WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 16, 2011

นิตยสาร ‘ไทม์’ ยก “ผู้ประท้วง” เป็นบุคคลแห่งปี 2011

ที่มา ประชาไท

นิตยสาร ‘ไทม์’ ของสหรัฐยก “ผู้ประท้วง” ในการลุกฮือในหลายทวีปเป็นบุคคลแห่งปี 2011 ตั้งแต่ตูนีเซีย เสปน สหรัฐ จนถึงรัสเซีย พวกเขาต่างเป็น “คนสำคัญ” ของการขับเคลื่อนประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง

เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมา นิตยสารระดับโลก ‘ไทม์’ เปิดเผยการจัดลำดับบุคคลสำคัญแห่งปี 2011 โดยยกให้ “ผู้ประท้วง” (The Protester) ทั่วโลกอยู่ในอันดับหนึ่ง โดย ‘ไทม์’ ให้เหตุผลว่าปีนี้การลุกฮือของประชาชนกลับมาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลก ได้อีกครั้ง โดยเฉพาะในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ หลังจากที่การประท้วงทั่วโลกเงียบหายไปช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

เคิร์ท แอนเดอร์สัน ผู้เขียนบทความขบวนการประท้วงทั่วโลกของปี 2011 ใน ’ไทม์’ ชี้ว่า ขบวนการประท้วงที่เกิดเป็นลูกโซ่ในหลายทวีป เริ่มต้นจากการชุมนุมในตูนีเซียที่มีโมฮัมเหม็ด บูอาซีซีที่จุดไฟเผาตัวเองเพื่อประท้วงเผด็จการเบน อาลีในช่วงปลายปีที่แล้ว หลังจากนั้นมาการชุมนุมของประชาชนก็ได้ลามไปยังที่อื่นๆ ในโลกอย่างรวดเร็ว ทั้งในอียิปต์ ซีเรีย ลิเบีย ไปจนถึงกรีซ เสปน อังกฤษ สหรัฐ

‘ไทม์’ ชี้ว่าการประท้วงในปี 2011 มีความคล้ายคลึงกับการประท้วงปี 1989 ซึ่งเป็นปีแห่งการล่มสลายของโซเวียตและสงครามเย็น แต่ต่างตรงที่มีความเป็นสากลและเป็นประชาธิปไตยมากกว่า และคล้ายปี 1968 ซึ่งเป็นปีที่มีการต่อต้านสงครามเวียดนามและเป็นยุคสมัยของ “ฮิปปี้” หากต่างกันที่ผู้ประท้วงมิได้จำกัดขบวนการอยู่เพียงการประชันทางวัฒนธรมเท่า นั้น หากแต่ส่งพลังและสามารถโค่นล้มระบอบ ซึ่งสามารถเปลี่ยนทางเดินของประวัติศาสตร์ได้

การลุกฮือในทศวรรษนี้ ยังคล้ายคลึงกับปี 1848 ซึ่งเป็นปีแห่งการปฏิวัติในยุโรป เมื่อฝรั่งเศสได้เปลี่ยนจากระบอบกษัตริย์เป็นสาธารณรัฐ ได้ส่งคลื่อนการปฏิวัติไปยังมิวนิค เบอร์ลิน เวียนนา มิลาน และหัวเมืองอื่นๆ ในยุโรปได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น โทรเลข รถไฟ แท่นพิมพ์ เช่นเดียวกับขบวนการยึดครองวอลล์สตรีทที่เริ่มต้นในสวนสาธารณะซุคคอตติใน กรุงนิวยอร์กก่อนจะขยายไปยังเมืองและประเทศอื่นๆ

‘ไทม์’ ได้ยกให้เทคโนโลยีการสื่อสารและโลกภิวัฒน์ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชน โดยชี้ว่าก่อนหน้านี้ การคุมอำนาจทางการเมืองตกอยู่ในผู้มีอำนาจไม่กี่กลุ่มเท่านั้น แต่โลกาภิวัฒน์และเทคโนโลยี ได้ช่วยให้ความคิดด้านประชาธิปไตยกระจายออกไปอย่างรวดเร็ว และทำให้การระดมในหมู่ประชาชนเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

‘ไทม์’ ยังระบุถึงการประท้วงที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ในรัสเซีย ซึ่งเป็นการประท้วงที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การล่มสลายของโซเวียตว่า เป็นอีกปรากฎการณ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าคนรุ่นหนุ่มสาวและประชาชนยังคงต้อง การเรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตยที่ยังขาดหายไป ไม่ต่างจากที่อื่นๆ ในโลก ทั้งนี้ ในวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมา มีรายงานว่าประชาชนหลายหมื่นคนได้ออกมาประท้วงตามท้องถนนในหลายหัวเมือง เพื่อต่อต้านนายกรัฐมนตรีวลาดิเมียร์ ปูติน อดีตประธานาธิบดี และผลการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใส

ผู้ที่ติดอันดับบุคคลสำคัญแห่งปี 2011 รองลงมา รวมถึง อ้าย เหว่ยเหว่ย ศิลปินจีนที่ต่อสู้เรื่องสิทธิเสรีภาพ และเคท มิดเดิลตัน เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทั้งนี้ ‘ไทม์’ ได้ยกให้ มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กเป็นบุคคลแห่งปี 2010, เบน เบอร์นานเก้ นักเศรษฐศาสตร์ชาวสหรัฐในปี 2009 และบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเป็นบุคคลแห่งปี 2008