WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, October 2, 2012

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: เมดิคัลฮับและความไม่เท่าเทียม (2)

ที่มา ประชาไท

 

ความไม่เท่าเทียมกันในระบบสาธารณสุขไทยระหว่างกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ในกรุงเทพฯมีอุปทานการแพทย์จากโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนสูงกว่าจังหวัดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนบุคลากรทางการแพทย์เครื่องไม้เครื่องมือทางการแพทย์หรือ ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน  [1] สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมนี้คือ นโยบายการบริหารประเทศที่ร่วมศูนย์กลางไว้ที่กรุงเทพฯทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง
ความเจริญในกรุงเทพฯสูงกว่าจังหวัดอื่นๆและดึงดูดเงินลงทุน นักลงทุน แรงงาน เข้ามากระจุกตัวที่กรุงเทพฯ แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่ถึงแม้ไม่ใช่คนกรุงเทพฯโดยกำเนิดก็อยากจะ ย้ายเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯมากกว่าเมื่อใช้ทุนเสร็จแล้ว กรุงเทพฯมีสิ่งที่อำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันและ ส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานและสร้างฐานครอบครัวในอนาคตได้ดี กว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่ากรุงเทพฯมีโรงเรียนแพทย์เฉพาะทาง มีศูนย์โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากกว่าเพื่อให้แพทย์ได้ศึกษาต่อ มีโรงเรียนที่มีคุณภาพการศึกษามากกว่าต่างจังหวัดเพื่อให้ลูกหลานพวกเขาได้ ศึกษาเป็นทุนในการสร้างอนาคตต่อไป มีโรงพยาบาลเอกชนให้เลือกทำงานมากกว่าหรือมีโอกาสที่เปิดคลีนิคเป็นของตนเอง ได้ง่ายกว่า ในขณะเดียวกันนักลงทุนเอกชนก็มองเห็นโอกาสทำกำไรได้มากเมื่อเปิดโรงพยาบาลใน กรุงเทพฯที่เต็มไปด้วยผู้คนและนักท่องเที่ยว
เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในระบบสาธารณสุขไทยระหว่างกรุงเทพฯและต่าง จังหวัด นโยบายสาธารณสุขต้องสัมพันธ์กับนโยบายบริหารประเทศ และจำเป็นต้องมีนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่นลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง จังหวัด ต้องสร้างงานในต่างจังหวัดเพื่อลดการอพยพของคนต่างจังหวัดเข้ามาในกรุงเพฯ สร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นในทุกจังหวัดเช่น ระบบขนส่งมวลชนราคาถูก ระบบการศึกษาเป็นต้น กระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น สร้างแนวทางเจริญในอาชีพการงานของบุคลากรสาธารณสุขในต่างจังหวัดให้เห็นเป็น รูปเป็นร่างชัดเจนเพื่อดึงดูดให้พวกเขาอยากทำงานในท้องที่ต่อไป
