ที่มา ประชาไท
Tue, 2012-10-02 01:06
(ภาพจาก Snook)
แต่ความหมายที่สำคัญกว่านั้นของขันติธรรมก็คือ
การตอบโต้ต่อการถูกดูหมิ่นซึ่งเรามีความจำเป็นต้องตอบโต้ต่อการหมิ่นประมาท
ตัวเรา หรือการหมิ่นศาสดา ศาสนา
ความเชื่อของเราภายใต้ขอบเขตของกฎหมายเท่านั้น เช่น การประณาม
การเรียกร้องให้ขอโทษ การประท้วงอย่างสันติ หรือการแจ้งความเอาผิดตามกฎหมาย
(ที่เป็นประชาธิปไตย)
เราไม่มีสิทธิ์ใช้กำลังหรือความรุนแรงทำร้ายชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น
เพื่อระบายความโกรธแค้นอย่างไร้มนุษยธรรมกรณีชาวมุสลิมในบังคลาเทศเผาวัดพุทธ 5 แห่ง สะท้อนการขาดขันติธรรมระหว่างศาสนา (Religious Tolerance) อย่างน่าวิตก เริ่มจากการขาดขันติธรรมของชาวพุทธคนหนึ่งที่โพสต์ภาพตนเองเหยียบคัมภีร์ของ ศาสนาอิสลามขึ้นเฟซบุ๊ก เป็นเหตุให้เกิดการโต้ตอบที่ขาดขันติธรรมยิ่งกว่าของชาวมุสลิมกลุ่มหนึ่งที่ เผาวัดพุทธ 5 แห่งและก่อจลาจลทำลายบ้านเรือนร่วม 100 หลัง
(ภาพจากคม ชัด ลึก)
ไม่ว่าเราจะมองจากหลักมนุษยธรรม หลักเสรีนิยม สิทธิมนุษยชน
หรือหลักการของแต่ละศาสนาเอง
เราไม่มีทางจะยอมรับการการหมิ่นศาสนาว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ
และยิ่งไม่อาจยอมรับการตอบโต้ที่รุนแรงของกลุ่มศาสนิกบางกลุ่มของศาสนาใดๆ
ว่าเป็นสิ่งที่ควรทำผมเข้าใจว่าหลักขันติธรรมตามความคิดเสรีนิยมนั้น นอกจาจะวางอยู่บนพื้นฐานของการเคารพความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อ ฯลฯ แล้ว ยังเป็นหลักการที่ยอมรับสมมติฐานว่า เป็นไปได้ที่ในโลกของความเป็นจริงจะมีการด่า การประณาม นินทาว่าร้าย ฯลฯ เกิดขึ้นได้เสมอ อาจจะเรียกได้ว่านี่เป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์ก็ว่าได้ อย่างที่พูดกันว่า “ห้ามไฟไม่ให้มีควัน...ให้ได้ก่อน ค่อยห้ามคนด่าหรือนินทา”
แน่นอน การแสดงออกในลักษณะต่างๆ ที่ถูกมองว่าเป็นการหมิ่นศาสดา หมิ่นศาสนา เช่น ผู้หญิงโพสต์ท่าถ่ายรูปคร่อมพระพุทธรูป การสร้างพระพุทธรูปในรูปลักษณ์แปลกๆ เอาพระพุทธรูปไปเป็นเครื่องตกแต่งประดับในโรงแรม สปา ฯลฯ หรือการแต่งนิยาย เขียนหนังสือ สร้างภาพยนตร์ที่สะท้อนภาพของพุทธะในด้านตรงข้ามกับที่ชาวพุทธเชื่อคงจะมี ต่อไปเรื่อยๆ และอันที่จริงการด่าประณาม กระทั่งการลอบทำร้าย ลอบฆ่าพุทธะก็มีมาแล้วในสมัยพุทธกาล แต่พุทธะก็วางหลักให้ชาวพุทธตอบโต้การกระทำเหล่านั้นด้วยขันติธรรม
ดังในโอวาทปาฏิโมกข์ซึ่งเป็นหลักการในการเผยแผ่พุทธศาสนาในระยะเริ่มแรก นั้น พุทธะให้ชาวพุทธมีขันติธรรม ไม่กล่าวร้าย ทำร้าย หรือฆ่าใคร แต่ให้ตอบโต้การกระทำของฝ่ายอื่นๆ ด้วยการมีสติ ไม่โกรธ ใช้เหตุผล และที่จริงแล้วขันติธรรมตามคำสอนพุทธศาสนานั้นเข้มงวดมากถึงขนาดว่า “ผู้ที่ยังจิตให้โกรธคนที่กำลังใช้เลื่อยตัดร่างกายของตนให้ขาดเป็นสองท่อน ย่อมไม่ชื่อว่าปฏิบัติตามคำสอนของตถาคต” นี่แสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนามองว่า สิ่งที่เรียกว่าศีลธรรมหรือความถูกต้องมีค่าในตัวมันเอง ไม่ได้เอาผลมาตัดสิน ในกรณีนี้ความไม่โกรธมีค่าในตัวมันเอง การถูกฆ่าไม่ใช่ผลอันเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ความไม่โกรธกลายเป็นสิ่งที่ไม่ถูก ต้องไปได้
