WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, February 18, 2009

ปัจจัยทั้งดันและดึง ดูดต่างด้าวเข้าไทย

ที่มา ไทยรัฐ

แรงงานต่างด้าวที่เข้าประเทศไทย มีแรงผลักจากประเทศของตนเอง และแรงดึงจากประเทศไทย

ด้วยแรงผลักและแรงดึงอันทรงพลัง เป็นเหตุให้แรงงานในประเทศเพื่อนบ้านทะลักเข้าไทยอย่างต่อเนื่อง ตัวเลขแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมาย ปี พ.ศ.2552 นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน บอกว่ามีประมาณ 7-8 แสนราย

พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตว่า ตัวเลขเหล่านี้ยังไม่ชัดเจน เพราะที่ผ่านมา มีการแจ้งไว้กับกระทรวงมหาดไทยกว่า 1.2 ล้านราย แต่เอาเข้าจริง กลับมา ขึ้นทะเบียนเพียง 5 แสนรายเท่านั้น

ปัญหาเกิดขึ้นว่า ตัวเลขที่หายไปนั้นหายไปไหน

เมื่อจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมายยังสรุปไม่ได้ ตัวเลขแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายก็ยังสรุปไม่ได้เช่นกัน แต่ทราบกันดีว่า มีมากกว่ากันหลายเท่าตัว

ตัวอย่างที่มหาชัย จังหวัดสมุทรสาครเพียงแห่งเดียว นายภาคภูมิ แสวงคำ เจ้าหน้าที่มูลนิธิรักษ์ไทย ผู้อาสาเข้าไปดูแลเรื่องสุขภาพแรงงานบอกว่า แรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายมี 76,057 คน ส่วนที่ผิดกฎหมายประมาณ 200,000 คน

แรงงานต่างด้าวในถิ่นอื่นอย่างตลาดไท อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ แหล่งจ้างงานในจังหวัดเชียงใหม่ ในกรุงเทพมหานคร และที่หาดใหญ่จังหวัดสงขลานั้นอีกไม่น้อย

แรงผลักดันของแรงงานต่างด้าวให้เข้ามายังประเทศไทย แต่ละประเทศมีปัจจัยต่างกันไป

แรงงานพม่ามากเป็นอันดับหนึ่ง

แรงผลักดันชาวพม่าให้ออกมาขายแรง ส่วนหนึ่งมาจากการเมืองการปกครอง ที่มีการสู้รบกันระหว่างชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆกับรัฐบาล ทำให้ ชาวบ้านทะลักเข้ามาหางานทำ และอีกส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจพม่าตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง

ซ้ำร้ายรัฐบาลเรียกเก็บภาษีแพง มีการจ้างแรงงานน้อย และค่าแรง ถูกอีกด้วย

สภาวะเศรษฐกิจของพม่า นอกจากนโยบายปิดประเทศของรัฐบาลแล้ว ส่วนหนึ่งมีผลมาจากการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของชาติมหาอำนาจ

สมัยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช มีการขู่รัฐบาลพม่าว่า จะรณรงค์ เรียกร้องให้นานาประเทศร่วมกันคว่ำบาตรพม่า หากรัฐบาลทหารไม่ยอมนำประชาธิปไตยกลับคืนมา และปล่อยตัวนักโทษการเมืองเป็นอิสระ

สภาพอันแร้นแค้นของพม่า ปรากฏสู่สายตาชาวโลกเป็นระลอกๆ อย่าง จากรายงานของสำนักข่าว S.H.A.N. บอกว่า ตามหัวเมืองสำคัญต่างๆ ของพม่ามีเด็กอายุไม่ถึงสิบขวบไปรับใช้แรงงานเพื่อหารายได้ช่วยเหลือครอบครัวเป็นจำนวนมาก

พร้อมระบุว่า ที่พบเห็นเด็กใช้แรงงานมากคือที่เมืองมัณฑะเลย์ โดยเด็กอายุต่ำกว่าสิบขวบเป็นลูกจ้างอยู่ตามร้านอาหารและร้านน้ำชา

ลึกๆ เข้าไปในชีวิตของเด็กเหล่านั้นคือ เด็กบอกว่า พ่อแม่ ไม่สามารถส่งพวกเขาเรียนได้เพราะมีฐานะยากจน จึงต้องพากันออกจากโรงเรียน เพื่อช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานตั้งแต่ยังไม่เรียนจบชั้นประถมศึกษา ค่าแรงที่ได้รับนั้น ได้คนละประมาณ 100 ถึง 170 บาทต่อเดือนเท่านั้น

ค่าแรงเลขหลักร้อยต่อเดือน เมื่อมาเทียบกับเลขหลักพันหรือหลักหมื่นในประเทศไทย เป็นแรงกระตุ้นให้ชาวพม่าหลั่งไหลเข้ามาได้อย่างไม่ขาดสาย

แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านกัมพูชา แรงผลักดันแรงงานกัมพูชาให้เข้าไทยมีหลายประการเช่นกัน ลักษณะภูมิประเทศก็เอื้อให้ไม่น้อย เพราะเรามีชายแดนติดกับกัมพูชาในเขตพื้นที่จังหวัดตราด สระแก้ว สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ตราด และอุบลราชธานี รอยต่อเหล่านี้ เปิดโอกาสให้แรงงานต่างด้าวเข้าสู่ประเทศไทยได้โดยง่าย

