ที่มา Thai E-News
นายกรัฐมนตรีกล่าวถ้อยแถลงชูประเด็นสันติภาพและความมั่นคง
ย้ำต้องไม่ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาข้อพิพาท
ความมั่นคงต้องยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
การพัฒนาทั้งเศรษฐกิจและการเมืองต้องครอบคลุมและทั่วถึงทั้งระดับประเทศ
ภูมิภาค และระหว่างประเทศ
วันที่ 28
กันยายน เวลา 19.00 น. ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 67
ในประเด็นเกี่ยวกับความมั่นคง สันติภาพ และการพัฒนาของโลก สรุปดังนี้
นายกรัฐมนตรี
กล่าวว่า ในช่วงเวลาของความท้าทาย
ต้องฟื้นฟูความเชื่อมั่นและความมั่นคงในระบบเศรษฐกิจและการเงินของโลก
และหาทางแก้ปัญหาระยะยาวของวิกฤติเศรษฐกิจยูโร
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนี้
สะท้อนถึงความพยายามในการส่งเสริมสันติภาพ ความรุ่งเรือง และประชาธิปไตย
รวมทั้ง การส่งเสริมความอดทนอดกลั้น การเคารพซึ่งกันและกัน
และความเข้าใจในสังคม เพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงต่างๆ ทั้งนี้
เพื่อให้เกิดความมั่นคงและสันติภาพอย่างยั่งยืน
จะต้องแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหาที่ทันสมัย และการคิดแบบใหม่ รวมทั้ง
การเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง ความตั้งใจจริงทางการเมือง และธรรมาภิบาล
ข้อพิพาทต่างๆ จะต้องแก้ปัญหาด้วยแนวทางสันติ ที่สำคัญไปกว่านั้น
จะต้องคิดถึงการปฏิบัติเชิงป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดข้อพิพาทตั้งแต่ต้น
ที่สำคัญที่สุด จะต้องพิจารณาถึงการพัฒนาและสันติภาพที่ครอบคลุมและทั่วถึง
ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เพราะสันติภา ความมั่นคง
และการพัฒนานั้นเชื่อมโยงกัน
การพัฒนาทาง
เศรษฐกิจจะต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาทางการเมือง ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญ
ได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศอย่างทั่วถึง
การพัฒนาระดับภูมิภาคที่ทั่วถึงเพื่อการเติบโต
และการพัฒนาที่ต่อเนื่องและทั่วถึงในระดับระหว่างประเทศ เพราะ
ประชาคมระหว่างประเทศ ถือเป็นวาระการพัฒนาต่อจากปี 2558ในยุคโลกาภิวัตน์ แนวคิดเรื่องความมั่นคง ไม่สามารถทำได้เพียงอย่างเดียวแต่ต้องควบคู่ไปกับการพัฒนา
เราไม่สามารถ
แสวงหาสันติภาพผ่านความมั่นคงและเสถียรภาพขั้นพื้นฐานเท่านั้น ดังนั้น
จึงต้องมีการทำงานร่วมกันกับพันธมิตรในแต่ละภูมิภาคเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ
ในการพัฒนาสู่เป้าหมายดังกล่าว ซึ่งประเทศไทยเชื่อว่า
สันติภาพของเพื่อนบ้าน คือ ของเราเช่นกัน
ดังนั้นประเทศ
ไทยจึงให้การสนับสนุนเมียนมาร์อย่างเต็มที่
ในช่วงแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย
เราต้องร่วมมือกันในฐานะพันธมิตรเพื่อช่วยให้เมียนมาร์สามารถเดินหน้ากระบวน
การเปลี่ยนแปลงนี้ได้ต่อไป
ซึ่งในที่สุดทุกคนจะได้ประโยชน์จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจและจากการรวมตัว
กัน
เราทุกคนอยู่
ท่ามกลางโลกที่มีการเชื่อมต่อระหว่างกันมากขึ้น
ในขณะที่ประชาชนต้องเผชิญความไม่มั่นคงจากความท้าทายข้ามเขตแดน
ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นว่า ปัจจุบัน
แนวคิดเรื่องความมั่นคงต้องเน้นที่ประชาชนเป็นศูนย์กลาง
