WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, October 2, 2012

"ราชบัณฑิต" แจง ยังไม่มีมติแก้วิธีเขียนคำยืมภาษาอังกฤษ-อยู่ระหว่างสำรวจ

ที่มา ประชาไท

 
ราชบัณฑิตยสถานแจงยังไม่มีมติให้แก้ไขรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษา อังกฤษตามที่เป็นข่าว เผยอยู่ระหว่างสำรวจความเห็น โดยจะนำเสนอผลในการประชุมสภาราชบัณฑิต 12 ธ.ค.นี้
กรณี กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต และนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย เสนอให้เปลี่ยนแปลงการเขียนคำที่ยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ 176 คำ โดยเติมวรรณยุกต์เสียงเอก โท หรือตรี รวมทั้ง ไม้ไต่คู้ ให้ตรงตามอักขรวิธีไทย ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในขณะนี้
ล่าสุด  (1 ต.ค.55) เพจ "ราชบัณฑิตยสถาน" เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ ชี้แจงว่า ไม่มีการแก้ไขคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ที่กำลังดำเนินการจัดพิมพ์ รวมทั้งยังไม่มีมติให้แก้ไขรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษตามที่เป็นข่าว แต่อย่างใด
โดยนางสาวกนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า ตามที่ได้มีประชาชนจำนวนมากแสดงความห่วงใยเรื่องรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษา อังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ผ่านสื่อต่างๆ นั้น ราชบัณฑิตยสถานขอขอบคุณและขอชี้แจงว่า ราชบัณฑิตยสถานได้ถือหลักการเขียนคำในภาษาต่างประเทศ ตามพระดำริของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน ว่า การเขียนคำในภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษออกเสียงไม่แน่นอน จะออกเสียงอย่างไรย่อมแล้วแต่ประโยค เสียงจะสูงต่ำก็แล้วแต่ตำแหน่งของคำในประโยค จึงทรงเห็นว่าไม่ควรใช้วรรณยุกต์กำกับตามเหตุผลดังกล่าว
เลขาธิการราชบัณฑิตยสถานกล่าวต่อไปว่า ในปัจจุบันราชบัณฑิตยสถานมีราชบัณฑิตสาขาวิชาต่างๆ 84 คน ภาคีสมาชิกสาขาวิชาต่างๆ 80 คน และมีคณะกรรมการวิชาการในสาขาวิชาการต่างๆ กว่า 90 คณะ ซึ่งอาจเสนอความเห็นทางด้านวิชาการให้ราชบัณฑิตยสถานพิจารณาได้ และศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ในฐานะราชบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย ได้เสนอขอให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษ โดยแนะให้ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ หรือใช้อักษรสูง หรือใช้ ห นำในคำที่ไม่สามารถผันวรรณยุกต์ได้ ราชบัณฑิตยสถานจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดแนวทางการเขียนคำที่มา จากต่างประเทศ เพื่อพิจารณาเรื่องที่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล เสนอ
คณะกรรมการฯ ได้มีมติให้ออกแบบสอบถามตามข้อเสนอของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล โดยสอบถาม ราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก และกรรมการวิชาการของราชบัณฑิตยสถาน เพื่อรับฟังความคิดเห็นเฉพาะภายในองค์กรเป็นเบื้องต้นให้แล้วเสร็จภายในวัน ที่ 31 ต.ค. และจะเสนอผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวต่อสภาราชบัณฑิต ในการประชุม วันที่ 12 ธ.ค.นี้
“ผลการรับฟังความคิดเห็นเฉพาะภายในองค์กรของราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับหลัก การเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะมีผลเป็นประการใด เป็นเพียงความเห็นส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ข้อยุติ การแก้ไขคำยืมจากภาษาอังกฤษซึ่งใช้ในทางราชการ ทางการศึกษา มาเป็นเวลานาน หากมีการเปลี่ยนแปลง ย่อมมีผลกระทบสำคัญต่อการใช้ภาษาไทยของหน่วยงานราชการ นักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไป ดังนั้น จึงต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและบุคคลดังกล่าวก่อน ตามหลักการพื้นฐานที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อนที่จะพิจารณาดำเนินการไปในทางใดทางหนึ่ง และพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ที่ขณะนี้กำลังดำเนินการจัดพิมพ์นั้น ไม่ได้แก้ไขรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษตามที่เป็นข่าว ส่วนความคิดเห็นของประชาชนที่ปรากฏในสื่อต่างๆ ราชบัณฑิตยสถานจะรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป” เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมีข่าวข้อเสนอดังกล่าว มีผู้เข้าไปแสดงความเห็นในกระดานสนทนาของเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถานจำนวนมาก  โดยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว



