ที่มา ประชาไท
Sun, 2012-09-30 21:28
รายงานฉบับสมบูรณ์ของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อ การปรองดองแห่ง ชาติ (คอป.) ประกอบด้วย 5 ส่วน. ส่วนแรกเป็นข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับองค์กร คอป. เอง. ส่วนที่สองเป็นบทสรุปข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิ ทางการเมืองตั้งแต่การรัฐประหาร 2549 จนถึงความรุนแรงช่วงสลายการชุมนุม 2553. ส่วนที่สามว่าด้วย "สาเหตุและรากเหง้าของปัญหา[การเมือง]". ส่วนที่ 4 ว่าด้วยหลักการชดเชยความเสียหายแก่เหยื่อความรุนแรงทางการเมือง. ส่วนสุดท้าย (ส่วนที่ 5) เป็นข้อเสนอแนะของ คอป. ในการสร้างความปรองดอง.
เพียง ไม่กี่วันหลังจากที่ คอป. เผยแพร่รายงานฉบับนี้ ก็มีบทวิจารณ์เนื้อหาของรายงานฉบับนี้ออกมาจำนวนหนึ่ง. แต่บทวิจารณ์ส่วนใหญ่กล่าวถึงรายงานส่วนข้อเท็จจริงของเหตุการณ์เป็นหลัก. เท่าที่ผมทราบยังไม่มีใครออกบทวิจารณ์เนื้อหาของรายงานส่วนที่ว่าด้วยสาเหตุ และรากเหง้าของปัญหาการเมือง ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญ เพราะมุมมองเกี่ยวกับปัญหาและสาเหตุนั้นกำหนดกรอบการมองเหตุการณ์ปลีกย่อย, ชี้นำการร้อยเรียงเหตุการณ์เหล่านั้นขึ้นมาเป็นเรื่องราว, และกำหนดข้อเสนอเกี่ยวกับทางออกของปัญหา. ในแง่นี้มันจึงเป็นรากฐานของเนื้อหารายงานส่วนอื่น. บทความชิ้นนี้จะมุ่งสรุปและวิเคราะห์รายงานของ คอป. เฉพาะในส่วน "สาเหตุและรากเหง้าของปัญหา" โดยจะไม่พูดถึงส่วนอื่น.
โดยสรุปแล้วผม เห็นว่า ในฐานะงานวิชาการ รายงานของ คอป. ในส่วน "สาเหตุและรากเหง้าของปัญหา" นี้บกพร่องร้ายแรงด้วยเหตุผลหลายประการ จนสามารถพูดได้ว่ามันเป็นรายงานที่ไร้ค่าในทางวิชาการ. ในบทวิจารณ์ชิ้นนี้ ผมจะเริ่มด้วยการสรุปเนื้อหาของรายงาน คอป. แล้วจะชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของรายงาน 6 ข้อ.
สรุปสาระสำคัญของรายงาน คอป. ส่วนที่ว่าด้วย "สาเหตุและรากเหง้าของปัญหา[การเมือง]"
ใน ส่วนที่ว่าด้วยสาเหตุและรากเหง้าของปัญหาการเมือง คอป. แยก "ระยะ" ของปัญหาออกเป็นสามระยะ ได้แก่ (1) "ระยะเริ่มแรกของความขัดแย้ง" (2) "ระยะความขัดแย้งปรากฏ" และ (3) "ระยะความขัดแย้งระดับการช่วงชิงอำนาจและการเกิดความรุนแรง". ในแต่ละระยะ ของปัญหา คอป. ได้ร่ายรายการปัจจัยต่างๆ ที่ คอป. คิดว่าเป็น "สาเหตุของปัญหา" มาหลายปัจจัย. หากนับรวมทั้งสามระยะปัญหาแล้ว เราจะได้ "สาเหตุของปัญหา" ทั้งหมดถึง 25 ปัจจัย.
