ที่มา ประชาไท
30 กันยายน, 2012 - 11:40 | โดย buddhistcitizen
ในทางกลับกัน สิ่งที่สร้างความชิบหายให้กับพระสงฆ์ที่ได้ชื่อว่าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมานัก ต่อนักแล้ว นั่นก็คือ ข้อหาเกี่ยวกับ “เพศ” ทั้งสิ้น การละเมิดปริมณฑลทางเพศถือว่าเป็นสิ่งที่โจ่งแจ้ง หลายกรณีสามารถพิสูจน์ได้คาหนังคาเขา บางกรณีสืบพยานหลักฐานได้อย่างชัดเจน หรือบางกรณีแม้จะเป็นการกล่าวหาอย่างผิดๆ เพียงแค่นั้นก็ทำลายความน่าเชื่อถือของพระผู้นั้นได้อย่างง่ายดาย
การเล่นข่าว “สึกพระมั่วสีกา” เกิดขึ้น บนหน้าหนังสือพิมพ์ ด้วยความพยายามอย่างกระตือรือร้นในการเจาะข่าว ก็ยิ่งทำให้พระสงฆ์เป็นที่ถูกจับตามากขึ้น มรณกรรมของเส้นทางเซเล็บจึงเกิดขึ้นกับ “พระดี” “พระดัง” พร้อมๆไปกับการตลาดทางศีลธรรมและพุทธพาณิชย์ที่ขยายตัว เราสามารถไล่เรียงกันลงมาตั้งแต่ คดีความสัมพันธ์ระหว่างพระนิกร ยศคำจู กับ สีกาอรปวีณา, คดีพระยันตระ อมโร ที่มีความสัมพันธ์กับผู้หญิงนางหนึ่งจนเกิดลูกสาว, คดีพระภาวนาพุทโธ ตลอดจนคดีพระอิสระมุนี อดีตอาจารย์ทางธรรมของทักษิณ ชินวัตร ไม่นับคดีย่อยๆของพระไม่ดัง เช่น พระแปลงกายใส่วิกสวมแว่นดำไปท่องราตรี, พระที่มีความสัมพันธ์กับสัตว์ ฯลฯ จุดจบบนเส้นทางผ้าเหลืองของพวกเขานั้น หากไม่ถูกจับสึก ก็ต้องหลีกหนีตัวเองจากพื้นที่ในสังคมไทยออกไป
ความเสื่อมอันเนื่องมาจากการยุ่งเกี่ยวกับเพศ ในด้านหนึ่งแล้วอาจมองเชื่อมโยงกับความเชื่อเรื่องความดี ความงาม ความบริสุทธิ์และความศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกสั่งสมและผสมผสานจากความเชื่อและ ศาสนาดั้งเดิม
ฉากอัศจรรย์ในวรรณกรรมที่ชื่อ ไตรปิฎก
จากประสบการณ์การ “อ่าน” พระวินัยทางอ้อมของผู้เขียน ผ่านหลักฐานชั้นสองในสมัยที่เคยบวชซึ่งเป็นหนังสือประเภทนวโกวาท (คำสอนพระมือใหม่) อาตมา เอ๊ย ผู้เขียนเคยเกิดคำถามขึ้นมากมาย รวมไปถึงความคิดแผลงๆ อีกไม่น้อยเมื่อตะลุยค้นคว้าอ่านวินัยปิฎกพบหลายข้อที่บัญญัติห้ามเรื่องราว ทางเพศด้วยเนื้อหาและบริบทที่สุดพิสดาร
ภาพพุทธะผจญธิดาพญามารโดย เหม เวชกร
ความเป็นชายชาตรีในไตรปิฎก
กรณีเรื่องพระ-เรื่องเพศ ผู้เขียนเห็นว่า มีประเด็นที่จะกล่าวถึงอย่างน้อย 2 ประเด็น ในตอนแรกนี้จะกล่าวถึง “ความเป็นชายชาตรี” ตอนที่สองจะกล่าวถึง “ความเป็นชายที่เลื่อนไหล” การกล่าวถึงในที่นี้จะใช้การอธิบายความในพระวินัยปิฎกเป็นหลัก ซึ่งความรู้ระดับมัธยมในวิชาพุทธศาสนาสอนเราว่า ศีล5 เป็นของชาวบ้าน ศีล8 เป็นศีลของคนอยู่วัดนอนวัด ศีล10 เป็นของเณร และศีล 227 เป็นของพระสงฆ์ เมื่อเปิดดูศีล หรือที่เรียกกันว่า “สิกขาบท” จำนวนมหาศาลของพระสงฆ์แล้วนั้น หากไม่ได้เป็นเรื่องร้ายแรงอะไร นอกจากนั้นศีลอีกพะเรอเกวียนคือ ธรรมเนียมปฏิบัติ และมารยาทของพระ ที่เข้าใจว่า พุทธะ ต้องการจะสร้างวินัยขององค์กรขึ้นมาเพื่อสร้างความเลื่อมใสให้กับคนทั่วไป
ต้นบัญญัติ สาเหตุที่เกิดกฎ
หากเราพอจะเชื่อหลักตรรกะเหตุและผลอยู่บ้าง เราจะเห็นว่า หลักคิดความเป็นเหตุเป็นผลในการบัญญัติวินัยนั้น make sense กว่า การกล่าวถึงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ชวนให้เราเคลิ้มไปกับวรรณกรรมเชิงศรัทธา และอาจเข้าใจได้ง่ายกว่าการพิสูจน์คำสอนทางปรมัตถธรรมที่ต้องผ่านความเข้าใจ ที่สลับซับซ้อนและข้อพิสูจน์ด้วยญาณทัศน์ที่ตัดสินได้ยาก ตามมโนทัศน์ที่ว่าด้วยเหตุและผล
ไตรปิฎกยังกล่าวไว้ว่า สาเหตุที่ต้องบัญญัติสิกขาบท ก็เพื่อการดำรงอยู่ของพุทธศาสนา เนื่องจากข้อบัญญัตินั้นจะทำให้พระที่มาจากหลากหลายตระกูล ชนชั้น มีข้อปฏิบัติมาตรฐานเดียวกัน แต่ก็มีเงื่อนไขว่า จะไม่มีการบัญญัติสิกขาบทขึ้นลอยๆ แต่จะเชื่อมกับบริบทที่เกิดขึ้น นั่นคือ จะมีการพิจารณาออกกฏก็ต่อเมื่อมีเรื่องไม่ดีไม่งามเกิดขึ้นในหมู่สงฆ์
อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะด้วยความเป็นวรรณกรรมหรือเป็นความเชื่อในอำนาจสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์เราพบว่า พุทธะได้กล่าวขู่กับพระภิกษุและคหบดีถึงโทษของการละเมิดศีลมีอยู่ 5 ข้อ [1] นั้นคือ
ปกิณกะ 3 สิกขาบท ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ 13
[876] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ยืนถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะ บ้าง ...
