WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 16, 2011

กรณีศึกษา: กฎหมายหมิ่นฯในยุโรป

ที่มา Voice TV









การปกครองโดยระบอบเสรีประชาธิไตย มีเพียงไม่กี่ประเทศในโลก ที่สถาบันกษัตริย์ยังคงได้รับการคุ้มครองอย่างเข้มงวดภายใต้เครื่องมือที่ ชื่อว่า "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"

ยุโรป นับเป็นภูมิภาคที่ประกอบไปด้วยประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์ที่เก่าแก่และมั่น คงมากที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก ไม่ว่าจะเป็นอดีตจักรวรรดิที่รุ่งเรืองอย่างสหราชอาณาจักร หรือประเทศในแถบสแกนดิเนเวียอย่างนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก ซึ่งล้วนเป็นประเทศที่สถาบันกษัตริย์มีบทบาทมาอย่างยาวนานและแนบแน่นกับ ประวัติศาสตร์ของชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ที่ผ่านมา พระราชวงศ์ในกลุ่มชาติยุโรป ผ่านการปรับตัวตามระบบการปกครองที่เปลี่ยนไป จนปัจจุบัน เกือบทั้งหมดอยู่ในสถานะสัญลักษณ์ของชาติ และแทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองของประเทศ นอกจากการปรากฎตัวตามพระราชประเพณีเท่านั้น

ในประเทศอังกฤษ นับเป็นชาติที่มีสถาบันกษัตริย์เป็นอัตลักษณ์สำคัญที่สุดของประเทศ นับตั้งแต่ปี 2258 หรือ 296 ปีที่ผ่านมา แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว ยังไม่เคยปรากฎว่า มีการดำเนินคดีกับประชาชน ในข้อหาดูหมิ่นหรือกล่าวร้ายต่อกษัตริย์ สมเด็จพระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ไม่ว่าจะเป็นชาวอังกฤษหรือชาวต่างชาติ

ในทางตรงกันข้าม การวิพากษ์วิจารณ์เรื่องส่วนพระองค์ของพระราชวงศ์ นับตั้งแต่แฟชั่นการแต่งกาย ไปจนถึงความประพฤติที่ไม่เหมาะสม กลับเป็นหนึ่งในประเด็นที่เป็นที่ชื่นชอบ ของสื่อและประชาชนอังกฤษมากที่สุดก็ว่าได้

สำหรับในเดนมาร์ก กษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ จะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอาญามาตรา 267 ที่บัญญัติให้ผู้หมิ่นประมาทประมุขของประเทศ ต้องจำคุกไม่เกิน 4 เดือน และมาตรา 115 ก็ระบุว่า หากมีการหมิ่นประมาทกษัตริย์ ผู้สำเร็จราชการ หรือสมเด็จพระราชินี จะถูกเพิ่มโทษจำคุกเป็นไม่เกิน 6 เดือน แต่อย่างไรก็ตาม ในประเทศเดนมาร์ก ก็ยังไม่เคยมีการฟ้องร้องด้วยข้อหาดังกล่าวเช่นกัน

ส่วนในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเนเธอแลนด์ ก็แทบจะไม่เคยมีการฟ้องร้องในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นอกจากในปี 2550 ที่ชายผู้หนึ่งถูกปรับเป็นเงิน 400 ยูโร หรือประมาณ 16,000 บาท เนื่องจากเขาใช้คำหยาบคายด่าทอสมเด็จพระราชินีเบียทริกซ์แห่งเนเธอแลนด์กับ ตำรวจ

อย่างไรก็ตาม ในประเทศสเปน นิตยสาร เอล คูเอเบส (El Jueves) ซึ่งเป็นนิตยสารแนวเสียดสีการเมือง เคยถูกฟ้องร้องในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเมื่อปี 2550 เนื่องจากได้มีการนำภาพวาดการ์ตูนเจ้าชายเฟลิเป้ มกุฎราชกุมารสเปนกำลังมีเพศสัมพันธ์กับเจ้าหญิงเลติเซีย พระชายาขึ้นปกนิตยสาร เพื่อล้อเลียนนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศจะจ่ายเงินให้กับคู่สมรสทุกคู่ที่มี บุตร โดยนิตยสารฉบับดังกล่าวถูกริบจากแผงหนังสือทั่วประเทศ ส่วนบรรณาธิการถูกตัดสินว่ามีความผิด และต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 3,000 ยูโร หรือ 120,000 บาท

จะเห็นได้ว่า การฟ้องร้องประชาชนในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เกิดขึ้นน้อยมากในยุโรป และถึงแม้จะมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น การลงโทษผู้กระทำผิดก็เป็นการดำเนินคดีอย่างเปิดเผยในลักษณะคดีหมิ่นประมาท ทั่วไป โดยมาตรการลงโทษก็เป็นเพียงการปรับ และยังไม่เคยมีการลงโทษถึงขั้นจำคุก

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่น่าแปลกใจ ที่นานาชาติจะแสดงความกังวลต่อประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ของไทย ที่นอกจากจะมีการบัญญัติโทษที่รุนแรงแล้ว ลักษณะการดำเนินคดียังไม่เปิดเผยอีกด้วย