ในจำนวน 25 ปัจจัยนี้ มีตั้งแต่ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมระดับรากฐาน เช่น "การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ" และ "ความแตกต่างระหว่างสังคมเมืองและชนบท" ไปจนถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบุคคลบางคนและองค์กรบางองค์กรโดยเฉพาะ เช่น "การโฟนอินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร". บางปัจจัยที่ คอป. เสนอเป็นปัจจัยที่เป็นเหตุการณ์ที่เป็นกายภาพและจับต้องได้อย่างยิ่ง เช่น "การรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549". แต่บางปัจจัยก็เป็นนามธรรมและมีนิยามคลุมเครือ เช่น "วัฒนธรรมการเมืองแบบไทยๆ และความเชื่อเรื่องบุญกรรม". บางปัจจัยก็เป็นที่เห็นพ้องกันทั่วไปว่าทำลายเสถียรภาพทางการเมืองอย่าง สำคัญ เช่น "ตุลาการภิวัฒน์" แต่บางปัจจัยก็ดูเล็กน้อยและน่าแปลกใจที่ คอป. ยังพูดถึง เช่น การเรียกพรรคประชาธิปัตย์ว่า "พรรคประชาวิบัติ" และการเรียกพรรคเพื่อไทยว่าพรรค "เผาไทย" (คอป. บัญญัติศัพท์เทคนิคมาเรียกการล้อเลียนเสียดสีแบบนี้ว่า "การป่วนทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงความเกลียดชัง")
เมื่อได้รายการสาเหตุของปัญหามาแล้ว คอป. ก็สรุปว่า "วิกฤติ
ความขัดแย้งในประเทศไทยนั้น
เกิดจากรากเหง้าของปัญหาที่โยงใยกันอย่างซับซ้อน
ไม่มีมูลเหตุใดเพียงลำพังที่จะสามารถอธิบายปัญหาความขัดแย้งได้".
หากจะตีความตามตัวอักษรอย่างเคร่งครัด ข้อสรุปนี้ก็คงจริง
แต่ก็คงไม่มีประโยชน์สำหรับผู้อ่าน
เพราะก็ไม่มีใครเชื่ออยู่แต่แรกแล้วว่าจะมีปัจจัยใดที่สามารถอธิบายความขัด
แย้งทางการเมืองได้โดยปัจจัยเดียว. ในแง่นี้ข้อสรุปของ คอป.
จึงไม่ได้บอกอะไรใหม่. หากเราจะตีความให้คำพูดของ คอป.
มีประโยชน์ขึ้นมาบ้าง เราต้องตีความว่า สาเหตุของปัญหาทั้ง 25 ข้อที่ คอป.
ยกมานั้น ต่างเป็นปัจจัยที่ "จำเป็น" ต่อการเกิดปัญหาทั้งสิ้น
ไม่มีปัจจัยใดที่เราจะละเลยได้.
การตีความแบบนี้สอดคล้องกับคำพูดในรายงานของ คอป. ที่กล่าวว่า
ความรุนแรง...ไม่ได้เกิดจาก
ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง และจะมีลักษณะเป็นองค์รวม
ซึ่งเกิดจากการผสมผสานปัจจัยหลายๆ ด้านที่มีความสลับซับซ้อน
เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้เชื่อมโยงกันแบบแยกไม่ออก
และมีความเป็นพลวัตอยู่ตลอดเวลา. (น. 216)
ในเมื่อปัจจัยทั้ง 25 ปัจจัย "เชื่อมโยงกันแบบแยกไม่ออก"
และก่อให้เกิดความรุนแรง ซึ่ง "มีลักษณะเป็นองค์รวม" ที่
"เกิดจากการผสมผสานปัจจัยหลายๆ ด้าน"
ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เราตัดปัจจัยบางปัจจัยออกไป
ปัจจัยที่เหลือย่อมไม่สร้างผลแบบเดิมอีกต่อไป. กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
ปัจจัยทุกปัจจัยที่ คอป. ยกมานั้น
เป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการเกิดปัญหาการเมืองทั้งสิ้น.ข้อบกพร่อง 1: คอป. สับสนว่า "ปัญหา" แท้จริงคืออะไร
ใน การหาสาเหตุของปัญหาใดๆ จุดเริ่มต้นที่ดีคือการระบุใช้ชัดเจนว่า "ปัญหา" คืออะไรกันแน่. แต่รายงานของ คอป. พูดถึง "สาเหตุของปัญหา" โดยไม่เคยระบุใช้ชัดเจนว่า คอป. มองอะไรว่าเป็นปัญหาบ้าง. ในบางจุด คอป. พูดให้คิดได้ว่าความรุนแรงเป็นปัญหา. แต่ในบางจุด คอป. ก็กล่าวเสมือนว่าความขัดแย้งก็ เป็นปัญหาโดยตัวของมันเอง โดยที่มันไม่จำเป็นต้องนำไปสู่ความรุนแรง. การที่ คอป. สับสนว่าอะไรคือปัญหากันแน่ แล้วกระโดดกลับไปกลับมาระหว่างความรุนแรงกับความขัดแย้ง ทำให้รายงานของ คอป. มีเนื้อหาสะเปะสะปะและขาดเอกภาพ.