พระอนุบัญญัติ
218. 73. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ หรือถ่ายปัสสาวะ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุยืนอยู่ มิใช่ผู้อาพาธ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ หรือถ่ายปัสสาวะ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธ ยืนถ่ายอุจจาระก็ดี ยืนถ่ายปัสสาวะก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง 1 เผลอ 1 ไม่รู้ตัว 1 อาพาธ 1 มีอันตราย 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
นั่นคือ ผู้เขียนไปจำสับสนว่า ที่ห้ามยืนปัสสาวะก็เพราะว่า เกรงว่าพระภิกษุจะถูกลูกเนื้อ “อม” เครื่องเพศจนเกิดอารมณ์และนำไปสู่การเพลิดเพลินพอใจจนขาดจากความเป็นพระ (อาบัติปาราชิก) อย่างไรก็ตาม ความอึดอัดจากการได้อ่านหนังสือเล่มนั้น กลายเป็นสิ่งที่รบกวนใจเรื่อยมา เพราะว่าต้นบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องเพศไม่ได้มีเพียงข้อนี้ข้อเดียว แต่ปรากฏอยู่อย่างหนาแน่นดกดื่น คล้ายกับเป็นคัมภีร์กามสูตราก็ไม่ปาน ในที่นี้ขอจำแนกย่อยเป็น 2 เรื่องได้แก่ เรื่อง กิจกรรมและความหมกมุ่นทางเพศของภิกษุและเครื่องเพศ
ว่าด้วยกิจกรรมและความหมกมุ่นทางเพศของภิกษุ
ต้นบัญญัติแรกที่ถือว่าสำคัญมากก็คือ ปฐมปาราชิกสิกขาบท [ว่าด้วย เมถุนธรรม] ถือเป็นสิกขาบทแรกว่าด้วยปาราชิก ซึ่งหมายถึงความขาดออกจากการเป็นพระ เกิดกรณีของพระสุทินน์ที่ออกบวชในพุทธศาสนา แต่ด้วยความเป็นลูกเศรษฐีทางบ้านจึงไม่ยอมให้ออกบวชตั้งแต่ต้นถึงกับขู่บิดา มารดาของตนว่า หากไม่ยอมให้บวชจะยอมตายเลยทีเดียว ซึ่งการบังคับดังกล่าวทำให้ทั้งสองยอมให้บวช ภายหลังบวชแล้วบิดามารดาก็ร้องขอให้สึกพระสุทินน์ก็ไม่ยอม ในที่สุดก็ขอเพียงอย่างเดียวก็คือ ขอเชื้อไว้สืบพันธุ์วงศ์ตระกูล และให้เหตุผลว่า หากไม่มีคนสืบตระกูลพวกลิจฉวีจะยึดทรัพย์ของตระกูลไว้
เรื่องดังกล่าวทำให้พระสุทินน์คิดหนักและในที่สุดก็ตัดสินใจยอม “มีอะไร” กับอดีตภรรยาของตนกลางป่า ถึง 3 ครา ด้วยเห็นว่ายังไม่มีโทษใดที่บัญญัติไว้ แต่หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ไตรปิฎกกล่าวเรื่องเหนือธรรมชาติว่า เรื่องดังกล่าวแม้ใครไม่รู้ไม่เห็นแต่ก็มี “เทวดารู้เห็น” พระสุทินน์เองก็รู้สึกไม่สบายใจจนนำเรื่องดังกล่าวมาเล่าให้หมู่คณะ ทำให้เกิดการประชุมสงฆ์ขึ้น พุทธะก็ทำการไต่สวนข้อเท็จจริง ซึ่งพระสุทินน์ก็รับสารภาพ พุทธก็ชี้ให้เห็นโทษของการเสพกามว่า [5]
ภาพการเสพกามอันวิจิตรจาก โบราณสถาน kajuraho อินเดีย
http://www.wiccantogether.com/profiles/blogs/khajurahosex-and-divinity
การแบ่งประเภทเพื่อตัดเรื่องเพศ
นับจากนั้นก็ได้มีการบัญญัติข้อห้ามการเสพกามอันมากมายสุดหยั่ง
ไม่แน่ใจว่าเพราะต้องการป้องปรามหรือมันได้เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์
ความพิลึกพิลั่นจึงปรากฏในข้อห้ามในความสัมพันธ์ทางเพศกับสรรพสิ่งซึ่งในที่
นี้ได้แบ่งเป็น 3 สรรพสิ่ง เพศทั้ง 4 และปากทางสำหรับการสอดใส่ทั้ง 3 [7]
สรรพสิ่งทั้งสามได้แก่ มนุษย์ อมนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน ในที่นี้ไม่แน่ใจว่า ไตรปิฎกจะหมายตามตัวอักษร หรือจะตีความอมนุษย์เป็นคนในยุคนั้นที่ไม่นับว่าเป็นคนทางสังคมก็ไม่ทราบได้ แต่การตั้งกฎนี้ไว้ก็เพื่อความครอบคลุมประเภทของสรรพสิ่ง พูดง่ายๆก็คือ ห้ามมีอะไรกับคน เทวดา ยักษ์ ผี มาร และสัตว์เดรัจฉาน
เพศทั้ง 4 ที่สัมพันธ์อยู่กับสรรพสิ่งทั้งสาม ด้วยความเชื่อที่ว่าสรรพสิ่งที่มีชีวิตเหล่านั้นมีเพศกำกับอยู่ เพศทั้ง 4 ได้แก่ เพศหญิง เพศชาย กระเทย (บัณเฑาะว์) และผู้ที่มีสองเพศในร่างเดียว (อุภโตพยัญชนก)
ส่วนปากทางสำหรับการสอดใส่ทั้งสาม นั่นคือ ทางประตูหลัง, ทวารหนัก (วัจจมรรค) ช่องคลอด, ปากทางปัสสาวะ,ทวารเบา (ปัสสาวมรรค) และทางช่องปาก (มุขมรรค)
นอกจากนั้น ยังมีการระบุข้อห้ามอย่างละเอียดเสริมด้วยด้วยว่า ห้ามทับด้วยทวารหนัก, ห้ามคร่อมด้วยทวารเบา, ห้ามอมด้วยปาก [8] เราจะเห็นได้ว่าข้อห้ามดังกล่าวเป็นข้อห้ามที่มีศูนย์กลางการละเมิดอยู่ที่ เครื่องเพศพระทั้งแท่งที่มุ่งหาช่องทางสำหรับการสอดใส่อยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งสำคัญก็คือ หากเครื่องเพศได้สอดใส่เข้าไปจริง แต่ไม่เจตนา หรือไม่ยินดีกับการสอดใส่นั้นย่อมไม่ผิด [9] ได้มีข้อยกเว้นว่า หากภิกษุไม่รู้สึกตัว, ภิกษุวิกลจริต, ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน, ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา, ภิกษุผู้ละเมิดคนแรก (อาทิกัมมิกะ) [10] แต่อย่างไรก็ตาม ข้อยกเว้นดังกล่าวตัดสินกันได้ค่อนข้างยาก
แต่กรณีเลี่ยงบาลีจนทำให้พระถูกพุทธพิพากษาว่า ปาราชิกก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน ได้แก่ การปลอมตัวจากเพศภิกษุไปเป็นคฤหัสถ์บ้าง การเปลือยกายไม่ให้คนรู้ว่าเป็นพระบ้าง ปลอมเป็นนักบวชลัทธิอื่น (เดียรถีร์) เพื่อไปมีความสัมพันธ์ทางเพศ ยังไม่พอการเสพเมถุนที่เลี่ยงบาลีด้วยคิดว่าไม่ผิด ก็ยังเกิดกับ มารดา ลูกสาว และเมียเก่า พี่น้องของตนเอง ลักษณะทางกายภาพที่แปลกไปจากปกติยังทำให้เกิดพฤติกรรมเช่น หลังอ่อนจนสามารถอมเครื่องเพศของตน หรือเครื่องเพศยาวจนสามารถสอดเข้าสู่ทวารหนักของตนเองได้ [11]
