ที่มา ประชาไท
Sat, 2012-09-29 18:38
ภาพดัดแปลง [1]
แน่นอนว่าการจำนำข้าวไม่ได้แก้ปัญหาชาวนาได้เบ็ดเสร็จ
แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของภาครัฐที่จะหันมาสนใจเรื่องรายได้และปัญหาของ
ชาวนา
Sat, 2012-09-29 18:38
แม้การรับจำนำข้าว
ซึ่งทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากราคาขายข้าวเพิ่มสูงขึ้น
จะทำให้เกิดความวิตกกังวลในหมู่นักวิชาการและนักวิเคราะห์น้าจอทีวีว่า
จะทำให้ต้นทุนการผลิตของชาวนาเพิ่มขึ้น
เนื่องจากชาวนาต้องการจะผลิตข้าวให้ได้มากๆ เพื่อนำมาเข้าโครงการรับจำนำ
อย่างไรก็ดี ต้นทุนการผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้นในขณะนั้น
เกิดขึ้นตามเงื่อนไขของตลาดเสียมากกว่า
เพราะเอาเข้าจริงแม้ราคาข้าวจะไม่เพิ่มขึ้น(โดยการจำนำข้าว)
ราคาปุ๋ย-ยาก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว
ชาวนาไม่ได้ใช้ปุ๋ยหรือยาเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตอย่างไม่ลืมหูลืมตา
แต่พวกเขาใช้ปัจจัยการผลิตเหล่านี้ควบคู่ไปกับการประเมินความคุ้มทุนของเขา
ด้วย นอกจากนั้น ต้นทุนการผลิตก็ยังเกี่ยวข้องกับค่าแรง
ซึ่งแรงงานเป็นปัจจัยการผลิตที่หาได้ยากขึ้นทุกวัน
ที่นาในพื้นที่ วิจัย ต.หนองน้ำใหญ่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา
นั้นเป็นที่ลุ่ม ชาวนาส่วนใหญ่คือชาวนาเช่าไร้ที่ดิน
สำหรับในส่วนของค่าเช่าที่ดิน
ไม่ใช่แค่ราคาข้าวเปลือกที่เพิ่มสูงขึ้นเท่านั้นที่จะมีผลต่อค่าเช่าที่นา
แน่นอนว่าเมื่อราคาข้าวจากนาสู่ลานรับซื้อเพิ่มขึ้น
ย่อมดึงดูดใจชาวนาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ แต่การที่ที่นามีจำกัด
คนที่มีอำนาจมากที่สุดก็คือเจ้าของที่นา
ที่ย่อมรอโอกาสจากส่วนแบ่งของราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นมาเป็นธรรมดา
แต่การแข่งขันกันเองของชาวนาเช่าหน้าเก่ากับหน้าใหม่นี้
ยังต้องเผชิญกับปัญหาการเก็งกำไรจากนโยบายประกาศเช่าที่นาเป็นที่รองรับน้ำ
ของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย จากข่าวลือที่ออกมาเมื่อปลายปี พ.ศ. 2554
ที่ว่าอาจมีการเช่าที่นาในราคาสูงถึงไร่ละ 5,000 บ. นั้น
เจ้าของที่นาบางรายถึงกับเปรยว่าจะไม่ให้ชาวนาเช่าที่นาเพื่อทำนาหนที่ 2
เพราะต้องการเก็บให้รัฐบาลเช่าแทน
ภาพดัดแปลง [1]
ความซับซ้อนในเรื่องนี้จึงกลายมาเป็นปัญหา ที่ทำให้ราคาเช่าที่นาในแถบ
อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา แพงกว่าใน จ.สุพรรณบุรี
ซึ่งเป็นที่นาดีและทำนาได้เกือบจะ 3 ครั้ง/ปี ในขณะที่ที่นาแถบ อ.ผักไห่
จ.พระนครศรีอยุธยา มีราคาขายต่ำมาก เนื่องจากเป็นที่ลุ่มมีน้ำท่วมขังนานถึง
4 เดือน (เป็นอย่างน้อย) ในแต่ละปี รวมทั้งมีปัญหาการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง
