WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, September 30, 2011

นักปรัชญาชายขอบ: นิติราษฎร์กับคำถามท้าทายสังคมไทย

ที่มา ประชาไท

น่าสังเกตว่า “ปฏิกิริยา” ต่อข้อเสนอ 7 ข้อ เพื่อล้างรัฐประหารของนิติราษฎร์ แทนที่จะถกเถียงใน “ประเด็นหลัก” กลับไปถกเถียง “ประเด็นรอง” เช่น เรื่องเทคนิคทางกฎหมายว่าจะทำได้หรือไม่ จะเอื้อประโยชน์แก่ทักษิณหรือไม่ จะทำให้เกิดความแตกแยก เป็นชนวนให้เกิดรัฐประหารรอบใหม่หรือไม่ ระบอบทักษิณ และลัทธิรัฐประหารอะไรเลวกว่ากัน กระทั่งเสียดสีว่านิติราษฎร์ คือ “นิติเรด” ฯลฯ

ยิ่งกว่านั้นเหตุผลคัดค้านของบรรดาสื่อ นักการเมือง ทหาร นักวิชาการ นักกฎหมาย ทนาย หรือบรรดาผู้อ้างว่ารักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ทั้งหลาย ทำให้เรารู้สึกได้ชัดแจ้งว่า สำหรับประเทศนี้การลบล้างรัฐประหารเป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญกว่าการล้ม ประชาธิปไตยอย่างเทียบกันไม่ได้
ประเด็นหลักที่นิติราษฎร์เสนอคือ “การล้างรัฐประหาร 19 กันยายน 2549” เป็นการล้างรัฐประหารบนจุดยืนที่ว่า รัฐประหารล้มระบอบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ผิดในตัวของมันเอง ไม่ว่าจะอ้างเหตุผลใดๆ ก็ตาม เช่น อย่างที่ สัก กอแสงเรือง อ้างว่า รัฐประหาร 19 กันยาเป็นรัฐประหารขจัดการโกงชาติบ้านเมือง ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่ควรยอมรับ เพราะหากมีการโกงชาติบ้านเมืองจริงก็ต้องขจัดการโกงนั้นตามกระบวนการ ยุติธรรมในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่แก้ด้วยรัฐประหาร
ถ้าจะโต้ข้ออ้างแบบสัก กอแสงเรือง โดยไม่ต้องคิดอะไรซับซ้อนนัก แค่เรามองตามข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ถ้าทักษิณโกงชาติบ้านเมืองจริงตามที่คณะรัฐประหารและฝ่ายสนับสนุนกล่าวหา ถามว่าผลเสียหายจากการโกงของทักษิณ กับผลเสียหายที่ตามมาหลังใช้วิธีรัฐประหารขจัดทักษิณ อันไหนเสียหายแก่ชาติบ้านเมืองมากกว่า
ความแตกแยกและความรุนแรงทางสังคมที่เกิดขึ้นกว่า 5 ปีที่ผ่านมา เราจะโยนความผิดให้ทักษิณคนเดียวได้อย่างไร ฝ่ายที่ใช้วิธีรัฐประหารขจัดทักษิณจะรับแต่ “ชอบ” ไม่ยอมรับ “ผิด” ใดๆ เลยเช่นนั้นหรือ?
ที่สำคัญในเชิงหลักการ หากถือว่ารัฐประหารควรเป็นวิถีทางที่ถูกต้องในการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน ประเทศของเราจะไม่ต้องทำรัฐประหารเป็นรายปีงบประมาณกันเลยหรือ?