เรื่องเหลือเชื่อที่เราเข้าใจได้ดังที่มีคำพูดที่ว่า “ความเงี่ยนไม่เคยปราณีใคร” ยังปรากฏการบันทึกพฤติกรรมอันโลดโผนด้วยการมีอะไรกับศพในป่าช้า ซึ่งมีทั้งศพแบบมีรอยบาดแผลจากสัตว์ที่กัดกิน ศพที่เหลือแต่กระดูก ศพหัวขาด นาคตัวเมีย นางยักษิณี หญิงเปรต แต่หากเรามองในระดับที่เหนือไปจาก “ความกระหายอยาก” โดยปัจเจกแล้ว สิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์กรพุทธง่อนแง่นคือ ศรัทธา ความรัก ความจงรักภักดีต่อองค์กรที่จะถูกรสชาติและความสัมพันธ์ทางเพศเบียดบังไป อย่าลืมว่าพระส่วนใหญ่ถูกดึงออกมาจากครอบครัวเดิมทั้งสิ้น โดยเฉพาะครอบครัวที่มั่งคั่ง มีไม่น้อยที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่เป็นความหวังของครอบครัวคหบดี กระทั่งชนชั้นสูง
ภาพ Yab-yum พุทธศิลป์แบบตันตระแสดงการธรรมชาติของคนคู่
จาก http://www.exoticindia.com/product/sculptures/yab-yum-ZF64/
การสำเร็จความใคร่
การสำเร็จความใคร่โดยการปล่อยน้ำอสุจิโดยตั้งใจ หรือที่เรียกวา “ปล่อยสุกกะ” นั้นแม้จะไม่ใช่เรื่องร้ายแรกมาก แต่ความผิดก็อยู่ระดับอาบัติสังฆาทิเสส รองลงมาจากอาบัติปาราชิกเลยทีเดียว ต้นบัญญัติเกิดขึ้นเพราะพระชื่อ เสยยะสกะ ซูบผอมจนพระตัวแสบที่ชื่อ พระอุทายี (ในอนาคตผู้เขียนมีโครงการจะเขียนถึง ตัวแสบในไตรปิฎกอยู่ด้วย พระอุทายีก็คือหนึ่งในนั้น) แนะนำให้ผ่อนคลายด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอและให้ปล่อยอสุจิเพื่อความสบายตัว ครั้นเมื่อเพื่อนพระเห็นผิดปกติเลยทำให้เรื่องไปถึงที่ประชุมสงฆ์ ความผิดดังกล่าวทำให้พุทธบัญญัติยกสิกขาบทนี้ขึ้นมาห้ามละเมิด [12]
การปล่อยสุกกะนั้นยังมีการนิยามอยากละเอียดลออว่า การช่วยตัวเองนั้น
คือการช่วยตัวเองด้วยจินตนาการภายใน หรือจากการพบเห็นจากที่ตามองเห็น
หรือกระทั่งเมื่อแกว่งให้ไหวในอากาศ การกระทำเมื่อเกิดความกำหนัด
เมื่อปวดอุจจาระ เมื่อปวดปัสสาวะ เมื่อต้องลม และเมื่อถูกบุ้งขน
(อ.ชาญณรงค์ ชี้ว่า น่าจะหมายถึงตอนที่ถูกแล้วคัน ก็ต้องเกา)
นอกจากนั้นยังมีเหตุผลที่ทำให้เกิดการช่วยตัวเองอย่างอื่นเช่น
เพื่อหายจากโรค เพื่อความสุขเพื่อเป็นยา เพื่อให้ทาน? เพื่อบูชายัญ
เพื่อหวังไปสวรรค์ เพื่อหวังให้เป็นเชื้อพันธุ์ (พืช) เพื่อทดลอง
และเพื่อความสนุก ยังมีการจำแนกอสุจิเป็นลักษณะต่างๆ เช่น สีเขียว, เหลือง
แดง, ขาว, สีเหมือนเปรียง, สีเหมือนน้ำท่า, สีเหมือนน้ำมัน, สีเหมือนนมสด,
สีเหมือนนมส้ม และสีเหมือนเนยใส [13]
เช่นเดียวกัน การเลี่ยงบาลีย่อมมีอยู่หลายกรณีที่ตั้งใจทำสุกกะเคลื่อนเช่น ภิกษุอาบน้ำร้อน, ทายาแผลบริเวณเครื่องเพศ, เกาอัณฑะ, ระหว่างเดิน (เข้าใจว่าจะเสียดสีกับจีวร), จับหนังหุ้มปลายเพื่อปัสสาวะ, ผิงเกลียวท้องในเรือนไฟ (เข้าใจว่าอบอุ่นร่างกายจนสบายตัว), เสียดสีกับขาของตัวเอง, ให้สามเณรจับเครื่องเพศ, จับเครื่องเพศของสามเณรจนเกิดอารมณ์, กำอยู่ในมือ, แอ่นอยู่ในอากาศ, ดัดกาย, เพ่งอวัยวะเพศหญิงจนหลั่ง, สอดเข้าช่องดาล, เสียดสีกับไม้, อาบน้ำทวนกระแส, เล่นโคลน, เล่นน้ำ, เล่นไถลก้น, ลุยสระบัว, สอดเข้าในทราย, สอดเข้าในตม, ตักน้ำรด, สีบนที่นอน ละสีกับนิ้วมือ ทั้งหมดนี้เป็นสังฆาทิเสส [14] ข้อยกเว้นก็คือ ภิกษุมีอสุจิเคลื่อนเพราะฝัน ภิกษุไม่ประสงค์จะให้อสุจิเคลื่อน ภิกษุวิกลจริต ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ภิกษุผู้ทำเป็นคนแรก ไม่ต้องอาบัติ [15]
ว่าด้วยเครื่องเพศ
เครื่องเพศ เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ที่บ่งบอกเพศสภาวะทางชีวภาพได้อย่างชัดเจนที่สุด บ่อยครั้งพบว่าในพระวินัย เครื่องเพศกลายเป็นประเด็นปัญหาสำคัญมาก และที่สำคัญแทบทั้งหมดเป็นการห้ามทำอะไรกับ วัตถุทางเพศและ actionของเพศชายแทบทั้งสิ้น ภิกษุในที่นี้จึงเป็นทั้งประธาน และเป็นทั้งกรรมที่ถูกความรู้สึกดำฤษณาปลุกเร้า การระบายออกก็ไม่ได้มีความตายตัวว่ากับเพศหญิงที่เป็นมนุษย์เท่านั้น แต่มันคือสรรพสิ่งที่มีความหลากหลายมาก
เครื่องเพศ หรือองค์กำเนิดจึงอยู่ในสภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ทั้งในฐานะต้นธารของพืชพันธุ์ของการสืบสายตระกูล ดั่งที่พระสุทินน์ผู้ถูกอ้อนวอนจากครอบครัว การที่พระสุทินน์ร่วมเพศกับอดีตภรรยานั่นได้ทำให้สถานภาพความเป็นนักบวชคลอน แคลนขึ้นมาทั้งในฐานะปัจเจกเอง และฐานะวัฒนธรรมองค์กรเอง ที่น่าสนใจคือ ความผิดร้ายแรงนี้ถูกยกเป็น ปฐมบัญญัติของพระวินัยทั้งหมด
นอกจากนั้น ยังมีการยกให้เห็นอวัยวะเพศของพระที่อันตรายและมีพิษสง ไม่ใช่อยู่ที่ความอยากมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น สัญชาตญาณของเครื่องเพศนั้นตอบรับกับสิ่งเร้า แม้ว่าพระเหล่านั้นจะเป็นถึงพระอรหันต์ การลุกขึ้นผงาดขององค์กำเนิด ไตรปิฎกสรุปเอาไว้ว่า เกิดจากอาการ 5 อย่าง คือ กำหนัด ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ถูกลมรำเพย ถูกบุ้งขน พบกรณีว่ามีพระอรหันต์เมืองภัททิยะนอนหลับอยู่แล้วมีสตรีนางหนึ่งขึ้นคร่อม จนเกิดการหลั่งออกมา ในกรณีที่ไม่เจตนานี้ แน่นอนว่า ไม่ผิด แต่การถูกครหาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จึงต้องมีการอธิบายเหตุผลทาง ชีวภาพกลบเกลื่อน [16]
แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องเพศก็ยังถือว่ามีความสำคัญ กรณีที่พระภิกษุทนกำหนัดไม่ไหว จนต้องตัดอวัยวะเพศตัวเองทิ้ง พุทธะก็ไม่เห็นด้วย [17] ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่การตัดทิ้งทางกายภาพ แต่อยู่ที่การดำรง “ความปกติ” ในกรอบคิดที่ชายเป็นใหญ่ อภิมนุษย์แบบนี้จึงเป็นโลกที่ชายชาตรีเป็นใหญ่ที่บริสุทธิ์จากกลิ่นคาวอสุจิ และการแปดเปื้อนจากการมีความสัมพันธ์กับเรือนร่างของสรรพสิ่งต่างๆ โดยนัยก็คือ หากปล่อยตัวปล่อยใจไปแล้ว ก็ไม่สามารถจะควบคุมจิตใจ และกลายเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กรศาสนาได้อย่างแนบแน่น
ครั้งหน้าจะชวนไปสังเกตการณ์ เ(ค)รื่องพระ เ(ค)รื่องเพศ ในนามของ “ความเป็นชาย” ที่เลื่อนไหลใน ไตรปิฎกกัน.
