WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 6, 2012

"เมื่อได้ยินอะซาน...ทุกอย่างต้องยุติ" คำชี้แจง 'วันศุกร์' จุฬาราชมนตรี

ที่มา ประชาไท



เปิดคำชี้แจงจุฬาราชมนตรี “การทำงานในวันศุกร์ มิได้ขัดแย้งกับหลักศาสนาอิสลาม” ระบุอิสลามบัญญัติให้บุคคลต้องไม่ให้ความสำคัญเรื่องหารายได้ มากกว่าพิธีละหมาดวันศุกร์ ...ผู้ทำงานทุกคนต้องระลึกเสมอคือ เมื่อได้ยินเสียงอะซานเรียกร้องสู่การละหมาด งานทุกอย่างต้องยุติลง
5 ต.ค. 55 - ต่อไปนี้ เป็นเนื้อหาในเปิดคำชี้แจงของจุฬาราชมนตรี เรื่องการทำงานในวันศุกร์มิได้ขัดแย้งกับหลักศาสนาอิสลาม หลังจากที่มีข่าวลือข่มขู่มิให้ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และบางส่วนของจังหวัดสงขลา ออกมาทำงานในวันศุกร์ จนส่งผลกระทบในวงกว้าง เนื่องจากร้านค้าต่างๆในพื้นที่ต่างปิดเงียบ โดยมีเนื้อหาดังนี้

การทำงานในวันศุกร์
มิได้ขัดแย้งกับหลักศาสนาอิสลาม

การทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยยังชีพเป็นสิ่งที่อิสลามให้ความสำคัญ เป็นอย่างสูง เพราะการดำรงชีพโดยมุ่งสู่เป้าหมายที่องค์อัลลอฮฺพระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนด นั้น ต้องอาศัยการอุปโภคบริโภค สรรพสิ่งต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงสร้างไว้ให้ ผู้ทำงานเพื่ออัลลอฮฺ เช่น บรรดานบีๆ (ศาสนทูตทั้งหลาย) จึงเป็นผู้ทำงานหนักเสมอ เพื่อให้สามารถดำรงชีพได้ โดยไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่น และสามารถทำหน้าที่เพื่ออัลลอฮฺได้โดยไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของผู้ใด นอกจากขอพึ่งพาอัลลอฮฺ (ซุบหานะฮฺ) เพียงผู้เดียวเท่านั้น
ผู้ทำงานด้วยน้ำพักน้ำแรงเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวด้วยอาชีพสุจริต จึงเป็นผู้ประเสริฐ และอาหารที่ได้มาจากการทำงานนั้นก็เป็นอาหารที่ประเสริฐด้วย ดังคำของศาสนทูตมุหัมมัด (ขอความสุขสวัสดิ์จากอัลลอฮฺจงบังเกิดแก่ท่านด้วยเถิด) ซึ่งบอกเล่าโดยมิกดาม มะอัดดีกริบา และบันทึกโดยบุคอรีย์ ว่า
عَنِ الْمِقْدَامِ بنْ مُعِد يَكْرِب رَضِيَ اللهُ عَنْهُ عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنَّهُ قَالَ: مَا أَكَلَ أَحَدٌ طَعَامًا قَطُّ خَيْرًا مِنْ أَنْ يَأْكُلَ مِنْ عَمَلِ يَدِهِ ، وَإِنَّ نَبِىَّ اللَّهِ دَاوُدَ - عَلَيْهِ السَّلاَمُ - كَانَ يَأْكُلُ مِنْ عَمَلِ يَدِهِ.(رواه البخاري)
“ไม่มีอาหารใดที่คน ๆ หนึ่ง รับประทานแล้ว จะมีความประเสริฐมากไปกว่าอาหารที่ได้มาจากการทำงานด้วยน้ำพักน้ำแรงของตน และแท้จริงดาวูดผู้เป็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺเอง ก็เป็นผู้ที่เลี้ยงชีพโดยการทำงานด้วยตัวเอง”
    "تيدقله سسؤرڠ مڠگونا سمسي ماكنن يڠ لبيه بأيك دري ماكنن يڠد حاصيلكن دري جريه تاڠن سنديري دان سسوڠگوهڽ نبي داود - عليه السلام-  دهولو سننتياس ماكن دري جريه ڤايه سنديري"

อีกทั้งผู้ทำงานอย่างมืออาชีพก็เป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺ (ซุบหานะฮฺ) ดังคำของศาสนทูต มุหัมมัด (ขอความสุขสวัสดิ์จากอัลลอฮฺจงบังเกิดแก่ท่านด้วยเถิด) ซึ่งบอกเล่าโดยอิบนุอุมัร และบันทึกโดย ฏ็อบรอนีย์
إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُؤْمِنَ الْمُحْتَرِفَ
“แท้จริง องค์อัลลอฮฺทรงรักผู้ศรัทธาที่ประกอบอาชีพการงาน”
"سسوڠگوهڽ الله سبحانه وتعالى منچينتأي سؤرڠ مؤمن يڠ گيات بكرجا"