แต่ประเด็นของนิติราษฎร์ ไม่ใช่การชวนถกเถียงว่ารัฐประหารกับทักษิณใครผิดกว่า มันเป็นข้อเสนอที่ “ฟันธง” ไปเลยว่า แม้ทักษิณจะผิดจริงตามข้อกล่าวหาของคณะรัฐประหาร การกระทำรัฐประหารนั้นก็เป็นสิ่งที่ผิด และสมควรถูกลบล้างไป โดยให้ถือเสมือนว่าการทำรัฐประหารและการเอาผิดทางการเมืองกับฝ่ายที่ถูกทำ รัฐประหารเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้น คือไม่มีสถานะและอำนาจที่ชอบธรรมทางกฎมายของรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร หรือสภาพนิติรัฐ นิติธรรมภายใต้ระบบอำนาจที่มาจากรัฐประหารอยู่จริง
เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็หมายความว่า คดีที่ดินรัชดา คดียึดทรัพย์ทักษิณก็ไม่มีผลทางกฎหมาย แต่ไม่ได้หมายความว่าทักษิณไม่ได้เคยทำผิดในทางความเป็นจริง ฉะนั้น ข้อกล่าวหาในเรื่องดังกล่าวของทักษิณจึงสามารถนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ปกติในระบอบประชาธิปไตยได้ ทักษิณก็ไปสู้คดีภายใต้กระบวนการยุติธรรมที่มีความเป็นกลางต่อไป
ฉะนั้น ข้อเสนอของนิติราษฎร์จึงเป็นการชวนให้สังคมมาตั้งคำถามพื้นฐานที่สุดในทาง สังคมการเมือง คือคำถามที่ว่า สังคมเราควรจะอยู่ร่วมกันภายใต้ระบบสังคมการเมืองแบบไหน และภายใต้ระบบสังคมการเมืองแบบนั้น เราจะอยู่ร่วมกันด้วยกฎกติกาอะไร จึงจะถือว่ายุติธรรมแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียม
แน่นอนว่า ข้อเสนอให้ล้างรัฐประหาร หรือปฏิเสธรัฐประหารอย่างถาวร ก็คือข้อเสนอที่ว่าเราต้องอยู่ร่วมกันภายใต้ระบบสังคมการเมืองที่เป็น ประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของราษฎรอย่างแท้จริง และภายใต้ระบบสังคมการเมืองเช่นนี้ กฎหมายหรือกติกาใดๆ ที่ถือเป็นข้อผูกพันที่สมาชิกของสังคมการเมืองทุกคนต้องปฏิบัติร่วมกัน จะต้องเป็นกฎหมายหรือกติกาที่สร้างขึ้นบน “หลักความยุติธรรม” (the principles of justice) ที่เป็นธรรมแก่ทุกคน นั่นคือหลักเสรีภาพและหลักความเสมอภาค อันเป็นหลักการพื้นฐานของระบบนิติรัฐประชาธิปไตย
รัฐประหารคือการล้มนิติรัฐประชาธิปไตย กฎหมายหรือกติกาใดๆ ที่คณะรัฐประหารกำหนดขึ้น และการดำเนินการใดๆ ที่เป็นการเอาผิดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย จึงไม่ได้ยึดโยงอยู่กับหลักความยุติธรรมอันเป็นพื้นฐานของนิติรัฐ ประชาธิปไตย ฉะนั้น ถ้าเรายืนยันว่าสังคมของเราควรเป็นสังคมการเมืองแบบประชาธิปไตย ก็หมายความว่าเรายืนยันหลักความยุติธรรมหรือนิติรัฐประชาธิปไตย เมื่อยืนยันเช่นนี้ การล้างรัฐประหารจึงเป็นสิ่งจำเป็นต้องทำ
ความจริงไม่ใช่แค่การล้างรัฐประหารเท่านั้นที่เป็นสิ่งจำเป็น ต้องทำ กฎหมายหรือกติกาใดๆ ที่ขัดแย้งกับหลักเสรีภาพ และหลักความเสมอภาค เช่น ม.112 เป็นต้น ก็ต้องถูกยกเลิกหรือแก้ไขปรับปรุงด้วย
ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. บอกว่า “กฎหมายมาตรา 112 ไม่ผิด แต่คนละเมิดกฎหมายดังกล่าวต่างหากที่ผิด” แสดงว่า เขาไม่เข้าใจว่ากฎหมายดังกล่าวลิดรอนเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ บุคคลสาธารณะของประชาชน จึงเป็นกฎหมายที่ผิด เพราะเป็นกฎหมายที่ขัดกับหลักความยุติธรรมคือหลักเสรีภาพ และหลักความเสมอภาค ส่วนที่ว่าคนผิดนั้น เพราะกฎหมายไปบัญญัติให้การกระทำที่ถูก (ตามหลักเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ) ของประชาชนกลายเป็นการกระทำที่ผิด ฉะนั้น กฎหมายที่ผิดเช่นนี้ (เป็นต้น) จึงควรยกเลิก หรือแก้ไขปรับปรุงไม่ให้ขัดต่อหลักความยุติธรรมแห่งนิติรัฐประชาธิปไตย
ปรากฏการณ์ “คณะนิติราษฎร์” ไม่ว่าจะเรื่องรณรงค์ให้แก้ไข ม.112 หรือข้อเสนอ 7 ข้อ เพื่อล้างรัฐประหาร ถึงที่สุดแล้วก็คือการตั้งคำถามกับสังคมนี้ว่า เราจะอยู่ร่วมกันภายใต้ระบบสังคมการเมืองที่เป็นนิติรัฐประชาธิปไตยไหม หากจะอยู่เราจำเป็นต้องปฏิเสธรัฐประหารให้เด็ดขาด ซึ่งจำเป็นต้องล้างรัฐประหาร และให้มีกฎหมายเอาผิดผู้ที่กระทำรัฐประหารได้ เมื่อฝ่ายทำรัฐประหารนั้นๆ หมดอำนาจไป หรือบ้านเมืองคืนสู่ความเป็นประชาธิปไตย
ข้อเสนอดังกล่าวนี้ จึงเป็นการบังคับอยู่ในตัวของมันเองว่า ฝ่ายที่คัดค้านข้อเสนอจะกลายเป็นฝ่ายที่เอารัฐประหาร หรือสนับสนุนรัฐประหารไปโดยปริยาย และฝ่ายที่สนับสนุนข้อเสนอนี้คือฝ่ายที่เอาระบบสังคมการเมืองที่เป็นนิติรัฐ ประชาธิปไตยโดยปริยาย มันจึงไม่ใช่คณะนิติราษฎร์จะไปกล่าวหาฝ่ายคัดค้านว่าสนับสนุนรัฐประหาร แต่หลักการของข้อเสนอมันบังคับอยู่ในตัวของมันเองว่าต้องเป็นเช่นนั้น
โดยข้อเสนอนี้ไม่เกี่ยวโดยตรงกับเรื่องเอา-ไม่เอาทักษิณอีกแล้ว เพราะแม้คดีที่ดินรัชดาและคดียึดทรัพย์จะไม่มีผลทางกฎหมาย แต่การกระทำของทักษิณที่ถ้าเป็นความผิดจริงก็ยังสามารถดำเนินการตามกระบวน การยุติธรรมปกติในระบอบประชาธิปไตยต่อไปได้
ถามว่าทักษิณได้ประโยชน์ไหม ก็ได้ประโยชน์ในแง่ว่าได้รับโอกาสที่จะต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรมที่ เป็นกลางจริงๆ ซึ่งโอกาสดังกล่าวนี้ก็เป็นโอกาสที่ทุกคนพึงได้รับอยู่แล้ว ภายใต้หลักความเสมอภาคตามกฎหมายในระบอบประชาธิปไตย
โดยสรุป หากสังคมเราไม่ใช่สังคมหลอกตัวเอง หรือไม่ถูกทำให้ติดกับดักการหลอกตัวเอง แต่เป็นสังคมที่ชัดเจนแล้วว่า เราจะอยู่ร่วมกันภายใต้ระบบสังคมการเมืองแบบนิติรัฐประชาธิปไตย ก็ไม่มีใครสามารถมีเหตุผลเพียงพอที่จะปฏิเสธหรือคัดค้าน “ประเด็นหลัก” ของข้อเสนอแห่งคณะนิติราษฎร์ได้
เมื่อเรายอมรับ “ประเด็นหลัก” ร่วมกันได้ “ประเด็นรอง” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคนิคทางกฎหมาย (น่าโมโหไหมที่เวลาเกิดรัฐประหารแล้วบรรดา “เนติบริกร” ต่างเสริฟ “เทคนิคทางกฎหมาย” แก่คณะรัฐประหารอย่างเอาการเอางาน) หรือเรื่องทักษิณ (และ ม.112 ฯลฯ) ก็เป็นเรื่องที่สามารถปรับ หรือแก้ไขให้สอดคล้องกับประเด็นหลักได้อยู่แล้ว