การอ้างอิงท้ายเรื่อง
[1] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต, บรรทัดที่ 5902-5927 หน้าที่ 258-259 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=22&A=5902&w=%C8%D5%C5%C7%D... (30 มกราคม 2549)
และ พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 5 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 5 มหาวรรค ภาค 2, บรรทัดที่ 1715-1777 หน้าที่ 69-72 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=05&A=1715&Z=1777 (27กรกฎาคม 2546)
[2] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 316-670 หน้าที่ 14-27 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=316&Z=670 (27 กรกฎาคม 2546)
[3] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, เล่มที่ 1 บรรทัดที่ 6082 - 6086. หน้าที่ 236-237 อ้างจาก http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=1&A=6082&w=%BB%D1%CA%CA%D2... (30 มกราคม 2549)
[4] พระไตรปิฎก เล่มที่ 2 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 2 มหาวิภังค์ ภาค 2, บรรทัดที่ 16208-16340, หน้าที่ 706-711 อ้างใน .http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=16208&Z=16340 (27 กรกฎาคม 2546)
[5] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 361-670 หน้าที่ 14-27. อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=316&Z=670 (27 กรกฎาคม 2546)
[6] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 671-750. หน้าที่ 27-30. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=671&Z=750 (27 กรกฎาคม 2546)
[7] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 1254-1349 หน้าที่ 50-53 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=1254&Z=1349 (27 กรกฎาคม 2546)
[8] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 1350-2187 หน้าที่ 53-85 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=1350&Z=2187&pagebreak=0 (27 กรกฎาคม 2546)
[9] ดูตัวอย่างใน พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 3493-4293 หน้าที่ 135-166 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=3493&Z=4293 (27 กรกฎาคม 2546)
[10] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 5565-5568 หน้าที่ 216. อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=5565&Z=5568 (27 กรกฎาคม 2546)
อนึ่งคำแปลว่า อาทิกัมมิกะ ได้มาจาก อ.ชาญณรงค์ บุญหนุน
[11] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 5569-6086. หน้าที่ 216-237 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=5569&Z=6086 (27 กรกฎาคม 2546)
[12] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 11379-11450 หน้าที่ 438-440 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=11379&Z=11450 (27 กรกฎาคม 2546)
[13] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 11481-11520 หน้าที่ 442-443 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=11481&Z=11520 (27 กรกฎาคม 2546)
[14] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 12744-13151 หน้าที่ 490-504 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=12744&Z=13151 (27 กรกฎาคม 2546)
[15] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 12740-12743 หน้าที่ 489 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=12740&Z=12743 (27 กรกฎาคม 2546)
[16] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 5569-6086 หน้าที่ 216-237 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=12744&Z=13151 (27 กรกฎาคม 2546)
[17] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 7 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 7 จุลวรรค ภาค 2, บรรทัดที่ 250-255 หน้าที่ 11 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=12744&Z=13151 (27 กรกฎาคม 2546)
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
พุทธศาสน์ของราษฎร
พุทธศาสน์ของราษฎร
หากเรื่องการโกหกเป็นเรื่องที่ถือว่า “เบาที่สุด”
ในการละเมิดศีลละเมิดธรรมในชีวิตประจำวันแล้ว
สิ่งที่สะเทือนใจชาวพุทธในสังคมไทยมากที่สุดคงไม่ต้องเดากันให้ยาก
นั่นก็คือ การละเมิดพรมแดนทางเพศ สำหรับเพศบรรชิตการละเมิดข้อห้ามทางเพศ
ถือเป็น “เรื่องต้องห้าม” อย่างถึงที่สุด เพราะแม้ว่า
เรื่องใหญ่อย่างปัญหาการตีความพระธรรมวินัยที่ผิดเพี้ยนกันไป
วินัยที่ต่างกันไประหว่างพระป่า พระบ้าน
ก็ไม่สู้กับการละเมิดพรมแดนดังกล่าว ที่ถือกันว่าเป็น
“อนันตริยกรรมทางสังคม” ที่ไม่อาจให้อภัย
ต้องตราบาปไปจนกว่าจะตายจากกันไปข้างหนึ่ง
ความศักดิ์สิทธิ์กับความชิบหายอันเนื่องมาจาก เ(ค)รื่องเพศของพระ
ด้วยว่า ฐานคิดแบบเถรวาทไม่ยอมรับ และไม่รองรับสถานภาพของภิกษุณี ดังนั้นอารามจึงเป็นสถานที่รวมตัวของเหล่าชายผู้ประพฤติพรหมจรรย์ โดยฉากหน้าแล้วพวกเขาถูกคาดหวังว่าเป็นผู้ที่ฝึกเพื่อที่จะเข้าถึงความเป็น “อภิมนุษย์” “พระอรหันต์” หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ศักดิ์สิทธิ์และบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ โดยเฉพาะเถรวาทประเทศไทยที่เน้นเรื่องพระวินัยและความบริสุทธิ์ที่อ้างว่า ยึดโยงกับพระวินัยอย่างคอขาดบาดตาย (แต่แน่นอน ส่วนใหญ่ก็เลือกเคร่งครัดบางข้อและปล่อยวางหลายข้อที่ให้ประโยชน์กับตน โดยเฉพาะการยุ่งเกี่ยวกับเงิน, กรรมสิทธิ์ที่ดินในเขตป่าสงวน-อุทยานแห่งชาติ ฯลฯ)
รอบ 50 ปีที่ผ่านมา
เราจะเห็นได้ว่าข้อกล่าวหาที่สร้างความหายนะให้กับพระสงฆ์ไทยที่ร้ายแรงที่
สุดก็คือ “เรื่องเพศ” คดีอุกฉกรรจ์ที่แม้แต่สฤษดิ์
ธนะรัชต์เองก็ยังละอายก็คือ การป้ายสีพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ว่า “มีอะไร”
กับพระลูกศิษย์ จนถูกจับสึกในทศวรรษ 2500 เราไม่พบว่า พระสงฆ์ถูกบีบ
ถูกกดดันมากนักในข้อหาอื่นๆ แม้แต่ข้อหาที่ฝ่ายขวากล่าวหาพุทธทาสว่าเป็น
คอมมิวนิสต์ เนื่องจากข้อเขียนที่ยั่วล้อศัพท์แสงทางการเมือง
และการหยิบยืมศัพท์ของฝ่ายซ้ายมาใช้อย่างถูกๆ ผิดๆ
แต่ผ้าเหลืองและลูกศิษย์ก็ยังคุ้มครองอย่างปลอดภัยมาได้
ขณะที่การแตกหักของสันติอโศกต่อมหาเถรสมาคมไทยก็เกิดขึ้นเพราะการตีความจาก
ไตรปิฎก การปะทะเช่นนี้ไม่ได้ทำให้พวกเขาสูญเสียกำลังศรัทธา
