ที่มา ประชาไท
Wed, 2012-09-26 22:27
Wed, 2012-09-26 22:27
นักข่าวเนเธอร์แลนด์
หนึ่งในผู้บาดเจ็บเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อพ.ค. 53
ให้ปากคำดีเอสไอในฐานะพยาน ระบุหลักฐานต่างๆ ชี้ว่าทหารเป็นผู้ยิง
ย้ำไม่เห็นชายชุดดำ
26 ก.ย. 55 - มิเชล มาส ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์โฟลกส์ครานต์ (Volkskrant) และสถานีวิทยุโทรทัศน์เอ็นโอเอสของเนเธอร์แลนด์ หนึ่งในผู้สื่อข่าวที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกกระสุนปืนยิงในเหตุการณ์การ สลายการชุมนุมวันที่ 19 พ.ค. 53 ได้เข้าให้ปากคำกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โดยในช่วงเช้าวันนี้ได้ชี้จุดเกิดเหตุที่ตนเองถูกยิงบริเวณถนนราชดำริใกล้ กับสวนลุมพินี และระบุว่าตนถูกยิงเข้าที่บริเวณด้านหลังในขณะที่กำลังรายงานข่าวทาง โทรศัพท์ มาสกล่าวว่า ทิศทางของกระสุนมาจากบริเวณที่ทหารประจำการอยู่บริเวณสี่แยกราชดำริ พร้อมระบุ ไม่เห็นชายชุดดำหรือกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ ในบริเวณดังกล่าว จึงค่อนข้างมั่นใจว่าทหารน่าจะเป็นผู้ยิง
นายมิเชล มาส ขณะชี้จุดเกิดเหตุบริเวณถนนราชดำริ กับดีเอสไอ
26 ก.ย. 55 - มิเชล มาส ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์โฟลกส์ครานต์ (Volkskrant) และสถานีวิทยุโทรทัศน์เอ็นโอเอสของเนเธอร์แลนด์ หนึ่งในผู้สื่อข่าวที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกกระสุนปืนยิงในเหตุการณ์การ สลายการชุมนุมวันที่ 19 พ.ค. 53 ได้เข้าให้ปากคำกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โดยในช่วงเช้าวันนี้ได้ชี้จุดเกิดเหตุที่ตนเองถูกยิงบริเวณถนนราชดำริใกล้ กับสวนลุมพินี และระบุว่าตนถูกยิงเข้าที่บริเวณด้านหลังในขณะที่กำลังรายงานข่าวทาง โทรศัพท์ มาสกล่าวว่า ทิศทางของกระสุนมาจากบริเวณที่ทหารประจำการอยู่บริเวณสี่แยกราชดำริ พร้อมระบุ ไม่เห็นชายชุดดำหรือกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ ในบริเวณดังกล่าว จึงค่อนข้างมั่นใจว่าทหารน่าจะเป็นผู้ยิง
นายมิเชล มาส ขณะชี้จุดเกิดเหตุบริเวณถนนราชดำริ กับดีเอสไอ
ในการเข้าให้ปากคำเป็นพยานในครั้งนี้
มาสมาในฐานะพยานเหตุการณ์ในคดีการเสียชีวิตของนักข่าวชาวอิตาเลียน ฟาบิโอ
โปเลนกี ในเหตุการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 53
และมาในฐานะผู้เสียหาย เนื่องจากเขาถูกกระสุนปืนยิงเข้าบริเวณหลังด้านขวา
ซึ่งผลการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญระบุว่า
กระสุนดังกล่าวเป็นกระสุนจากปืนเอ็ม 16
ภาพกระสุนปืนเอ็ม 16 ที่พบหลังการผ่าตัดจากร่างกายนายมิเชล มาส
(ที่มาภาพ จากมิเชล มาส)
(ที่มาภาพ จากมิเชล มาส)
ทั้งนี้
มาสเป็นผู้บาดเจ็บเพียงคนเดียวในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนเม.ย.- พ.ค. ปี
53 ที่ยังคงมีกระสุนเป็นหลักฐานชัดเจน แต่ในครั้งนี้ เขากล่าวว่า
ยังไม่ได้นำกระสุนมามอบให้ทางดีเอสไอเนื่องจากยังเก็บรักษาไว้ที่บ้านในกรุง
จาการ์ตา อินโดนีเซีย แต่จะนำมาให้ถ้าหากจำเป็นต่อการสืบสวนคดี
มาสกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า การเดินทางมาในครั้งนี้
เพื่อต้องการมาให้ปากคำแก่ทางการไทย และบอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้น
เพื่อให้สามารถค้นหาความจริงว่าใครเป็นผู้กระทำผิดในเหตุการณ์ดังกล่าว
และหวังว่า การให้ปากคำในครั้งนี้
จะเป็นประโยชน์ต่อคดีการเสียชีวิตของช่างภาพชาวอิตาเลียน ฟาบิโอ
โปเลนกีด้วย
มิเชล มาส
เป็นผู้สื่อข่าวต่างประเทศให้กับหนังสือพิมพ์และสถานีวิทยุโทรทัศน์ของ
เนเธอแลนด์มากว่า 10 ปี โดยรายงานข่าวจากพื้นที่สงครามต่างๆ มากว่า 10 ปี
ทั้งการสู้รบในโคโซโว บริเวณยุโรปตะวันออก เขตการสู้รบของชนกลุ่มน้อยในพม่า
และรายงานข่าวในประเทศไทยมาได้ 9 ปีแล้ว แต่มาสกล่าวว่า
ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เขาได้รับบาดเจ็บระหว่างการรายงานข่าว
นักข่าวดัตช์ให้สัมภาษณ์กับประชาไทว่า
ในระหว่างที่ตนรายงานข่าวบริเวณถนนราชดำริบริเวณใกล้กับสวนลุมพินีเมื่อวัน
ที่ 19 พ.ย. 53 ไม่คิดเลยว่าตนเองจะถูกยิง
เนื่องจากคาดหวังว่าน่าจะมีสัญญาณเตือนจากทหารในการเคลียร์พื้นที่ เช่น
การประกาศโดยใช้ลำโพง การใช้กระสุนยาง หรือการยิงปืนขึ้นฟ้า
ซึ่งตนมองว่าเป็นมาตรการที่ทหารมักจะใช้ในหลายๆ
ประเทศเมื่อต้องการสลายการชุมนุมประชาชน
แต่ทหารก็กลับยิงปืนโดยใช้กระสุนจริง ซึ่งทำให้เขาเองแปลกใจมาก
เอกสารทางการแพทย์ แสดงการผ่ากระสุนปืนออกจากร่างกายของนายมิเชล มาส
เอกสารทางการแพทย์ แสดงการผ่ากระสุนปืนออกจากร่างกายของนายมิเชล มาส
(ที่มาภาพ จากมิเชล มาส)
เอกสารทางการแพทย์ แสดงการผ่ากระสุนปืนออกจากร่างกายของนายมิเชล มาส
(ที่มาภาพ จากมิเชล มาส)
เทปบันทึกเสียงการรายงานสดของมิเชล มาส ให้สถานีวิทยุเอ็นโอเอสในขณะที่ถูกยิง
โดยในตอนท้ายคลิปเสียง เป็นช่วงที่เขาถูกยิง และพูดทางโทรศัพท์ว่า "I'm hit. I'm hit."
โดยในตอนท้ายคลิปเสียง เป็นช่วงที่เขาถูกยิง และพูดทางโทรศัพท์ว่า "I'm hit. I'm hit."