คำศัพท์ที่อยู่ในแบบสำรวจ เพื่อขอความเห็นในการเปลี่ยนแปลงการเขียนใหม่ ดังนี้
1.คำที่ใส่เครื่องหมายไม้ไต่คู้เพื่อแสดงสระเสียงสั้น ได้แก่ ซีเมนต์ เปลี่ยนเป็น ซีเม็นต์, เซต-เซ็ต, เซนติกรัม-เซ็นติกรัม, เซนติเกรด-เซ็นติเกรด, เซนติลิตร-เซ็นติลิตร, ไดเรกตริกซ์-ไดเร็กตริก, เทนนิส-เท็นนิส, นอต-น็อต, นิวตรอน-นิวตร็อน, เนตบอล-เน็ตบอล, เนปจูน-เน็ปจูน, เบนซิน-เบ็นซิน, แบคทีเรีย-แบ็คทีเรีย, มะฮอกกานี-มะฮ็อกกานี, เมตริก-เม็ตตริก, เมตริกตัน- เม็ตริกตัน, แมงกานิน-แม็งกานิน, อิเล็ก ตรอน-อิเล็กตร็อน, เฮกโตกรัม-เฮ็กโตกรัม, เฮกโตลิตร-เฮ็กโตลิตร
2.คำที่เปลี่ยนตัวพยัญชนะเป็นอักษรสูง ได้แก่ คอร์ด-ขอร์ด, แคโทด-แคโถด, ซัลเฟต-ซัลเฝต, ไทเทรต-ไทเถรต, ไนต์คลับ-ไน้ต์ขลับ, พาร์เซก-พาร์เส็ก, แฟลต-แฝล็ต, สเปกโทร สโกป-สเป็กโทรสโขป, ไอโซโทป-ไอโซโถป
3.คำที่ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์เอก ได้แก่ กอริลลา-กอริลล่า, แกโดลิเนียม-แกโดลิ เนี่ยม, แกมมา-แกมม่า, แกลเลียม-แกลเลี่ยม, คูเรียม-คูเรี่ยม, แคดเมียม-แคดเมี่ยม, แคลเซียม-แคลเซี่ยม, แคลอรี-แคลอรี่, โครเมียม-โครเมี่ยม, ซิงโคนา-ซิงโคน่า, ซิลิคอน-ซิลิค่อน, ซีเซียม-ซีเซี่ยม, ซีนอน-ซีน่อน, ซีเรียม-ซีเรี่ยม, โซลา-โซล่า, ดอลลาร์-ดอลล่าร์, เทคโนโลยี-เท็คโนโลยี่, แทนทาลัม-แทนทาลั่ม, ไทเทเนียม-ไทเท เนี่ยม, เนบิวลา-เนบิวล่า, ไนลอน-ไนล่อน, แบเรียม-แบเรี่ยม, ปริซึม-ปริซึ่ม, ปิโตรเลียม-ปิโตรเลี่ยม, แพลทินัม-แพลทินั่ม, ฟังก์ชัน-ฟังก์ชั่น, ฟาทอม-ฟาท่อม, ไมครอน-ไมคร่อน, ยิปซัม-ยิปซั่ม, ยูเรเนียม-ยูเรเนี่ยม, เลเซอร์-เลเซ่อร์, วอลเลย์บอล-วอลเล่ย์บอล, อะลูมิเนียม-อะลูมิเนี่ยม, อีเทอร์-อีเท่อร์, เอเคอร์-เอเค่อร์, แอลฟา-แอลฟ่า, ฮาห์เนียม-ฮาห์เนี่ยม, ฮีเลียม-ฮีเลี่ยม
4.คำที่ใส่ ห นำเพื่อแสดงเสียงวรรณยุกต์เอก ได้แก่ กะรัต-กะหรัต, แกรนิต-แกรหนิต, คลินิก-คลิหนิก, คาทอลิก-คาทอหลิก, คาร์บอเนต-คาร์บอเหนต, คาร์บอลิก-คาร์บอหลิก, โคออร์ดิเนต-โคออร์ดิเหนต, รูเล็ตต์- รูเหล็ตต์,