เช่นเดียวกับวัดพระธรรมกาย ที่แม้จะมีข้อโจมตีมากมายตั้งแต่
การอวดอุตริมนุสธรรม การละเมิดเรื่องการยักยอกทรัพย์สิน
การสร้างพุทธศิลป์ที่ผิดแปลกออกไป แต่เรื่องเหล่านี้ในสายตาของ “คนทั่วไป”
“กระแสสังคม” “สาวก” ต่างไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ดุจวันสิ้นโลกด้วยว่า ฐานคิดแบบเถรวาทไม่ยอมรับ และไม่รองรับสถานภาพของภิกษุณี ดังนั้นอารามจึงเป็นสถานที่รวมตัวของเหล่าชายผู้ประพฤติพรหมจรรย์ โดยฉากหน้าแล้วพวกเขาถูกคาดหวังว่าเป็นผู้ที่ฝึกเพื่อที่จะเข้าถึงความเป็น “อภิมนุษย์” “พระอรหันต์” หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ศักดิ์สิทธิ์และบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ โดยเฉพาะเถรวาทประเทศไทยที่เน้นเรื่องพระวินัยและความบริสุทธิ์ที่อ้างว่า ยึดโยงกับพระวินัยอย่างคอขาดบาดตาย (แต่แน่นอน ส่วนใหญ่ก็เลือกเคร่งครัดบางข้อและปล่อยวางหลายข้อที่ให้ประโยชน์กับตน โดยเฉพาะการยุ่งเกี่ยวกับเงิน, กรรมสิทธิ์ที่ดินในเขตป่าสงวน-อุทยานแห่งชาติ ฯลฯ)
ในทางกลับกัน สิ่งที่สร้างความชิบหายให้กับพระสงฆ์ที่ได้ชื่อว่าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมานัก ต่อนักแล้ว นั่นก็คือ ข้อหาเกี่ยวกับ “เพศ” ทั้งสิ้น การละเมิดปริมณฑลทางเพศถือว่าเป็นสิ่งที่โจ่งแจ้ง หลายกรณีสามารถพิสูจน์ได้คาหนังคาเขา บางกรณีสืบพยานหลักฐานได้อย่างชัดเจน หรือบางกรณีแม้จะเป็นการกล่าวหาอย่างผิดๆ เพียงแค่นั้นก็ทำลายความน่าเชื่อถือของพระผู้นั้นได้อย่างง่ายดาย
การเล่นข่าว “สึกพระมั่วสีกา” เกิดขึ้น บนหน้าหนังสือพิมพ์ ด้วยความพยายามอย่างกระตือรือร้นในการเจาะข่าว ก็ยิ่งทำให้พระสงฆ์เป็นที่ถูกจับตามากขึ้น มรณกรรมของเส้นทางเซเล็บจึงเกิดขึ้นกับ “พระดี” “พระดัง” พร้อมๆไปกับการตลาดทางศีลธรรมและพุทธพาณิชย์ที่ขยายตัว เราสามารถไล่เรียงกันลงมาตั้งแต่ คดีความสัมพันธ์ระหว่างพระนิกร ยศคำจู กับ สีกาอรปวีณา, คดีพระยันตระ อมโร ที่มีความสัมพันธ์กับผู้หญิงนางหนึ่งจนเกิดลูกสาว, คดีพระภาวนาพุทโธ ตลอดจนคดีพระอิสระมุนี อดีตอาจารย์ทางธรรมของทักษิณ ชินวัตร ไม่นับคดีย่อยๆของพระไม่ดัง เช่น พระแปลงกายใส่วิกสวมแว่นดำไปท่องราตรี, พระที่มีความสัมพันธ์กับสัตว์ ฯลฯ จุดจบบนเส้นทางผ้าเหลืองของพวกเขานั้น หากไม่ถูกจับสึก ก็ต้องหลีกหนีตัวเองจากพื้นที่ในสังคมไทยออกไป
ความเสื่อมอันเนื่องมาจากการยุ่งเกี่ยวกับเพศ ในด้านหนึ่งแล้วอาจมองเชื่อมโยงกับความเชื่อเรื่องความดี ความงาม ความบริสุทธิ์และความศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกสั่งสมและผสมผสานจากความเชื่อและ ศาสนาดั้งเดิม
จากประสบการณ์การ “อ่าน” พระวินัยทางอ้อมของผู้เขียน ผ่านหลักฐานชั้นสองในสมัยที่เคยบวชซึ่งเป็นหนังสือประเภทนวโกวาท (คำสอนพระมือใหม่) อาตมา เอ๊ย ผู้เขียนเคยเกิดคำถามขึ้นมากมาย รวมไปถึงความคิดแผลงๆ อีกไม่น้อยเมื่อตะลุยค้นคว้าอ่านวินัยปิฎกพบหลายข้อที่บัญญัติห้ามเรื่องราว ทางเพศด้วยเนื้อหาและบริบทที่สุดพิสดาร
ภาพพุทธะผจญธิดาพญามารโดย เหม เวชกร
กรณีเรื่องพระ-เรื่องเพศ ผู้เขียนเห็นว่า มีประเด็นที่จะกล่าวถึงอย่างน้อย 2 ประเด็น ในตอนแรกนี้จะกล่าวถึง “ความเป็นชายชาตรี” ตอนที่สองจะกล่าวถึง “ความเป็นชายที่เลื่อนไหล” การกล่าวถึงในที่นี้จะใช้การอธิบายความในพระวินัยปิฎกเป็นหลัก ซึ่งความรู้ระดับมัธยมในวิชาพุทธศาสนาสอนเราว่า ศีล5 เป็นของชาวบ้าน ศีล8 เป็นศีลของคนอยู่วัดนอนวัด ศีล10 เป็นของเณร และศีล 227 เป็นของพระสงฆ์ เมื่อเปิดดูศีล หรือที่เรียกกันว่า “สิกขาบท” จำนวนมหาศาลของพระสงฆ์แล้วนั้น หากไม่ได้เป็นเรื่องร้ายแรงอะไร นอกจากนั้นศีลอีกพะเรอเกวียนคือ ธรรมเนียมปฏิบัติ และมารยาทของพระ ที่เข้าใจว่า พุทธะ ต้องการจะสร้างวินัยขององค์กรขึ้นมาเพื่อสร้างความเลื่อมใสให้กับคนทั่วไป
ต้นบัญญัติ สาเหตุที่เกิดกฎ
หากเราพอจะเชื่อหลักตรรกะเหตุและผลอยู่บ้าง เราจะเห็นว่า หลักคิดความเป็นเหตุเป็นผลในการบัญญัติวินัยนั้น make sense กว่า การกล่าวถึงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ชวนให้เราเคลิ้มไปกับวรรณกรรมเชิงศรัทธา และอาจเข้าใจได้ง่ายกว่าการพิสูจน์คำสอนทางปรมัตถธรรมที่ต้องผ่านความเข้าใจ ที่สลับซับซ้อนและข้อพิสูจน์ด้วยญาณทัศน์ที่ตัดสินได้ยาก ตามมโนทัศน์ที่ว่าด้วยเหตุและผล
ไตรปิฎกยังกล่าวไว้ว่า สาเหตุที่ต้องบัญญัติสิกขาบท ก็เพื่อการดำรงอยู่ของพุทธศาสนา เนื่องจากข้อบัญญัตินั้นจะทำให้พระที่มาจากหลากหลายตระกูล ชนชั้น มีข้อปฏิบัติมาตรฐานเดียวกัน แต่ก็มีเงื่อนไขว่า จะไม่มีการบัญญัติสิกขาบทขึ้นลอยๆ แต่จะเชื่อมกับบริบทที่เกิดขึ้น นั่นคือ จะมีการพิจารณาออกกฏก็ต่อเมื่อมีเรื่องไม่ดีไม่งามเกิดขึ้นในหมู่สงฆ์
อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะด้วยความเป็นวรรณกรรมหรือเป็นความเชื่อในอำนาจสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์เราพบว่า พุทธะได้กล่าวขู่กับพระภิกษุและคหบดีถึงโทษของการละเมิดศีลมีอยู่ 5 ข้อ [1] นั้นคือ
1) ความเสื่อมแห่งโภคทรัพย์
2) ความไม่ดีถูกกล่าวไปทั่ว
3) ทำให้ไม่กล้าสู้หน้าต่อเหล่ากษัตริย์ พราหมณ์ พ่อค้า และนักบวช
4) ตายไม่สงบ
5) ตายไปตกนรก
ที่น่าสนใจก็คือ ในอีกด้านก็มีการกล่าวถึงประโยชน์ของการบัญญัติสิกขาบท
ในที่นี้พบการอ้างอิงในสิกขาบทแรกว่าด้วยเมถุนธรรมกรณีพระสุทินน์ [2]
(ซึ่งจะกล่าวต่อไป) กล่าวไว้ว่า2) ความไม่ดีถูกกล่าวไปทั่ว
3) ทำให้ไม่กล้าสู้หน้าต่อเหล่ากษัตริย์ พราหมณ์ พ่อค้า และนักบวช
4) ตายไม่สงบ
5) ตายไปตกนรก
1) เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
2) เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์
3) เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
4) เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
5) เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
6) เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต
7) เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
8) เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
9) เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
10) เพื่อถือตามพระวินัย
สังเกตได้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นเหตุผลสำหรับการจัดความสัมพันธ์ภายในองค์กร
และภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นหลัก หรือกระทั่งการขัดเกลาส่วนตัว
