ที่มา มติชนออนไลน์
เงินจำนวน 250 ล้านบาทมีเอกสาร"ลับ"ที่ระบุว่า การนำเงินเข้าบัญชีญาติพี่น้องของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์อย่างน้อย 5 คนเป็นเงินนับสิบล้านบาท
เงินจำนวน 250 ล้านบาท ที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตยและเจ้าของบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด(มหาชน)ยอมรับว่า จ่ายให้แก่บริษัทเมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด เพื่อเป็นค่าจ้างโฆษณา อาจทำให้แกนนำพรรคประชาธิปัตย์บางคนต้องตกอยู่ในฐานะลำบาก เพราะเอกสาร"ลับ"แกะรอยเส้นทางเงินดังกล่าวบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า มีการนำเงินเข้าบัญชีญาติพี่น้องของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์อย่างน้อย 5 คนเป็นเงินนับสิบล้านบาท
ก่อนหน้านี้ พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันท์ โฆษกดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกมายอมรับว่า กำลังตรวจสอบเส้นทางเงินจำนวน 250 ล้านบาท จากบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด เนื่องจากเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2551 มีผู้ร้องเรียนว่า การนำเงินออกจากบริษัท ทีพีไอโพลีนดังกล่าวเป็นการกระทำความ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535เพราะเป็นการกล่าวหาว่า "ไซฟ่อน"หรือ"ยักยอกเงิน"จากบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ขณะที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์เองอ้างว่าในช่วงปี 2547-2548 มีการจ่ายเงิน 250 ล้าน เพื่อใช้ในการค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ จากการตรวจสอบข้อมูลบริษัทเมซไซอะะฯจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า บริษัทถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2551
อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบงบการเงินพบว่า มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดคือ
ในปี 2547 ซึ่งเป็นปีแรกที่พบว่า อ้างว่ามีการว่าจ้างบริษัททำโฆษณาทำให้มีรายได้รวมถึง 152,190,943.83 บาท
ขณะที่ปี 2546 มีรายได้ 8,242,627.60บาท ปี 2545 มีรายได้ 6,513,795.54 ปี 2544 มีรายได้ 9,315,128.88 และปี 2543 มีรายได้เพียง 5,220,999.10 บาท
จากข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ทำให้การไหลเวียนของเงิน 250 ล้านบาท น่าสงสัยมากพออยู่แล้ว
ยิ่งเมื่อพรรคเพื่อไทยพยายามลากโยงว่า เงินจำนวนดังกล่าวไหลเข้าพรรคประชาธิปัตย์ทำให้ผู้ฟังหูผึ่งขึ้นมาทันที
ก่อนหน้านี้นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)หรือกลุ่มคนเสื้อแดงออกเปิดโปงว่า เงินดังกล่าวไหลผ่านบริษัทเมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด มี มีนายประจวบ สังขาว เป็นผู้บริหาร และมีชื่อของ น.ส.สุพัชรี ธรรมเพชร ส.ส.พัทลุง ลูกสาวนายสุพัฒน์ ธรรมเพชร อดีต ส.ส.พัทลุง หลายสมัย และนายไทกร พลสุวรรณ แกนนำอีสานกู้ชาติเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท
จากการตรวจข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า บริษัทดังกล่าวมี นายประจวบ สังขาว น.ส.วลัยลักษณ์ ประสงค์ และนายปณิธิ ศิริเขต เป็นกรรมการ
