ที่มา ประชาไท
Wed, 2012-09-26 18:39
ไชยันต์ ไชยพร ชี้วิกฤตการเมือง เกิดจาก 1)
การเปลี่ยนจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญยังไม่ลง
ตัว แนะทำสัญญาประชาคมตกลงบทบาทกษัตริย์ 2)
วงจรอุบาทว์จากเลือกตั้งสู่จลาจล 3) ความไม่พอดีของประชาธิปไตย
(26 ก.ย.55) ในการเสวนาเรื่อง “ความมั่นคงมนุษย์ :
ความมั่นคงทางการเมืองในกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย” ณ ห้องประชุม 105
อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไชยันต์ ไชยพร รองศาสตราจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง
“การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยเพื่อความเป็นธรรมและเสมอภาค
ในกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย” กล่าวว่า นักวิจัยมองว่าวิกฤตการเมืองใน
5-6 ปีที่ผ่านมา เกิดจากสาเหตุเชิงโครงสร้าง 3 ข้อ ได้แก่ หนึ่ง ผลพวงของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ยังไม่ลงตัว
ส่งผลให้เกิดวิกฤตการเมืองเป็นระยะๆ และเห็นความเข้มข้นสะท้อนชัดเจนใน 5-6
ปีที่ผ่านมา เห็นได้จากความเห็นของประชาชนต่อบทบาทพระราชอำนาจต่างกัน
กลุ่มหนึ่งมองว่าเหมาะสมแล้วในเงื่อนไขแบบไทยๆ
อีกกลุ่มมองว่าต้องการลดทอนพระราชอำนาจ หากจะแก้วิกฤตการเมืองไทย
ต้องทำให้เกิดการตกลงสร้างสัญญาประชาคมใหม่ว่า
ที่สุดแล้วระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญควรจะมีหน้าตาอย่างไร
ไชยันต์ กล่าวต่อว่า สาเหตุที่สอง คือ วงจรอุบาทว์
โดยเมื่อมีการเลือกตั้ง จะตามมาด้วยการซื้อเสียง ถอนทุน ทุจริต
ขับไล่ประท้วง จลาจล
ไม่ว่าจะโดยการสร้างสถานการณ์ว่ารัฐบาลเอากองกำลังมาปราบประชาชน
ทำให้รัฐบาลไม่มีความชอบธรรม หรือรัฐบาลบอกว่าการชุมนุมไม่สงบ
จึงต้องส่งกำลังทหารมาควบคุมความเรียบร้อย โดยยกตัวอย่างเหตุการณ์ 14
ต.ค.2516
ซึ่งขณะนั้นเหมือนว่ามีข้อตกลงกันได้ระหว่างรัฐบาลกับนักศึกษาแล้วว่าจะเลิก
การชุมนุม แต่ก็เกิดความเข้าใจผิด จนเหตุการณ์บานปลาย หรือกรณี พ.ค.35
ที่รัฐบาลอ้างความชอบธรรมในการปราบจากกรณีที่มีการเผาสถานีตำรวจนครบาล
นางเลิ้ง อย่างไรก็ตาม มองว่าวงจรนี้ค่อยๆ หายไป
โดยการซื้อเสียงในระดับชาติแผ่วลง แต่อาจไปหนักที่ท้องถิ่น
ไชยันต์ กล่าวว่า สาเหตุที่สาม คือ คำตอบสุดท้ายของความพอดีของระบอบประชาธิปไตย
โดยประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยทั่วโลกมีปัญหาเดียวกัน โดยจะพบว่า
ปัจจุบัน การเรียกร้องความเสมอภาค ในอเมริกา อังกฤษ ก็ยังดำเนินต่อไป
อย่างไรก็ตาม การเรียกร้องเสรีภาพมากขึ้น
เป็นทั้งเสน่ห์และเป็นสิ่งที่จะทำลายระบอบประชาธิปไตย หากไม่รู้จักความพอดี
ไชยันต์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังมีเงื่อนไขที่เป็นสาเหตุของวิกฤตการเมืองในระดับย่อยลงมา ได้แก่ 1) วิกฤตการเมืองไทยเกิดขึ้นจากการสร้างวาทกรรมที่เกินจริง และวาทกรรมเกลียดชัง หรือ hate speech อย่างเข้มข้นรุนแรง ประกอบกับ 2) ช่วงสิบปีที่ผ่านมา พัฒนาการของเทคโนโลยีพัฒนามีประสิทธิภาพ ส่ง
ข้อมูลข่าวสารได้ในวงกว้างและกระชั้นถี่ตลอด 24 ชม.
ทำให้วาทกรรมเกินจริงส่งผลต่อความคิดเป็นปฏิปักษ์อย่างรุนแรงและนำไปสู่การ
ใช้ความรุนแรงต่อกัน เช่น เหตุการณ์วานนี้ จะเห็นว่า
ก่อนวันเรียกผู้ที่มีปัญหาหมิ่นประมาท
มีการใช้เครื่องมือสื่อสารปลุกระดมอย่างมีประสิทธิภาพและนำมาซึ่งความรุนแรง
3) การสร้างความรู้สึกของความเหลื่อมล้ำ ที่ผ่านมา
ประเทศไทยมีคนจนรวยขึ้น แต่ช่องว่างก็ถ่างมากขึ้น
แต่การสร้างความรู้สึกที่รู้สึกว่าตัวเองสูญเสีย ถูกพราก
หรือควรได้มากกกว่านี้
ก่อให้เกิดกระแสการต่อต้านและอาจนำไปสู่การปฏิวัติทางการเมืองก็เป็นได้
หมายเหตุ: ในงานมีการนำเสนองานวิจัย
หัวข้อ “ประชาธิปไตยไทย : ปรัชญาและความเป็นจริง” โดย สมบัติ จันทรวงศ์
และการวิจารณ์โดยปิยบุตร แสงกนกกุล และอธึกกิต แสวงสุข หรือ "ใบตองแห้ง"
ติดตามได้ที่นี่ เร็วๆ นี้