ที่มา uddred
โพสท์ทูเดย์ 17 กรกฎาคม 2555 >>>
สภาเมินประชามติสั่งลุยโหวตวาระ 3 แจงแก้ 291 มาตราเดียวไม่ล้มทั้งฉบับ เปิดช่อง ม.151 หากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบ
นาย
เจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร แถลงหลังเรียกประชุมสมาชิกรัฐสภา
416 คนร่วมหารือกรณี พล.ต.จำลอง ศรีเมือง
แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้
วินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ล้มล้างการปกครองว่า สมาชิกรัฐสภาทั้ง
สส.และ สว.ที่ร่วมประชุมเห็นพ้องกันว่า
การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่พิจารณาค้างอยู่ในวาระที่ 2
สามารถเดินหน้าลงมติในวาระ 3 ได้
แต่ต้องขอมติของสมาชิกรัฐสภาโดยการเรียกตามลำดับรายชื่อก่อนว่าจะเดินหน้าลง
มติวาระ 3 หรือไม่ และให้เป็นอำนาจของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
ประธานรัฐสภาในการกำหนดวันและเวลาที่จะมีการลงมติ
คาดว่าจะพิจารณาเป็นวาระแรกทันทีที่เปิดสมัยประชุมสภา จะให้ล่าช้าไม่ได้
นาย
เจริญ กล่าวต่อว่า
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่สามารถกระทำได้
หากไม่มีการจัดทำประชามติจากประชาชน และให้แก้ไขได้เป็นรายมาตรา
โดยที่ประชุมวันนี้พิจารณาแล้วยืนยันว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291
นั้นยังเป็นเพียงการแก้ไขรายมาตรา ยังไม่ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 50 ทั้งฉบับ
ดังนั้นเป็นอำนาจโดยชอบธรรมของรัฐสภาที่จะลงมติวาระ 3
โดยไม่ต้องจัดทำประชามติ
อย่างไรก็ตามเห็นว่ามติในที่ประชุมวันนี้จะไม่
ขัดแย้งกับมติของพรรคเพื่อไทยที่ก่อนหน้านี้ระบุว่าให้รอคำวินิจฉัยกลางและ
คำวินิจฉัยส่วนตนของศาลรัฐธรรมนูญ
เพราะมติของพรรคเป็นคนละส่วนกับมติของสมาชิกรัฐสภา
และได้ประสานให้ตัวแทนของแต่ละพรรคไปชี้แจงพรรคของตนเองแล้ว
“ในกรณีที่สมาชิกรัฐสภาโหวตไม่เห็นด้วยให้ลงมติวาระ 3
ต้องให้คำตอบได้ด้วยว่าจะให้สภาเดินหน้าอย่างไร
จะโหวตไม่เอาแล้วถอนร่างไม่ได้
และหากเลือกที่จะให้จัดทำประชามติก่อนลงมติในวาระ 3
ก็ต้องประสานรัฐบาลดำเนินการจัดทำประชามติต่อไป” นายเจริญ กล่าว
นาย
เจริญ กล่าวอีกว่า หากเสียงในรัฐสภาลงมติในวาระ 3 แล้วเสร็จต้องให้
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าภายใน 20 วัน
เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้ในพระราชกิจจานุเบกษา
แต่หากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบก็ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151
คือ ให้รัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
ของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด
“ไม่กังวลว่าหากดำเนินการลงมติวาระ 3
จะทำให้เกิดการยื่นคำร้องและเกิดเป็นความขัดแย้งระลอกใหม่
เพราะขณะนี้ได้ดำเนินการโดยยึดหลักการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว
คงจะไปห้ามสิทธิผู้ที่ต้องการจะร้องไม่ได้ แต่กลัวจะไม่ร้องมากกว่า”
นายเจริญ กล่าวทิ้งท้าย