มีผู้ถือหุ้น 7 คน ได้แก่ 1.นายประจวบ สังขาว (80,000 หุ้น) 2.น.ส.วลัยลักษณ์ ประสงค์ (10,000 หุ้น) 3.น.ส.ฐิติพร อยู่ไว (9,960 หุ้น) 4.น.ส.กรุณา คอนแหยม (10 หุ้น) 5.น.ส.เบญจวรรณ คอนแหยม (10 หุ้น) 6.นายปรีดี คอนแหยม (10 หุ้น) และ 7.น.ส.วิสุดา มีสุโข (10 หุ้น)
ขณะที่สุนัย จุลพงศธรส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย เคยแฉกลางสภามาเแล้ว เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2551ในช่วงที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี โดยนำเอกสารเป็นการนำเข้าบัญชีบุคคลต่างๆที่อ้างว่า เป็นส่วนหนึ่งของเงิน 250 ล้านบาทมาเปิดเผย แต่ขณะนั้นไม่ได้รับความสนใจมากนักเพราะเหมือนฝ่ายรัฐบาลอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายค้าน
จนกระทั่งพรรคประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล มีนายอภิสิทธฺ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อมี ส.ส.พรรคเพื่อไทยนำเรื่องดังกล่าวมาขู่อภิปรายไม่ไว้างใจรัฐบาลผนวกกับกระแสข่าวย้าย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีดีเอสไอซึ่งเป็นผู้กุมข้อมูลเรื่องนี้อยู่
ปมเงิน 250 ล้านบาทจึงกลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาอีกครึ่งหนึ่ง
จากเอกสารที่พรรคเพื่อไทยนำมากล่าวหานั้น อ้างว่า เป็นสำเนาหลักฐานการโอนเงินออกจากบริษัทเมซไซอะฯ ไปยังบุคคลต่างๆหลายคนผ่าน 3 ธนาคารใหญ่คือ กสิกรไทย กรุงเทพ และกรุงไทย สาขารังสิต นับตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2547 จนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548 ไปยังสาขาปลายทางของ 3 ธนาคารใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานคร 64 ครั้ง และสาขาใน จ.สงขลาอีก 11 ครั้ง รวมแล้ว 75 ครั้ง
การโอนเงินแต่ละครั้งส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับ 1.8-1.9 ล้านบาทเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)ตรวจสอบเพราะ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกำหนดว่า ถ้าธุรกรรม 2 ล้านบาทขึ้นไปธนาคารต้องรายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงาน ป.ป.ง
อย่างไรก็ตามมีไม่ต่ำกว่า 8 ครั้งที่การโอนเงินอยู่ในระดับ 3.6 ล้านบาท บางครั้งสูงถึง 10 ล้านบาท
จากเอกสารระบุว่าบุคคลชื่อ"ประจวบ"เป็นผู้นำเงินฝากผ่านบัญชีถึง 68 ครั้งจาก 75 ครั้ง คำถามคือ เป็นคนเดียวกับนายประจวบ สังขาว กรรมการบริษัท เมซไวอะะฯหรือไม่
ส่วนผู้นำเงินเข้าบัญชีคนอื่นได้แก่ ประมูล หอมหวล ณัฐพล จิรวิสุทธิกุล มานพ นาสุวรรณ
สำหรับผู้ที่รับเงินปลายทาง เอกสารของพรรคเพื่อไทยอ้างว่า แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆคือ
หนึ่ง กลุ่มคนใกล้ชิดของนายประจวบ เช่น นายณัฐพล จิรวิสุทธิกุล, นายประมูล,นายสวัสดิ์ สังขาว, นายปัญญา ประสงค์ ฯลฯรวมแล้วหลายสิบล้านบาทและเป็นเงินส่วนใหญ่
สอง กลุ่มใกล้ชิด ส.ส.แบบสัดส่วนทางภาคใต้ของพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคในช่วงที่มีการโอนเงิน เช่น นางมาลีน้องสาว ส.ส. รับไป 10 ล้านบาท นายนูญ เป็นข้าราชการครู แต่ ใกล้ชิด ส.ส. รับไป 3.6 ล้านบาทเศษ นายจักรริน ถือหุ้นบริษัทเดียวกับ ส.ส. 3.1 ล้านบาท