และขณะเดียวกันความท้าทายต่างๆเหล่านี้ ต้องถูกบรรจุอยู่ในวาระแห่งชาติ
โดยประชาคมโลกต้องร่วมกันต่อสู้อาชญากรรมข้ามชาติ
ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความเชื่อมโยงระหว่างกันในโลก
นายกรัฐมนตรี
เห็นว่า รูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการหยามเกียรติของมนุษย์ คือ
การค้ามนุษย์ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญเป็นสูงสุด
และเรายึดมั่นที่จะกำจัดให้หมดไป เพราะ ทั้งการค้ามนุษย์
และอาชญากรรมข้ามชาติ ส่งผลต่อหลักประกันของความเป็นนิติรัฐ
และสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะบุคคลที่ด้อยโอกาส เด็ก ผู้สูงวัย
และคนพิการ
แต่ความท้าทาย
เหล่านี้ ไม่อาจสำเร็จได้โดยรัฐบาลแต่ลำพัง เราต้องทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน
ด้วยส่งเสริมค่านิยมและมาตรฐานระดับสากล ผ่านองค์การสหประชาชาติ
เพื่อร่วมกันเสริมสร้างหลักนิติรัฐ
ให้เป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งที่นำไปสู่สันติภาพ ความมั่นคงของโลก
หลักสิทธิมนุษยชน และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เราต้องร่วมกันยึดมั่นต่อหลักสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศและใน
ระดับโลก โดยต้องเริ่มที่บ้านของเราก่อน
ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยการสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงและกระบวนการปรองดองใน
ชาติ ที่สำคัญคือ
เราต้องทำงานร่วมกันแบบหุ้นส่วนในฐานะสมาชิกในประชาคมโลกที่มีความรับผิดชอบ
ทำงานร่วมกันผ่านสหประชาชาติ เพื่อเข้าถึงผู้ที่ด้อยสิทธิทางกฎหมาย
และปราศจากแรงบันดาลใจ
โดยรัฐบาลไทย
หวังให้ ข้อพิพาทต่างๆ ในประชาคมโลก
มีทางออกโดยสันติวิธีและไม่ใช่ความรุนแรง
ทั้งความขัดแย้งระหว่างอิสลาเอลและปาเลสไตน์
รวมถึงสถานการณ์ในตะวันออกกลาง
ซึ่งเราห่วงกังวลต่อผลกระทบทางมนุษยธรรมจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับ
ประชาชน
โดยไทยขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหาทางออกโดยช่องทางที่มีอยู่เพื่อแก้ปัญหาความ
ขัดแย้งทางการเมือง ที่ประชาชนได้รับประโยชน์
การค้นหา
สันติภาพและความมั่นคง จำเป็นต้องมองภาพใหญ่
ไม่เพียงแต่ในขอบเขตประเทศของตน ทั้งนี้
ประเทศไทยยืนยันต่อความยึดมั่นในภารกิจการรักษาสันติภาพ
ไม่ว่าจะเป็นในติมอเลสเต ฮิติ ดาร์ฟู อ่าวเอเดน
ซึ่งนอกจากการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
ประเทศไทยยังได้เข้าไปช่วยเรื่องการพัฒนาในท้องถิ่นและชุมชนที่เรามีความ
ถนัด ไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตร สาธารณสุข และการบริหารจัดการน้ำ
โดยประเทศไทยยึด
มั่นต่อการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกผ่าน 3 เสาหลักของสหประชาชาติ ได้แก่
ด้านสันติภาพและความมั่นคง การพัฒนา และสิทธิมนุษยชน
โดยการบริหารจัดการในประเด็นที่มีความเชื่อมโยงจะช่วยนำไปสู่แนวทางการแก้
ปัญหาในระยะยาว ไม่เพียงแต่
เป็นทางออกสำหรับความขัดแย้งผ่านกระบวนการสันติวิธีและยังสำหรับป้องกันความ
ขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีได้ยืนยันว่า
ประเทศไทยจะคงยึดมั่นต่อการเป็นสมาชิกที่แข็งขันของสหประชาชาติ
และพร้อมที่จะช่วยบรรเทาความท้าทายต่อมนุษยชาติต่อไป