เพราะอยู่ปลายสุดของโครงการชลประทาน
แต่กลับต้องเป็นที่รองรับน้ำเมื่อต้องมีการระบายน้ำในช่วงหน้าน้ำ
นอกจากนั้น สำหรับชาวนาแล้ว
การเพิ่มจำนวนรอบการปลูกข้าวขึ้นอยู่กับสภาพน้ำเป็นสำคัญ
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าข้าวเปลือกราคาแพงหรือถูก
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าในปีนั้นๆ
รัฐบาลจะใช้นโยบายการประกันราคาหรือนโยบายการรับจำนำ
เพราะถ้ามีน้ำเพียงพอให้ทำนาได้ พวกเขาก็ทำ
ถึงทำไม่ได้ในบางปีเพราะแล้งก็ยังพยายามจะหาน้ำมาทำ(ในกรณีเขตชลประทาน)
หรือทำนารอฝน (นอกพื้นที่ชลประทาน)
ส่วนเรื่องคุณภาพข้าวที่มีความกังวลกันมากว่าชาวนาจะผลิตข้าวคุณภาพต่ำ
จนอาจทำให้เกิดปัญหาต่อการส่งออกนั้น
อันที่จริงในขั้นตอนที่ชาวนาเข็นข้าวไปขาย
ผู้รับซื้อก็ย่อมมีการควบคุมคุณภาพข้าวและการตรวจวัดความชื้นอยู่แล้ว
รวมทั้งยังมีข้อชวนสงสัยอีกว่าการปลอมปนข้าวหอมมะลิจนเป็นปัญหาเรื้อรังใน
ตลาดข้าวนั้น เกิดขึ้นในขั้นตอนใดกันแน่
เกิดขึ้นในขั้นตอนการสีและบรรจุถุงขายเป็นข้าวสารส่งออกใช่หรือไม่
เช่นเดียวกับเวลาที่ชาวนาซื้อพันธุ์ข้าวมาปลูก
ก็มักประสบปัญหาได้พันธุ์ข้าวที่เปอร์เซ็นต์ข้าวงอกต่ำบ้าง
มีหญ้าปลอมปนบ้าง หรือไม่ใช่พันธุ์แท้ที่ต้องการบ้าง ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้
ได้ถูกลดทอนจากนักวิชาการและนักวิเคราะห์หน้าจอทีวีให้เป็นความผิดพลาดของ
ชาวนาแต่ฝ่ายเดียวทั้งสิ้น
ใช่ แค่จำนำข้าวมันยังไม่พอ
ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขต่อไป
ควบคู่กับการปรับปรุงโครงการรับจำนำเข้าที่เข้าทางมากยิ่งขึ้น
ต้องปรับขั้นตอนกลไกการปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
และป้องกันปัญหาทุจริตให้รัดกุม
มันยากที่ชาวนาและเครือข่ายในห่วงโซ่อุตสาหกรรมการผลิตข้าว
(ที่ไม่ได้สัมพันธ์กันกับอุตสาหกรรมเคมีการเกษตรและปิโตรเคมี) อาทิ
ชาวนารับจ้าง ผู้มีรถรับจ้างไถนา เกี่ยวข้าว
เหล่านี้จะออกมาพูดต่อสาธารณะเพื่อปกป้องผลประโยชน์ที่พวกเขาได้จากโครงการ
จำนำข้าว เพราะอย่างไรเสียเสียงของพวกเขาก็ไม่มีทางดังพอ ไม่ทรงภูมิมากพอ
เท่ากับเสียงของพวกพ่อค้า ผู้ส่งออก นักวิชาการ และนักวิเคราะห์หน้าจอ
ที่ไม่เคยผ่านความเสี่ยงของดินฟ้าอากาศและกลไกตลาดที่ใช้กดราคาข้าว
ดังที่ชาวนาต้องเจออย่างจำเจซ้ำซากอยู่ชั่วนาตาปี
ภาพจากMaysaaNitto Org-home
หมายเหตุ: บท
ความนี้สังเคราะห์ขึ้นจาก งานวิจัย "ดำรงชีวิตท่ามกลางความเสี่ยง :
การรับมือและการปรับตัวต่อภัยพิบัติของชาวนารายย่อยภาคกลาง
กรณีศึกษาภัยน้ำท่วมและภัยจากเพลี้ยกระโดด" โดย ชลิตา บัณฑุวงศ์ นิรมล
ยุวนบุณย์ และ นันทา กันตรี สนับสนุนทุนวิจัยโดย
สำนักงานส่งเสริมการปฏิรูประบบ เพื่อคุณภาพชีวิต เกษตรกร ชุมชน และสังคม
(สปกช.) เมษายน 2554
[1] ดัดแปลงข้อมูลจาก