สาม กลุ่มใกล้ชิด ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์รายหนึ่ง(ใกล้ชิดกับ ส.ส.แบบสัดส่วน) ได้แก่ อาภาพร น้องสาว ส.ส. รับไป 3.6 ล้านบาท สมศักดิ์ ญาติ ส.ส.เจ้าของแพปลา รับไป 1.8 ล้านบาท นายอัฎฐกร พระธาตุ รับไป 3.6 ล้านบาท
นายอัฎฐกร พระธาตุ กล่าวกับ"มติชนออนไลน์"ว่า เจ้าหน้าที่ดีเอสไอได้มาสอบปากคำตนไปแล้ว ช่วงขณะที่ได้รับเงินโอนนั้นทำงานอยู่กับ"น้าอู๊ด" หรือ"สมศักดิ์"ซึ่งเป็นเจ้าของแพปลา เมื่อได้รับเงินก็นำไปให้นายสมศักดิ์ต่อ แต่ไม่ทราบว่านายสมศักดิไปใช้ทำอะไร
ประเด็นสำคัญในเรื่องนี้ นอกจากมีเงินส่วนหนึ่งไหลเข้าบัญชีญาติพี่น้องของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์แล้ว จะโยงถึงตัวพรรคได้อย่างไร
เพราะเมื่อดูท่าทีของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ไม่เดือดเนื้อร้อนใจอะไรมากนักเพราะช่วงที่มีการโอนเงินเข้ากระเป๋า ส.ส.พรรคนั้นเป็นช่วงก่อนการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2548 ที่มีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นหัวหน้าพรรค นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็นเลขาธิการพรรค นายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ อดีต ส.ส.สงขลา เป็นรองเลขาธิการพรรค
ทั้งนี้เป็นที่รู้กันดีว่า ในขณะนั้นกลุ่มนายบัญญัติและกลุ่มนายสุเทพต่างช่วงชิงอำนาจกันในพรรคกันอย่างดุเดือด
การงัดเรื่องปมเงิน 250 ล้านบาทมาเล่นกันในครั้งนี้ อาจเข้าทางของนายสุเทพ เทือกสุบรรณโดยบังเอิญก็เป็นได้ เว้นแต่มีหลักฐานบางอย่างโยงว่า ผู้บริหารพรรคชุดปัจจุบันมีส่วนเกี่ยวข้องไมาทางใดก็ทางหนึ่ง
เงินจำนวน 250 ล้านบาท ที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตยและเจ้าของบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด(มหาชน)ยอมรับว่า จ่ายให้แก่บริษัทเมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด เพื่อเป็นค่าจ้างโฆษณา อาจทำให้แกนนำพรรคประชาธิปัตย์บางคนต้องตกอยู่ในฐานะลำบาก เพราะเอกสาร"ลับ"แกะรอยเส้นทางเงินดังกล่าวบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า มีการนำเงินเข้าบัญชีญาติพี่น้องของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์อย่างน้อย 5 คนเป็นเงินนับสิบล้านบาท
ก่อนหน้านี้ พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันท์ โฆษกดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกมายอมรับว่า กำลังตรวจสอบเส้นทางเงินจำนวน 250 ล้านบาท จากบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด เนื่องจากเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2551 มีผู้ร้องเรียนว่า การนำเงินออกจากบริษัท ทีพีไอโพลีนดังกล่าวเป็นการกระทำความ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535เพราะเป็นการกล่าวหาว่า "ไซฟ่อน"หรือ"ยักยอกเงิน"จากบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ขณะที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์เองอ้างว่าในช่วงปี 2547-2548 มีการจ่ายเงิน 250 ล้าน เพื่อใช้ในการค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ จากการตรวจสอบข้อมูลบริษัทเมซไซอะะฯจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า บริษัทถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2551
อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบงบการเงินพบว่า มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดคือ
ในปี 2547 ซึ่งเป็นปีแรกที่พบว่า อ้างว่ามีการว่าจ้างบริษัททำโฆษณาทำให้มีรายได้รวมถึง 152,190,943.83 บาท
ขณะที่ปี 2546 มีรายได้ 8,242,627.60บาท ปี 2545 มีรายได้ 6,513,795.54 ปี 2544 มีรายได้ 9,315,128.88 และปี 2543 มีรายได้เพียง 5,220,999.10 บาท
จากข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ทำให้การไหลเวียนของเงิน 250 ล้านบาท น่าสงสัยมากพออยู่แล้ว
ยิ่งเมื่อพรรคเพื่อไทยพยายามลากโยงว่า เงินจำนวนดังกล่าวไหลเข้าพรรคประชาธิปัตย์ทำให้ผู้ฟังหูผึ่งขึ้นมาทันที
ก่อนหน้านี้นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)หรือกลุ่มคนเสื้อแดงออกเปิดโปงว่า เงินดังกล่าวไหลผ่านบริษัทเมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด มี มีนายประจวบ สังขาว เป็นผู้บริหาร และมีชื่อของ น.ส.สุพัชรี ธรรมเพชร ส.ส.พัทลุง ลูกสาวนายสุพัฒน์ ธรรมเพชร อดีต ส.ส.พัทลุง หลายสมัย และนายไทกร พลสุวรรณ แกนนำอีสานกู้ชาติเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท
จากการตรวจข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า บริษัทดังกล่าวมี นายประจวบ สังขาว น.ส.วลัยลักษณ์ ประสงค์ และนายปณิธิ ศิริเขต เป็นกรรมการ
มีผู้ถือหุ้น 7 คน ได้แก่ 1.นายประจวบ สังขาว (80,000 หุ้น) 2.น.ส.วลัยลักษณ์ ประสงค์ (10,000 หุ้น) 3.น.ส.ฐิติพร อยู่ไว (9,960 หุ้น) 4.น.ส.กรุณา คอนแหยม (10 หุ้น) 5.น.ส.เบญจวรรณ คอนแหยม (10 หุ้น) 6.นายปรีดี คอนแหยม (10 หุ้น) และ 7.น.ส.วิสุดา มีสุโข (10 หุ้น)
ขณะที่สุนัย จุลพงศธรส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย เคยแฉกลางสภามาเแล้ว เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2551ในช่วงที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี โดยนำเอกสารเป็นการนำเข้าบัญชีบุคคลต่างๆที่อ้างว่า เป็นส่วนหนึ่งของเงิน 250 ล้านบาทมาเปิดเผย แต่ขณะนั้นไม่ได้รับความสนใจมากนักเพราะเหมือนฝ่ายรัฐบาลอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายค้าน
จนกระทั่งพรรคประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล มีนายอภิสิทธฺ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อมี ส.ส.พรรคเพื่อไทยนำเรื่องดังกล่าวมาขู่อภิปรายไม่ไว้างใจรัฐบาลผนวกกับกระแสข่าวย้าย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีดีเอสไอซึ่งเป็นผู้กุมข้อมูลเรื่องนี้อยู่
ปมเงิน 250 ล้านบาทจึงกลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาอีกครึ่งหนึ่ง
จากเอกสารที่พรรคเพื่อไทยนำมากล่าวหานั้น อ้างว่า เป็นสำเนาหลักฐานการโอนเงินออกจากบริษัทเมซไซอะฯ ไปยังบุคคลต่างๆหลายคนผ่าน 3 ธนาคารใหญ่คือ กสิกรไทย กรุงเทพ และกรุงไทย สาขารังสิต นับตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2547 จนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548 ไปยังสาขาปลายทางของ 3 ธนาคารใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานคร 64 ครั้ง และสาขาใน จ.สงขลาอีก 11 ครั้ง รวมแล้ว 75 ครั้ง
