ที่มา ประชาไท
Fri, 2012-09-28 17:51
เพื่อทำความเข้าใจว่าสงครามที่กระทำ
ต่อธรรมชาตินั้นเป็นฝีมือของมนุษย์เราทั้งสิ้น นักชีววิทยานาม ราเชล
คาร์สัน (Rachel Carson) จึงพาหัวใจที่กล้าหาญประกาศก้องความจริง
เป็นเวลาเกือบ 50 ปีมาแล้ว นับตั้งแต่หนังสือ Silent Spring ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้ง หนังสือเล่มจุดให้เกิดกองเพลิงใหญ่ลุกไหม้ท้าทายให้เกิดการถกเถียงทั้งใน สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโทรทัศน์ กว่าหนึ่งปีเต็มที่ทั้งโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์และนิตยสารในสหัฐอเมริกาต่างเต็มไปด้วยการแจ้งข้อหาและการแจ้ง ข้อหากลับ หนังสือเล่มนี้เป็นประเด็นหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์และจุดให้เกิดการถกเถียง กันในพื้นที่สาธารณะ ตั้งแต่ห้องนั่งเล่นไปจนถึงห้องประชุมบริษัท และได้กลายมาเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจตรวจสอบตั้งแต่ระดับประธานาธิบดี ไปจนถึงระดับสภาผู้แทนราษฏรสหรัฐ
หนังสือ Silent Spring ตีพิมพ์ครั้งแรกที่อังกฤษ และในปีต่อมาก็ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Hamish Harmilton และในที่สุดก็ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆมากกว่า 15 ภาษา จนกลายเป็นปรากฏการณ์ในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วโลก ช่วงครึ่งศตวรรษนับแต่การตีพิมพ์ครั้งแรก หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ออกมาไม่เคยขาด และไม่เคยห่างหายไปจากแวดวงการถกเถียง ที่มีกำเนิดจากเนื้อหาภายในเล่ม เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
คำตอบอยู่ในลักษณะและความตั้งใจของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ ราเชล คาร์สันเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีมุมมองกว้างไกลและเป็นเขียนฝีมือฉกาจ ที่สามารถถ่ายทอดให้เห็นภาพนิเวศวิทยาของชีวิตและนำภาพนั้น มารวมกับแนวคิดว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของระบบในโลกที่มีชีวิต เธอนำสิ่งเหล่านี้เข้าไปประทับในความคิดและจิตใจของผู้อ่านโดยที่ไม่มีใครทำ ได้มาก่อน ก่อนหน้าที่จะเขียนและตีพิมพ์หนังสือ Silent Spring ราเชลก็เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงและผลงานได้รับความนิยม หนังสือที่เธอเขียนเป็นจดหมายรักที่เธอเขียนถึงทะเลที่เคลื่อนไหวเวียนวน เป็นวัฏจักร ในหนังสือชื่อ Under the Sea-Wind (พิมพ์เมื่อปี 1941) เธอเชื้อเชิญให้ผู้อ่านเข้าไปสัมผัสกับการอยู่กับทะเลเยี่ยงปลาและนก