มากกว่าจะเน้นเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์2) เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์
3) เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
4) เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
5) เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
6) เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต
7) เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
8) เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
9) เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
10) เพื่อถือตามพระวินัย
กระบวนการตั้งกฎ การพิสูจน์ความผิด และการพิพากษา
ในวินัยปิฎกเราจะเห็นการทำความผิดที่ยังไม่ได้ระบุ ก็จะเกิดเรื่องราวขึ้นจนเรื่องเข้าหูพุทธ จากนั้นก็จะมีการประชุมสงฆ์ไต่สวนว่า จำเลยทำจริงหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะอบรมสั่งสอน หากยังไม่ได้บัญญัติ ก็จะมีการประกาศบัญญัติสิกขาบทนั้นๆ หากได้รับการบัญญัติไว้แล้ว พุทธะก็จะเป็นผู้พิจารณาพิพากษาโทษ ซึ่งส่วนใหญ่จะดูที่เจตนาในการกระทำ
ภาพของสองหลวงพี่ที่ถูกเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต แสดงมัดกล้ามแห่งความเป็นชาย
ในวินัยปิฎกเราจะเห็นการทำความผิดที่ยังไม่ได้ระบุ ก็จะเกิดเรื่องราวขึ้นจนเรื่องเข้าหูพุทธ จากนั้นก็จะมีการประชุมสงฆ์ไต่สวนว่า จำเลยทำจริงหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะอบรมสั่งสอน หากยังไม่ได้บัญญัติ ก็จะมีการประกาศบัญญัติสิกขาบทนั้นๆ หากได้รับการบัญญัติไว้แล้ว พุทธะก็จะเป็นผู้พิจารณาพิพากษาโทษ ซึ่งส่วนใหญ่จะดูที่เจตนาในการกระทำ
ภาพของสองหลวงพี่ที่ถูกเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต แสดงมัดกล้ามแห่งความเป็นชาย
ก้าวแรกสู่ เ(ค)รื่องเพศ ในคัมภีร์
สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนเคยถูกพร่ำสอนให้เคร่งครัดในวินัยข้อหนึ่งก็คือ
ห้ามยืนฉัน แม้แต่การดื่มน้ำ ก็ต้องนั่งให้เรียบร้อยก่อนที่จะดื่ม
รวมไปถึงการห้ามยืนปัสสาวะ
เมื่อครั้งบวชใหม่ก็ทำตามด้วยจิตใจอันมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติธรรมให้ตัวเรามี
ความบริสุทธิ์สมกับการบวชระยะสั้นในวัดป่าเพื่อเป็นเกียรติเป็นศักดิ์ศรีให้
กับตัวเอง
กระทั่งหวังลึกๆด้วยซ้ำว่าจะบรรลุอะไรกับเค้าบ้างในการบวชไม่กี่เดือน
แต่อยู่ๆไปได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มหนึ่งที่มีคำอธิบายว่าที่มาที่ไปของศีล
ทั้ง 227 ข้อ สิ่งที่น่าตื่นเต้นอย่างมากก็คือ
การปาราชิกอันเนื่องมาจากการยืนปัสสาวะข้อความมีดังนี้ [3]
[78] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในป่า
ลูกเนื้อมาสู่ที่ถ่ายปัสสาวะของเธอแล้ว ได้อมองค์กำเนิดพลางดื่มปัสสาวะ
ภิกษุนั้นยินดีแล้วได้มีความรังเกียจ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
ในสมัยนั้น ผู้เขียนได้จำสับสนกับข้อบัญญัติห้ามยืนปัสสาวะข้อนี้ [4]ปกิณกะ 3 สิกขาบท ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ 13
[876] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ยืนถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะ บ้าง ...
พระอนุบัญญัติ
218. 73. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ หรือถ่ายปัสสาวะ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุยืนอยู่ มิใช่ผู้อาพาธ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ หรือถ่ายปัสสาวะ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธ ยืนถ่ายอุจจาระก็ดี ยืนถ่ายปัสสาวะก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง 1 เผลอ 1 ไม่รู้ตัว 1 อาพาธ 1 มีอันตราย 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
นั่นคือ ผู้เขียนไปจำสับสนว่า ที่ห้ามยืนปัสสาวะก็เพราะว่า เกรงว่าพระภิกษุจะถูกลูกเนื้อ “อม” เครื่องเพศจนเกิดอารมณ์และนำไปสู่การเพลิดเพลินพอใจจนขาดจากความเป็นพระ (อาบัติปาราชิก) อย่างไรก็ตาม ความอึดอัดจากการได้อ่านหนังสือเล่มนั้น กลายเป็นสิ่งที่รบกวนใจเรื่อยมา เพราะว่าต้นบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องเพศไม่ได้มีเพียงข้อนี้ข้อเดียว แต่ปรากฏอยู่อย่างหนาแน่นดกดื่น คล้ายกับเป็นคัมภีร์กามสูตราก็ไม่ปาน ในที่นี้ขอจำแนกย่อยเป็น 2 เรื่องได้แก่ เรื่อง กิจกรรมและความหมกมุ่นทางเพศของภิกษุและเครื่องเพศ
ว่าด้วยกิจกรรมและความหมกมุ่นทางเพศของภิกษุ
ต้นบัญญัติแรกที่ถือว่าสำคัญมากก็คือ ปฐมปาราชิกสิกขาบท [ว่าด้วย เมถุนธรรม] ถือเป็นสิกขาบทแรกว่าด้วยปาราชิก ซึ่งหมายถึงความขาดออกจากการเป็นพระ เกิดกรณีของพระสุทินน์ที่ออกบวชในพุทธศาสนา แต่ด้วยความเป็นลูกเศรษฐีทางบ้านจึงไม่ยอมให้ออกบวชตั้งแต่ต้นถึงกับขู่บิดา มารดาของตนว่า หากไม่ยอมให้บวชจะยอมตายเลยทีเดียว ซึ่งการบังคับดังกล่าวทำให้ทั้งสองยอมให้บวช ภายหลังบวชแล้วบิดามารดาก็ร้องขอให้สึกพระสุทินน์ก็ไม่ยอม ในที่สุดก็ขอเพียงอย่างเดียวก็คือ ขอเชื้อไว้สืบพันธุ์วงศ์ตระกูล และให้เหตุผลว่า หากไม่มีคนสืบตระกูลพวกลิจฉวีจะยึดทรัพย์ของตระกูลไว้
เรื่องดังกล่าวทำให้พระสุทินน์คิดหนักและในที่สุดก็ตัดสินใจยอม “มีอะไร” กับอดีตภรรยาของตนกลางป่า ถึง 3 ครา ด้วยเห็นว่ายังไม่มีโทษใดที่บัญญัติไว้ แต่หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ไตรปิฎกกล่าวเรื่องเหนือธรรมชาติว่า เรื่องดังกล่าวแม้ใครไม่รู้ไม่เห็นแต่ก็มี “เทวดารู้เห็น” พระสุทินน์เองก็รู้สึกไม่สบายใจจนนำเรื่องดังกล่าวมาเล่าให้หมู่คณะ ทำให้เกิดการประชุมสงฆ์ขึ้น พุทธะก็ทำการไต่สวนข้อเท็จจริง ซึ่งพระสุทินน์ก็รับสารภาพ พุทธก็ชี้ให้เห็นโทษของการเสพกามว่า [5]
ดูกรโมฆบุรุษ องค์กำเนิด อันเธอสอดเข้าในปากอสรพิษที่มีพิษร้าย ยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในปากงูเห่ายังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคาม ไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในหลุมถ่านที่ไฟติดลุกโชนยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามไม่ดีเลย.
ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร?
เพราะบุคคลผู้สอดองค์กำเนิดเข้าในปากอสรพิษเป็นต้นนั้น พึงถึงความตาย หรือความทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้า แต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามนั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก ซึ่งมีการกระทำนี้เป็นเหตุ.
