ที่มา ประชาไท
Sun, 2012-09-30 17:54
30 ก.ย.55 ในช่วงท้ายของเวทีเสวนา 2 ปีนิติราษฎร์ 6 ปีรัฐประหาร
ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) สาวตรี สุขศรี
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาชิกกลุ่มนิติราษฎร์
กล่าวถึงรายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง
แห่งชาติ (คอป.) ว่า หลังจากได้อ่านรายงานมีหลายจุดที่ค่อนข้างมีประโยชน์
เช่น มีข้อเท็จจริงจำนวนหนึ่งที่ใช้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ แต่ปัญหาคือ
ข้อมูลดิบที่แสดงมีไม่เพียงพอ
สาวตรีกล่าวว่า แล้ว คอป.
เกี่ยวอะไรกับนักกฎหมายและรัฐประหาร เราทราบกันดีว่าในคอป.
มีนักกฎหมายค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าเราดูทัศนคติก็ดี หรือตัวรายงานก็ดี จะพบว่า
คอป. อาจไม่ใช่นักกฎหมายที่รับใช้รัฐประหารโดยตรง
แต่ปัจจุบันก็มีการตั้งคำถามกันว่า
คอป.รับใช้รัฐบาลที่เป็นผลพวงของรัฐประหารหรือไม่
“คอป.อาจถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คณะกรรมการแอบอ้างความเป็นกลางเพื่อรับรองความชอบธรรมให้กับการปราบปรามประชาชน” สาวตรีกล่าว
สาว
ตรีกล่าวต่อว่า หลังอ่านรายงานอย่างละเอียดจะพบประเด็นปัญหาคือ 1)
ที่มาของ คอป.ที่มีการแต่งตั้งและคัดเลือกในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ซึ่งเป็นฝ่ายที่ปราบปรามประชาชน
ลักษณะของความเป็นกลางจึงถูกตั้งคำถามแต่แรก 2)
ปัญหาการอ้างอิงแหล่งข้อมูล
จะเห็นว่ามีการเทน้ำหนักพยานหลักฐานไปที่ฝ่ายรัฐ
เต็มไปด้วยคำให้การของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการ แต่ในส่วนของชาวบ้าน
ผู้เห็นเหตุการณ์มีน้อยมาก 3) ในรายงานราว 300 หน้า
กว่าครึ่งพยายามอธิบายปัญหาที่
คอป.มองว่าก่อให้เกิดความไม่ปรองดองหรือความขัดแย้งยืดเยื้อ
ซึ่งเราจะพบปัญหาในการมองปัญหา เช่น
คอป.สรุปปัญญาคดีหลายคดีในศาลรัฐธรรมนูญว่าศาลทำหน้าที่ไม่เป็นกลาง
แต่รายละเอียดมีแค่คดีซุกหุ้นเท่านั้น คดีอื่นๆ ไม่มีรายละเอียดเลย ,
ในการพูดถึงปัญหาเรื่องการชุมนุมปิดสถานที่ต่างๆ
เปรียบเทียบระหว่างฝ่ายเสื้อเหลืองและเสื้อแดงแดง
สิ่งที่เกิดขึ้นคือผลพวงจากการปิดสนามบินไม่มีปรากฏ
แต่เน้นเรื่องการปิดสถานที่ต่างๆ ของคนเสื้อแดง รวมถึงผลพวงของมัน
นี่คือลักษณะที่แสดงทัศนะออกมา , คอป.พูดถึงปัญหาผังล้มเจ้า โดยบอกว่า ศอฉ.
แสดงชัดเจนว่ามีผังล้มเจ้า แต่คอป.ไม่ระบุเลยว่าในที่สุด
ศอฉ.ประกาศว่าไม่มีหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้น ,
คอป.ยกเรื่องการอ้างสถาบันของฝายต่างๆ ทำให้เกิดปัญหายืดเยื้อ
พร้อมเสนอว่าควรหยุดอ้างได้แล้ว
แต่ในรายงานไม่เคยมีการวิเคราะห์ให้เห็นบทบาทของสถาบันเองนับแต่การรัฐ
ประหารเป็นต้นมา และไม่มีการยกว่าเหตุการณ์อะไรที่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด
สาว
ตรีกล่าวต่อว่า
ปัญหาสำคัญสำหรับคอป.คือการคอรัปชั่นของนักการเมืองซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคน
ทราบดี แต่สถาบันศาล สถาบันทหาร
องค์กรอิสระก็มีปัญหาเรื่องคอรัปชั่นเช่นกัน
แม้กระทั่งองคมนตรีเองก็เคยถูกต้องคำถามจากประชาชน
คอป.จำเป็นต้องวิเคราะห์เรื่องเหล่านี้ด้วย
ประเด็นเรื่อง ชายชุดดำ
สาวตรีกล่าวว่า ในทางกฎหมาย ทุกวันนี้ ศาล อัยการ พนักงานสอบสวน
ไม่สามารถชี้ได้ว่าชายชุดดำเป็นฝ่ายใคร มีจำนวนเพียงไร แต่ในรายงาน คอป.
