WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, July 16, 2012

ตื่นจากฝันร้าย ทัศนะพุทธศาสนาต่อ Occupy Wall Street

ที่มา ประชาไท

 
David Loy เขียน
วิจักขณ์ พานิช กลุ่มพุทธศาสน์ของราษฎร แปล

ภาพประกอบจาก http://www.ibtimes.com/articles/228475/20111010/occupy-wall-street-protests-protestors-paid-hired-jobs-volunteer-chicago-hispanic.htm
ในข้อเขียนชิ้นหนึ่งที่สะท้อนทัศนะพุทธศาสนาต่อประเด็น Occupy Wall Street (#OWS)  ไมเคิล สโตนได้ยกคำกล่าวของนักปรัชญา สลาวอย ชิเช็ค ผู้ปราศรัยต่อหน้าผู้ชุมนุม #OWS ที่สวนสาธารณะซัคกอตติ ในรัฐนิวยอร์ค เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๔ ไว้ดังต่อไปนี้
”พวกเขาบอกว่าเรามันก็แค่พวกเพ้อฝัน นักฝันที่แท้จริงคือพวกที่คิดว่าสิ่งทั้งหลายจะดำเนินอย่างที่มันเป็นต่อไป เรื่อยๆ   ดังนั้นเราจึงไม่ใช่นักฝัน  แต่เราคือผู้ตื่นจากฝันที่กำลังจะกลายเป็นฝันร้าย  เราไม่ได้กำลังทำลายสิ่งใด เราแค่กำลังเป็นสักขีพยานต่อระบบที่กำลังทำลายตัวมันเอง  เราต่างก็รู้ดีถึงฉากคลาสสิคจากหนังการ์ตูนทอมแอนด์เจอรี่ เจ้าแมวเดินมาถึงหน้าผา แต่กลับเดินต่อไปไม่รู้ไม่ชี้ เพิกเฉยราวกับไม่มีอะไรอยู่เบื้องล่าง  แต่แล้วเมื่อมันมองลงไปและเริ่มสังเกต มันก็ร่วงตกเหว  นี่คือสิ่งที่เรากำลังทำกันอยู่ที่นี่  เรากำลังบอกผู้คนในวอลล์ สตรีท ... เฮ้ย! มองข้างล่าง!”
ดังที่สลาวอยกล่าวและไมเคิลเน้นย้ำ  เรากำลังเริ่มตื่นขึ้นจากความฝันนั้น  นั่นถือเป็นวิธีอธิบายที่น่าสนใจ เพราะพระพุทธเจ้าก็ตื่นขึ้นจากฝันเช่นเดียวกัน  พุทธะ หมายถึง “ผู้ตื่น”  เขาตื่นขึ้นจากความฝันอันใดกัน  และความฝันนั้นสัมพันธ์กับฝันร้ายในยุคสมัยของเราหรือไม่?
ตั้งแต่แรกเริ่ม #OWS ถูกวิจารณ์ในความไม่ชัดเจนของข้อเรียกร้อง แม้จะชัดเจนว่า ต่อต้าน ระบบปัจจุบัน แต่ก็ไม่ชัดเจนนักว่าข้อเรียกร้องนั้นมีขึ้นเพื่ออะไร  จากนั้นดูเหมือนว่าการระดมความคิดและข้อมูลจะพัฒนาขึ้น  ผู้ประท้วงหลายคนเรียกร้องให้มีการเก็บภาษีคนรวยให้สูงขึ้น เสนอให้มีการเสียภาษีการค้า (Tax on Trades) ที่เรียกว่า “โรบินฮู้ด” (โทบิน) และการปฏิรูประบบการเงิน เพื่อแยกธนกิจเพื่อการพาณิชย์กับธนกิจเพื่อการลงทุนออกจากกัน  ประเด็นเหล่านี้เป็นเป้าประสงค์ที่มีคุณค่า แต่คงเป็นไปไม่ได้ที่จะสรุปว่าข้อเสนอเหล่านั้นในตัวมันเองจะแก้ไขปัญหาพื้น ฐานได้ทั้งหมด   เราต้องให้ความสำคัญกับความรู้สึกไม่พอใจอันไม่เฉพาะเจาะจงไปยังเรื่องใด เรื่องหนึ่งที่ผู้คนจำนวนมากรู้สึก เพราะมันสะท้อนถึงการตระหนักรู้ทั่วไปอันไม่เฉพาะเจาะจง  การตระหนักรู้ที่ว่า...รากของวิกฤตนั้นหยั่งลึกมาก และเราต้องการการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงราก (ตรงตามตัว)