การที่ คอป. คิดว่าความขัดแย้งเป็นปัญหาในตัวของมันเอง
ยังแสดงให้เห็นด้วยว่า คอป.
ไม่เข้าใจที่ทางของความขัดแย้งในระบอบประชาธิปไตยเลย.
ในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติอย่างยิ่ง
และประชาธิปไตยที่เข้มแข็งก็ย่อมมีกลไกในการตัดสินข้อขัดแย้งก่อนที่มันจะ
กลายเป็นความรุนแรงอยู่แล้ว. หากความขัดแย้งกลายเป็นความรุนแรงได้
นั่นย่อมหมายความว่ากลไกประชาธิปไตยที่ใช้ตัดสินความขัดแย้งนั้นถูกทำให้ใช้
การไม่ได้. ในกรณีนี้ปัญหาย่อมอยู่ที่ความไม่เป็นประชาธิปไตย
ไม่ใช่อยู่ที่ความขัดแย้ง. ในระบอบประชาธิปไตย ความขัดแย้งจึงไม่ใช่ปัญหา.
แต่ต่อให้เราสมมติว่า คอป. คิดว่าความขัดแย้งไม่เป็นปัญหา
หากแต่ความรุนแรงเท่านั้นที่เป็นปัญหา รายงานของ คอป.
ก็ยังบกพร่องอีกจุดหนึ่ง. นั่นคือ คอป.
ทึกทักเอาว่าความรุนแรงทุกรูปแบบเป็นปัญหา ทั้งที่จริงๆ
แล้วความรุนแรงบางรูปแบบเท่า นั้นที่เป็นปัญหา.
การที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้โล่พลาสติกกระแทกเพื่อผลักดันผู้ประท้วงนั้น
เป็นความรุนแรงที่ปกติเรายอมรับได้และไม่ถือว่าเป็นปัญหา.
แต่การที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้ปืนติดกล้องส่องยิงศีรษะผู้ประท้วงจากระยะไกล
นั้น เป็นความรุนแรงที่ยอมรับไม่ได้และเป็นปัญหาแน่นอน.
การตีขลุมว่าความรุนแรงทุกรูปแบบ ทุกระดับ เป็นปัญหาทั้งหมด ทำให้รายงานของ
คอป. หลงประเด็นไปสาธยายสาเหตุของหลายสิ่งที่ไม่ใช่ปัญหาอยู่ตั้งแต่แรก.
ข้อบกพร่อง 2: คอป. สับสนว่าใครคือ "คู่ขัดแย้ง"
รายงาน ของ คอป. มีคำว่า "ความขัดแย้ง" ปรากฏอยู่ถึง 423 ครั้ง. แต่น่าประหลาดอย่างยิ่งที่ คอป. กลับไม่เคยระบุให้ชัดเจนเลยว่าคู่ขัดแย้งคือใครกันแน่. ในบางจุด คอป. พูดราวกับว่าคู่ขัดแย้งนั้นมีเพียงพรรคไทยรักไทย/พลังประชาชน/เพื่อไทย กับพรรคประชาธิปัตย์ โดยที่ผู้เล่นอื่นๆ เช่น กลุ่มมวลชน (รวมทั้ง กองทัพ, ศาล และองคมนตรี?) เป็นเพียง "กลุ่มผู้สนับสนุน" ที่มีเป้าหมายเพียงแค่ให้พรรคการเมืองที่ตนสนับสนุนได้เป็นรัฐบาล โดยไม่มีเป้าหมายอื่นใดเป็นของตัวเอง:
"ปัจจัยที่เป็นตัว
กระตุ้นเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากที่มีการรัฐประหาร
ซึ่งเป็นประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายใช้เป็นข้ออ้างในการต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจ
รัฐ ในการเข้ามาบริหารประเทศ
และทำให้ฝ่ายผู้ที่มีอำนาจรัฐและกลุ่มผู้สนับสนุน
กับฝ่ายต่อต้านและกลุ่มผู้สนับสนุน ผลัดกันเข้ามามีอำนาจ" (น. 217)
แต่ในบางจุด คอป. ก็พูดเสมือนว่าคู่ขัดแย้งหลักคือมวลชน -- นั่นคือ นปช. กับพันธมิตรฯ -- ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวทางการเมืองขัดกัน และมีเป้าหมายจะเปลี่ยนแปลงการเมืองให้เป็นตามแนวคิดของตน (ไม่ได้มีเป้าหมายเพียงแค่ทำให้พรรคใดพรรคหนึ่งได้เป็นรัฐบาล)
ไม่ว่ากรณีใดๆ คอป. ดูจะไม่มองว่า กองทัพ, ศาล
และสถาบันกษัตริย์ (ซึ่งครอบคลุมองคมนตรี)
เป็นหุ้นส่วนหลักในความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาเลย. คอป.