ราเชลเขียนว่า “ในคืนที่สี่หลังพายุหิมะพัดกระหน่ำ ดวงจันทร์ส่องแสงแรงกล้ามาที่ผิวน้ำ สายลมพัดแสงนั้นให้เป็นเส้นแสงกระเพื่อม บนอากาศบริเวณเหนืออ่าวมีเส้นแสงกำลังเริงระบำอยู่ไหวๆ คืนนี้ปลาเทร๊าท์มองเห็นปลาอื่นนับหลายร้อยแหวกว่ายลงสู่ห้วงน้ำที่ลึกลงไป มีหญ้าทะเลลอยมา มองดูเป็นเงาสีดำอยู่ใต้ผิวน้ำส่องประกายสีเงิน”
หนังสือ The Sea Around Us (พิมพ์เมื่อปี 1941) เป็นการค้างอ้างแรมเคล้าอารมณ์กวี สู่ลักษณะทางกายภาพของทะเล ในหนังสือเล่มนี้ ราเชลอธิบายว่า “สำหรับทั้งหมดทั้งมวลของโลก มหาสมุทรเป็นเสมือนผู้ตรวจสอบดูแล คอยรักษาระดับอุณหภูมิไม่ให้ผันผวน มีคนกล่าวว่ามหาสมุทรเป็นธนาคารเก็บรักษาพลังงานแสงอาทิตย์ รับฝากสิ่งต่างๆในยามที่มีล้นเกิน และคืนให้ในยามที่ต้องการใช้ “หากปราศจากมหาสมุทร โลกเขาจะต้องเผชิญกับความเลวร้ายของอุณหภูมิที่ผันผวนชนิดที่เราไม่เคยพบ เห็นมาก่อน ส่วนน้ำที่ปกคลุมสามส่วนสี่ของพื้นผิวที่เหมือนห่มด้วยเสื้อคลุมของโลก ช่างเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสุดอัศจรรย์เหลือเกิน
หนังสือ The Edge of the Sea (1955) ทำให้ผู้อ่านสัมผัสได้ถึงสิ่งมีชีวิตบนชายฝั่ง ราเชลเก็บสิ่งที่สัมผัสได้นี้ได้อย่างรวดเร็ว “ขณะเดินสำรวจชายหาดยามค่ำคืนอยู่นั้น ดิฉันสร้างความประหลาดใจให้กับปูผีตัวเล็กตัวหนึ่งด้วยแสงจากคบไฟ ปูผีตัวนี้นอนอยู่ในรูตื้นๆ เหนือคลื่นที่ซัดฝั่ง ราวกับว่ามันกำลังมองทะเลอย่างเฝ้ารอ สีดำของรัตติกาลปกคลุมผืนน้ำ อากาศและชายหาดจนหมดสิ้น มันคือสีดำของโลกแบบเก่าก่อนมีมนุษย์ ไม่ปรากฏเสียงอื่นใด คล้ายกับสรรพสิ่งมีสิ่งที่ห่มคลุมกายอยู่ทั้งสิ้น มีเพียงเสียงลมโบราณพัดเหนือผืนน้ำและผืนทราย และเสียงของคลื่นกระทบฝั่ง ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆปรากฏให้เห็น มีเพียงปูตัวเล็กตัวหนึ่งอยู่ที่ชายทะเล ดิฉันเห็นปูผีนับหลายร้อยตัวในที่อื่นๆ แต่ทันใดนั้น ฉันก็เกิดความรู้สึกอย่างประหลาดเป็นครั้งแรกว่า สิ่งมีชีวิตต่างมีโลกเป็นของตนเอง ดิฉันก็เข้าใจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนถึงแก่นแท้ของชีวิต
ในหนังสือเหล่านี้ของราเชล มีการรวบรวมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้วยความรู้สึกที่ลึกล้ำกว่า อุดมด้วยความหมาย ฝังแน่นอยู่ในความรู้นั้น เนื้อหาที่แม้ไม่ได้เขียนแต่ก็รู้สึกได้ว่า เราทุกคนล้วนเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลก ไม่ว่าจะเป็นปูหรือหอยทาก เป็นนกนางนวลหรือมนุษย์ก็ตาม ความเต็มเปี่ยมของกาลเวลา