิ่มตำ แต่ผลักภาระแก่ผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้ไร้อำนาจในการจะเข้าถึงทรัพยากรอย่างเท่าเทียม แบกทุกข์และผลกระทบที่เกิดขึ้น หากแต่แนวทางสังคมนิยมย่อมจะก่อให้เกิดปัญหาและกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพ และการใช้ความสามารถในการแสวงหาสิ่งต่างๆ ตลอดจนการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการ ดังนั้นในแนวทางที่ประนีประนอม ซึ่งให้ความสำคัญกับการแสวงหาผลประโยชน์ แต่ยอมสละสิทธิบางประการเพื่อคนเสียเปรียบ หรือการยอมรับความไม่เท่าเทียมกัน หากความเท่าเทียมนั้นส่งผลให้คนเสียเปรียบมีสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น ปัญหาความไม่เป็นธรรมทั้งหลายเป็นประจักษ์พยานยืนยันการคิดถึงผลประโยชน์ของ ตนเองเป็นหลักของกลุ่มคนที่มีอำนาจจากเงื่อนไขต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ดังนั้นภูเขาแห่งกองทุกข์ของผู้คนจำนวนมาก ควรถึงคราถล่มและสลายไป เมื่อผู้ได้ประโยชน์จะนึกถึงโอกาสที่ตนเองจะตกลงสู่ฐานะต่ำสุด และยอมสละสิทธิ โอกาส ผลประโยชน์ เพื่อคนเสียเปรียบบ้าง

นั่นเอง...