วอลล์ สตรีท คือส่วนที่มองเห็นและเข้มข้นที่สุดของฝันร้ายที่ใหญ่กว่านั้นมาก อันได้แก่ มายาคติแบบรวมหมู่ที่ว่า ระบบเศรษฐกิจปัจจุบันทั้งในแง่โลกาภิวัฒน์ บริโภคนิยม และทุนนิยมบรรษัท ไม่ใช่แค่ระบบที่ดีที่สุด แต่เป็นระบบเดียวที่เป็นไปได้ ดังคำกล่าวอันลือลั่นของมากาเร็ต แท็ตเชอร์ที่ว่า “มันไม่มีทางอื่น”  ทว่าหลายเหตุการณ์ในรอบสองสามปีที่ที่ผ่านมาได้สั่นคลอนความมั่นใจที่ว่า นั้น  และเหตุการณ์ในสองสามอาทิตย์ที่ผ่านมา คือปฏิกิริยาสะท้อนการตระหนักรู้ที่ลุกลามออกไป ว่าระบบเศรษฐกิจของเรานั้นเอื้อประโยชน์ให้แก่คนมีอันจะกิน (พวก ๑ %) ในค่าใช้จ่ายที่คนชั้นกลาง (ลดเร็ว) และคนจน (เพิ่มเร็ว) ต้องเสีย  และแน่นอนว่ายังรวมถึงหายนะของระบบนิเวศทั้งหลาย ซึ่งจะส่งผลไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน  สิ่งที่เรากำลังตื่นขึ้นคือข้อเท็จจริงที่ว่าระบบอันอยุติธรรมนั้นกำลังพัง ครืนลง และมัน “สมควร” แล้วที่จะพัง เพื่อว่าทางเลือกอื่นจะสามารถพัฒนาขึ้นได้
ไม่เพียงแค่ระบบเศรษฐกิจเท่านั้นที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงราก เพราะในความเป็นจริง หาได้มีเส้นแบ่งระหว่างเศรษฐกิจกับการเมืองไม่  ด้วยคำตัดสินของศาลสูงสุดต่อกรณี ”Citizens United” เมื่อปีที่แล้วที่ได้ยกเลิกเพดานเงินสนับสนุนที่บรรษัทข้ามชาติสามารถสนับ สนุนพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง อำนาจของบรรษัทยักษ์ใหญ่จึงสามารถเข้ามาควบคุมองค์กรส่วนกลางและหน่วยงานรัฐ ชั้นสูงทั้งหมด รวมถึงทำเนียบประธานาธิบดีด้วย (โอบาม่าได้รับเงินสนับสนุนการหาเสียงเลือกตั้งจากวอลล์ สตรีทมากกว่าประธานาธิบดีคนอื่นๆ ทั้งหมดตั้งแต่ปี ๑๙๙๑ เป็นต้นมา ซึ่งช่วยอธิบายทางเลือกที่น่าผิดหวังของที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของเขา)  วันนี้ปัญญาชนสามารถสลับหมวกไปมาได้อย่างง่ายดาย จากซีอีโอไปสู่ตำแหน่งในคณะรัฐบาล และอื่นๆ  เพราะว่าทั้งสองด้านต่างก็ยึดโลกทัศน์แบบเดียวกัน นั่นคือทางแก้ปัญหาทุกอย่างด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจ  และแน่นอนว่าพวกเขาก็คือกลุ่มคนที่ได้ประโยชน์จากวิสัยทัศน์แบบเกี๊ยะเซี๊ ยะนี้มากที่สุด ซึ่งนั่นหมายถึงความท้าทายของพวกเราที่เหลือ ที่ต้องตระหนักว่ากลุ่มคนที่ควบคุมระบบการเมืองและเศรษฐกิจทั้งหมด แทบไม่มีความมุ่งมั่นใดๆ ต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างถึงรากให้เกิดขึ้นได้เลย
แม้ว่าพรรคเดโมแครตจะไม่ได้กลายเป็นตัวตลกแบบเดียวกับพรรครีพับลิกัน ทว่าในขั้นพื้นฐานนี้ก็แทบไม่มีข้อแตกต่างอะไรระหว่างพรรคการเมืองทั้งสอง  แดน แฮมเบิร์ก วุฒิสภาพรรคเดโมแคร็ตจากรัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าวข้อสรุปจากหลายปีในการดำรงตำแหน่งวุฒิสภาสหรัฐฯ ว่า “รัฐบาลตัวจริงของประเทศเรา คือระบบเศรษฐกิจที่ถูกครอบงำโดยบรรษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย ซึ่งทำทุกวิถีทางให้รัฐต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของพวกเขา สร้างบรรยากาศและความมั่นใจต่อการลงทุน ที่บรรษัทเหล่านั้นและผู้ลงทุนสามารถแสวงหาผลกำไรเป็นตัวเลขมหาศาล อันเป็นเป้าหมายของทั้งสองพรรคใหญ่”  นอกจากนั้นเรายังมีรัฐสภาที่ดีที่สุดที่เงินสามารถซื้อได้  ดังที่วิล โรเจอร์ส ตั้งข้อสังเกตไว้ตั้งแต่ยุค ๑๙๒๐