5.คำที่เติมเครื่องหมายวรรณยุกต์โท ได้แก่ กลูโคส-กลูโค้ส, กิโลไซเกิล-กิโลไซเกิ้ล, กิโลเมตร-กิโลเม้ตร, กิโลเฮิรตซ์-กิโลเฮิ้รตซ์, กีตาร์-กีต้าร์, แกรไฟต์-แกรไฟ้ต์, คาร์บอน-คาร์บ้อน, คาร์บูเรเตอร์-คาร์บูเรเต้อร์, เคเบิล-เคเบิ้ล, โควตา-โควต้า, ชอล์ก-ช้อล์ก, ซอส-ซ้อส, โซเดียม-โซเดี้ยม, ไดนาไมต์-ไดนาไม้ต์, แทนเจนต์-แทนเจ้นต์, แทรกเตอร์-แทรกเต้อร์, นิกเกิล-นิกเกิ้ล, ไนต์คลับ-ไน้ต์ขลับ, ไนโตรเจน-ไนโตรเจ้น, บารอมิเตอร์-บารอมิเต้อร์, บีตา-บีต้า, ปาทังกา-ปาทังก้า, ปาร์เกต์-ปาร์เก้ต์, พลาสติก-พล้าสติก, ฟาสซิสต์- ฟ้าสซิสต์, มอเตอร์-มอเต้อร์, เมตร-เม้ตร, ไมกา-ไมก้า, ยีราฟ-ยีร้าฟ, เรดอน-เรด้อน, เรดาร์-เรด้าร์, เรเดียม-เรเดี้ยม, ลิกไนต์- ลิกไน้ต์, แวนดา-แวนด้า, อาร์กอน-อาร์ก้อน, แอนติบอดี-แอนติบอดี้, เฮิรตซ์-เฮิ้รตซ์, ไฮดรา-ไฮดร้า, ไฮโดรเจน-ไฮโดรเจ้น
6.คำที่เติมเครื่องหมายวรรณยุกต์ตรี ได้แก่ กราฟ-กร๊าฟ, ก๊อซ-ก๊อซ, กอล์ฟ-ก๊อล์ฟ, เกาต์-เก๊าต์, ออกไซด์-อ๊อกไซด์, โคบอลต์- โคบ๊อลต์, ดราฟต์-ดร๊าฟต์, ดัตช์-ดั๊ตช์, ดิสโพรเซียม-ดิ๊สโพรเซี่ยม, เดกซ์โทรส-เด๊ก โทรัส, เต็นท์-เต๊นท์, บาสเกตบอล-บ๊าสเก้ต บอล, บิสมัท-บิ๊สมั้ท, แบงก์-แบ๊งก์, โบต-โบ๊ต, ปลาสเตอร์-ปล๊าสเต้อร์, ปิกนิก-ปิ๊กหนิก, ออกซิเจน-อ๊อกซิเย่น, ออกซิเดชัน-อ๊อก ซิเดชั่น, ออกไซด์-อ๊อกไซด์, อาร์ต-อ๊าร์ต, เอกซเรย์-เอ๊กซเรย์, แอสไพริน-แอ๊สไพริน, แอสฟัลต์-แอ๊สฟัลต์, โอ๊ด-โอ๊ต
และ 7.คำที่มีหลายพยางค์ ได้แก่ คอนเดนเซอร์-ค็อนเด็นเซ่อร์, คอนแวนต์-ค็อนแว็นต์, คอนเสิร์ต-ค็อนเสิร์ต, คอมพิวเตอร์-ค็อมพิ้วเต้อร์, คอมมานโด-ค็อมมานโด, คอมมิวนิสต์-ค็อมมิวนิสต์, คูปอง- คูป็อง, เครดิตฟองซิเอร์-เครดิตฟ็องซิเอร์, แคดเมียม-แค็ดเมี่ยม, แคปซูล-แค็ปซูล, แคลเซียมไซคลาเมต-แคลเซี่ยมไซคลาเมต, ช็อกโกเลต/ ช็อกโกแลต-ช็อกโกแล็ต, เซนติเมตร-เซ็นติเม้ตร, โซเดียมคาร์บอเนต-โซเดี้ยมคาร์บอเหนต, โซเดียมไซคลาเมต-โซเดี้ยมไซคลาเหมต, โซเดียมไฮโดรเจนกลูทาเมต-โซเดี้ยมไฮโดรเจ้นกลูตาเหมต, โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต-โซเดี้ยมไฮโดร เจ้นคาร์บอเหนต, ดีเปรสชัน-ดีเปร๊สชั่น, เทคโนโลยี-เท็คโนโลยี่, แทรกเตอร์-แทร็ก เต้อร์, แบดมินตัน-แบ็ดมินตั้น, แบตเตอรี่-แบ็ตเตอรี่, พลาสมา-พล้าสม่า, โพแทสเซียม-โพแท้สเซี่ยม, เมนทอล-เม็นท่อล, แมงกานีส-แม็งกานี้ส, แมกนีเซียม-แม็กนีเซี่ยม, รีดักชัน-รีดั๊กชั่น, ลอการิทึม-ล็อกการิทึ่ม, สเปกตรัม-สเป๊กตรั้ม, สเปกโทรสโกป-สเป็กโตรสโขป, ออกซิเดชัน-อ๊อกซิเดชั่น, อัลตราไวโอเลต-อัลตร้าไวโอเหล็ต, แอกทิเนียม-แอ๊กทิเนี่ยม, แอนติอิเล็ก ตรอน-แอ็นติอิเล็กตร็อน, เฮกตาร์-เฮ็กต้าร์ และเฮกโตเมตร- เฮ็กโตเม้ตร


ที่มา: เพจราชบัณฑิตยสถาน 1, 2