ที่มา ประชาไท
Fri, 2012-09-28 17:00
(มุสลิมชาวปากีสถานยกมือพร้อมกันระหว่างขบวนเคลื่อนไหวทางศาสนาในลาฮอร์)
(ภาพโดย Getty Images)
(ภาพโดย Getty Images)
การ
สังหารหมู่มุสลิมชีอะห์กว่า 20 คน
และการโจมตีของกลุ่มตาลีบันที่ฐานทัพเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
เป็นเพียงกรณีล่าสุดของเหตุการณ์ความรุนแรงทางศาสนาที่เกิดขึ้นในปากีสถาน
ไม่น่าแปลกใจที่บ่อยครั้งประเทศนี้จะถูกกล่าวถึง
ว่าเป็นตัวอย่างอันเลวร้ายที่สุดที่การเมืองอิสลามในบริบทของความรุนแรงจะ
เกิดขึ้นได้ แต่หากจะสังเกตกันให้ดีจะพบว่า
ไม่มีพรรคการเมืองอิสลามในปากีสถานพรรคใดเลยที่มีโอกาสชนะการเลือกตั้งระดับ
ชาติ
แท้จริงแล้วความรุนแรงของเหตุการณ์ที่กระทำโดยกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงที่เพิ่ม
ขึ้นนั้น ไม่ได้เป็นสัญญาณของชัยชนะทางการเมืองแต่อย่างใด
แต่กลับเป็นความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
กระบวน
การประชาธิปไตยที่ขรุขระของปากีสถาน
และกลุ่มศาสนาที่แตกแยกเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พรรคการเมืองที่มีความชัดเจน
ในเรื่องความเป็นกลางทางศาสนาไม่สามารถชนะการเลือกตั้งได้
ทั้งๆที่พรรคดังกล่าวน่าจะเป็นความหวังในการสื่อสารจุดยืนทางศาสนา
ผ่านกระบวนการที่ชอบธรรมและไร้ความรุนแรง
กลับกันความเชื่อเรื่องการแบ่งพรรคแบ่งพวกที่มักจะแข่งขันกันเองและแสดงออก
ถึงจุดยืนด้วยความรุนแรง
ก็ยังคงนำพาประเทศปากีสถานไปสู่สถานการณ์วิกฤตอยู่เรื่อยมา
เห็นได้จากการแสดงทัศนคติทางศาสนาอันคับแคบ
และแสดงความไม่พอใจต่อความพ่ายแพ้ในเวทีเลือกตั้งของกลุ่มย่อยต่างๆ
โดยการโจมตีชนกลุ่มอื่นๆ ใช้อาวุธ
และข่มขู่คู่แข่งในการประท้วงตามถนนสายต่างๆ
กระทำการท้าทายกฎหมายและอำนาจรัฐแทนที่จะแสดงบทบาทของตนตามกรอบทางการ
เมืองอย่างที่ควรจะเป็น
ผู้
สนับสนุนแนวคิดอิสลามนิยมคนแรกคือ อับดุล เอลา มาอุดูดิ
นักหนังสือพิมพ์และนักเผยแพร่ศาสนาที่เกิดในต้นศตวรรษที่ 19
ในแคว้นออรันกาบัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดียหลังยุครวมชาติ
ในช่วงการเคลื่อนไหวเพื่อหลวมรวมเป็นรัฐชาตินั้น
มาอุดูดิปฏิเสธแนวคิดการรวมชาติปากีสถาน
เพราะเขาเห็นว่าแนวคิดดังกล่าวถูกชักนำโดยนักการเมืองที่มีพื้นฐานคิดแบบโล
กีนิยมตะวันตกอย่างเช่น โมฮัมเมด อาลี จินนะห์
เขามองว่าชาวมุสลิมควรอยู่ในสังคมที่ปกครองด้วยกฎหมายอิสลามเท่านั้น
และมิควรให้องค์ความรู้หรือส่วนประกอบใดๆที่ไม่ใช่อิสลามมาเกี่ยวข้องในการ
ปกครองนั้น ทั้งที่เขาเองก็ไม่เคยยอมรับต่อการรวมชาติ
เขาก็ได้ย้ายไปอาศัยอยู่ในปากีสถานเมื่อ ค.ศ. 1947
และใช้ชีวิตที่เหลือของเขาต่อสู้เพื่อรัฐธรรมนูญที่แปลความอย่างเคร่งครัด
จากพื้นฐานกฎหมายชารีอะห์ (Shari’a) และปราศจากอิทธิพลของวัตถุนิยมตะวันตก
ซึ่งนั่นหมายรวมถึงรัฐธรรมนูญที่ปราศจากเสรีประชาธิปไตยด้วย เขาโต้แย้งว่า
กฎของศาสนาย่อมแทนที่การปกครองโดยคำนึงถึงคำสอนทางศาสนา (Theo-democracy)
ทั่วไปได้
ด้วย
การเน้นจุดต่างที่ชัดเจนระหว่างอิสลามและระบบไม่นับถือพระเจ้าแบบตะวันตก