จากทัศนะของพุทธศาสนา ประเด็นคือระบบทั้งหมดนี้ไม่สอดคล้องกับคำสอนพุทธศาสนา เพราะมันเป็นระบบที่ส่งเสริมความโลภและความหลง อันเป็นสาเหตุแห่งทุกข์  แก่นของวิกฤติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือบทบาททางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของบรรษัทข้ามชาติทั้งหลาย อันดำรงอยู่ได้อย่างเป็นเอกเทศโดยตัวมันเอง และกระทำการเพื่อเป้าหมายแอบแฝงของตัวเองอีกด้วย  นอกเหนือจากการประชาสัมพันธ์และโฆษณาชวนเชื่อต่อสาธารณะที่พวกเราต่างรู้ กันดี  สิ่งที่บรรษัทเหล่านั้นสนใจที่สุดแตกต่างไปจากสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับพวกเรา  บางครั้งเราจะได้ยินเกี่ยวกับ “บรรษัทรู้แจ้ง” ทว่าอุปมาอุปมัยนั้นหลอกลวงและไม่มีอะไรเหมือนกันระหว่าง “การรู้แจ้ง”แบบนั้น กับการรู้แจ้งที่สอนกันในพุทธศาสนา
อำนาจที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ของบรรษัทยักษ์ใหญ่ ค่อยๆ พัฒนาสู่ความเป็นสถาบันในปี ๑๘๘๖  เมื่อศาลสูงสุดของสหรัฐฯ ได้ออกกฏหมายให้บรรษัทเอกชนกลายเป็น “บุคคลโดยธรรมชาติ” ภายใต้รัฐธรรมนูญสหรัฐฯ และได้รับการปกป้องภายใต้รัฐบัญญัติสิทธิ (Bill of Rights) ซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  นี่แสดงให้เห็นชัดถึงปัญหาอันน่าขัน ดังที่โปสเตอร์ของผู้ประท้วงหลายชิ้นได้อ้างถึง  บรรษัททั้งหลายไม่ใช่คน เพราะว่ามันคือการผลิตสร้างทางสังคม และที่แน่ๆ คำว่าการรวมตัวกันเป็นบริษัท (incorporations: from the Latin corpus, corporis “ร่างกาย”) ไม่ได้หมายความถึงการมีร่างกาย  บรรษัททั้งหลายเป็นเพียงนวนิยายทางกฏหมายที่สร้างขึ้นโดยหน่วยงานของรัฐ ซึ่งหมายความว่าโดยธรรมชาติภายใน พวกมันเพิกเฉยต่อหน้าที่ความรับผิดชอบที่ผู้คนสัมผัสได้  บรรษัทไม่สามารถหัวเราะหรือร้องไห้  มันไม่สามารถรื่นรมย์กับโลกหรือมีความทุกข์กับโลก  มันไม่รู้สึกเสียใจต่อสิ่งที่มันทำ (บางโอกาสมันอาจขอโทษ แต่นั่นเป็นเพียงความสัมพันธ์ที่มีต่อสาธารณะเท่านั้น)
ที่สำคัญที่สุด บรรษัทข้ามชาตินั้นไม่สามารถรักใครได้  ความรักคือการตระหนักถึงความเชื่อมสัมพันธ์กับคนอื่น และใช้ชีวิตเพื่อประโยชน์สุขของพวกเขา  ความรักไม่ใช่อารมณ์ชั่ววูบแต่เป็นการร่วมทุกข์ร่วมสุขกับผู้อื่น ซึ่งรวมถึงความรับผิดชอบต่อผู้คน ความรับผิดชอบที่ข้ามพ้นความสนใจแต่เรื่องของตัวเอง  บรรษัทข้ามชาติทั้งหลายไม่สามารถสัมผัสกับความรัก หรือกระทำการใดๆ ตามอำนาจของความรัก  ซีอีโอคนใดก็ตามที่พยายามจะบริหารกำไรของบริษัทด้วยความรักที่มีต่อโลกใบ นี้ จะถูกไล่ออกจากตำแหน่งทันที เพราะพวกเขากำลังเพิกเฉยต่อการเติมเต็มเป้าหมายหลัก นั่นคือการแสวงหาผลกำไรสูงสุด อันเป็นความรับผิดชอบที่พวกเขาต้องมีต่อเจ้าของและผู้ถือหุ้นทั้งหลาย