ดูกรโมฆบุรุษ เมื่อการกระทำนั้น มีโทษอยู่ เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม อันเป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ำ อันชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของคนคู่ อันคนคู่พึงร่วมกันเป็นไป เธอเป็นคนแรกที่กระทำอกุศลธรรม เป็นหัวหน้าของคนเป็นอันมาก การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ตัวอย่างดังกล่าวเป็น ต้นบัญญัติแรกของวินัย อย่างไรก็ดี
เมื่อมีกฎก็ย่อมมีคนพยายามที่จะหลีกเลี่ยง กรณี “เลี่ยงบาลี”
จึงเกิดขึ้นอย่างโลดโผน ตัวอย่างเช่น
การร่วมเพศกับลิงตัวเมียซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พระรูปหนึ่งเกิดอารมณ์จนทนไม่
ไหวจึงนำอาหารมาล่อลิงตัวเมียเพื่อแลกกับการมีสัมพันธ์ด้วย
เพื่อนพระมาเห็นเข้าจึงได้ตำหนิติเตียน แต่พระรูปดังกล่าวก็อ้างว่า
บัญญัตินั้นห้ามเฉพาะเสพกามกับผู้หญิง ความรู้ถึงพุทธะ
จนถูกสอบสวนในที่ประชุมสงฆ์และในที่สุดก็ถูกตั้งเป็นอนุบัญญัติว่าห้ามเสพ
กามแม้กับเดรัจฉานตัวเมีย [6]เพราะบุคคลผู้สอดองค์กำเนิดเข้าในปากอสรพิษเป็นต้นนั้น พึงถึงความตาย หรือความทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้า แต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามนั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก ซึ่งมีการกระทำนี้เป็นเหตุ.
ดูกรโมฆบุรุษ เมื่อการกระทำนั้น มีโทษอยู่ เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม อันเป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ำ อันชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของคนคู่ อันคนคู่พึงร่วมกันเป็นไป เธอเป็นคนแรกที่กระทำอกุศลธรรม เป็นหัวหน้าของคนเป็นอันมาก การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ภาพการเสพกามอันวิจิตรจาก โบราณสถาน kajuraho อินเดีย
http://www.wiccantogether.com/profiles/blogs/khajurahosex-and-divinity
การแบ่งประเภทเพื่อตัดเรื่องเพศ
สรรพสิ่งทั้งสามได้แก่ มนุษย์ อมนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน ในที่นี้ไม่แน่ใจว่า ไตรปิฎกจะหมายตามตัวอักษร หรือจะตีความอมนุษย์เป็นคนในยุคนั้นที่ไม่นับว่าเป็นคนทางสังคมก็ไม่ทราบได้ แต่การตั้งกฎนี้ไว้ก็เพื่อความครอบคลุมประเภทของสรรพสิ่ง พูดง่ายๆก็คือ ห้ามมีอะไรกับคน เทวดา ยักษ์ ผี มาร และสัตว์เดรัจฉาน
เพศทั้ง 4 ที่สัมพันธ์อยู่กับสรรพสิ่งทั้งสาม ด้วยความเชื่อที่ว่าสรรพสิ่งที่มีชีวิตเหล่านั้นมีเพศกำกับอยู่ เพศทั้ง 4 ได้แก่ เพศหญิง เพศชาย กระเทย (บัณเฑาะว์) และผู้ที่มีสองเพศในร่างเดียว (อุภโตพยัญชนก)
ส่วนปากทางสำหรับการสอดใส่ทั้งสาม นั่นคือ ทางประตูหลัง, ทวารหนัก (วัจจมรรค) ช่องคลอด, ปากทางปัสสาวะ,ทวารเบา (ปัสสาวมรรค) และทางช่องปาก (มุขมรรค)
นอกจากนั้น ยังมีการระบุข้อห้ามอย่างละเอียดเสริมด้วยด้วยว่า ห้ามทับด้วยทวารหนัก, ห้ามคร่อมด้วยทวารเบา, ห้ามอมด้วยปาก [8] เราจะเห็นได้ว่าข้อห้ามดังกล่าวเป็นข้อห้ามที่มีศูนย์กลางการละเมิดอยู่ที่ เครื่องเพศพระทั้งแท่งที่มุ่งหาช่องทางสำหรับการสอดใส่อยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งสำคัญก็คือ หากเครื่องเพศได้สอดใส่เข้าไปจริง แต่ไม่เจตนา หรือไม่ยินดีกับการสอดใส่นั้นย่อมไม่ผิด [9] ได้มีข้อยกเว้นว่า หากภิกษุไม่รู้สึกตัว, ภิกษุวิกลจริต, ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน, ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา, ภิกษุผู้ละเมิดคนแรก (อาทิกัมมิกะ) [10] แต่อย่างไรก็ตาม ข้อยกเว้นดังกล่าวตัดสินกันได้ค่อนข้างยาก
แต่กรณีเลี่ยงบาลีจนทำให้พระถูกพุทธพิพากษาว่า ปาราชิกก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน ได้แก่ การปลอมตัวจากเพศภิกษุไปเป็นคฤหัสถ์บ้าง การเปลือยกายไม่ให้คนรู้ว่าเป็นพระบ้าง ปลอมเป็นนักบวชลัทธิอื่น (เดียรถีร์) เพื่อไปมีความสัมพันธ์ทางเพศ ยังไม่พอการเสพเมถุนที่เลี่ยงบาลีด้วยคิดว่าไม่ผิด ก็ยังเกิดกับ มารดา ลูกสาว และเมียเก่า พี่น้องของตนเอง ลักษณะทางกายภาพที่แปลกไปจากปกติยังทำให้เกิดพฤติกรรมเช่น หลังอ่อนจนสามารถอมเครื่องเพศของตน หรือเครื่องเพศยาวจนสามารถสอดเข้าสู่ทวารหนักของตนเองได้ [11]
เรื่องเหลือเชื่อที่เราเข้าใจได้ดังที่มีคำพูดที่ว่า “ความเงี่ยนไม่เคยปราณีใคร” ยังปรากฏการบันทึกพฤติกรรมอันโลดโผนด้วยการมีอะไรกับศพในป่าช้า ซึ่งมีทั้งศพแบบมีรอยบาดแผลจากสัตว์ที่กัดกิน ศพที่เหลือแต่กระดูก ศพหัวขาด นาคตัวเมีย นางยักษิณี หญิงเปรต แต่หากเรามองในระดับที่เหนือไปจาก “ความกระหายอยาก” โดยปัจเจกแล้ว สิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์กรพุทธง่อนแง่นคือ ศรัทธา ความรัก ความจงรักภักดีต่อองค์กรที่จะถูกรสชาติและความสัมพันธ์ทางเพศเบียดบังไป อย่าลืมว่าพระส่วนใหญ่ถูกดึงออกมาจากครอบครัวเดิมทั้งสิ้น โดยเฉพาะครอบครัวที่มั่งคั่ง มีไม่น้อยที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่เป็นความหวังของครอบครัวคหบดี กระทั่งชนชั้นสูง
ภาพ Yab-yum พุทธศิลป์แบบตันตระแสดงการธรรมชาติของคนคู่
จาก http://www.exoticindia.com/product/sculptures/yab-yum-ZF64/
การสำเร็จความใคร่
การสำเร็จความใคร่โดยการปล่อยน้ำอสุจิโดยตั้งใจ หรือที่เรียกวา “ปล่อยสุกกะ” นั้นแม้จะไม่ใช่เรื่องร้ายแรกมาก แต่ความผิดก็อยู่ระดับอาบัติสังฆาทิเสส รองลงมาจากอาบัติปาราชิกเลยทีเดียว ต้นบัญญัติเกิดขึ้นเพราะพระชื่อ เสยยะสกะ ซูบผอมจนพระตัวแสบที่ชื่อ พระอุทายี (ในอนาคตผู้เขียนมีโครงการจะเขียนถึง ตัวแสบในไตรปิฎกอยู่ด้วย พระอุทายีก็คือหนึ่งในนั้น) แนะนำให้ผ่อนคลายด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอและให้ปล่อยอสุจิเพื่อความสบายตัว ครั้นเมื่อเพื่อนพระเห็นผิดปกติเลยทำให้เรื่องไปถึงที่ประชุมสงฆ์ ความผิดดังกล่าวทำให้พุทธบัญญัติยกสิกขาบทนี้ขึ้นมาห้ามละเมิด [12]
เช่นเดียวกัน การเลี่ยงบาลีย่อมมีอยู่หลายกรณีที่ตั้งใจทำสุกกะเคลื่อนเช่น ภิกษุอาบน้ำร้อน, ทายาแผลบริเวณเครื่องเพศ, เกาอัณฑะ, ระหว่างเดิน (เข้าใจว่าจะเสียดสีกับจีวร), จับหนังหุ้มปลายเพื่อปัสสาวะ, ผิงเกลียวท้องในเรือนไฟ (เข้าใจว่าอบอุ่นร่างกายจนสบายตัว), เสียดสีกับขาของตัวเอง, ให้สามเณรจับเครื่องเพศ, จับเครื่องเพศของสามเณรจนเกิดอารมณ์, กำอยู่ในมือ, แอ่นอยู่ในอากาศ, ดัดกาย, เพ่งอวัยวะเพศหญิงจนหลั่ง, สอดเข้าช่องดาล, เสียดสีกับไม้, อาบน้ำทวนกระแส, เล่นโคลน, เล่นน้ำ, เล่นไถลก้น, ลุยสระบัว, สอดเข้าในทราย, สอดเข้าในตม, ตักน้ำรด, สีบนที่นอน ละสีกับนิ้วมือ ทั้งหมดนี้เป็นสังฆาทิเสส [14] ข้อยกเว้นก็คือ ภิกษุมีอสุจิเคลื่อนเพราะฝัน ภิกษุไม่ประสงค์จะให้อสุจิเคลื่อน ภิกษุวิกลจริต ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ภิกษุผู้ทำเป็นคนแรก ไม่ต้องอาบัติ [15]