มีการเขียนถึงเรื่องนี้เยอะ
และพยายามเขียนอย่างมากว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนเสื้อแดง ผู้ชุมนุม
และเขีนเกริ่นๆ สรุปแตะๆ ให้คิดต่อเอาเองว่า
เหตุที่เจ้าพนักงานต้องยิงเพราะมีชายชุดดำอยู่ในที่ชุมนุม
ลักษณะแบบนี้นำไปสู่การตัดสินว่า ชายชุดดำแท้ที่จริงคือคนเสื้อแดง
เจ้าพนักงานยิงเพราะเป็นการตอบโต้ ถามว่าในฐานะมีนักกฎหมายร่วมอยู่หลายคน
คอป.สรุปแบบนี้ได้อย่างไร
“เรื่องพยานหลักฐานนั้นก็สำคัญมากสำหรับ
นักกฎหมาย การสลายการชุมนุมเต็มไปด้วยพยานหลักฐานในสถานที่การชุมนุม
สิ่งที่เกิดหลังการสลายการชุมนุมคือ บิ๊กคลีนนิ่งเดย์
มีการล้างทำความสะอาดพยานหลักฐานทั้งหมด แต่เรื่องนี้ คอป.ไม่พูดถึงเลย”
สาวตรีกล่าว
เธอกล่าวด้วยว่า ข้อเสนอของ คอป.ที่สำคัญ คือ 1)
อยากให้ปสู่การปรองดองด้วยการยุติพฤติกรรมเสี่ยงที่จะเกิดความขัดแย้งทั้ง
หมดทั้งปวง ในรายงานพูดถึงความขัดแย้งคือการชุมนุม
นี่เป็นนัยยะแฝงที่คอป.ต้องการบอก คำถามคือ การเสนอแบบนี้ ไม่แก้ปัญหาเลย
ตราบใดที่ปัญหาในเชิงโครงสร้างยังอยู่ สิทธิของชาวบ้านยังแย่เหมือนเดิม
จะมาเรียกร้องให้ชาวบ้านหยุดเรียกร้องได้อย่างไร
ประเด็นต่อมาคือ
ยุติการอ้างสถาบัน (หน้า 256) คอป.เห็นว่าข้อเสนอที่ผ่านมาเกี่ยวกับสถาบัน
ยังไม่ได้รับการปฏิบัติตาม โดยเฉพาะนักการเมือง และกลุ่มการเมืองต่างๆ
ที่ยังคงพาดพิงสถาบัน เอามาเป็นประเด็นทางการเมือง
ขอให้ตระหนักว่าการกล่าวอ้างสถาบันยิ่งทำให้สถาบันอันตรายมากขึ้นและกระทบ
ต่อความมั่นคงของประเทศ ขอเน้นย้ำให้ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของคอป.
ทุกฝ่ายต้องงดการกล่าวอ้างถึงสถาบันเพื่อประโยชน์ทางการเมือง
และกำหนดแนวทางที่มีผลในการเทิดทูนสถาบันให้อยู่เหนือความขัดแย้งทางการ
เมือง ...จะเห็นว่านี่เป็นการแฝงเอาแนวคิดราชาชาตินิยมมาปิดปาก ประชาชน
ปัญหาเกี่ยวกับสถาบันที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาความเข้าใจที่แตกต่าง
ความเชื่อที่แตกต่างกัน
ในเฟซบุ๊คมีการแชร์ภาพคุณยายที่ถือป้ายตั้งคำถามว่าผิดด้วยหรือที่รักในหลวง
คำตอบคือ ไม่ผิด แต่การแสดงความรักโดยการกระทืบคนอื่น
นั่นเป็นสิ่งผิดและเป็นการดึงสถาบันลงมา
บางคนอาจอยากถามว่าแล้วจะผิดอะไรหากมีบางคนไม่ได้คิดแบบคุณยาย
จะสามารถสร้างบทสนทนากันดีๆ ได้หรือไม่
“การแก้ปัญหาในประเด็นนี้ไม่
ใช่ให้ยุติการพูด แต่ต้องยิ่งพูดเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกัน
และลดการเคลือบแคลงต่างๆ ยิ่งให้ยุติยิ่งทำให้เกิดการพูดกันลับหลัง
ติฉินนินทา” สาวตรีกล่าว
ส่วนประเด็นเรื่อง 112
คอ.เสนอสองส่วนในการแก้ไขมาตรานี้ คือ ให้ลดโทษลง เหลือจำคุกไม่เกิน 7 ปี
ซึ่งนิติราษฎร์ยังถือว่าเยอะอยู่ และตั้งองค์กรพิเศษในการกลั่นกรองคดี คือ
สำนักพระราชวัง เรื่องนี้นิติราษฎร์เสนอไปแล้ว 7 ข้อ
และยังยืนยันว่าอย่างน้อยต้องแก้ทั้ง 7
ข้อดังกล่าวเพื่อให้มีการแสดงออกโดยสุจริตได้ อย่างไรก็ตาม แม้
คอป.เสนอเพียงเท่านี้ แต่ถ้าทำให้เรื่องนี้ขยับไปได้อีกเล็กน้อยก็ควรทำ