การรู้แจ้งในทางพุทธ โดยนัยหนึ่ง คือการตระหนักว่า สัญชาตญาณของการมีชีวิตอยู่ในแง่ตัวตนที่แยกขาดจากโลกนั้นเป็นมายาคติที่ก่อ ให้เกิดความทุกข์ทั้งสองทาง (ทั้งต่อโลกและต่อตัวฉัน)   การตระหนักว่าฉัน เป็น โลกใบนี้  และตระหนักว่า “ฉัน” เป็นหนึ่งในหลายหนทางที่โลกใบนี้เผยแสดง -- ถือเป็นด้านแห่งการรับรู้ความรักอันเป็นสากล ซึ่งอริยบุคคลผู้รู้แจ้งรู้สึกต่อโลกใบนี้และสรรพชีวิตที่อาศัยอยู่  การรู้แจ้ง(ปัญญาญาณ) และความรัก (กรุณา) คือสองด้านของเหรียญเดียวกัน ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมธรรมาจารย์ในพุทธศาสนาจึงเน้นย้ำอยู่บ่อยๆว่ า การตื่นรู้อย่างแท้จริงจะมาพร้อมกับความรักต่อสรรพชีวิตบนโลกใบนี้
บรรษัทถูก “เติมเชื้อ” พร้อม ๆ ไปกับการเสริมสร้างลักษณะความเป็นมนุษย์ในแบบที่แตกต่างจากทั่วๆไป ระบบเศรษฐกิจที่ครอบงำโดยบรรษัทข้ามชาติต้องอาศัยความโลภในอย่างน้อยสองทาง ด้วยกัน คือ หนึ่ง ความปรารถนาที่จะแสวงหาผลกำไรแบบไม่บันยะบันยัง และนั่นคือเครื่องจักรของกระบวนการทางเศรษฐกิจ และสอง การจะรักษาผลเติบโตทางเศรษฐกิจให้พุ่งสูงยิ่งขึ้น จะต้องมีการสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าเกิดความต้องการมากขึ้นอยู่เสมอ
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับความโลภได้กลายเป็นเรื่องแย่หนักขึ้นไปอีก เมื่อถูกทำให้กลายเป็นสถาบันในรูปของโครงสร้างอันถูกต้องตามกฏหมายที่ได้ยึด ครองอภิสิทธิ์อย่างเป็นอิสระจากคุณค่าในตัวมันเองและแรงจูงใจของผู้คนที่ถูก ใช้โดยมัน  ยกตัวอย่างเช่น ตลาดหุ้น  โดยนัยหนึ่ง นักลงทุนต้องการเพิ่มรายได้ในรูปของโบนัสและราคาหุ้นที่สูงขึ้น และอีกนัยหนึ่งความคาดหวังอันไม่ระบุนามนี้ได้แปรไปสู่แรงกดดันอันต่อเนื่อง ต่อผลกำไรและการเติบโตทางธุรกิจในระยะสั้น  ส่วนสิ่งอื่นๆ รวมถึงสิ่งแวดล้อม การจ้างงาน และคุณภาพชีวิต ได้กลายเป็น “สิ่งนอกตัว” ภายใต้ความต้องการอันไม่ระบุนาม ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ไม่มีทางจะเติมเต็มได้  เราต่างมีส่วนร่วมในกระบวนการที่ว่านี้ ในฐานะคนงาน ลูกจ้าง ผู้บริโภค และนักลงทุน  ซึ่งมีความรู้สึกรับผิดชอบทางศีลธรรมเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย เพราะการตระหนักรู้เช่นนั้นได้สูญหายไปภายใต้ความไม่เป็นบุคคลของระบบทั้ง หมด
