WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, July 16, 2012

รายงานพิเศษ: กรุงเทพเมืองฟ้า: ในวันที่รถไฟฟ้ากำลังกลืนกินมังกร

ที่มา ประชาไท

 

ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง ติดตาม เฝ้าดู และบอกเล่า เมืองฟ้าอมรที่จะกำลังเคลื่อนไปสู่ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งภูมิทัศน์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม

1
“ผู้คนตกใจเมื่อผมเอาภาพถ่ายทุ่งนาที่เคยอยู่ที่นี่ในช่วงทศวรรษ ที่ 1970 ให้ดู ตอนนั้นเราอยู่กันตามท้องถนน ในตลาดและแผงลอยกลางแจ้ง ต่อมาทุกอย่างย้ายเข้าไปอยู่ในร่ม เข้าไปอยู่ตามศูนย์การค้า เบื้องหลังประตูที่ปิดและห้องแอร์ เราไม่แน่ใจครับว่าตอนนี้เรากำลังกลายเป็นอะไร แต่สิ่งหนึ่งที่เรารู้สึกได้ก็คือ ตัวตนของเรากำลังหายไป”
เป็นคำกล่าวของ แพททริค ม็อก ผู้ประสานงานความทรงจำแห่งฮ่องกง (Hong Kong Memory Project) ที่ให้สัมภาษณ์ไว้กับ Nation Geographic ถึงสภาพที่กำลังเป็นไปในเมืองของเขา (ที่มา : ฉบับภาษาไทย : ไมเคิล พาเทอร์นีติ. ‘ฮ่องกงในกรงเล็บพญามังกร’ . ฉบับที่ 131 มิ.ย.2555)
สำหรับเมืองอย่าง ‘ฮ่องกง’ มีคำพูดของ มิลตัน ฟรีดแมน นักเศรษฐศาสตร์ ให้ภาพไว้ว่า หากคุณต้องการเห็นเมืองที่เป็นลัทธิทุนนิยมขนานแท้จะต้องไปดูที่นี่ ปัจจุบัน ฮ่องกงเป็นเมืองเมืองที่มี GDP อยู่ลำดับที่ 10 ของโลก แต่ก็มีช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยอยู่ในกลุ่มที่สูงสุดของโลกเช่นกัน ที่นี่ฉากหน้าอันสวยงามและยั่วยวนคือการเป็นศูนย์กลางของเงินตราและประตูสู่ การลงทุนในประเทศจีนซึ่งกำลังร้อนแรงทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ปัญหาจากผู้ลี้ภัย การเคลื่อนย้ายผู้คนจากแผ่นดินใหญ่ หญิงขายบริการ กลุ่มอันธพาล แรงงานราคาถูกที่ค่าจ้างแทบไม่พอเลี้ยงปากท้อง รวมทั้งพวกที่ต้องอยู่กันอย่างแออัดในห้องแบ่งเช่าขนาดเท่าตู้เย็นก็คือฉาก หลังที่ความใส่ใจคือสายตาอันชินชา
“เมืองนี้ก้าวไปเร็วเกินกว่าความทรงจำจะตามทันครับ” แพททริค ม็อก สรุปถึงบ้านเมืองของเขาที่เส้นขอบฟ้าสามารถเปลี่ยนแปลงรูปทรงของมันได้ทุกวัน..
