WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, December 12, 2011

อีกครั้งกับโฮย่าฯ น้ำท่วมหรือข้ออ้างทำลายสหภาพแรงงาน?

ที่มา ประชาไท

สถานการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ผ่านมาส่งผลกระทบกับทุกภาคส่วน ทุกสาขาอาชีพ มากน้อยแตกต่างกันไป และกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน เนื่องจากนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งถูกน้ำท่วม ไล่มาตั้งแต่ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ที่ อ.อุทัย นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ที่ อ.บางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน แฟตตอรี่แลนด์ เขตส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมนวนคร และนิคมอุตสาหกรรมบางกระดี จังหวัดปทุมธานี

ซึ่งมีการคาดการณ์จะส่งผลกระทบต่อลูกจ้าง กว่า 500,000 คน ถึงแม้ว่าจะมีการทำข้อตกลงระหว่างรัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานกับผู้ประกอบการโดย ให้เงินช่วยเหลือเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการจ่าย เงินเดือนค่าจ้างให้กับลูกจ้าง 2,000 บาท/เดือน/ราย โดยผู้ประกอบการต้องทำข้อตกลงจะว่าจ้างลูกจ้าง 3 เดือนขึ้นไปเป็นอย่างน้อย และบริษัทจะต้องจ่าย 75 %

แต่หลังจากนั้นไม่นาน มีหลายบริษัทได้เลิกจ้างลูกจ้าง ซึ่งกระจายไปในหลายพื้นที่ ทั้งอยุธยา รังสิต อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ซึ่งเป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบโดยตรง และที่สำคัญใน พื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง จากน้ำท่วมได้แก่ภาคตะวันออก และภาคเหนือ ก็มีการประกาศใช้มาตรา 75 หยุดงานและจ่ายค่าจ้าง75 % และเลิกจ้างด้วยเช่นกันโดยอ้างเหตุผลน้ำท่วมทำให้ออร์เดอร์สินค้าลดลง

บริษัทโฮย่ากลาสดิสก์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดลำพูน เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่บอกว่าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม โดยประมาณเดือนตุลาคม 2554 บริษัทฯ จัดทำโครงการเกษียณอายุ เพื่อลดจำนวนพนักงาน ต่อมาเดือนพฤศจิกายน ได้ประกาศใช้มาตรา 75 ในโรงงานที่ 2 โดยจ่ายค่าจ้าง75% เป็นเวลา 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2554 หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 1ธันวาคม 2554 บริษัทฯ ได้ประกาศเลิกจ้างพนักงานในโรงงานที่ 2 ทั้งหมดจำนวนเกือบ 2,000 คน โดยให้การเลิกจ้างเป็นผลในวันที่ 21 มกราคม 2555

การเลิกจ้างครั้งนี้บริษัทโฮย่าฯ แจ้งเหตุผลว่า “ประสบ กับปัญหาการขาดทุนตั้งแต่เดือน เมษายน 2554 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ทำให้บริษัทได้รับผลกระทบส่งผลให้ยอดการผลิตมีปริมาณลดลงเป็นจำนวนมาก”

แต่จากการพูดคุยกับแกนนำสหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า สัมพันธ์ (สออส.) และลูกจ้างบางส่วนของบริษัทโฮย่าฯ พบว่ามีหลายประเด็นที่น่าสงสัยว่า การประกาศเลิกจ้างของบริษัทโฮย่าฯ ในครั้งนี้เป็นเหตุมาจากน้ำท่วมอย่างเดียวจริงหรือไม่? หรือมีเหตุผลอื่นที่แฝงอยู่ เนื่องจากฝ่ายบริหารของบริษัทโฮย่าฯ แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนว่าต้องการเลิกจ้างลูกจ้างในโรงงานที่ 2 ทั้งหมด เพราะถึงแม้ว่าจะประกาศเป็นโครงการสมัครใจเลิกจ้าง แต่หากมีลูกจ้างในโรงงานที่ 2 ไม่สมัครใจเข้าร่วมโครงการก็จะเลิกจ้าง ทั้งหมดอยู่ดี จากการกระทำเช่นนี้ของบริษัทโฮย่าฯ ทำให้สงสัยว่า น่าจะมีเบื้องหลังในการเลิกจ้างครั้งนี้ ประกอบการการเจรจาระหว่างฝ่ายสหภาพแรงงาน กับฝ่ายบริหารของบริษัทโฮย่าฯ ในวันที่ 9 ธันวาคม 2554 ซึ่งไม่สามารถตกลงกันได้เนื่องจากฝ่ายบริหารของบริษัทโฮย่าฯ ยืนยันที่จะเลิกจ้างลูกจ้างในโรงงานที่ 2 หากคนงานสมัครเข้าร่วมโครงการเลิกจ้างโดยสมัครใจไม่ครบจำนวน ก็จะเลิกจ้างคนงานโรงงานที่ 2 จนกว่าจะครบตามจำนวน ทำให้เกิดคำถามว่ทำไมถึงต้องเลิกจ้างคนงานที่โรงงานที่ 2 ให้ได้?

การ ที่บริษัทบอกว่าต้องเลิกจ้างคนงานในโรงงานที่ 2 เพราะคอร์สสูงกว่า ผลผลิตแย่กว่าประสิทธิภาพการผลิตต่ำกว่า น่าจะไม่ใช่เหตุผลหลักเสียแล้ว เพราะมีข้อเท็จจริงบางอย่างที่น่าคิดว่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้บริษัทแสดง เจตนารมณ์แน่วแน่เช่นนี้ คือ ในโรงงานที่ 2 นั้น มีคณะกรรมการสหภาพแรงงาน 19 คนจากทั้งหมด 28 คน และกว่า 60 เปอร์เซ็นต์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ซึ่งหากมีการเลิกจ้างคนงานโรงงานที่ 2 ทั้งหมดตามที่บริษัทโฮย่าฯ ยืนยัน ก็จะทำให้สหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ (สออส.) อ่อนแอลงอย่างมาก และโอกาสที่จะเติบโตเข้มแข็งคงจะเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น นอกจากนี้ในอดีตที่ผ่านมาในช่วงเริ่มตั้งสหภาพแรงงาน บริษัทโฮย่าฯ ก็ใช้วิธีการเลิกจ้างคณะกรรมการสหภาพแรงงานและแกนนำกว่า 60 คนเพื่อล้มล้างสหภาพแรงงานมาแล้ว ดังนั้นเหตุการณ์เลิกจ้างครั้งนี้ของบริษัทโฮย่าฯ จึงทำให้น่าคิด และน่าจับตามองยิ่งขึ้นว่าบริษัทโฮย่าฯ

“เลิกจ้างเพราะน้ำท่วม หรือข้ออ้างในการทำลายสหภาพแรงงาน” อีกครั้ง ?

และเป็นหน้าที่ของรัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงแรงงานฯ ต้องตรวจสอบว่าขัดกับนโยบายของรัฐบาล? ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานอย่างไร ? เช่นกัน