แนวคิดอิสลามนิยมของมาอุดูอิกลายเป็นต้นแบบความคิดที่นิยมแพร่หลายสำหรับการ
ปฏิวัติที่เกิดขึ้นในรัฐเกิดใหม่หลังยุคอาณานิคม
เพราะประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ที่นั่น
เคยถูกปกครองโดยผู้ปกครองเผด็จการโลกีนิยมที่หนุนหลังโดยตะวันตก
มุสลิมในประเทศที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา เช่น อิหร่าน ตุรกี
อียิปต์ ต้องยอมรับคำกล่าวอ้างที่ว่า
ศาสนาของพวกเขาอยู่ร่วมกับการเมืองสมัยใหม่ไม่ได้
ไม่ว่าเผด็จการหรือประชาธิปไตยก็ตาม
อย่าง
ไรก็ตาม ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1970
กลุ่มชนชั้นนำที่ส่งเสริมแนวคิดโลกียนิยมในรัฐที่มีประชากรมุสลิมเป็นส่วน
ใหญ่ก็ลดบทบาทลง
เมื่อมีการเคลื่อนไหวของประชาชนที่สนับสนุนให้อิสลามเป็นศูนย์กลางของแนวคิด
ทางการเมืองมากขึ้น
อย่างไรก็ตามทั้งการเคลื่อนไหวทางเมืองเพื่อประชาธิปไตยและการปฏิวัติ
ไม่มีครั้งใดเลยที่อิสลามนิยมจะเกิดขึ้นในรูปแบบอำนาจบนลงล่างตามที่เข้าใจ
กัน
ใน
ประเทศตุรกี พรรคอิสลามเพื่อยุติธรรมและการพัฒนา (เอ.เค.พี)
ก่อตั้งขึ้นจากกระบวนการปฏิรูปในชนบทของอนาโตเลีย
ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับอิทธิพลจากประชาชนรากหญ้าที่เชื่อในคำสอนซูฟิ (Sufi
Order) ที่เรียกว่า Naqshbandiyya-Khalidiyya ในประเทศอียิปต์
พรรคภราดรภาพมุสลิม (the Muslim Brotherhood) ได้เรียนรู้และเชื่อว่า
การเคลื่อนไหวที่จะประสบความสำเร็จ
ต้องพัฒนามาจากกลุ่มผู้ปฏิวัติที่ต่อต้านประชาธิปไตย
และให้เขาเหล่านั้นตั้งตนเป็นผู้ดำเนินการทางการเมือง
ถึงแม้ว่าพวกเขาจะต่อต้านพหุนิยมหรือระบบหลายพรรค
พรรคภราดรภาพมุสลิมก็เริ่มจะหันมายึดถือแนวทางดังกล่าวบ้างแล้ว
ทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ “อิสลามคือทางออก” (“al-Islam huwa al-Hall”)
ซึ่งเดิมทีเป็นสโลแกนเพื่อการหาเสียงเลือกตั้งก็กลายเป็นวลีที่ก่อให้เกิด
ความไม่สงบในอินเดียตะวันตกเรื่อยมา
แม้กระทั่งผู้นำการปฏิวัติในประเทศอิหร่านเองก็ใช้ประโยชน์จากพลังสนับสนุน
ดั้งเดิมในยุค ค.ศ. 1970
ที่มีพื้นฐานจากอำนาจในทางศาสนาเพื่อแผ่ขยายคำสอนของอะยาโตเลาะห์ โคเมนี
(Ayatollah Khomeini)
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศเหล่านี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดการ
เคลื่อนไหวทางการเมืองอิสลามซึ่งได้กดทับพลังแห่งประชาธิปไตยเอาไว้นั่นเอง
อย่าง
ไรก็ตาม ในประเทศปากีสถาน อิสลามนิยมมิได้กลายเป็นรากฐานของสังคม
มุสลิมที่นั่นแบ่งเป็นหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มโลกีนิยม กลุ่มภาษา
และกลุ่มชาติพันธุ์ ดังนั้น
แม้พรรคการเมืองอิสลามต้องต่อสู้กันในทุกสนามการเลือกตั้งดั่งปรากฏให้เห็น
ในประวัติศาสตร์ของปากีสถานที่ผ่านมา
พวกเขาก็ไม่เคยชนะด้วยคะแนนเสียงที่มากพอสักครั้ง
เพราะโครงสร้างแห่งอำนาจที่แข็งแรง
และแรงจูงใจทางวัตถุที่พรรคโลกีนิยมมักนำเสนอ
สามารถเอาชนะความพยายามที่จะบังคับใช้กฎหมายชาเรียได้อยู่ร่ำไป ใน ค.ศ.