ว่าด้วยเครื่องเพศ
เครื่องเพศ เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ที่บ่งบอกเพศสภาวะทางชีวภาพได้อย่างชัดเจนที่สุด บ่อยครั้งพบว่าในพระวินัย เครื่องเพศกลายเป็นประเด็นปัญหาสำคัญมาก และที่สำคัญแทบทั้งหมดเป็นการห้ามทำอะไรกับ วัตถุทางเพศและ actionของเพศชายแทบทั้งสิ้น ภิกษุในที่นี้จึงเป็นทั้งประธาน และเป็นทั้งกรรมที่ถูกความรู้สึกดำฤษณาปลุกเร้า การระบายออกก็ไม่ได้มีความตายตัวว่ากับเพศหญิงที่เป็นมนุษย์เท่านั้น แต่มันคือสรรพสิ่งที่มีความหลากหลายมาก
เครื่องเพศ หรือองค์กำเนิดจึงอยู่ในสภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ทั้งในฐานะต้นธารของพืชพันธุ์ของการสืบสายตระกูล ดั่งที่พระสุทินน์ผู้ถูกอ้อนวอนจากครอบครัว การที่พระสุทินน์ร่วมเพศกับอดีตภรรยานั่นได้ทำให้สถานภาพความเป็นนักบวชคลอน แคลนขึ้นมาทั้งในฐานะปัจเจกเอง และฐานะวัฒนธรรมองค์กรเอง ที่น่าสนใจคือ ความผิดร้ายแรงนี้ถูกยกเป็น ปฐมบัญญัติของพระวินัยทั้งหมด
นอกจากนั้น ยังมีการยกให้เห็นอวัยวะเพศของพระที่อันตรายและมีพิษสง ไม่ใช่อยู่ที่ความอยากมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น สัญชาตญาณของเครื่องเพศนั้นตอบรับกับสิ่งเร้า แม้ว่าพระเหล่านั้นจะเป็นถึงพระอรหันต์ การลุกขึ้นผงาดขององค์กำเนิด ไตรปิฎกสรุปเอาไว้ว่า เกิดจากอาการ 5 อย่าง คือ กำหนัด ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ถูกลมรำเพย ถูกบุ้งขน พบกรณีว่ามีพระอรหันต์เมืองภัททิยะนอนหลับอยู่แล้วมีสตรีนางหนึ่งขึ้นคร่อม จนเกิดการหลั่งออกมา ในกรณีที่ไม่เจตนานี้ แน่นอนว่า ไม่ผิด แต่การถูกครหาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จึงต้องมีการอธิบายเหตุผลทาง ชีวภาพกลบเกลื่อน [16]
แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องเพศก็ยังถือว่ามีความสำคัญ กรณีที่พระภิกษุทนกำหนัดไม่ไหว จนต้องตัดอวัยวะเพศตัวเองทิ้ง พุทธะก็ไม่เห็นด้วย [17] ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่การตัดทิ้งทางกายภาพ แต่อยู่ที่การดำรง “ความปกติ” ในกรอบคิดที่ชายเป็นใหญ่ อภิมนุษย์แบบนี้จึงเป็นโลกที่ชายชาตรีเป็นใหญ่ที่บริสุทธิ์จากกลิ่นคาวอสุจิ และการแปดเปื้อนจากการมีความสัมพันธ์กับเรือนร่างของสรรพสิ่งต่างๆ โดยนัยก็คือ หากปล่อยตัวปล่อยใจไปแล้ว ก็ไม่สามารถจะควบคุมจิตใจ และกลายเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กรศาสนาได้อย่างแนบแน่น
ครั้งหน้าจะชวนไปสังเกตการณ์ เ(ค)รื่องพระ เ(ค)รื่องเพศ ในนามของ “ความเป็นชาย” ที่เลื่อนไหลใน ไตรปิฎกกัน.
การอ้างอิงท้ายเรื่อง
[1] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต, บรรทัดที่ 5902-5927 หน้าที่ 258-259 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=22&A=5902&w=%C8%D5%C5%C7%D... (30 มกราคม 2549)
และ พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 5 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 5 มหาวรรค ภาค 2, บรรทัดที่ 1715-1777 หน้าที่ 69-72 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=05&A=1715&Z=1777 (27กรกฎาคม 2546)
[2] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 316-670 หน้าที่ 14-27 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=316&Z=670 (27 กรกฎาคม 2546)
[3] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, เล่มที่ 1 บรรทัดที่ 6082 - 6086. หน้าที่ 236-237 อ้างจาก http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=1&A=6082&w=%BB%D1%CA%CA%D2... (30 มกราคม 2549)
[4] พระไตรปิฎก เล่มที่ 2 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 2 มหาวิภังค์ ภาค 2, บรรทัดที่ 16208-16340, หน้าที่ 706-711 อ้างใน .http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=16208&Z=16340 (27 กรกฎาคม 2546)
[5] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 361-670 หน้าที่ 14-27. อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=316&Z=670 (27 กรกฎาคม 2546)
[6] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 671-750. หน้าที่ 27-30. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=671&Z=750 (27 กรกฎาคม 2546)
[7] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 1254-1349 หน้าที่ 50-53 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=1254&Z=1349 (27 กรกฎาคม 2546)
[8] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 1350-2187 หน้าที่ 53-85 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=1350&Z=2187&pagebreak=0 (27 กรกฎาคม 2546)
[9] ดูตัวอย่างใน พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 3493-4293 หน้าที่ 135-166 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=3493&Z=4293 (27 กรกฎาคม 2546)
[10] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 5565-5568 หน้าที่ 216. อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=5565&Z=5568 (27 กรกฎาคม 2546)
อนึ่งคำแปลว่า อาทิกัมมิกะ ได้มาจาก อ.ชาญณรงค์ บุญหนุน
[11] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 5569-6086. หน้าที่ 216-237 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=5569&Z=6086 (27 กรกฎาคม 2546)
[12] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 11379-11450 หน้าที่ 438-440 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=11379&Z=11450 (27 กรกฎาคม 2546)
[13] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 11481-11520 หน้าที่ 442-443 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=11481&Z=11520 (27 กรกฎาคม 2546)
[14] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 12744-13151 หน้าที่ 490-504 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=12744&Z=13151 (27 กรกฎาคม 2546)
[15] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 12740-12743 หน้าที่ 489 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=12740&Z=12743 (27 กรกฎาคม 2546)
[16] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 1 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 มหาวิภังค์ ภาค 1, บรรทัดที่ 5569-6086 หน้าที่ 216-237 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=12744&Z=13151 (27 กรกฎาคม 2546)
[17] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 7 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 7 จุลวรรค ภาค 2, บรรทัดที่ 250-255 หน้าที่ 11 อ้างใน http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=12744&Z=13151 (27 กรกฎาคม 2546)