หลังจากใช้ไปกับการระลึกตรึกตองและอธิบายออมาเป็นองค์รวมของโลกแห่งธรรมชาติ ราเชลตระหนักเสมอว่า การทำร้ายโลกในนามของการควบคุมศัตรูพืชและการเกษตรแบบเข้มข้น แม้เวลาที่ใช้ไปจะไม่มากนัก ราเชลรู้ว่ากำลังเกิดสงครามทำลายธรรมชาติ มันคือสงครามที่ไม่วันชนะ เนื่องจากเป็นสงครามที่ก่อขึ้นด้วยความโง่เขลาไม่รู้จักโครงสร้างและหน้าที่ ของธรรมชาติ สำนึกภายในทำให้ราเชลต้องประกาศออกมาว่า เธอจะต้องทำให้เห็นความสูญเสียที่แท้จริงและความล้มเหลวของการใช้สารเคมี ด้วยเหตุนี้จึงเป็นกำเนิดของ Silent Spring
ในหนังสือเล่มนี้ ราเชลเขียนว่า “ภายใต้การทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม เกษตรกรแทบไม่มีปัญหาเรื่องแมลงศัตรูพืช แต่แมลงระบาดเพราะมีการปลูกพืชเชิงเดียวกันอย่างมหาศาล ระบบการทำเกษตรแบบนี้ก่อให้เกิดการระบาดของแมลง การปลูกพืชเชิงเดี่ยวไม่ได้นำหลักการทำงานของธรรมชาติมาใช้ แต่เป็นการทำเกษตรกรรมแบบวิศวกรรมที่ปรับแต่งอย่างไรก็จะทำ ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ผืนดินประเภทต่างๆ แต่มนุษย์มักจะแสดงให้เห็นว่าหลงไหลการทำให้สิ่งต่างๆเหลืออยู่ไม่กี่อย่าง และไม่ซับซ้อน ดังนั้นมนุษย์จึงละเลยระบบการตรวจสอบถ่วงดุลย์ ซึ่งธรรมชาติได้โอบอุ้มสรรพชีวิตมากมายเอาไว้
มีสื่อเขียนถึง ถ่ายทอดเป็นรายการและพูดถึงเมื่อหนังสือ Silent Spring เกิดการฟ้องร้องและการฟ้งอกลับ มีข้อมูลจริงและที่รับมาผิด มีทั้งการประณามอย่างรุนแรงและการหลงไหลไร้เหตุผล สรุปว่าหนังสือกล่าวถึงอะไรกันแน่
หนังสือ Silent Spring มุ่งความสนใจไปที่การปนเปื้อนของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาฆ่าแมลงและยาปราบวัชพืช หนังสือเล่มนี้บรรยายอย่างชัดเจนให้เห็นรายละเอียดของผลกระทบที่เกิดจากการ ปล่อยสารพิษเหล่านี้ออกไปสู่ธรรมชาติ ราเชลอธิบายให้เห็นเป็นข้ออย่างละเอียดดังนี้
· มีคนหลายล้านคนสัมผัสกับสารพิษเหล่านี้โดยไม่รู้ตัวหรือโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
· สารพิษเหล่านี้ที่แท้คือ สารสังหารชีวิต (biocide) ออกฤทธิ์ฆ่าทุกอย่างกว้างขวางกว่าเป้าหมาย
· สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ถูกฆ่าพร้อมกับสิ่งมีชีวิตที่เป้าหมายของยา
· น้ำ อากาศ
และดินเป็นระบบหนึ่งเดียวที่เชื่อมโยงกัน
ผลของสารพิษที่เกิดกับสิ่งมีชีวิตใด สุดท้ายย่อมกระจายตัวอยู่ทั่วทั้งระบบ
มนุษย์เองก็อาศัยอยู่ในระบบ จึงกลายเป็นผู้ที่วางยาพิษตัวเอง
· สารพิษสะสมในห่วงโซ่อาหาร
สารพิษเข้มข้นเพียงเล็กน้อยเมื่อปนเปื้อนแหล่งน้ำ ก็จะสะสมมากขึ้น ณ