ในโลกของโลกาภิวัตน์และทุนนิยม ไม่ว่ามันจะขนานแท้หรือปลอมๆก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงคือสิ่งที่แทรกซึมเข้าไปแน่ๆ แม้แต่ชนบทที่ดูเหมือนห่างไกลยังไม่วายที่คุณจะได้ต้องพบรอยยิ้มหวานของโคคา โคล่า หรือกระทั่งพื้นที่ทางจิตวิญญาณอย่างสถาบันศาสนาที่ชวนทำจิตใจให้สงบ เราก็สามารถใช้จ่ายเงินสักก้อนแลกบุญกรรมมาการันตีความมั่นคงได้ถึงหลังความ ตายกระทั่งวนกลับมาเกิดใหม่อีกรอบหนึ่ง
เราไม่รู้ว่า ฮ่องกง คือ ต้นแบบ ‘เมือง’ สำหรับผู้บริหารทั้งหลายที่อยากจะเป็นหรือไม่ แต่เรารู้ว่าหลายเมืองในประเทศกำลังพัฒนากำลังเดินไปในเส้นทางแห่งความ ยั่วยวนทางการเงินนั้น โดยเฉพาะ กรุงเทพมหานคร เมืองฟ้าอมรของเราที่จะกำลังเคลื่อนไปสู่ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างแน่นอนในอีกไม่นานนี้

2
ความเปลี่ยนแปลงคงไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับเมืองใดเมืองหนึ่ง แต่สิ่งที่สำคัญคงเป็นเรื่องความโปร่งใสหรือการตรวจสอบกระบวนการเปลี่ยนแปลง ของมัน นี่ไม่ใช่ครั้งแรกสำหรับกรุงเทพมหานคร เมืองที่เคยเผชิญแรงกระตุ้นในการเปลี่ยนแปลงมาหลายระลอก เฉพาะที่ชัดเจนที่สุดซึ่งเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพและโลกทัศน์คือช่วงเวลา ของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่โลกตะวันออกต้องเผชิญแรงเสียดทานหลายรูปแบบจากโลกตะวันตก ทำให้เมืองทางฝั่งพระนครต้องขยายตัวออกไปตามถนนอย่างต่อเนื่องแทนการขยายตัว ไปตามลำคลองทางฝั่งธนบุรี ความเปลี่ยนแปลงนี้เป็นรากฐานของกรุงเทพสมัยใหม่ ยิ่งเมื่ออุตสาหกรรมเริ่มรุกเข้ามา พื้นที่สังคมเกษตรกรรมยิ่งเปลี่ยนไป สังคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังเป็นสาเหตุสำคัญในการล่มสลายของความเป็นย่าน ชุมชนหลายแห่ง
ราวหลัง พ.ศ. 2500 คือ ช่วงเวลาที่รัฐวัดการพัฒนาประเทศโดยเน้นตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจตามแผน การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นสำคัญ ช่วงเวลานี้การเติบโตของกรุงเทพเป็นไปอย่างรวดเร็วและยิ่งทำให้เกิดช่องว่าง ระหว่างเมืองกับชนบท คนต่างจังหวัดจำนวนมากโยกย้ายเข้ามาเป็นแรงงานในเขตเมืองจนทำให้เกิดความ แออัดแต่ไร้การจัดการ พื้นที่ในหลายแห่งจึงเสื่อมโทรมจนทำให้ราชการนิยามคำว่า ‘สลัม’ ขึ้นมาเป็นกรอบในการมองและลงมือเมื่อรัฐต้องการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ในระดับ นโยบาย ชุมชนของคนจนเมืองหรือสลัมจะเป็นสถานที่แรกๆที่จะถูกจัดการไล่รื้อออกไป