ด้วยความรักที่พระองค์มีให้ จึงพร้อมจะทรงอภัยโทษต่อผู้ประกอบอาชีพการงานในยาม   ที่พวกเขาเหนื่อยล้าจากการใช้แรงกาย และทรงถือว่าผู้ทำงานสุจริตเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัว คือคนทำงานในหนทางของพระองค์ (ฟี สะบีลิลลาฮฺ) ดังหะดีษต่อไปนี้
عَنْ عَائِشَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهَا أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : " مَنْ أَمْسَى كَالًا مِنْ عَمَلِ يَدَيْهِ أَمْسَى مَغْفُورًا لَهُ " (رواه الطبراني)
 “ผู้ใดเข้าสู่ยามเย็นอย่างเหนื่อยล้าจากการใช้แรงงาน เขาเป็นผู้ได้รับการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ”
         "بارڠ سياڤ يڠ وقتو ڤتڠ دودوق دالم كللهن لنتاران ڤكرجأن يڠتله دلاكوكن، مك اي داڤتكن وقتو ڤتڠ ترسبوت دوساڽ٢ دامڤوني اوليه الله سبحانه وتعالى"
อีกหะดีษหนึ่งซึ่งทำให้เห็นว่าทุกคนต้องสนับสนุนผู้ประกอบอาชีพสุจริต คือหะดีษที่ระบุว่า
عن كَعْبِ بْنِ عُجْرَة رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : مَرَّ عَلَى النَّبِيِّ - صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - رَجُلٌ فَرَاى أَصْحَابَ رَسُوْلِ اللهِ - صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - مِنْ جَلَدِهِ وَنَشَاطِهِ فَقَالُوا : يَا رَسُوْلَ اللهِ! لَوْ كَانَ هَذَا فِي سَبِيلِ اللهِ؟ فَقَالَ رَسُوْلُ اللهِ - صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - :«إِنْ كَانَ خَرَجَ يَسْعَى عَلَى وَلَدِهِ صِغَاراً فَهُوَ فِي سَبِيلِ اللهِ ، وَإِنْ كَانَ خَرَجَ يَسْعَى عَلَى أَبَوَيْنِ شَيْخَينِ كَبِيرَيْنِ فَهُوَ فِي سَبِيلِ اللهِ ، وَإِنْ كَانَ يَسْعَى عَلَى نَفْسِهِ يَعِفُّهَا فَهُوَ فِي سَبِيلِ اللهِ ، وَإِنْ كَانَ خَرَجَ رَيِاءً وَمُفَاخَرَةً فَهُوَ فِي سَبِيلِ الشَّيْطَانِ.
(رواه الطبراني برجال الصحيح)
“ชายผู้หนึ่งเดินผ่านกลุ่มมหามิตรแห่งบรมศาสนทูต พวกเขารู้ว่าชายคนนี้มีน้ำอดน้ำทน และทำงานอย่างขยันขันแข็ง จึงกล่าวกับบรมศาสนทูตว่า ถ้าชายคนนี้มาทำงานในหนทางของอัลลอฮฺ ย่อมเป็นการดียิ่ง (พวกเขาหมายถึงการสงคราม) บรมศาสนทูตบอกว่า หากชายคนนี้ออกไปทำงานหาเลี้ยงลูกเล็กๆ เขาก็อยู่ในหนทางของอัลลอฮฺแล้ว หากเขาออกไปทำงานเพื่อหาเลี้ยงพ่อแม่ที่แก่ชรา เขาก็อยู่ในหนทางของอัลลอฮฺแล้ว หากเขาออกไปทำงานเพื่อเลี้ยงตัวเองจะได้ไม่ต้องเป็นภาระของใครให้เสียสง่า ราศี เขาก็อยู่ในหนทางของอัลลอฮฺแล้ว ถ้าเขาออกไปทำงานเพื่อหวังให้ผู้อื่นยกย่องหรือเพื่อโอ้อวดกันต่างหาก เขาจะอยู่ในหนทางของซาตาน”
مقصودڽ : " سؤرڠ للاكي برجالن دتڤي ڤاراصحابة دان مريك تاهو بهوا للاكي ايت سؤرڠ يڠ برصبر دان راجين بكرجا لالو ايت مريك بركات كڤد رسول الله جك للاكي اين بكرجا دالم جالن الله ادله امت بأيك (مريك برمقصود دڠن ڤڤراڠن)  رسول الله بركات جك دي كلواربكرجا اونتوق انق كچيلڽ دي سوده براد دالم جالن الله، دان جك دي كلواربكرجا اونتوق ممليهارا ايبوباڤ يڠ توا دي سوده براد دالم جالن الله، دان جك دي كلواربكرجا اونتوق ممليهارا ديريڽ سڤاي تيدق ممببنكن اورڠ لأين دي سوده براد دالم جالن الله، جك دي كلواربكرجا اونتوق منداڤت كڤوجين دري اورڠ لأين اتاواونتوق منونجوق٢ دي سوده براد دالم جالن شيطان"
