WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, September 27, 2012

ประวัติศาสตร์ของความเงียบ, การเพรียกหาความเป็นธรรมที่กรรมการซีไรต์ยังคงไม่ได้ยิน (เหมือนเดิม)

ที่มา ประชาไท

 


ในบรรดานิยายที่ประกวดรางวัลซีไรต์ในปี 2555 เกือบทั้งหมด ประวัติศาสตร์ของความเงียบ น่าจะเป็นเพียงเล่มเดียวที่เป็นเสมือนกระทู้คำถามเรียกร้องความเป็นธรรมให้ กับคนเสื้อแดงในเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553 โดยที่ไม่มีคำว่าคนเสื้อแดงแม้แต่คำเดียวปรากฏอยู่ในเล่ม
ด้วยการสร้างสภาวะของ “ความเงียบ” ให้ส่งเสียงดังกังวานกึกก้อง สมดังชื่อเรื่อง และสะท้อนภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ทางการเมืองได้อย่างยอดเยี่ยม หมดจด เหนือชั้น ด้วยกลวิธีการประพันธ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในนิยายไทย วรรณกรรมเล่มนี้ทำให้สภาวะที่กล่าวกันว่า “เงียบจนแสบแก้วหู” ปรากฏขึ้นเป็นตัวตนจับต้องได้ในรูปของวรรณกรรมที่ตอบโต้กับผู้อ่านอย่างน่า ทึ่ง
ผู้เขียนได้ย่อจักรวาลของเหตุการณ์ปรอทแตกระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 มาอยู่ในวันเวลา 7 วันของ อภิต นักแต่งเพลงหนุ่มผู้เดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อตามหา โกเมศ อิศรา กวี – นักเขียน ซึ่งเคยมีผลงานระหว่างเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 – 6 ตุลา 19 ผู้อบอวลไปด้วยปริศนาว่ามีตัวตนจริงหรือไม่
อติภพ ภัทรเดชไพศาลท้าทายคนอ่านด้วยกลวิธีการประพันธ์ที่ซุกซ่อนเนื้อสารอันแท้ จริงที่ต้องการจะสื่อไว้ใน “ความหมายชั้นที่สอง” ซึ่งดำเนินขนานไปกับเรื่องในชั้นแรกที่อยู่บนผิวเปลือก นี่คือการใช้ศิลปะการประพันธ์ในการสื่อสะท้อนภาพ “วรรณกรรมกระซิบ” จำนวนมากบนอินเตอร์เน็ตในท่ามกลางความโกลาหลของการเมืองบนท้องถนน อติภพไม่เพียงแต่ “เลียน” และ “ล้อ” วรรณกรรมกระซิบที่เกิดขึ้นบนสถานการณ์จริงได้อย่างแหลมคม เขายังหลอมมันเข้ากับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นและแปรรูปออกมาเป็นท่วงทำนอง วรรณกรรมที่มีรสชาติหลอนประหลาดได้อย่างน่าสนใจ แสดงให้เห็นสภาวะของความกลัวและความเงียบที่อัดแน่นจนถึงจุดระเบิด... และต่อมาก็ถูกกลบเกลื่อนเสมือนไม่เคยดำรงอยู่
นี่คือวรรณกรรมที่สำแดงอนุภาพแห่งวรรณกรรม ซึ่งไม่เพียงสามารถบอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริง หากยังดูดดึงผู้อ่านลงไปเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เกิดขึ้น ผนึกกาลเวลาของผู้อ่านกับกาลเวลาของนิยายเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
ประวัติศาสตร์ของความเงียบ ได้ก้าวข้ามความเป็น “เรื่องเล่า” ที่นักเขียนนิยายไทยยังคงวนเวียนกันอยู่อย่างหาทางไปไม่ได้ ทิ้งเรื่องเล่าให้เป็นนิยายยุคเก่า และสร้างปรากฏการณ์ของการอ่านใหม่ พาคนอ่านก้าวเดินมาสู่ไวยกรณ์ทางวรรณกรรมซึ่งพ้นไปจากความเป็นเรื่องเล่า แต่เป็นสื่อภาษาที่จะพาคนอ่านเข้าไปอยู่ในมิติของอารมณ์ เหตุการณ์ บรรยากาศ ได้อย่างที่นิยายอื่นไม่สามารถกระทำ
อติภพ ภัทรเดชไพศาล ได้สร้างนิยายเรื่องนี้ให้เป็นดังกระทู้ถามเหล่าผู้มาก่อนซึ่งเคยอวดวีรกรรม ตุลาคมของตนให้คนรุ่นหลังฟัง วันนี้โกเมศ อิศรายังมีตัวตนสำหรับพวกเขาหรือไม่?  หรือเขาไม่รู้จักโกเมศ ไม่ใช่เพราะโกเมศไม่มีตัวตนอยู่จริง แต่จิตวิญญาณของผู้รักความเป็นธรรมได้เหือดหายกลายไปจากพวกเขาเนิ่นนานแล้ว และเหลือเพียงแต่ภาพลวงตาอันจอมปลอม
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นสิ่งที่คณะกรรมการรางวัลซีไรต์มองไม่เห็น และไม่ได้ยิน  ประวัติศาสตร์ของความเงียบจึงไม่ถูกนับ เช่นเดียวกับโกเมศ อิศราที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง
นี่เป็นนิยายที่เย้ยหยันเสียดแทงไปที่ใจดำของสังคมไทย และคงมีเพียงผู้ได้ยินเสียงของความเงียบเท่านั้นจึงจะอ่านวรรณกรรมเล่มนี้เข้าใจ

(กรุณาอ่านบทความฉบับเต็มที่ วารสารหนังสือใต้ดิน 16: อภินิหารวรรณกรรมไทย)