อย่างไรก็ตาม หากต้องการมองกรุงเทพผ่านพัฒนาการของเมืองที่ไกลไปกว่านั้น เราอาจต้องมองเมืองที่ถูกขนานนามว่าเป็น ‘เวนิชแห่งตะวันออก’ แห่งนี้ในบริบทที่กว้างกว่าฝั่งแม่น้ำเดียวที่เรียกว่าเป็นกรุงรัตนโกสินทร์ ในปัจจุบัน นั่นคือ ต้องมองเมืองแห่งนี้ผ่านความเป็น ‘บางกอก’ ที่เคยเป็นด่านหรือท่าการค้ามาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในแผนที่โลกฝรั่งยังประทับและเรียก Bangkok ถึงปัจจุบัน
 
(ซ้าย ): แผนที่แม้น้ำเจ้าพระยาของ de la Mare วิศวะกรฝรั่งเศสในสมัยพระนารายณ์แสดงพื้นที่ตั้งบางกอก บนพื้นที่คล้ายเกาะฝั่งธนบุรี (ขวา ) : แผนที่จาก Describtion du royaume de Siam ของ de la Lubere ทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาสมัยพระนารายณ์ ในแผนที่ la Ville คือตัวเมืองบางกอกซึ่งจะกลายเป็นพระนครในสมัยธนบุรี ส่วนฝั่งตรงข้าม คือ le fort ที่จะกลายเป็นกรุงเทพปัจจุบัน
เมืองบางกอก คือ เมืองที่ฝั่ง ‘ธนบุรี’ เคยมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นที่ดอนกว่าและเหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนในสภาพแวดล้อมของพื้นที่ปาก แม่น้ำที่ต้องมีน้ำหลากท่วมเป็นปกติตามฤดูกาล ตะกอนที่น้ำพามาทำให้ดินมีความสมบูรณ์เมื่อเติมด้วยความกร่อยเค็มผ่านการ ขึ้นลงของน้ำและไอทะเลที่ทำให้เกิดสภาพ ลัดจืดลัดเค็ม ผลไม้ที่ขึ้นแถบนี้จึงมีรสอร่อยพิเศษกว่าพื้นที่อื่น บริเวณนี้จึงเหมาะแก่การทำสวนมากกว่าทำนา
ในสมัยสมเด็จพระไชยราชา หรือช่วงต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการขุดคลองลัดบางกอก แม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมกลายเป็นคลองสองสาย ปัจจุบัน คือ คลองบางกอกใหญ่และคลองบางกอกน้อย ต่อมามีการขุดคลองคูเมืองทางฝั่งตะวันออกซึ่งก็คือคลองคูเมืองเดิมหรือที่ ปัจจุบันใครๆ มักเรียกว่า ‘คลองหลอด’ ส่วนคลองคูเมืองทางฝั่งตะวันตก เริ่มจากคลองบางกอกใหญ่อ้อมไปทางด้านหลังวัดโมลีโลกยารามหรือวัดท้ายตลาดไป ออกยังคลองบางกอกน้อยหลังวัดอมรินทรารามหรือวัดบางหว้าน้อย ด้วยเหตุนี้เมืองธนบุรีจึงมีลักษณะคล้ายเกาะ น่าจะเป็นที่มาของคำว่า ‘บางเกาะ’ หรือ ‘บางกอก’ (บางแนวคิดบอกว่า มาจากชื่อของต้นมะกอกน้ำที่น่าจะเคยมีมากแถบนี้) และเป็น เมือง ‘อกแตก’ คือมีแม่น้ำผ่ากลางเมือง มีชุมชนดั้งเดิมอยู่แถบนี้มาตั้งแต่ก่อนการขุดคลองลัดกระจายอยู่ตามริมแม่ น้ำเจ้าพระยาสายเดิม นักวิชาการด้านโบราณคดีและมานุษยวิทยาอย่าง รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม เคยให้ข้อสังเกตว่า ความเป็นชุมชนในบริเวณนี้มองได้จากวัดเก่าแก่ เช่น วัดบางหว้าใหญ่หรือวัดระฆังโฆสิตารามที่เป็นวัดประดิษฐานพระบรมธาตุมา ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น สมัยหลังมายังสถาปนาวัดอรุณราชวรารามถือเป็นศูนย์กลางสำคัญของธนบุรี ส่วนฝั่งตะวันออกก็มีวัดเก่าแก่เช่นกัน เช่น วัดโพธิ์และวัดสลักหรือวัดมหาธาตุฯในปัจจุบัน เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์แล้วศูนย์กลางการบริหารจึงย้ายไปฝั่งตะวันออก แต่คนและกิจกรรมโดยมากยังอยู่ที่ฝั่งตะวันตก