มองว่าสถาบันเหล่านี้เพียงแค่ถูกกลุ่มการเมืองดึงมาใช้เพื่อให้ฝ่ายตนได้
ประโยชน์
หรือบางครั้งก็อาจเข้ามายุ่งเกี่ยวด้วยตัวเองบ้างเพื่อสนับสนุนฝ่ายใดฝ่าย
หนึ่งตามสถานการณ์ แต่ก็ไม่ได้พัวพันกับความขัดแย้งอย่างลึกซึ้งตั้งแต่แรก.
มุมมองนี้ของ คอป.
ขัดกับมุมมองของนักวิชาการจำนวนมากทั้งในไทยและต่างประเทศ
ซึ่งก็คงไม่มีอะไรเสียหายหาก คอป. สามารถให้เหตุผลสนับสนุนมุมมองตัวเองได้.
แต่น่าเสียดายที่ คอป.
ไม่เคยให้เหตุผลว่าทำไมสถาบันเหล่านี้จึงไม่นับเป็นคู่ขัดแย้งหลัก
เช่นเดียวกับพรรคการเมืองและกลุ่มมวลชน.
ความสับสนของ คอป. เรื่องคู่ขัดแย้งนี้
ดูจะเป็นผลจากแนวคิดพื้นฐานของ คอป.
ที่ว่าความขัดแย้งทางการเมืองมีอยู่เพียงหนึ่งเดียว. ในความเป็นจริงแล้ว
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในวิกฤติการเมืองนั้นมีหลากหลาย.
ผู้เล่นแต่ละกลุ่มในสนามการเมืองก็มีความขัดแย้งกับกลุ่มอื่นๆ
ในรูปแบบที่ต่างกันไป (เพราะผู้เล่นแต่ละกลุ่ม
ถึงแม้ว่าจะสนับสนุนกันในสถานการณ์ส่วนใหญ่ ก็มีเป้าหมายที่ไม่เหมือนกัน).
สาเหตุที่อธิบายความขัดแย้งระหว่างพรรคไทยรักไทยกับพรรคประชาธิปัตย์
ก็ไม่อาจอธิบายความขัดแย้งระหว่างพรรคไทยรักไทยกับกองทัพ
หรือระหว่างพันธมิตรฯ กับพรรคประชาธิปัตย์ได้. สมมุติฐานของ คอป.
ที่ว่าผู้เล่นทุกกลุ่มถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่ายด้วยความขัดแย้งเดียวนั้น
จึงเป็นสมมุติฐานที่ผิดมาตั้งแต่ต้น.
ข้อบกพร่อง 3: คอป. มีปัญหาเรื่องการลำดับความสำคัญของ "สาเหตุ" ของปัญหา
คอ ป. ร่ายรายการ "สาเหตุ" ของปัญหามาถึง 25 ข้อ โดยไม่จัดลำดับความสำคัญของสาเหตุแต่ละปัจจัยเลย. คอป. กล่าวว่า "วิกฤติความขัดแย้งในประเทศไทยนั้นเกิดจากรากเหง้าของปัญหาที่โยงใยกัน อย่างซับซ้อน ไม่มีมูลเหตุใดเพียงลำพังที่จะสามารถอธิบายปัญหาความขัดแย้งได้". แต่การที่สาเหตุแต่ละสาเหตุมีความเกี่ยวข้องโยงใยกันนั้น ไม่ได้หมายความว่าทุกสาเหตุจะสำคัญเท่ากัน. และมันก็ไม่ได้เป็นข้ออ้างให้ คอป. ปัดความรับผิดชอบในการวิเคราะห์ว่าปัจจัยใดสำคัญมาก ปัจจัยใดสำคัญน้อย.
ในทางหนึ่ง การที่ คอป. หลีกเลี่ยงจะระบุว่าปัจจัยใดสำคัญมาก ปัจจัยใดสำคัญน้อย เป็นการชวนให้เข้าผิดว่าปัจจัยทุกข้อที่ คอป. เสนอมานั้นสำคัญเท่ากัน: "การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549" มีส่วนทำให้เกิดความขัดแย้งเท่าๆ กับ "การโฟนอินของ พ.ต.ท.ทักษิณ"; และ "ตุลาการภิวัฒน์" มีส่วนทำให้เกิดความขัดแย้งพอๆ กับการล้อเลียนพรรคเพื่อไทยว่า "พรรคเผาไทย" และการล้อเลียนพรรคประชาธิปัตย์ว่า "พรรคประชาวิบัติ".