ความไม่เท่าเทียมกันในระบบสาธารณสุขไทยระหว่างโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน โรงพยาบาลภาครัฐมีความสามารถในการแข่งขันน้อยกว่าโรงพยาบาลภาคเอกชน โรงพยาบาลเอกชนมีอุปทานทางการแพทย์ที่ดีกว่าและมากกว่า ไม่ว่าจะเป็น บุคลากรทางสาธารณสุข แพทย์เฉพาะทาง อุปกรณ์ทางการแพทย์ราคาแพง [2]
โรงพยาบาลที่สะดวกสบายสะอาดและมีเครื่องอำนวยความสะดวกครบครัน สถานที่และบรรยากาศการทำงานน่าดึงดูดให้บุคลากรสาธารณสุขมาร่วมงาน อัตราเงินเดือนของเอกชนที่สูงกว่าของรัฐสองถึงสี่เท่าแต่มีภาระงานที่เบา กว่าภาครัฐ ระบบการทำงานที่ยืดหยุ่นกว่าระบบราชการและมีอิสระมากกว่า ภาวะสมองไหลของบุคลากรจากภาครัฐสู่ภาคเอกชนเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ในทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศสที่มีระบบสาธารณสุขที่ประสิทธิภาพดีที่สุดตามที่ องค์การอนามัยโลกจัดอันดับในปี 2000  [3] แพทย์ สมองไหลออกไปสู่ที่ๆอัตราเงินเดือนสูงกว่า สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ ระบบภาษีอัตราก้าวหน้าในฝรั่งเศสที่เป็นตัวยับยั้งชั่งใจแพทย์ก่อนที่จะ ตัดสินใจไปทำงานภาคเอกชน ในขณะที่ประเทศไทยกลับไม่มีการเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า
การรักษาสุขภาพในอดีตถูกมองว่าเป็นเรื่องความเสี่ยงส่วนบุคคล แต่ละคนที่เกิดมาเจ็บป่วยหนักหรือไม่เป็นเรื่องของผลกรรมในอดีต ดังนั้นแต่ละคนต้องรับผิดชอบต่อความเจ็บป่วยนั้นเอง การจ่ายค่ารักษาพยาบาลจึงเป็นเรื่องปัจเจกบุคคลโดยที่รัฐไม่จำเป็นต้องเข้า มาจัดการ ผลของการวางตำแหน่งการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องส่วนตัวทำให้รัฐไม่ใส่ใจเรื่อง สุขภาพประชาชนและใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐต่อเรื่องสุขภาพน้อยกว่าที่ควรจะเป็น และต้องอาศัยภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในระบบสาธารณสุข
ผลดีของนโยบายสามสิบบาทรักษาทุกโรคคือการเปลี่ยนมุมมองของคนในสังคมว่า สุขภาพและการรักษาไม่ใช่เรื่องของปัจจเจกบุคคลอีกต่อไป แต่เป็นความเสี่ยงของสังคมที่ทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกันแบกรับและเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุขกัน หลังจากนโยบายสามสิบบาทประกาศออกมาปรากฏว่าภาครัฐเพิ่มงบประมาณในการรักษา มากขึ้นทุกปี สัดส่วนค่าใช้จ่ายในเรื่องสุขภาพระหว่างรัฐและเอกชนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  [4]
อย่างไรก็ตามการขาดการลงทุนด้านการรักษาจากภาครัฐก่อนมีนโยบายสามสิบบาท และต้องอาศัยการลงทุนจากภาคเอกชนเพื่อเปิดโรงพยาบาลจำนวนมากและรองรับความ ต้องการสินค้าบริการที่เพิ่มสูงมากขึ้นตามสภาพเสือเศรษฐกิจที่เติบโตในช่วง ทศวรรษ 90 สาเหตุนี้ทำให้เปิดโอกาสนักลงทุนเอกชนเข้ามาสู่ระบบสาธารณสุขได้อย่างเสรี โดยมีกฎระเบียบข้อบังคับที่ไม่เคร่งครัดและตามไม่ทันกระแสการเปลี่ยนแปลง ผู้ประกอบการเอกชนจำนวนมากเข้ามาแสวงหากำไรและสร้างการแพทย์พาณิชย์ที่ฝัง รากลึกในระบบสาธารณสุข

ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ สินค้าทั่วไปยิ่งมีผู้ประกอบการจำนวนมากเท่าไรยิ่งส่งผลดีต่อผู้บริโภคเพราะ เกิดการแข่งขันด้านราคาขึ้น ผู้ประกอบการต้องเพิ่มขีดความสามารถของตนเองเพื่อลดต้นทุน อย่างไรก็ตามสินค้าบริการการแพทย์แตกต่างจากสินค้าทั่วไปเพราะมีความไม่ สมมาตรทางข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ผลิต(แพทย์)กับผู้บริโภค(ผู้ป่วย)กล่าวคือ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นเรื่องเฉพาะทางและมีความแตกต่างด้านความ รู้ระหว่างแพทย์กับคนไข้ และยังมีลักษณะเป็นสินค้าผูกขาดจากใบประกอบโรคศิลป์ ช่องโหว่นี้ส่งผลให้ผู้ผลิตสามารถหากำไรจากค่าเช่าทางข้อมูลและการผูกขาด เช่น แพทย์สามารถสั่งจ่ายการรักษาที่ไม่จำเป็นโดยคนไข้ไม่รู้ตัวเพื่อเพิ่มรายได้ ให้กับตนเอง โรงพยาบาลเอกชนในระบบสาธารณสุขจึงไม่ได้แข่งกันด้านราคาเป็นหลักแต่แข่งกัน ด้านการสร้างความไว้วางใจและคุณภาพการบริการ โรงพยาบาลเอกชนทั้งระบบสามารถกำหนดราคาในอัตราสูงได้ระดับหนึ่งและแสวงหา กำไรได้โดยที่จำนวนผู้ประกอบการที่สูงขึ้นไม่ส่งผลต่อราคาของสินค้าสาธารณ สุขเท่าใดนัก เมื่อมีกำไรขึ้นย่อมเป็นเชื้อไฟให้ผู้ประกอบการอื่นๆเข้ามาในตลาดสาธารณสุข มากขึ้นเรื่อยๆ บุคลากรสาธารณสุขจากภาครัฐก็ย้ายมาทำงานในภาคเอกชนมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
การขาดกฎระเบียบควบคุมและผู้บริโภคขาดอำนาจต่อรองส่งผลให้การแพทย์ พาณิชย์เติบโตอย่างแข็งแกร่ง องค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบสาธารณสุขคือ
  •  กระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่ออกนโยบายสาธารณสุขส่วนกลาง องค์กรอาหารและยาทำหน้าที่ควบคุมคุณภาพเครื่องมือแพทย์ ยา เครื่องสำอาง อย่างไรก็ตามไม่สามารถควบคุมจำนวนได้ เครื่องมือแพทย์ราคาแพงในโรงพยาบาลเอกชนจึงมีจำนวนมาก นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจในการอนุญาตเปิดคลีนิคและโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งถ้าได้มาตรฐานก็สามารถเปิดได้แต่ไม่สามารถควบคุมจำนวนและการกระจายของ โรงพยาบาลให้ไปสู่พื้นที่ที่ขาดแคลนได้ และเนื่องจากบุคลากรสาธารณสุขในภาครัฐเป็นข้าราชการ ค่าตอบแทนจึงถูกควบคุมโดยระเบียบข้าราชการซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไม่ทันเงิน เฟ้อที่สูงขึ้น ในขณะที่รัฐไม่สามารถควบคุมค่าตอบแทนของบุคลากรภาคเอกชน เงินเดือนจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • 4 สภาวิชาชีพ ได้แก่แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช และ พยาบาล ทำหน้าที่ควบคุมคุณภาพ ความรู้ของบุคลากร และมีอำนาจออกใบประกอบโรคศิลป์ และสอบสวนเรื่องที่ฟ้องจากผู้เสียหายจากการรักษา ซึ่งถ้าผิดจริงก็จะทำการยึดใบประกอบโรคศิลป์ อย่างไรก็ตามการทำงานในการสอบสวนก็ถูกวิจารณ์ว่ามีความล่าช้า  [5]
  • สำนักงานประกันสังคมและสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ มีหน้าที่เป็นผู้รวบรวมเงินกองทุนและผู้ซื้อบริการสุขภาพจากโรงพยาบาลรัฐและ เอกชนเพื่อกระจายสู่ประชาชน และควบคุมราคายาและค่ารักษาทางอ้อมโดยทำหน้าที่เจรจาค่ายาค่ารักษากับโรง พยาบาลรัฐและเอกชนผ่านการกำหนดสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน
  • ผู้บริโภค มีหน้าที่ควบคุมคุณภาพและราคายาและค่ารักษาทางอ้อมโดยสิทธิผุ้ป่วยในการ ปฏิเสธการรักษาที่มีราคาแพงและอันตราย รวมถึงทำการฟ้องร้องผ่านสมาคมคุ้มครองผู้บริโภค หรือ แพทยสภากรณีพบปัญหาการรักษาที่ผิดจริยธรรมทางการแพทย์ การรักษาผิดพลาด อย่างไรก็ตามสิทธิผู้ป่วยซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ให้ผู้บริโภค สามารถเข้าถึงข้อมูลการรักษาลดความไม่เท่าเทียมกันด้านข้อมูล ควบคุมการสั่งจ่ายการรักษาที่ไม่จำเป็น และมีอำนาจต่อรองกับแพทย์และกลุ่มธุรกิจการแพทย์ และสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานนั้น ในประเทศไทยเพิ่งมีการประกาศเมื่อสิบสองปีที่แล้ว โดยยังไม่มีการร่างเป็นกฎหมายควบคุม
เพื่อลดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างโรงพยาบาลรัฐและเอกชนต้องอาศัยการลง ทุนเพิ่มขึ้นจากภาครัฐ ปฏิรูประบบราชการ เพิ่มรายได้ให้กับบุคลากรสาธารณสุขในภาครัฐสูงขึ้นระดับหนึ่ง เก็บภาษีอัตราก้าวหน้าเพื่อควบคุมเงินเดือนของบุคลากรสาธารณสุขภาคเอกชนที่ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ออกกฎระเบียบควบคุมจำนวนอุปกรณ์การแพทย์ สร้างความเข้มแข็งให้ผู้บริโภค สิทธิผู้ป่วยในภาคปฏิบัติ เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและเข้าถึงข้อมูลการรักษาเพื่อลดโอกาสที่บุคลากร สาธารณสุขแสวงกำไรจากความไม่เท่าเทียมด้านข้อมูล 
เชิงอรรถ
http://www.moph.go.th/ops/thp/index.php?option=com_content&task=view&id=176&Itemid=2
2 http://www.moph.go.th/ops/thp/index.php?option=com_content&task=view&id=176&Itemid=2
http://fr.wikipedia.org/wiki/Syst%C3%A8me_de_sant%C3%A9_fran%C3%A7ais
4 Source : WHO
http://thai-medical-error.blogspot.com/2011/02/6_09.html