WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, September 26, 2012

บทความแปล: นายกฯ ทักษิณ กล่าวถึงการปฎิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ที่มา Thai E-News

 แปลโดย Doungchampa Spencer
ต้นฉบับ Thaksin on lese majeste reform 
โพสต์เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555



คุณแดเนี่ยล เทน เคท จากหนังสือพิมพ์บลูมเบิร์ก ใน รายงานที่เป็นประโยชน์มาก เกี่ยวกับความคิดเห็นของนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งโยงไปถึงการปฎิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หลังจากการเลือกตั้งที่ได้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรมาบริหารราชการ และแม้ว่า จำนวนการฟ้องร้องภายใต้กฎหมายอาญามาตรา 112 และกฎหมายคอมพิวเตอร์ได้ลดลงไปอย่างเห็นได้ชัดก็ตาม, มันยังมีผู้คนอีกไม่ทราบจำนวนที่ยังคงอยู่ในคุกตารางซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ ภายใต้ข้อกล่าวหาเหล่านี้ และสำหรับฝ่ายรัฐบาลเอง ก็ยังแสดงให้เห็นท่าทีของตนเองเหมือนกับถูกครอบงำทั่วทั้งกระดูกสันหลัง เมื่อต้องเผชิญกับกฎหมายการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในตอนนี้ นายกฯ ทักษิณ ได้ให้เหตุผลบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้

นายกฯ ทักษิณกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับกฎหมายอาญามาตรา 112 “ควรจะมาจากที่ปรึกษาของพระองค์ฯ” นายกฯ ทักษิณยังเสริมต่อไปว่า “คณะองคมนตรีควรจะเป็นผู้พิจารณาเรื่องนี้ว่าจะเน้นกระบวนการต่างๆ ว่า กฎหมายควรจะมีการแก้ไขหรือไม่... ผมไม่คิดว่าฝ่ายรัฐบาลควรที่จะเป็นผู้เริ่มเรื่องนี้ขึ้นมา มันควรจะริเริ่มเองจากคณะองคมนตรี”

ตามที่สำนักข่าวรายงานไว้ นายกฯ ทักษิณ กล่าวต่อไปว่า “ผู้พิพากษาหลายท่านได้ทำการใช้อำนาจที่พวกเขามีอยู่อย่างผิดๆ ด้วยการลงโทษอย่างแสนสาหัสกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในระยะเวลาไม่กี่ปี ที่ผ่านมา”

แล้วนายกฯ ทักษิณยังย้ำถึงเรื่อง การสืบราชสมบัติ ซึ่งทำให้กลายเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันว่า: “เรื่องนี้ มันไม่มีปัญหาแต่อย่างใดเกี่ยวกับการสืบราชสมบัติกับราชบัลลังก์” นายกฯ ทักษิณกล่าว และยังเสริมว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงปฎิบัติราชกิจอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งว่าพระองค์ยังทรงประทับอยู่ในโรงพยาบาล “ไม่มีอะไรที่จะต้องเป็นห่วงเลย”


อย่างที่สำนักข่าวบลูมเบิร์กได้บันทึกว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ ได้ทรงประทับอยู่ที่โรงพยาบาลในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 แล้ว ด้วยการทรงพระประชวรจากโรคต่างๆ หลายเรื่องรวมไปถึงการเจ็บพระพระปฤษฎางค์ (หลัง) ด้วย” แท้ที่จริงแล้ว, พระองค์ไม่ได้ทรงปรากฎตัวให้ประชาชนได้เห็นมาเป็นเวลามากกว่าหนึ่งเดือนแล้ว หลังจากที่มีวิกฤติเกี่ยวกับเลือดออกในสมองเมื่อเร็วๆ นี้ และ เมื่อประมาณ 5 วันที่เพิ่งผ่านมา พระองค์ได้ทรงประสบกับวิกฤติทางสุขภาพอีกเรื่องหนึ่งด้วย

ตามวิธีการของบลูมเบิร์ก, นักวิเคราะห์ทางธุรกิจได้กล่าวว่า:

“The royal succession may lead to inconveniences for businesses because of a mourning period, while more significant disruptions that would come from a derailed succession process are “very unlikely,” according to Lund from Control Risks. The transition over time will prompt a decline in the monarchy’s political significance and allow for “a much delayed public discussion around how to modernize the institution,” he said.…..