ในอีกทางหนึ่ง การที่ คอป.
ร่ายรายการปัจจัยมายืดยาวโดยที่ไม่จัดลำดับความสำคัญของปัจจัยเหล่านั้น
ไม่ต่างอะไรจากนักอุตุนิยมวิทยา
ที่พอถูกถามว่าอะไรคือสาเหตุของพายุเมื่อสัปดาห์ก่อน ก็จัดแจงเอาตำรา
"ลมฟ้าอากาศเบื้องต้น" มาอ่านให้ฟังตั้งแต่ต้นจนจบ
โดยไม่ระบุว่าส่วนใดบ้างของตำราที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพายุเมื่อสัปดาห์
ก่อนมากที่สุด. การนั่งอ่านตำราให้ผู้ชมฟังแบบนี้
ไม่ได้เกินความสามารถของเด็กมัธยมทั่วไป.
ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องเสียเงินหลักสิบล้านเพื่อจ้างคณะกรรมการใดมาอ่านให้
ฟัง.
ข้อบกพร่อง 4: คอป. ไม่แยกแยะประเภทของ "สาเหตุ" ของปัญหา
"สาเหตุ" ของปัญหานั้นมีอยู่หลายแบบ. ในมิติหนึ่ง เราต้องแยกความต่างระหว่างสาเหตุที่เฉพาะเจาะจงกับปัญหาหนึ่งๆ ("สาเหตุเฉพาะเหตุการณ์") กับสาเหตุที่โดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็จะก่อให้เกิดปัญหา ("สาเหตุทั่วไป"). ลองพิจารณาตัวอย่างเช่น การที่คนขับรถของกษัตริย์ออสเตรียเลี้ยวรถผิดทาง จนเป็นเหตุให้กษัตริย์ถูกลอบสังหารในเซอร์เบีย ซึ่งทำให้ออสเตรียประกาศสงครามกับเซอร์เบียแล้วเกิดเป็นจุดเริ่มต้นของ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง. ในกรณีนี้การที่คนขับรถเลี้ยวรถผิดทางเป็นสาเหตุหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ หนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง แต่ไม่ใช่สาเหตุของสงครามโดยทั่วไป. คนที่พยายามป้องกันการเกิดสงครามในอนาคตด้วยฝึกให้คนเลี้ยวรถถูกทางนั้น เป็นคนโง่เขลาที่สับสนระหว่าง "สาเหตุเฉพาะเหตุการณ์" กับ "สาเหตุทั่วไป".
รายงาน ของ คอป. พูดถึงสาเหตุของปัญหาการเมือง โดยไม่แยกแยะระหว่างสาเหตุเฉพาะเหตุการณ์ กับสาเหตุทั่วไป. "ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ" อาจเป็นสาเหตุเฉพาะเหตุการณ์ของความขัดแย้งในการเมืองไทย แต่ไม่ใช่สาเหตุของความขัดแย้งทางการเมืองโดยทั่วไป เพราะมีความขัดแย้งทางการเมืองมากมายที่ไม่ได้เกิดจากความเหลื่อมล้ำทาง เศรษฐกิจ (เช่น อาจเกิดจากความไม่พอใจของคนจำนวนมากที่ถูกริดรอนสิทธิพื้นฐานทางการเมือง เป็นต้น). ในแง่นี้ การที่ คอป. เสนอว่าความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเป็น "สาเหตุ" หนึ่งของปัญหาการเมือง แล้วเสนอว่าเราควรแก้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพื่อป้องกันความขัดแย้งทาง การเมือง จึงโง่เขลาไม่ต่างจากการเสนอให้ป้องกันสงครามด้วยการฝึกให้คนเลี้ยวรถถูก ทาง. รายงานของ คอป. เต็มไปด้วยความสับสนระหว่างสาเหตุเฉพาะเหตุการณ์กับสาเหตุทั่วไป.
ในอีกมิติหนึ่ง เราต้องแยกแยะระหว่าง "สาเหตุที่ควรแก้ไข"
กับ "สาเหตุที่ไม่ควรแก้ไข". สาเหตุบางปัจจัย แม้จะเป็นสาเหตุทั่วไป
แต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่ควรถูกแก้ไข. ตัวอย่างเช่น การที่ร้านสะดวกซื้อเปิดดึก
เป็นสาเหตุทั่วไปประการหนึ่งที่ทำให้ร้านสะดวกซื้อถูกปล้น.