‘บางกอก’ ยังเป็นภาพของเมืองที่สะท้อนลักษณะความเป็นด่านหรือท่าสำคัญทางการค้ามาแต่ โบราณที่มีชุมชนหรือย่านเกิดขึ้นตามมา เช่น ย่านกะดีจีน ที่มีผู้คนหลายกลุ่มมาตั้งถิ่นฐาน ไม่ว่าจะเป็นชาวจีนที่ตั้งศาลเจ้าอันเป็นที่มาของชื่อย่านกะดีจีนหรือกุฎี จีน วัดกัลยาณมิตรศูนย์กลางของชาวพุทธที่ผสมผสานความเป็นจีนอย่างเด่นชัด ต่อมายังมีชาวโปรตุเกสอพยพมาจากอยุธยาเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้จึงถูก เรียกกันว่า ‘ฝรั่งกุฎีจีน’ หรือลึกเข้าไปในคลองบางหลวงก็มีชุมชนมอญ ใกล้กันมีบ้านลาวที่บางไส้ไก่ ส่วนกลุ่มมุสลิมก็อยู่ทางกะดีขาวหรือมัสยิดบางหลวง ย่านคลองสานใกล้กันก็มีความหลากหลายเช่นนี้ ซึ่งลูกหลานผู้คนเหล่านี้บางส่วนยังคงสืบเชื้อสายและตั้งถิ่นฐานมาจนถึง ปัจจุบัน
จากบางกอกกระทั่งเป็นกรุงเทพ เป็นสังคมที่มีการใช้ที่ดินเป็นแบบจารีต คือ มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน แต่พัฒนาการที่ชัดเจนหลัง พ.ศ. 2500 สยามหรือไทยได้เข้าสู่สังคมแบบอุตสาหกรรมยิ่งขึ้น และเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง เศรษฐกิจแบบทุนนิยมก็หลั่งไหลเข้ามาเต็มรูปแบบ พื้นที่สาธารณะที่เคยใช้กันตามจารีตจึงค่อยๆเปลี่ยนรูปแบบไปสู่ระบบ ‘กรรมสิทธิ์’ ที่ดินกลายเป็นเรื่องของ ‘ทุน’ ทางเศรษฐศาสตร์ มี ‘มูลค่า’ และสามารถซื้อขายได้อย่างถูกกฎหมาย ความเปลี่ยนแปลงนี้ตกค้างเป็นปัญหาระหว่างกรรมสิทธิ์กับสาธารณะ สิ่งที่ตามมาภายใต้โลกทัศน์ใหม่ก็คือ คน ตระกูล หรือผู้มีอำนาจในกรรมสิทธิ์หรือที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลกรรมสิทธิ์คือผู้มี ชื่อเป็นเจ้าของที่ดิน จึงสามารถขายที่ดินและได้ผลประโยชน์เฉพาะตนหรือตระกูลเมื่อมีการต้องการ เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ดังนั้น การซื้อขายเปลี่ยนมือจึงมักตามมาด้วยความขัดแย้งกับผู้ที่อยู่และใช้พื้นที่ นั้นมาแต่เดิม

3
ประวัติศาสตร์ในแบบเรียน คือ ประวัติศาสตร์อันชวนภาคภูมิใจถึงกรุงเทพหรือกรุงรัตนโกสินทร์
เด็กๆอาจสามารถท่องชื่อ วัด วัง สถานที่บางแห่งหรือบุคคลสำคัญได้อย่างคล่องปากไปจนถึงเข้าสู่รั้ว มหาวิทยาลัย แต่ความเปลี่ยนแปลงที่กำลังมาทำให้เราเริ่มมองเห็นเส้นขอบฟ้าที่นี่เปลี่ยน แปลงไปทุกวันเช่นกัน ภาพสะท้อนที่แสนชัดเจนของทุนนิยมและโลกาภิวัตน์ คือ ความทรงจำของกรุงเทพก็กำลังตามไม่ทันกับการพัฒนาเหมือนที่อื่นๆ โดยที่ยังไม่มีกระบวนการรักษาหรือจัดการกับความทรงจำที่กำลังจะหายไปเหล่า นั้น