การทดสอบในเรื่องเหล่านี้ และจากทัศนคติของนายกฯ ทักษิณเองในเรื่องการสืบต่อราชสมบัตินั้น มันไม่แตกต่างกันมากเท่าไรเลย

-----------------------------------------------

 ความคิดเห็นของผู้แปล:

ถ้าอยากอ่านรายละเอียด จริงๆ ควรจะไปหาอ่านได้ที่ บลูมเบิร์ก ตามลิ้งค์ที่ลงไว้ นะคะ เพราะมีการกล่าวถึงเรื่ององค์พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีในปัจจุบัน ด้วย แต่ดิฉันคิดว่า ไม่เกี่ยวข้องเท่าไรในเนื้อหาของบทความนี้

 ความคิดเห็นเป็นข้อๆ:

 1. ยังมีผู้ต้องโทษทางความคิด (Prisoners of Conscience) อีกเป็นจำนวนหนึ่ง ซึ่งยังถูกคุมขังอยู่ ที่เป็นอย่างนี้เนื่องจากว่า ไม่มีหนทางที่สามารถช่วยเหลือพวกเขาได้อย่างเต็มที่

 2. ยังไม่เห็นหนังสือพิมพ์ฉบับไหน ในประเทศไทยที่ลงข่าวของ นายกฯ ทักษิณ ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย ซึ่งจริงๆ แล้ว ถ้าอ่านบทสัมภาษณ์ของคุณทักษิณ ดิฉันก็แปลกใจเหมือนกันว่า ทำไม ท่านจึง “เตะ” เรื่องแบบนี้ไปให้ ฝ่ายองคมนตรี ทั้งๆ ที่ หน้าที่ของการแก้ไขกฎหมายต่างๆ นั้น เป็นเรื่องของรัฐสภาฯ ที่มาจากประชาชน ดิฉันไม่ทราบว่า ถ้าฝ่ายองคมนตรีมายุ่งเรื่องกฎหมายอาญาแล้ว ทางฝ่ายองคมนตรีจะเป็นผู้แก้ไขกฎหมายได้อย่างไร เพราะหน้าที่ของฝ่ายองคมนตรีคือ เป็นผู้ให้คำปรึกษาต่อพระมหากษัติรย์

 3. การเรียกร้องให้มีการแก้ไข กฎหมายอาญามาตรา 112 โดยกลุ่มต่างๆ ในประเทศไทย เขาส่งเรื่องและล่าลายชื่อไปให้กับ “รัฐสภา” กันไม่ใช่หรือคะ? เขาไม่ได้ส่งเรื่องไปให้กับทางฝ่าย “องคมนตรี” เพราะตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศนั้น รัฐสภา มีอำนาจในการแก้ไขกฎหมาย ไม่ใช่ฝ่าย “องคมนตรี”

 4. ถ้าฝ่ายองคมนตรีเขาเงียบกลับมา ก็ต้องร้องเพลง “รอ” ต่อไป เพราะไม่มีใครสามารถ “แตะ” กฎหมายเหล่านี้ได้ แต่ถ้าฝ่ายองคมนตรีเขาตอบว่า “แก้ไขไม่ได้” หรือ “แก้ไขได้” ก็แสดงว่า องคมนตรีมีอำนาจเหนือกฎหมาย คือ มีอำนาจสั่งได้ว่า กฎหมายอะไรแก้ไขได้ และ อะไรแก้ไขไม่ได้ ซึ่งมันก็จะกลายเป็นว่า พวกนี้ สร้างอิทธิพลให้เห็นๆ กันอีกว่า "อยู่เหนือกฎหมาย"