การโอนเงินแต่ละครั้งส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับ 1.8-1.9 ล้านบาทเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)ตรวจสอบเพราะ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกำหนดว่า ถ้าธุรกรรม 2 ล้านบาทขึ้นไปธนาคารต้องรายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงาน ป.ป.ง
อย่างไรก็ตามมีไม่ต่ำกว่า 8 ครั้งที่การโอนเงินอยู่ในระดับ 3.6 ล้านบาท บางครั้งสูงถึง 10 ล้านบาท
จากเอกสารระบุว่าบุคคลชื่อ"ประจวบ"เป็นผู้นำเงินฝากผ่านบัญชีถึง 68 ครั้งจาก 75 ครั้ง คำถามคือ เป็นคนเดียวกับนายประจวบ สังขาว กรรมการบริษัท เมซไวอะะฯหรือไม่
ส่วนผู้นำเงินเข้าบัญชีคนอื่นได้แก่ ประมูล หอมหวล ณัฐพล จิรวิสุทธิกุล มานพ นาสุวรรณ
สำหรับผู้ที่รับเงินปลายทาง เอกสารของพรรคเพื่อไทยอ้างว่า แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆคือ
หนึ่ง กลุ่มคนใกล้ชิดของนายประจวบ เช่น นายณัฐพล จิรวิสุทธิกุล, นายประมูล,นายสวัสดิ์ สังขาว, นายปัญญา ประสงค์ ฯลฯรวมแล้วหลายสิบล้านบาทและเป็นเงินส่วนใหญ่
สอง กลุ่มใกล้ชิด ส.ส.แบบสัดส่วนทางภาคใต้ของพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคในช่วงที่มีการโอนเงิน เช่น นางมาลีน้องสาว ส.ส. รับไป 10 ล้านบาท นายนูญ เป็นข้าราชการครู แต่ ใกล้ชิด ส.ส. รับไป 3.6 ล้านบาทเศษ นายจักรริน ถือหุ้นบริษัทเดียวกับ ส.ส. 3.1 ล้านบาท
สาม กลุ่มใกล้ชิด ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์รายหนึ่ง(ใกล้ชิดกับ ส.ส.แบบสัดส่วน) ได้แก่ อาภาพร น้องสาว ส.ส. รับไป 3.6 ล้านบาท สมศักดิ์ ญาติ ส.ส.เจ้าของแพปลา รับไป 1.8 ล้านบาท นายอัฎฐกร พระธาตุ รับไป 3.6 ล้านบาท
นายอัฎฐกร พระธาตุ กล่าวกับ"มติชนออนไลน์"ว่า เจ้าหน้าที่ดีเอสไอได้มาสอบปากคำตนไปแล้ว ช่วงขณะที่ได้รับเงินโอนนั้นทำงานอยู่กับ"น้าอู๊ด" หรือ"สมศักดิ์"ซึ่งเป็นเจ้าของแพปลา เมื่อได้รับเงินก็นำไปให้นายสมศักดิ์ต่อ แต่ไม่ทราบว่านายสมศักดิไปใช้ทำอะไร
ประเด็นสำคัญในเรื่องนี้ นอกจากมีเงินส่วนหนึ่งไหลเข้าบัญชีญาติพี่น้องของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์แล้ว จะโยงถึงตัวพรรคได้อย่างไร
เพราะเมื่อดูท่าทีของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ไม่เดือดเนื้อร้อนใจอะไรมากนักเพราะช่วงที่มีการโอนเงินเข้ากระเป๋า ส.ส.พรรคนั้นเป็นช่วงก่อนการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2548 ที่มีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นหัวหน้าพรรค นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็นเลขาธิการพรรค นายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ อดีต ส.ส.สงขลา เป็นรองเลขาธิการพรรค
ทั้งนี้เป็นที่รู้กันดีว่า ในขณะนั้นกลุ่มนายบัญญัติและกลุ่มนายสุเทพต่างช่วงชิงอำนาจกันในพรรคกันอย่างดุเดือด
การงัดเรื่องปมเงิน 250 ล้านบาทมาเล่นกันในครั้งนี้ อาจเข้าทางของนายสุเทพ เทือกสุบรรณโดยบังเอิญก็เป็นได้ เว้นแต่มีหลักฐานบางอย่างโยงว่า ผู้บริหารพรรคชุดปัจจุบันมีส่วนเกี่ยวข้องไมาทางใดก็ทางหนึ่ง