2002
ความร่วมมือของพรรคการเมืองอิสลามทำให้พวกเขาสามารถจัดตั้งรัฐปกครองส่วน
จังหวัดในจังหวัดชายแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือได้สำเร็จ
แต่กระนั้นก็ต้องล้มเหลวเมื่อเวลาผ่านไปเพียงสามปี เพราะว่า ฝ่ายดีโอบันดี
บาเรลวี และชีอะห์ ตกลงกันไม่ได้ว่าจะปกครองรัฐอิสลามอย่างไร
เป็น
ที่น่าสังเกตว่า
พรรคการเมืองอิสลามในปากีสถานจะได้รับการสนับสนุนอย่างแพร่หลาย
เมื่อใดก็ตามที่พรรคเหล่านั้นเข้าร่วมการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย
ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงทศวรรษ 1980 พรรคจามาอัด อิสลามิ (Jamaat-I Islami)
ของมาอุดูอิ ได้เข้าร่วมกับเบนาเซีย ภูโต ในการต่อสู้กับเผด็จการ
และเมื่อไม่นานมานี้สมาชิกของพรรคก็ได้เข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อความ
ยุติธรรมของอิมราน คาน (พีทีไอ)
ซึ่งพยายามขจัดพฤติกรรมของนักการเมืองฉ้อชลในปากีสถาน
การผสมผสานกันของประชานิยมและอิสลามนิยมแสดงให้เห็นแล้วว่า
ความรุนแรงไม่ใช่พันธุกรรมแฝงในผู้เชื่อถืออิสลามนิยม
หากแต่ว่าความสำเร็จของอิสลามนิยมย่อมต้องอยู่บนพื้นฐานของความสามารถในการ
จัดการปัญหาของคนหมู่มากโดยเฉพาะคนระดับรากหญ้า
มิใช่การบังคับขู่เข็ญแต่อย่างใดคาน
ลื่อนไหวเพื่อความยุติธรรมของอิมรานปากีสถานจะได้รับการสนับสนุนอย่างแพร่
หลาย เมื่อใดก็ตามที่พรรคเหล่านั้นเข้าร่วมการเคลื่อนไหว
แทนที่เราจะกลัวเกรงกระแสอิสลามนิยม เราควรจะมองให้เป็นวิถีทางแห่งการรักษาและนิยมศาสนาอย่างเป็นระบบ ผลลัพธ์
ของประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นอาจไม่เป็นไปอย่างใจของพวกเสรีนิยมเสียทีเดียว
เพราะประชาธิปไตยในแบบเฉพาะของตุรกี บังคลาเทศ อินโดนีเซีย และมาเลเซียนั้น
เกิดจากอิทธิพลของพรรคการเมืองที่ผสมผสานศาสนาเข้ากับนโยบายของพรรคที่สนับ
สนุนสิทธิทางเศรษฐกิจเป็นศูนย์กลาง
คะแนนนิยมและความสำเร็จในเวทีเลือกตั้งของพรรคเพื่อยุติธรรมและการพัฒนาใน
ตุรกี พรรคชาตินิยมในบังคลาเทศ แนวร่วมโดยการนำของโกลคาร์ในอินโดนีเซีย
รวมถึงองค์การสหมาเลย์แห่งชาติในมาเลเซีย
ต่างเป็นสิ่งยืนยันของข้อสรุปและแนวโน้มดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
คะแนนนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของกลุ่มอนุรักษ์ศาสนา (พีทีไอ)
ของอิมราน คาน
ชี้ให้เห็นว่าปากีสถานกำลังดำเนินรอยตามวิถีทางที่คล้ายคลึงกัน
(1) แดเนียล จาค็อบเบียส มอร์แกน คือ นักวิจัยแห่งเกตเวย์เฮ้าส์ ประจำสภาเพื่อความสัมพันธ์ระดับโลก (Gateway House: Indian Council on Global Relations) ปัจจุบันเขาทำงานให้กับศูนย์เอเชียใต้ศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด (South Asian Studies at Oxford University)
Source URL: http://www.newstatesman.com/blogs/religion/2012/08/complex-relationship-between-islamism-and-democracy
ที่มา: PATANI FORUM