แต่เราคงไม่พยายามป้องกันปัญหาการปล้นด้วยการบอกให้ร้านสะดวกซื้อปิดเร็ว
ขึ้น (เพราะร้านมีสิทธิที่จะเปิดดึก)
หากแต่เราต้องพยายามให้รัฐป้องกันไม่ให้โจรสามารถปล้นได้สำเร็จต่างหาก
(เพราะนั่นคือหน้าที่ของรัฐ). ในกรณีนี้
ถึงแม้ว่าการที่ร้านสะดวกซื้อเปิดดึกจะเป็นสาเหตุทั่วไปของการถูกปล้น
แต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่ควรแก้ไข.
รายงานของ คอป.
ไม่เคยแยกแยะระหว่างสาเหตุที่ควรแก้ไขกับสาเหตุที่ไม่ควรแก้ไข. คอป.
กล่าวว่า "การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ...จากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคม
อุตสาหกรรม" และ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540"
เป็นสาเหตุของความขัดแย้งทางการเมือง. ในขณะเดียวกัน คอป. ก็กล่าวว่า
"การรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549" และ "ตุลาการภิวัฒน์"
ก็เป็นสาเหตุของความขัดแย้งทางการเมือง โดยไม่แยกแยะสาเหตุชุดใดควรแก้
ชุดใดไม่ควรแก้. การผสมปนเปสาเหตุสองประเภทนี้เข้าด้วยกันทำให้รายงานของ
คอป. ชวนให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่าสาเหตุแต่ละสาเหตุสมควรถูกแก้ไขพอๆ กัน.
ข้อบกพร่อง 5: คอป. (จงใจ?) หลงลืมสาเหตุสำคัญบางประการของปัญหา
ใน ขณะที่ คอป. กล่าวถึงปัจจัยที่เล็กน้อย อย่างการตั้งฉายาพรรคการเมืองและการโฟนอินของทักษิณ ว่าเป็น "สาเหตุ" ของปัญหา แต่ คอป. กลับละเลยปัจจัยหลายอย่างที่สำคัญต่อปัญหาการเมืองอย่างชัดแจ้ง. หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดของปัญหาการเมืองตั้งแต่รัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา คือการริดรอนสิทธิพื้นฐานทางการเมืองของคนจำนวนมหาศาล. เมื่อใดที่คนนับสิบล้านคนที่ตระหนักถึงสิทธิทางการเมืองของตัวเอง ถูกริดรอนสิทธิในการเลือกรัฐบาลของเขาไปด้วยการก่อรัฐประหาร, การพิพากษาล้มล้างผลการเลือกตั้ง, การยุบพรรคการเมือง และการตัดสิทธินักการเมือง เมื่อนั้นความขัดแย้งทางการเมืองที่ใหญ่และรุนแรงย่อมหลีกเลี่ยงได้ยาก.
คอป.
นอกจากจะไม่พูดถึงการริดรอนสิทธิทางการเมืองของคนจำนวนมากแล้ว
ก็ยังไม่พูดถึงบทบาทของสถาบันทางการเมืองบางสถาบัน
ที่มีส่วนโดยตรงต่อการริดรอนสิทธินี้. กล่าวคือ คอป.
ไม่พูดถึงบทบาทของบุคคลในสถาบันกษัตริย์ เช่น องคมนตรี
ในการสนับสนุนรัฐประหาร. คอป.
ไม่พูดถึงบทบาทของกองทัพในการช่วยจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย
หลังจากที่พรรคพลังประชาชนถูกยุบ. แม้ว่า คอป.
จะพูดถึงรัฐประหารและตุลาการภิวัฒน์อยู่ด้วย แต่ก็พูดถึงเพียงผ่านๆ
(พูดถึงตุลาการภิวัฒน์เพียง 6 บรรทัด และรัฐประหารเพียง 15 บรรทัด
โดยตัดเอาเหตุการณ์สำคัญๆ เช่น การตัดสินล้มผลการเลือกตั้ง
และการตัดสินยุบพรรค ไปใส่ไว้ใน footnote
ราวกับว่ามันเป็นแค่รายละเอียดที่ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องรับทราบ).