เมื่อคนเราต้องบริโภคทุกวัน อิสลามจึงไม่ห้ามที่จะทำงานทุกวัน แม้วันนั้นจะเป็นวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นวันสำคัญประจำสัปดาห์ก็ตาม สิ่ง ที่อิสลามบัญญัติ คือ บุคคลต้องไม่ให้ความสำคัญแก่การทำงานหารายได้ มากกว่าการประกอบพิธีละหมาดญุมอะฮฺถวายเป็นอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺพระผู้เป็น เจ้าดังปรากฏในพระดำรัสแห่งอัลลอฮฺซูรอฮฺอัลญุมุอะฮฺ อายะฮฺที่ 9-10 ว่า
" يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا إِذَا نُودِيَ لِلصَّلَاةِ مِنْ يَوْمِ الْجُمُعَةِ فَاسْعَوْا إِلَى ذِكْرِ اللَّهِ وَذَرُوا الْبَيْعَ ذَلِكُمْ خَيْرٌ لَكُمْ إِنْ كُنْتُمْ تَعْلَمُونَ ، فَإِذَا قُضِيَتِ الصَّلَاةُ فَانْتَشِرُوا فِي الْأَرْضِ وَابْتَغُوا مِنْ فَضْلِ اللَّهِ وَاذْكُرُوا اللَّهَ كَثِيرًا لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ "
“ดูกร ผู้มีศรัทธาทั้งหลาย เมื่อเสียงเรียกร้องสู่การละหมาดดังขึ้นในวันศุกร์ พวกเจ้าก็จงรีบเร่งไปสู่การรำลึกถึงอัลลอฮฺเถิด และจงยุติการซื้อขายเสีย นั่นเป็นสิ่งที่ดีสำหรับพวกเจ้าหากพวกเจ้ารู้”
“ครั้นเมื่อการประกอบพิธีละหมาดเสร็จสิ้นลง พวกเจ้าก็จงกระจายไปในแผ่นดินเถิด จงแสวงหาคุณูปการแห่งอัลลอฮฺ (ทำงานหารายได้) และจงรำลึกถึงพระองค์ให้มาก เพื่อพวกเจ้าจะได้พบกับความสำเร็จ”
       "واهاي اورڠ٢ يڠ برايمان اڤبيل دسروكن اذان اونتوق مڠرجاكن سمبهيڠ ڤدهاري جمعة مك سگراله كاموڤرگي (كمسجد) اونتوق مڠيڠتي الله (دڠن مڠرجاكن سمبهيڠ جمعة) دان تيڠگلله برجوال بلي، لالواي ممبري تاهوكڤد كامو اڤ يڠ كاموتله لاكوكن (سرتا ممبالسڽ)"
        "كمدين ستله سلساي سمبهيڠ مك برتبارانله كامودموك بومي (اونتوق منجالنكن اوروسن ماسيڠ٢) دان چاريله اڤ يڠ كامو حاجتي دري الله، سرتا ايڠتله اكن الله سباڽق٢ (دالم ستيڤ كأدأن) سڤاي كاموبرجاي (ددنيا دان أخيرة)"
ทั้งสองอายะฮฺบ่งชี้ชัดเจนว่า แม้จะเป็นวันศุกร์ แต่อัลลอฮฺก็ยังส่งเสริมให้ทำงานแสวงหาคุณูปการที่พระองค์ทรงสร้างไว้ให้ สิ่งที่ผู้ทำงานทุกคนต้องระลึกถึงอยู่เสมอคือ เมื่อได้ยินเสียงอะซานเรียกร้องสู่การละหมาด งานทุกอย่างต้องยุติลงและบุคคลต้องเตรียมตัวไปร่วมละหมาดอย่างรีบเร่ง
ครั้นเมื่อละหมาดเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้ทำงานต่อไป โดยมีจิตระลึกอยู่เสมอว่า โภคปัจจัยที่ได้ มาล้วนเป็นคุณูปการแห่งอัลลอฮฺทั้งสิ้น บุคคลจึงควรแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ด้วยการปฏิบัติตนและใช้จ่ายทรัพย์สินที่ได้มา ไปตามครรลองแห่งพระองค์เท่านั้น นั่นจึงนับเป็นความสำเร็จ ทั้งในภพนี้และปรภพ
ในบริบทของสังคมประเทศไทยโดยรวม และเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มุสลิมสามารถทำงานวันศุกร์ได้ โดยไม่สูญเสียโอกาสในการละหมาดญุมอะฮฺเลย เนื่องจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ล้วนอนุญาตให้เจ้าหน้าที่หรือพนักงานออกไปละหมาดญุมอะฮฺได้เมื่อถึงเวลา ซึ่งนับเป็นเนียะมะฮฺ (สิ่งดี ๆ ที่องค์อัลลอฮฺทรงประทานให้) โดยแท้
ดังนั้น การข่มขู่คุกคามให้สุจริตชนต้องหยุดทำงานในวันศุกร์ นับเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น เป็นการแอบอ้างศาสนาอิสลามเพื่อผลประโยชน์ของตนอย่างมิชอบ และเป็นการกระทำที่อยู่นอกกรอบแนวทางของอัลลอฮฺอย่างสิ้นเชิง.