ถามว่า หากชาวพุทธไม่ทำตามหลักขันติธรรมของพุทธศาสนา การตอบโต้ใครก็ตามด้วยวิธีรุนแรงต่างๆ เช่น การเรียกร้องให้ออกกฎหมายเอาผิดคนที่หมิ่นศาสดา การตอบโต้ด้วยความโกรธ ความเกลียดชัง ความแค้น การตั้งค่าหัว การฆ่า ฯลฯ วิธีการแบบนี้จะมีประสิทธิภาพขจัดคนที่หมิ่นศาสดาให้หมดไปจากโลกนี้จริงๆ หรือ
ในทำนองเดียวกันอะไรที่สังคมเราทำให้เป็นศาสนา เช่น “อุดมการณ์ราชาชาตินิยมศักดิ์สิทธิ์” ที่อาจารย์เกษียร เตชะพีระ เรียกว่า “ศาสนาทางโลก” (secular religion) ที่อิงความศักดิ์สิทธิ์ของสมมติเทพหรือพระสยามเทวธิราช ก็ต้องเผชิญกับคำถามอย่างที่อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ตั้งคำถามว่า
(ภาพจาก fb นิธิวัต วรรณศิริ)
เราจำเป็นต้องพูดกันให้ชัดๆ ว่าอะไรที่สวม “เสื้อคลุมศาสนา”
(ทำ/แสดงออกในนามศาสนา) มันไม่ใช่ "ศีลธรรม" เสมอไป
การทำการตลาดหากินกับศรัทธาของชาวบ้าน
การใช้อำนาจปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความเห็น วิพากษ์วิจารณ์
การตอบโต้คนที่ดูหมื่นศาสดาของตนด้วยวิธีรุนแรง ฯลฯ
สิ่งพวกนี้มันไม่ใช่เรื่องศีลธรรม มันคือการทำลายศีลธรรม
เพราะศีลธรรมต้องเคารพความเป็นมนุษย์ ต้องมีขันติธรรมต่อความเห็นต่าง
มีขันติธรรมแม้กระทั่งต่อการดูหมิ่นเหยียดหยาม
ไม่ใช้เพื่อนมนุษย์เป็นเครื่องมือแสวงผลประโยชน์ หรือระบายความเคียดแค้นว่าตามจริง นักเสรีนิยมไม่ได้อ้างหลักขันติธรรมต่อความเห็นต่างในฐานะเป็น “สัจธรรมศักดิ์สิทธิ์” ไม่เหมือนบรรดาศาสนิกของศาสนาต่างๆ ที่อ้างความศักดิ์สิทธิ์ของศาสดา ของสัจธรรมคำสอน อ้างแนวคิดสันติภาพของศาสนาตนว่าเลอเลิศกว่าแนวคิดสันติภาพใดๆ ในโลก อ้างความรัก การให้อภัย กระทั่งความไม่มีกิเลส ความเมตตาต่อสรรพสัตว์ แต่เราก็พบว่านักเสรีนิยมที่ยอมรับความมีกิเลส บางคนไม่มีศาสนากลับแสดงออกว่า เขามีขันติธรรมต่อความเห็นต่างมากกว่าคนเคร่งศาสนา หรือพูดให้ตรงคือขันติธรรมที่นักเสรีนิยมมี “เหนือกว่า” บรรดาศาสนิกที่เคร่งศาสนาก็เนื่องมาจากที่พวกเขาต่อสู้เพื่อเป็นอิสระจาก อิทธิพลความเชื่อทางศาสนาต่างๆ และความสัตย์ซื่อต่อความเป็นมนุษย์ของตนนั่นเอง
ผมเองไม่ได้เรียกร้องหรือคาดหวังว่า บรรดาศาสนิกที่เคร่งศาสนา ผู้รักศาสนา หรือแสดงออกว่าปกป้องศาสนาของตนเองจะต้องมีมาตรฐานสูงส่งตามหลักการของศาสนา ตน เช่น ไม่มีกิเลส มีสติ ไม่โกรธ ให้อภัย รักศัตรูเหมือนรักตนเอง ยึด “ความเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ” ที่ต้องไม่ใช้ความรุนแรงใดๆ ผมขอเพียงแค่อยากเห็นการแสดงออกของเขาเหล่านั้น “มีขันติธรรมในมาตรฐานเดียวกับเสรีนิยม”
หากศาสนาต่างๆ ไร้ศีลธรรมแม้ระดับพื้นฐานที่สุดคือระดับ “ขันติธรรม” ต่อความเห็นต่างตามมาตรฐานเสรีนิยม ก็ป่วยการที่จะป่าวประกาศความสูงส่งใดๆ ในหลักศาสนาของตน และการแสดงออกใดๆ ในนามการปกป้องศาสนาอย่างขาดขันติธรรม ย่อมเป็นการใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือทำลายสันติภาพอันเป็นเป้าหมายของแต่ละ ศาสนาเอง และของสังคมมนุษย์
ความเป็นไปได้ทางหนึ่งที่โลกเราจะมีขันติธรรมระหว่างศาสนา คือการที่ศาสนิกในแต่ละศาสนาต้องตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์กันเอง และปฏิเสธการแสดงออกใดๆ ในทางศาสนาที่ไม่มีขันติธรรม รวมถึงการใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือแสวงผลประโยชน์ใดๆ อย่างไม่ตรงไปตรงมา หรือขัดแย้งกับหลักการของศาสนาตนเอง อันเป็นหลักการที่เคารพคุณค่าของมนุษย์และสันติภาพของโลก