แต่ละจุดของห่วงโซ่ ปริมาณสารพิษก็จะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ
มนุษย์เราอยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร
·
ถ้าหากสิ่งที่ยกมาข้างต้นยังเลวร้ายไม่พอ ยาฆ่าแมลงยังมีผลสะท้อนกลับ
สิ่งมีชีวิตที่ต้องการกำจัดจะปรับตัวให้ต่อต้านฤทธิ์ยา
เมื่อแมลงระบาดเพราะดื้อยาก็จำเป็นที่จะต้องใช้ยามากขึ้น
ด้วยชนิดยาที่ร้ายแรงมากยิ่งขึ้นเพื่อกำจัดแมลงดื้อยาเหล่านั้น
· มีทางเลือกอื่น
เป็นทางเลือกที่เกิดจากความเข้าใจโลกของธรรมชาติ เป็นโลกที่มีสัมพันธภาพ
เชื่อมร้อยกันอย่างบรรสารสอดคล้อง
คำตอบบอกให้เราทราบว่ามนุษย์คือส่วนหนึ่งของธรรมชาติและผลของการทำสงครามกับ
ธรรมชาติ ก็คือการห้ำหั่นชีวิตตนเอง
หนังสือเล่มนี้เกิดจากการกลั่นกรองหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จนสามารถอธิบาย เรื่องราวได้อย่างแจ่มแจ้ง จากการค้นคว้าข้อมูลอย่างครบถ้วน หนังสือเล่มนี้รวบรวมเนื้อหาจากเอกสารและงานที่นำมาอ้างอิงกว่าห้าสิบหน้า แสดงให้เห็นถึงแก่นแท้ของการมองโลกอย่างเห็นคุณค่าของระบบนิเวศ ด้วยภาษาที่ใครก็อ่านได้ นับเป็นครั้งแรกในโลกปัจจุบันเลยก็ว่าได้ ที่หนังสือเล่มนี้ได้แจกจ่ายไปสู่มือนักอ่านจำนวนมาก จนเกิดเป็นหัวข้อโต้เถียงที่ทรงพลังและสร้างสรรค์ให้เห็นสัมพันธภาพ ระหว่างโลกของธรรมชาติกับสภาวะการพึ่งพาธรรมชาติของมนุษย์เรา เนื้อหาในเล่มครอบคลุมกว้างขวางกว่าแค่จะมุ่งเน้นเรื่องยาฆ่าแมลง ราเชล คาร์สัน แสดงให้เห็นบทเรียนที่ล้ำลึกซึ่งเกิดจากการเฝ้าศึกษาธรรมชาติมาตลอดชีวิต จนได้ข้อคิดว่า โลกไม่ใช่ของเรา เราต่างหากที่เป็นส่วนหนึ่งของโลก ทุกวันนี้ในโลกที่เราจะต้องสู้กับทั้งสิ่งมีชีวิตตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) และภูมิอากาศแปรปรวน ราเชลช่างนำเสนอเนื้อหาได้ร่วมสมัย ใช่แล้ว ระดับของการทำลายมันกว้างขึ้นและลงลึกไปเรื่อยๆนับตั้งแต่สมัยที่ราเชลยัง อยู่ ใช่แล้ว เราอยู่ในโลกแห่งวิกฤติ แต่ทุกช่วงเวลาที่ผ่านไป มีมนุษย์จำนวนมากขึ้นทั่วโลกต่างเดินทางไปสู่แสงแห่งความเข้าใจ ถ้าเราช่วยกันเราจะทำสำเร็จได้ และเราจะสร้างอนาคตในแบบที่เราจะสามารถกลับมายังที่อาศัยภายในอ้อมกอดอัน แสนอบอุ่นของโลกที่มีชีวิต
ที่มา:นิตยสาร Resurgence ฉบับที่ 271 (มีนาคม – เมษายน 2012)
หมายเหตุ :
1.บทความนี้ตีพิมพ์ลงใน ปาจารยสาร (ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 มิถุนายน – สิงหาคม พ.ศ.2555)
2.Silent Spring เคยมีการแปลเป็นไทยแล้ว ในชื่อ “เงามฤตยู” แปลโดย คุณหญิงดิฐการภักดี และ หม่อมวิภา จักรพันธุ์ เมื่อปี 2517 และก็ไม่ได้มีการพิมพ์ซ้ำ หรือ แปลใหม่อีกเลย