ข้อบกพร่อง 6: คอป. เข้าใจความคิดของมวลชนที่เป็นคู่ขัดแย้ง อย่างผิวเผินและคลาดเคลื่อน
ความ ขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่รัฐประหารเป็นต้นมานั้น ไม่ได้เป็นเพียงความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำ แต่เป็นความขัดแย้งที่มีมวลชนเป็นหนึ่งในคู่ขัดแย้งหลักด้วย. ดังนั้น ในการทำความเข้าใจสาเหตุของความขัดแย้ง จึงสำคัญอย่างยิ่งที่ คอป. จะต้องทำความเข้าใจความคิดของมวลชนในความขัดแย้ง. แต่รายงานของ คอป. นั้นกล่าวถึงแนวคิดของกลุ่มมวลชนเพียงสั้นๆ เท่านั้น และในส่วนที่กล่าวถึงก็กล่าวสรุปแบบผิวเผินและคลาดเคลื่อน.
คอป.กล่าวถึงแนวคิดของ นปช. และของพันธมิตรฯ เกี่ยวกับประชาธิปไตย ดังนี้:
"สังคมได้แบ่งกลุ่มออกเป็น ๒ กลุ่มอย่างชัดเจน ... อันได้แก่
(๑) กลุ่มที่เชื่อว่ามีประชาธิปไตยแบบที่จับต้องได้ โดยมองว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่อง ของเสียงข้างมาก มีนโยบายที่ตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ ซึ่งเห็นว่าถ้าได้รับเลือกตั้งจะมี อำนาจสิทธิขาดในการบริหารประเทศ ได้แก่ "กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)" ที่เชื่อว่า รัฐบาลต้องมีนโยบายที่ตอบสนองความต้องการประชาชนรากหญ้า ส่งผลให้เกิด รัฐบาลเสียงข้างมากที่มาจากการเลือกตั้ง และอ้างสิทธิการเป็นตัวแทนของประชาชนอันเป็น ความชอบธรรมตามหลักการเสียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตย แม้จะมีการคอร์รัปชั่นบ้างก็ตาม
(๒) กลุ่มที่เชื่อว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่องของความโปร่งใส และการถูกตรวจสอบ ความเชื่อที่แตกต่างของกลุ่มทั้งสองดังกล่าว ทำให้การนำประชาธิปไตยไปใช้มี ความแตกต่างกัน ได้แก่ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” มีความเชื่อว่าประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ต้องมีความชอบธรรม ปราศจากการคอร์รัปชั่น มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และผู้มีอานาจรัฐต้องพร้อมที่จะถูกตรวจสอบตลอดเวลา (Accountability)
…
การ มีฐานความเชื่อที่ต่างกันเช่นนี้เป็นการเลือกมองประชาธิปไตย เฉพาะส่วนที่ตรงกับความเห็นของฝ่ายตน ซึ่งเป็นความจริงเพียงส่วนเดียว" (น. 207)
สรุปคือ คอป. มองว่า นปช. เชื่อว่ารัฐบาลต้องมาจากการเลือกตั้ง
แต่ไม่จำเป็นต้องมีความโปร่งใสและถูกตรวจสอบ ในขณะที่พันธมิตรฯ
เชื่อว่ารัฐบาลต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ แต่ไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง.(๑) กลุ่มที่เชื่อว่ามีประชาธิปไตยแบบที่จับต้องได้ โดยมองว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่อง ของเสียงข้างมาก มีนโยบายที่ตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ ซึ่งเห็นว่าถ้าได้รับเลือกตั้งจะมี อำนาจสิทธิขาดในการบริหารประเทศ ได้แก่ "กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)" ที่เชื่อว่า รัฐบาลต้องมีนโยบายที่ตอบสนองความต้องการประชาชนรากหญ้า ส่งผลให้เกิด รัฐบาลเสียงข้างมากที่มาจากการเลือกตั้ง และอ้างสิทธิการเป็นตัวแทนของประชาชนอันเป็น ความชอบธรรมตามหลักการเสียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตย แม้จะมีการคอร์รัปชั่นบ้างก็ตาม
(๒) กลุ่มที่เชื่อว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่องของความโปร่งใส และการถูกตรวจสอบ ความเชื่อที่แตกต่างของกลุ่มทั้งสองดังกล่าว ทำให้การนำประชาธิปไตยไปใช้มี ความแตกต่างกัน ได้แก่ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” มีความเชื่อว่าประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ต้องมีความชอบธรรม ปราศจากการคอร์รัปชั่น มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และผู้มีอานาจรัฐต้องพร้อมที่จะถูกตรวจสอบตลอดเวลา (Accountability)
…
การ มีฐานความเชื่อที่ต่างกันเช่นนี้เป็นการเลือกมองประชาธิปไตย เฉพาะส่วนที่ตรงกับความเห็นของฝ่ายตน ซึ่งเป็นความจริงเพียงส่วนเดียว" (น. 207)
นี่ เป็นมุมมองที่ผิวเผินและคลาดเคลื่อน. ในลำดับแรก ผมยังไม่เคยเห็นหลักฐานใดๆ เลยที่บ่งชี้ว่า นปช. เชื่อว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งสมควรมี "อำนาจสิทธิขาดในการบริหารประเทศ" โดยไม่ต้องถูกตรวจสอบ. และ คอป. เองก็ไม่ได้ให้หลักฐานใดๆ ไว้. ความจริงที่รับรู้กันอยู่ทั่วไปคือ นปช. ปฏิเสธองค์กรอิสระและตุลาการที่ถูกแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร และประกอบขึ้นด้วยบุคคลที่เป็นปรปักษ์กับพรรคไทยรักไทยเป็นการเฉพาะ แต่ไม่ได้ปฏิเสธกลไกการตรวจสอบรัฐบาลในรูปแบบปกติ. การที่ นปช. เรียกร้องให้องค์กรอิสระและตุลาการต้องมีที่มาถูกต้องตามหลักประชาธิปไตย (คือต้องยึดโยงกับประชาชน) ไม่ได้หมายความว่า นปช. ปฏิเสธการมีองค์กรอิสระและตุลาการโดยทั่วไป.