สินค้านานาชนิดไล่ไปตั้งแต่เสื้อผ้าถึงของเล่นเด็ก ผลไม้อบแห้ง รังนก สมุนไพร หูฉลาม เครื่องไหว้ในพิธีกรรม ผู้คนจอแจทั้งหาซื้อของใช้และของกิน แสงไฟสว่างสดใสยามค่ำคืน เสียงสำเนียงไทยปนจีนและสำเนียงจีนจริงๆที่ล้งเล๊งระหว่างทำการค้า ม่านควันธูปอวลฟุ้งและผู้คนมากมายในศาลเจ้า คือ ภาพชีวิตทั่วไปที่แฝงไว้ซึ่งประวัติศาสตร์อันยาวนานของ ‘สำเพ็ง – เยาวราช’ หรือหากต่อเนื่องไปอีกหน่อยก็คือย่านการค้าที่สะท้อนความเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่องในกลุ่มคนเชื้อสายจีนที่เรียกว่า ‘เวิ้งนาครเขษม’ ซึ่งผู้มาเยือนสามารถหาซื้อได้ตั้งแต่เครื่องดนตรีพร้อมคำแนะนำสำหรับมือ ใหม่ เครื่องทองเหลืองหรือภาชนะสังกะสี ร้านขายวัตถุโบราณ หรือแม้แต่ร้านหนังสือหายาก ชื่อเสียงของที่นี่กำลังประกาศให้ทุกคนรู้ว่าย่านนี้เป็น ‘ย่านมังกร’ หรือสถานที่แห่งจิตวิญญาณนักสู้ที่บรรพบุรุษคนจีนสร้างเนื้อสร้างตัวกันมา ด้วยหยาดเหงื่อและความคิด
เดิมชุมชนของคนจีนเคยตั้งอยู่บริเวณวังหลวง แต่ย้ายมาบริเวณนี้เมื่อครั้งสร้างบ้านแปงเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ตามการโปรด เกล้าฯแห่งปฐมกษัตริย์ การค้าย่านนี้เจริญขึ้นและคึกคักมาตลอด โดยเฉพาะเมื่อกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งระหว่างกรุงเทพกับต่างจังหวัดเนื่อง จากใกล้ทั้งสถานีรถไฟหัวลำโพงและท่าน้ำราชวงศ์ ในขณะที่ผู้คนที่นี่เองก็ได้สร้างความสัมพันธ์กันเป็นย่าน เป็นชุมชนภายในนั้น แต่อาจเป็นความบังเอิญหรือจังหวะ ที่ที่ดินผืนนี้ไปเกี่ยวพันกับราชนิกูลและทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีต้นทุนทั้งทางวัฒนธรรมและที่ดินจำนวนมาก อันเป็นมรดกมาจากอดีตและกำลังเผชิญหน้ากับความยั่วเย้าอย่างรุนแรงของทุน นิยม ความบังเอิญเข้าไปอีกชั้นหนึ่งคือกรุงเทพมหานครของเราขณะนี้ก็มีผู้ว่า ราชการที่เป็นราชนิกูลจากเชื้อสาย ‘บริพัตร’ ซึ่งเป็นตระกูลหนึ่งที่มีส่วนได้ส่วนเสีย หากมีการพัฒนาที่ดินใน ‘โครงการรถไฟฟ้า’ บางแห่ง โดยเฉพาะสถานีวัดมังกรกมลาวาส ย่านเยาวราช และสถานีวังบูรพาใกล้แยกสามยอดติดกับเวิ้งนาครเขษม และเป็นจังหวะเดียวกันพอดีกับช่วงที่ทางกรุงเทพมหานครได้เปิดเผยถึงการกำหนด ผังเมืองใหม่อันชวนตระหนกออกมาให้ประชาพิจารณ์ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา


กำลังรื้อถอนอาคารเพื่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน
โครงการรถไฟฟ้า คือ ความสะดวกที่ชาวกรุงเทพไฝ่ฝันเพราะจะสามารถแก้ปัญหาเรื่องเวลาและหลีกเลี่ยง การจราจรอันคับคั่ง ดังนั้น จึงไม่ใช่โครงการที่จะถูกคัดค้านอย่างแน่นอน แต่หลายคนเริ่มไม่แน่ใจถึงสิ่งที่อาจซ้อนเร้นอยู่ในความบังเอิญและฉุกคิดถึง เมืองใหม่ที่ไม่มี ‘ไชน่าทาวน์’ อันเป็นย่านประวัติศาสตร์ที่ยังมีพลวัตรทางเศรษฐกิจสูงที่อาจหายไปในกระบวน การเงียบๆของนโยบายเมือง
ศิริณี อุรุนานนท์ ตัวแทนจากกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเจริญไชย กล่าวว่า ผังเมืองใหม่ที่กำลังมีขึ้น คือการกำหนดให้สถานีรถไฟฟ้าเป็นศูนย์กลางแห่งการจัดสรรการใช้พื้นที่ของ เมืองใหม่ทั้งหมด ทุกๆแห่งที่มีสถานีรถไฟฟ้า พื้นที่โดยรอบตีวงออกไป 500 เมตร อนุญาตให้สร้างอาคารขนาดใหญ่ได้ ซึ่งความคลุมเครือของกฎหมายอาจเปิดให้ตีความในการสร้างพื้นที่อาคารได้ถึง หนึ่งหมื่นตารางเมตร หรือเป็นตึกอาคารสูง 11 ชั้น และหากลองลากวงกลมตั้งแต่สถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพง วัดมังกร และวังบูรพา ไชน่าทาวน์ก็อาจหายไปเกือบหมด
หรือภาพของกรุงเทพในอนาคต อาจเป็นเพียงผลสะท้อนของการเจรจาทางธุรกิจระหว่างตระกูลหรือเจ้าของที่ดิน เดิมกับนักลงทุนกระเป๋าหนัก ในห้วงความคิดกับความเป็นจริงที่กำลังเริ่มเผยโฉมก็คือ ที่ดินผืนใหญ่ใจกลางย่านเก่าแก่และทรงพลังทางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ ซึ่งส่วนใหญ่คือที่ดินของกรมธนารักษ์ สำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มรดกของราชนิกูล รวมทั้งที่ธรณีสงฆ์ของวัดหลายแห่งกำลังถูกจัดการ เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ชุมชนและอาคารหวั่งหลีอันเก่าแก่ใกล้วัดยานนาวาถูกทุบทำลายและสั่งให้ย้ายคน หลายร้อยคนออกเมื่อวัดต้องการพัฒนาพื้นที่เพื่อเตรียมสร้างโรงแรม ในขณะที่ชุมชนซอยเจริญไชย บ้านของศิริณีเองซึ่งเป็นย่านที่ขายสินค้าประเพณีเกี่ยวกับวัฒนธรรมจีนก็ กำลังอยู่บนอนาคตที่ไม่แน่นอน เพราะเป็นเพียงผู้เช่าอาคารในกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ซึ่งมีหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพเป็นประธาน แม้จะเรียกร้องจนเสียงแหบแห้งสักเพียงใดก็ตาม แต่ปัจจุบันเป็นเวลา 4 ปีมาแล้วที่ชาวชุมชนเจริญไชยและละแวกใกล้เคียงไม่ได้รับการต่อสัญญาเช่า ทั้งที่อยู่อาศัยบนที่ดินผืนนี้มาถึง 4 -5 รุ่น โดยที่ทางกรุงเทพมหานครก็ไม่ได้รองรับความเป็นชุมชนของพวกเขา เนื่องจากมองว่าอาคารที่เช่านั้นเป็นสมบัติของเอกชน และ ณ ขณะนี้นี้หากมองไปฝั่งตรงข้ามจะเห็นว่าอาคารบางหลังในย่านแปลงนามเริ่มมีการ รื้อถอนเพื่อรองรับการมาอย่างแน่นอนของสถานีรถไฟฟ้าแล้ว

4
29 มิ.ย. 2555 ดีลทางธุรกิจครั้งใหญ่เสร็จสิ้นลงอีกแห่ง..
หรืออาจเป็นอีกวันที่น่าหวาดหวั่นสำหรับชาว ‘เวิ้งนาครเขษม’..