 5. ทางที่ดีที่สุดคือ เรื่องแบบนี้ควรจะมีการต่อรองกันเองก่อนแบบส่วนตัว ไม่น่าจะออกมาด้วยการสัมภาษณ์ เพราะดูไปแล้ว คุณทักษิณ จะเป็นผู้เสียเปรียบ เนื่องจากตนเองไม่ได้อยู่ในตำแหน่งใดๆ ของทางฝ่ายรัฐบาลในปัจจุบัน และแถม ยังแนะนำให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ดำเนินเรื่องก่อน ทั้งๆ ที่รู้กันดีว่า ฝ่ายองคมนตรี เขามีความชื่นชอบแบบรักปานจะกลืนกินกับท่านมากน้อยแค่ไหน

 6. ดิฉันไม่ทราบว่า บลูมเบิร์ก เขาไปขอสัมภาษณ์คุณทักษิณ หรือ ว่า คุณทักษิณ ต้องการออกความเห็นเอง แต่บางทีในเรื่องแบบนี้ น่าจะอยู่เงียบๆ สักพัก โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองซึ่งมีเรื่องของพระมหากษัตริย์เข้ามา อยู่ ซึ่งเป็นเรื่องง่ายต่อการจุดชนวนโดยฝ่ายตรงข้าม

 7. การ “โบ้ย” เรื่องการแก้ไขนี้ ไปยังฝ่าย องคมนตรี (แบบไม่มีการเตรียมอะไรมาก่อน) ซึ่งเกี่ยวกับเรื่อง กฎหมายอาญา มาตรา 112 นั้น อาจจะเป็นแผนอันล้ำลึกของนายกฯ ทักษิณเอง ที่ส่งสัญญาณให้ทาง ฝ่ายองคมนตรี ต้องออกมาตอบเรื่องนี้


การกระทำโดยการ “โยนลูกบอล” ส่งต่อนั้น ทำให้ ประชาชนหันความสนใจมายังกลุ่มองคมนตรีแทน อาจจะเป็นเพราะว่า ตัวน้องสาวเดินทางอยู่นอกประเทศและอยู่ที่ นิวยอร์คด้วย ตนเองมีประสบการณ์มาแล้วว่า อะไรเกิดขึ้น การ “โยนลูกบอล” ลูกนี้ ทำให้การกระดิกตัวเคลื่อนไหวของทางฝ่าย “องคมนตรี” ต้องกลายเป็นว่า ตกอยู่ใน spotlight แทนที่จะอยู่ดำเนินการอย่างลับๆ เงียบๆ (โดยเฉพาะที่ข่าวใต้ดินลือกันกระหึ่มว่า กำลังหนุนหลังเรื่องอะไรบางอย่างก็แล้วแต่)


ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว ก็แสดงว่า นายกฯ ทักษิณ ทำได้อย่างดี ทั้งๆ ที่ดิฉันและอีกหลายๆ ท่าน อาจจะไม่คิดมาก่อนว่า ท่านออกมาสัมภาษณ์อะไรกันอีก

8. Bottom Line ก็คือว่า ถ้ายังยืดไปยืดมา คนที่อยู่ในคุกก็คงจะต้อง รอต่อไป มันเป็นธรรมกับพวกเขาหรือ?

 อย่างไรก็ตาม เวลาของการเปลี่ยนผ่าน มันคงเริ่มใกล้เข้ามาอย่างที่หนังสือพิมพ์ของทางโลกฝ่ายตะวันตกเขาพิมพ์ออก มาให้อ่านกันหลายๆ ฉบับแล้ว (เพียงแต่เขาเซ็นเซอร์กันที่ประเทศไทย หรือ ไม่ยอมให้สื่อหลัก มาลงแค่นั้นเอง แต่ถ้าต้องการหากันจริงๆ ก็เข้าไปอ่านออนไลน์ได้ตลอดค่ะ)

 ดิฉันให้ข้อคิดเห็นแบบสองด้าน คือ อาจจะมีการวิจารณ์นิดหน่อย รวมไปถึง อาจจะมีการวางแผนอันล้ำลึกที่ต้องการให้อีกฝ่ายหนึ่งไปตกอยู่ใน spotlight เท่านั้นเอง ผลจะเป็นอย่างไร คงจะได้เห็นกันอีกไม่นานค่ะ