ในลำดับที่สอง มุมมองของ คอป. ที่ว่าพันธมิตรฯ
ให้ความสำคัญกับการที่รัฐบาลประชาธิปไตยต้องโปร่งใสและถูกตรวจสอบได้เป็น
หลัก ก็ดูจะเป็นมุมมองที่คลาดเคลื่อน. ไม่มีหลักฐานใดบ่งชี้ว่าพันธมิตรฯ
แสวงหาความโปร่งใสและการตรวจสอบ
มากกว่าการได้บุคคลที่มีจริยธรรมเข้ามาทำหน้าที่. ในทางตรงกันข้าม
พันธมิตรฯ ได้แสดงให้เห็นหลายครั้งว่าเขาพร้อมจะยอมรับ "คนดี"
ที่ไม่ถูกตรวจสอบ มากกว่า "คนชั่ว" ที่ตรวจสอบได้ เห็นได้จากการสนับสนุน
สว. แต่งตั้ง, การเสนอให้ สส. 70% มาจากการแต่งตั้ง,
การเรียกร้องนายกรัฐมนตรีพระราชทาน
และการกล่าวโจมตีผู้เรียกร้องให้สถาบันกษัตริย์ต้องโปร่งใสและถูกตรวจสอบ
ได้.
อันที่จริง ก็ไม่น่าแปลกใจเท่าใดนักที่ คอป.
จะเข้าใจแนวคิดของมวลชนแบบคลาดเคลื่อน เพราะ คอป.
มุ่งระดมความเห็นโดยการจัดสัมมนาวิชาการและ "เวทีสาธารณะ"
(ที่เอาเข้าจริงก็ไม่มีมวลชนตัวจริงเสียงจริงเข้าร่วมเท่าใดนัก)
แต่ไม่เคยลงไปฝังตัวในเวทีชุมนุมเสื้อแดงหรือพันธมิตรฯ
หรือเกาะติดกลุ่มตัวอย่าง
เพื่อสังเกตและบันทึกความรู้สึกนึกคิดของมวลชนแต่ละฝ่าย. (จริงๆ แล้ว
ด้วยเวลาสามปีและงบประมาณหลักสิบล้านบาท
การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลแบบนี้ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร.)
สรุปบทวิจารณ์
รายงานของ คอป. ส่วนที่ว่าด้วยสาเหตุและรากเหง้าของปัญหาการเมืองบกพร่อง ร้ายแรงทั้งในระดับ กรอบแนวคิดพื้นฐานในการวิเคราะห์ และในระดับรายละเอียดของคำอธิบายสาเหตุของปัญหาการเมือง. ข้อบกพร่องเหล่านี้เป็นข้อบกพร่องพื้นฐานที่ไม่ควรปรากฏแม้แต่ในงานวิชาการ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีและโท อย่าว่าแต่จะปรากฏในงานวิจัยที่ใช้เวลาร่วมสามปีและงบประมาณหลายสิบล้านใน การจัดทำ. รายงานในส่วนนี้แสดงให้เห็นว่า คอป. เข้าใจปัญหาการเมืองไทยแบบผิวเผินและฉาบฉวยอย่างยิ่ง. ด้วยความเข้าใจในระดับนี้ ผมมองไม่เห็นว่า คอป. จะอยู่ในจุดที่จะ "เสนอแนะ" ทางออกของปัญหาการเมืองได้อย่างไร.