ณ ที่นี้ คือ พื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 14 ไร่ ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมทันสมัย การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนราคาประเมินที่ดินใหม่จะมีผล บังคับใช้วันที่ 1 ก.ค. 2555 โดยเป็นการทำสัญญาระหว่างเจ้าของที่ดินคือ ราชนิกูลเก่าแก่ 5 ตระกูล ได้แก่ บริพัตร,กิตติยากร ,โสณกุล ,บุณญะปานะ ,ดิศกุล ณ อยุธยา และสวัสดิวัตน์ กับ ‘เจริญ สิริวัฒนภักดี’ นักธุรกิจอันดับต้นๆของประเทศ
4,507 ล้านบาท คือ ราคาของกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินซึ่งสูงกว่าราคาประเมินถึงสามเท่า กระนั้น ก่อนหน้านี้กลุ่มผู้ค้าขายและอาศัยในย่านนาครเขษมก็เคยรวมตัวกันเป็น นิติบุคคลเพื่อเสนอราคา 4,000 ล้านบาทในการซื้อที่ดินคืนกลับมาแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ และที่ผ่านมาที่ดินแปลงนี้เคยตกเป็นที่สนใจของบรรดานักธุรกิจหลายกลุ่มทั้ง แพลตตินัม, อักษรา, สยามแก๊ส มาลีนนท์ หรือแม้แต่นักลงทุนจากประเทศจีน
“เราใช้วัฒนธรรมของเรา เรามีประวัติศาสตร์กาลเวลาของเรา พอดีพื้นที่เวิ้งมีคุณค่าตรงนี้ทำให้สู้ได้ชัด และสิ่งสำคัญที่ทำให้เราสู้ คือ เรามีความเป็นครอบครัวซึ่งเราอยู่มาสามสี่ชั่วรุ่น มันเป็นจิตวิญญาณของปู่ย่าตายาย เราต้องแสดงให้รัฐเห็นว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิในการแสดงความเห็นก่อนที่จะให้ ใครมากำหนดว่าชีวิตของเราเป็นอย่างไร” วิสิษฐ์ เตชะเกษม ชาวเวิ้งนาครเขษมสะท้อนถึงสิ่งที่คิดและกำลังทำ พวกเขาเพิ่งไปร่วมแสดงความเห็นผ่านเวทีเสวนา ‘ไล่รื้อชุมชน’ ความขัดแย้งระหว่างกรรมสิทธิโดยกฎหมายกับสิทธิชุมชน ภาวะล้าหลังทางวัฒนธรรมในเมืองไทย’ ซึ่งจัดขึ้นโดยมูลนิธิเล็ก -ประไพวิริยะพันธุ์ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ วันเดียวกับที่ความเป็นกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินเวิ้งนาครเขษมถึงกาลเปลี่ยนมือ

เวิ้งนาคาเขษม กับอานาคตที่ยังไม่แน่นอน
อะไรที่ทำให้นักธุรกิจใหญ่กล้าที่จะลงทุนบนที่ดินผืนนี้ เพราะลำพังทำเลรถไฟฟ้าคงไม่สามารถคืนกำไรกลับมาอย่างมหาศาลหากไม่สามารถ พัฒนาการใช้ที่ดินได้ หากมองตามกฎหมายผังเมืองเดิม พื้นที่บริเวณนี้คือ เขตย่านเก่าที่ห้ามไม่ให้มีการสร้างตึกสูง นอกจากนี้ เวิ้งนาครเขษมยังเป็นพื้นที่ใกล้กับเขตที่คณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์กำหนด ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์อย่างเข้มข้น แต่สิ่งที่เป็นข้อสังเกต คือ การแก้ไขผังเมืองฉบับใหม่อาจเป็นแรงขับเคลื่อนทางธุรกิจครั้งสำคัญที่ใครต่อ ใครต่างพากันเชื่อมั่นอย่างประหลาดว่า น่าจะผ่านออกมาได้ต่อให้มีการยื่นเรื่องคัดค้านก็ตาม
“เรายื่นเรื่องไปกับทางผังเมืองแล้ว แต่ถ้าผังเมืองไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไร ชาวบ้านในไชน่าทาวน์ทั้งหมดจะทำอะไรได้บ้าง จะยื่นเรื่องต่อไปทางไหน เราไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร ” ศิริณี สะท้อนถึงความเป็นจริงของกฎหมายที่เอื้ออาทรต่อการยื่นข้อเสนอและมักหยุด อยู่เพียงเท่านั้นราวกับเป็นก้อนเมฆที่ล่องลอยกระทบภูเขาเพียงให้เกิดเป็น ทัศนียภาพสวยงาม