แต่เราอาจแย้งว่า บรรษัทบางแห่ง (ซึ่งมักเป็นบริษัทขนาดเล็กหรือบริหารงานกันในครอบครัว) ให้การดูแลลูกจ้างของพวกเขาเป็นอย่างดี และยังห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมและอื่นๆ  ข้อโต้แย้งลักษณะนี้เป็นข้อโต้แย้งเดียวกับเรื่องทาส ที่ว่านายทาสบางคนดูแลลูกทาสของพวกเขาอย่างดี แต่นี่ไม่อาจหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่าสถาบันทาสนั้นมาถึงจุดที่สุดจะทานทน เช่นเดียวกับที่ทุกวันนี้ เป็นเรื่องที่ไม่อาจทนได้อีกต่อไปที่คุณภาพชีวิตรวมถึงวิธีการจัดสรร “ทรัพยากร” อันจำกัดของโลกใบนี้กำลังเป็นไปเพื่อผลกำไรสูงสุดของบรรษัทยักษ์ใหญ่ทั้ง หลาย
โดยย่อ เรากำลังตื่นขึ้นมาสู่ความจริงที่ว่า แม้บรรษัทข้ามชาติทั้งหลายอาจทำกำไรได้มากมายในทางเศรษฐกิจ ทว่าพวกมันก็ถูกสร้างขึ้นในหนทางที่ทำให้ตัวมันเองมีข้อบกพร่องในทางสังคม  เราไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่พวกมันสร้างขึ้นอยู่ตลอด ด้วยการชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่เป็นปัญหาในทุก ๆ ครั้ง (มอร์แกน สแตนลีย์, แบงก์ออฟอเมริกา) เพราะว่ามันคือตัวสถาบันเองต่างหากที่เป็นปัญหา  เมื่อได้รับอำนาจอันยิ่งใหญ่เหนือกระบวนการทางการเมือง การท้าทายบทบาทของมันจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ทว่าพวกมันมีสายสะดืออันใหญ่ นั่นคือ ข้อตกลงของบรรษัทสามารถถูกเขียนขึ้นใหม่โดยเพิ่มความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม  กลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายก้าวหน้าทางจิตวิญญาณ (Network of Spiritual Progressives) ได้เรียกร้องให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดชอบทางสังคม และสิ่งแวดล้อม Environmental and Social Responsibility Amendment (ESRA) ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐเพื่อให้มีผลบังคับใช้  หากโชคชะตาของเรา คือการอยู่ในอุ้งมือของบรรษัทต่อไป บรรษัทเหล่านั้นจะต้องมีความรับผิดชอบต่อชุมชนที่บรรษัทนั้นตั้งอยู่ ไม่ใช่ต่อกลุ่มนักลงทุนซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใคร บางที #OWS คือจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวซึ่งจะทำให้สิ่งนี้ประสบผลสำเร็จก็เป็นได้
ทว่า เพียงเท่านี้อาจไม่เพียงพอ  มีสิ่งที่สำคัญและเป็นพื้นฐานยิ่งกว่า นั่นคือโลกทัศน์ที่ส่งเสริมและให้เหตุผลต่อฝันร้ายทางเศรษฐกิจที่เรากำลังจะ ตื่นขึ้นมาจากมัน  ในพุทธศาสนา ปัญหาไม่ใช่อยู่แค่ความโลภ แต่ยังรวมถึงอวิชชา  ทฤษฎีที่ใช้กันบ่อยที่สุดเพื่อแก้ต่างให้กับทุนนิยมก็คือ “มือที่มองไม่เห็น” ของอดัม สมิทธิ์ ที่พยายามบอกเราว่าความสนใจของเราแต่ละคนนั่นเองที่ทำหน้าที่สร้างกำไรต่อ สังคมส่วนรวมทั้งหมด  อย่างไรก็ดี ฉันยังสงสัยว่า บ่อยครั้งที่ซีอีโอทั้งหลายถูกจูงใจโดยบางสิ่งที่ดูน่าสนใจน้อยกว่า  มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่อิทธิพลของบรรษัทข้ามชาติเพิ่มสูงขึ้นพร้อมๆ กับการเป็นที่นิยมของทฤษฎีสังคมแบบดาร์วิน