ที่มา ประชาไท
Fri, 2012-09-28 17:59
งานวิจัยยืนยัน สารเคมีจากอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ปนเปื้อนถ่ายทอดสู่เด็ก ส่งผลต่อพัฒนาการผิดปกติ
28
กันยายน 2555 (กรุงเทพฯ) –
ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
ภาควิชากุมารแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดีพบเด็กที่อาศัยใกล้โรงงานอุตสาหกรรมมีสารตะกั่วในเลือด
สูงถึงขั้นอันตราย และมูลนิธิบูรณะนิเวศนำเสนองานวิจัยยืนยัน
สารพิษในสิ่งแวดล้อมส่งผลให้พัฒนาการทางสมองของเด็กผิดปกติอย่างถาวร
สืบ
เนื่องจากกรณีทารกวัย 8 เดือน
ซึ่งเติบโตในโรงงานคัดแยกขยะอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในอำเภอเมือง
จังหวัดสมุทรสาครถูกส่งตัวมาโรงพยาบาลรามาธิบดีด้วยอาการชักจากพิษสารตะกั่ว
โดยมีปริมาณตะกั่วในเลือดสูงกว่าค่ามาตรฐานถึง 17 เท่า ศูนย์วิจัยฯ
โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ลงพื้นที่ตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารตะกั่วในเลือดของเด็ก
เล็ก165 คน ที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงโรงงานดังกล่าว พบเด็กผู้ชาย 1 ใน 2
มีสารตะกั่วในเลือดสูงเกินค่ามาตรฐาน (50 ใน 86 คน หรือ ร้อยละ 58.1)
และเด็กผู้หญิง 1 ใน 3 มีสารตะกั่วในเลือดสูงเกินค่ามาตรฐาน (24 ใน 79 คน
หรือ ร้อยละ 30.4)ทั้งนี้ ค่ามาตรฐานของตะกั่วในเลือดที่ยอมรับได้
แม้ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าปลอดภัยแน่นอน คือ10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL)
แพทย์
สันนิษฐานว่าสารตะกั่วจากโรงงานฟุ้งกระจายตามลม ตกสู่ดินและแหล่งน้ำ
จนเข้าสู่ร่างกายเด็กผ่านระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหารโดยเด็กผู้ชาย
มีสารตะกั่วในเลือดสูงกว่าเด็กผู้หญิงอาจเกิดจากพฤติกรรมการเล่นของเด็ก
ผู้ชายที่สัมผัสกับฝุ่นและดินมากกว่า
“การได้รับสารตะกั่วเกินค่า
มาตรฐานจะทำให้ระดับไอคิวในเด็กลดลง และยังทำให้ระบบประสาทผิดปกติ
เกิดภาวะสมาธิสั้น ความสามารถในการเรียนรู้ผิดปกติ” รศ.นพ. อดิศักดิ์
ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ รพ. รามาธิบดี
กล่าว“กรณีสมุทรสาครเป็นตัวอย่างว่าผู้ประกอบการทำไม่ถูก
แม้โรงงานจะถูกสั่งปิด แต่เด็กจะโง่ไปอีกนาน ไม่มีการชดเชย
และยังมีโรงงานอื่นๆ อีกจำนวนมาก”
“การตรวจคัดกรองปริมาณตะกั่วใน
เลือดเด็กควรบรรจุในการตรวจสุขภาพประจำ
โดยเฉพาะสำหรับเด็กที่อาศัยในพื้นที่อุตสาหกรรม” รศ.นพ. อดิศักดิ์
กล่าวเสริม “อาจตรวจเมื่อเด็กเข้ารับวัคซีนเมื่อครบ 1 ขวบและ 5 ขวบ
และควรพิจารณาว่าภาคเอกชนจะร่วมแบกรับภาระค่าใช้จ่ายนี้อย่างไร”
ผล
งานวิจัยด้านประสาทพิษวิทยาที่เพิ่มขึ้นในยุคหลัง
ซึ่งรวบรวมไว้ในหนังสือเรื่อง “บนทางแห่งภัย:
เมื่อสารพิษคุกคามพัฒนาการเด็ก” จัดแปลเป็นไทยโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ
ยังชี้ชัดว่า “ค่ามาตรฐาน” ไม่ปลอดภัยอย่างที่คิด
เนื่องจากเด็กและทารกในครรภ์อยู่ระหว่างการสร้างเซลล์สมองและระบบประสาทอัน
อ่อนไหวต่อสารเคมีหลายชนิด
ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยในสหรัฐฯ
หลายฉบับ พบว่าการได้รับสารตะกั่วแม้ในปริมาณน้อย
หากเกิดต่อทารกในครรภ์และเด็กเล็ก จะเกิดผลกระทบระยะยาว
ซึ่งอาจปรากฏผลภายหลังเมื่อเด็กเติบโตเป็นวัยรุ่น เช่น ภาวะสมาธิสั้น
ความสามารถยั้งคิดบกพร่อง หงุดหงิดง่าย และอาจถึงขั้นมีพฤติกรรมก้าวร้าว
“เป็น
ที่น่าตกใจว่าระดับตะกั่วในเลือดที่จะไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพคือศูนย์นั่นคือ
ต้องไม่มีตะกั่วในเลือดเลยเด็กไทยจึงจะปลอดภัย” ดร. อาภา หวังเกียรติ
รองคณบดี วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว
“ถึงเวลาจริงๆแล้วที่หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องต้องหามาตรการป้องกันอย่าง
เร่งด่วน ก่อนที่เด็กไทยจะใช้ชีวิตและร่างกายเป็นเครื่องทดสอบสารพิษ
จนสังคมไทยเต็มไปด้วยเด็กและผู้ใหญ่ที่มีความบกพร่องของสมองมากเหมือนสหรัฐ
อเมริกา”
ค่ามาตรฐานความปลอดภัยของสารปรอทลดลงเช่นกันตลอดหลายสิบปี
ที่ผ่านมา เมื่อปี พ.ศ. 2515 สหรัฐฯ
กำหนดค่าความปลอดภัยของการได้รับสารปรอทไว้ที่ 34 มิลลิกรัม
ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม ต่อวัน (mg/kg/วัน)
โดยกำหนดจากปริมาณสารปรอทที่เป็นเหตุให้ทารกปัญญาอ่อนอย่างรุนแรงแต่กำเนิด
ต่อมา
นักวิทยาศาสตร์พบว่าเด็กที่ได้รับสารปรอทในปริมาณต่ำกว่าค่าความปลอดภัยดัง
กล่าว มีไอคิวต่ำ เริ่มพูดและเริ่มเดินช้ากว่าเด็กทั่วไป