ศิริณี ยังหวังถึงการต่อสู้ด้วยความเป็นอาคารอนุรักษ์ ซึ่งชุมชนเจริญไชยมีอาคารเก่าแก่กว่าร้อยปี โดยได้ยื่นเรื่องไปทั้งที่ทางสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการสิทธิ มนุษยชน ซึ่งหน่วยงานหลังได้เรียกทางผังเมืองมาคุยว่า บริเวณนี้เป็นอาคารเก่าแก่สมควรแก่การอนุรักษ์ ทำไมถึงไม่อนุรักษ์ไว้ ตัวแทนจากทางผังเมืองยืนยันในแบบที่ไม่เคยมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องที่รู้กันทั่วไปว่า ขึ้นกับกรมศิลปากร ถ้าไม่มีการชี้ว่าเป็นอาคารอนุรักษ์ก็ไม่สามารถริดรอนสิทธิของเจ้าของที่ดิน ได้

Station 1 โรงแรมแห่งใหม่กับการตลาดใกล้รถไฟฟ้าใต้ดิน ถูกขึ้นป้ายคัดค้านจาก วัดมังกรกมลาวาส ซึ่งอยู่ติดกัน

ตึกแถว 100 ปี ย่านชุมชนเจริญไชย ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดมังกร ฯ
ศิริณี ตัดสินใจยื่นเรื่องไปที่กรมศิลปากรอีกแห่ง อย่างไรก็ตาม ถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการส่งหน่วยงานใดเข้ามาดูว่า อาคารเหล่านี้เก่าแก่ควรแก่การอนุรักษ์หรือไม่ กระทั่งล่าสุด หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธ์ ยังออกมาให้ข่าวย้ำลงไปอีกว่า จะมีการรื้ออาคารเก่าแก่ที่อยู่ในที่ดินของมูลนิธิและบริเวณที่จะสร้างสถานี รถไฟฟ้า เนื่องจากมีสภาพที่เก่าและแผ่นดินไหวบ่อยอาจจะทำให้ไม่ปลอดภัย ซึ่งเป็นเหตุผลที่คนในชุมชนต่างคิดว่าไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น แต่หากมีผังเมืองใหม่ออกมาต่างหาก บริเวณนี้ก็อาจกลายเป็นห้างสรรพสินค้าหรู คอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ คอนโดมีเนียม ซึ่งนั่นหมายความว่า เมื่อมีรถไฟฟ้า อดีตโดยรอบและผู้คนที่นี่ย่อมหมดคุณค่าไปโดยปริยาย
“ไชน่าทาวน์ที่เราบอกว่าใหญ่ที่สุดในโลก อีกหน่อยจะไม่เหลือ ชาวต่างชาติที่อยากมาเที่ยวไชน่าทาวน์ เขาคงไม่อยากมาเที่ยวห้างสรรพสินค้า เพราะอย่างนั้นเขาไปเดินราชประสงค์หรือสยามก็ได้ แต่ไม่ใช่ที่ไชน่าทาวน์” ศิริณี กล่าว
ที่ชุมชนเจริญไชย ยังมีพิพิธภัณฑ์เล็กๆที่น่าสนใจแห่งหนึ่งอยู่บนอาคารที่ผู้ว่าฯหวั่นวิตกถึง แผ่นดินไหว ชื่อว่า ‘บ้านเก่าเล่าเรื่ง’ ซึ่งคณะทำงานกลุ่มอนุรักษ์และชาวชุมชนได้ร่วมกันตั้งขึ้น นอกจากสิ่งของที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของพื้นที่แล้ว ยังมีข้อความโดดเด่นชวนให้ตระหนักคิดติดแสดงอยู่
“ถ้าชุมชนที่มีการค้าขายแบบประเพณีดั้งเดิมที่อยู่นี้หายไป ต่อไปเราจะไปหาวัฒนธรรมประเพณีแบบนี้ได้จากที่ไหน หรือจะเล่าให้ลูกหลานฟังว่า ครั้งหนึ่งบริเวณนี้เคยเป็น....”

พิพิธภัณฑ์ บ้านเก่าเล่าเรื่อง คือ เรื่องราวของลูกหลานเผ่าพันธุ์มังกรสยามที่อาจถูกย้ายออกไป หากเจ้าของที่ดินต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์
หรือเมื่อเรากำลังเดินไปตามเส้นทางสายทุนนิยม เราต้องจำยอมให้ตัวตนของเราถูกละลายไปด้วย ข้อความที่เขียนไว้ในพิพิธภัณฑ์เจริญไชย อาจเป็นเสมือนคำพยากรณ์ที่เตือนถึงกรุงเทพมหานครเมืองฟ้า ที่ซึ่งลูกหลานของเราอาจตกใจและเสียดายเมื่อเอาภาพถ่ายสักใบที่มีชีวิตและ ผู้คนในเวลานี้ยื่นให้พวกเขาดู.