อันเป็นอุดมการณ์ที่ใช้ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินอย่างผิดๆ ต่อชีวิตทางสังคมและทางเศรษฐกิจ  “สังคมคือป่าทึบ และคนที่แข็งแรงที่สุดเท่านั้นที่จะมีชีวิตรอด” หากเธอไม่เอาเปรียบคนอื่น คนอื่นก็จะเอาเปรียบเธอ วิวัฒนาการแบบดาร์วินได้กำจัดความต้องการการมีอยู่ของ “ผู้สร้าง” และความต้องการที่จะปฏิบัติตามพระประสงค์ของท่าน มาถึงตอนนี้มันคือการต่อสู้เพื่อจะยืนด้วยลำแข้งตัวเองของคนทุกคน
ทฤษฎีทางสังคมแบบดาร์วินสร้างวงจรป้อนกลับ (feedback loop) ขึ้นมา ยิ่งมีคนศรัทธาและปฏิบัติตามมากเท่าไร สังคมก็ยิ่งกลายเป็นผืนป่าทางสังคมแบบดาร์วินมากเท่านั้น  นี่คือตัวอย่างคลาสสิคของวิธีการที่เราร่วมกันสร้างโลกที่เราอยู่ขึ้นมา และนี่อาจเป็นที่ที่พุทธศาสนามีคุณูปการมากที่สุด เพราะว่าพุทธศาสนาได้ให้โลกทัศน์ทางเลือก อันตั้งอยู่บนความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์ที่ลึกซึ้งยิ่งกว่า ซึ่งมุ่งอธิบายว่าทำไมเราจึงไม่มีความสุขและทำอย่างไรที่เราจะมีความสุขยิ่ง ขึ้น  งานวิจัยล่าสุดทางจิตวิทยาและทางเศรษฐศาสตร์ยืนยันถึงบทบาททำลายล้างของ ความโลภ และความสำคัญของสายสัมพันธ์ทางสังคมที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับคำสอนในพุทธศาสนาเรื่องการแบ่งปัน และการเอื้ออิงอาศัยกัน
อีกนัยหนึ่ง ไม่ใช่แค่ระบบเศรษฐกิจและระบบการเมืองเท่านั้นที่เป็นปัญหา แต่ยังรวมถึงโลกทัศน์ผิดๆ ที่ส่งเสริมความเห็นแก่ตัวและการแก่งแย่งแข่งขัน แทนที่การอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน และความปรองดองกันฉันท์มิตร  ในสังคมตะวันตกได้เกิดรอยแยกระหว่างความเชื่อเทวนิยมที่ค่อยๆ กลายเป็นสิ่งที่ยากที่จะเชื่อ และอุดมการณ์แบบหมากินหมา ซึ่งได้ทำให้ชีวิตย่ำแย่หนักเข้าไปอีกสำหรับทุกคน  โชคดีที่ ณ ปัจจุบันนี้เรามีทางเลือกอื่นๆ
พุทธศาสนายังมีสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้จาก #OWS นั่นคือ การจะมุ่งเน้นไปที่การตื่นจากความฝันของเราแต่ละคนในแง่ปัจเจกเท่านั้นยัง ไม่พอ  ถึงเวลาที่เราต้องตื่นขึ้นจากฝันร้ายแบบรวมหมู่ไปด้วยกัน  แล้วนี่ยังไม่ถึงเวลาอีกหรือที่จะนำเอาการปฏิบัติภาวนาออกมาสู่ท้องถนน?
"หากเรายังคงทำร้ายโลกในหนทางเช่นนี้ ก็ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าความเจริญรุ่งเรืองของมนุษยชาติกำลังจะพินาศในท้ายที่ สุด  การหมุนกลับนี้ต้องอาศัยการตื่น หรือการรู้แจ้ง  พระพุทธะบรรลุถึงการรู้แจ้งเชิงปัจเจก  แต่ในตอนนี้ เราต้องการการรู้แจ้งร่วมกันเพื่อหยุดยั้งวิถีทางแห่งการทำลายล้าง  ความเจริญรุ่งเรืองกำลังเดินทางมาถึงจุดจบ หากเรายังคงจ่อมจมอยู่กับการแก่งแย่งแข่งขัน เพื่อช่วงชิงอำนาจ ชื่อเสียง เซ็กซ์ และผลกำไร"
 ---- ติช นัท ฮันห์
(แปลจาก Waking Up from the Nightmare: Buddhist Reflections on Occupy Wall Street by David Loy)