สภาวะเศรษฐกิจกัมพูชา จากการบริหารงานของคณะรัฐบาลฮุนเซ็น ไม่สู้ดีนัก มีการจ้างงานน้อย ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพกสิกรรม เมื่อพ้นฤดูกาลเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตทำให้เกิดการว่างงาน ชาวกัมพูชาส่วนหนึ่งจึงเลือกเข้ามาขายแรงงานในประเทศไทย

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว รายงานว่า ครอบครัวแรงงานเขมรจะเข้ามารับจ้างเกี่ยวข้าวที่บ้านตุ่น อ.อรัญประเทศ แรงงานเขมรจะเดินทางมารับจ้างทำงานฝังไทยเป็นจำนวนมากในช่วงฤดูทำนาและเก็บเกี่ยวผลผลิต

และยังระบุอีกว่า บางครอบครัวที่มีลูกเล็กเด็กจะเดินทางมาพร้อมพ่อแม่ด้วย พี่ที่โตกว่าจะมีหน้าที่ดูแลน้อง ส่วนพี่ที่มีอายุเกือบสิบขวบ หรือมากกว่าสิบขวบ ก็สามารถช่วยพ่อแม่ทำงานได้

นั่นเป็นภาพชาวกัมพูชาที่เข้ามาขายแรงตามแนวชายแดน ส่วนแรงงานที่ล้ำเข้ามาขายแรงในเมืองกรุงและชานกรุงอย่างนางเนียง อายุ 26 ปี ชาวกัมพูชา อำเภอเปรยธม เขตอ็อดดาร์เมียนเจย ประเทศกัมพูชา บอกว่า ครอบครัวทำไร่ ทำนา มีพี่น้องรวม 6 คน เนื่องจากไม่มีการจ้างงาน และถ้าจ้างก็ราคาถูกมากๆ วันหนึ่ง ได้ค่าแรงไม่ถึง 100 บาท ทำให้คนในครอบครัวถึง 4 คน เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย

พี่สาวคนโตอายุ 30 ปี ทำงานอยู่ที่จังหวัดระยอง พี่สาวอีกคนอายุ 25 ปี ทำงานอยู่ที่จังหวัดชลบุรี และน้องชายทำงานอยู่ที่มีนบุรีนางบอก

นางบอกว่า งานที่บ้านมีแต่จ้างทำนา ดำนา เกี่ยวข้าว ค่าแรงวันหนึ่ง คิดเป็นเงินไทยได้เพียง 60 บาท แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมี

ลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้านไทยที่มีความใกล้ชิดทั้งด้านภาษา วัฒนธรรม และประเพณี การเดินทางเข้ามาของแรงงานลาวทำได้ง่ายกว่าชาติอื่นๆ เพราะไม่มีกำแพงภาษากั้น แรงผลักดันให้แรงงานลาวเข้าไทยนั้น คล้ายกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ

นางสาวพิน อายุ 44 ปี ชาวแขวงสาละวัน ประเทศลาว ปัจจุบันขายแรงที่ตลาดไทบอกว่า ครอบครัวมีอยู่ด้วยกัน 9 คน มีอาชีพทำนา ในท้องนามีงานเป็นช่วงๆ หลังจากนั้นก็ว่างงาน

การจ้างงานแทบไม่มีเลย ที่บ้านถ้าไม่ได้เป็นพนักงานของรัฐบาลก็จะไม่ค่อยมีงานทำ จะมีบ้างก็น้อยมาก ต้องแย่งกัน สมัครเข้าไปทำ และค่าแรงก็ไม่สูง 1 เดือนได้ประมาณ 4-5 แสนกีบ หรือประมาณ 2,000 บาท แต่ถ้าเป็นงานราชการ 1 เดือนได้ประมาณ 1 ล้านกีบ หรือประมาณ 4,000 บาทนางสาวพินบอก

ส่วนแรงดึงให้คนงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยนั้น มีเหตุและปัจจัยหลายประการด้วยกัน เป็นต้นว่า ค่าจ้างแรงงานแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เดินทางเข้าประเทศไทยง่าย งานบางอย่างคนไทยไม่ทำ ทำให้เกิดการขาดแรงงานบางอาชีพอย่างหนัก เท่ากับเปิดโอกาสทองให้แรงงานต่างด้าวหลั่งไหลเข้ามา

อาชีพที่ขาดแรงงานอย่างหนักในปัจจุบันคือประมง

นายมานะ ศรีพิทักษ์ ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เพิ่งเปิดตัวเลขแรงงานที่ต้องการว่ามีถึง 100,000 คน ในจำนวน 100,000 คนนี้มีทั้งช่างเครื่องยนต์ คนอวน

แรงงานที่ลงไปทำงานแล้ว ทำงานไปได้ระยะหนึ่ง เกิดต้องการฝึกพัฒนาฝีมือเพิ่มเติมก็สามารถไปฝึกหรือเข้ารับการอบรมตามหลักสูตรพาณิชยนาวีได้ เพื่อนำความรู้ ประสบการณ์ต่อทางด้านการเรือ หรือลงเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศต่อไปได้นายมานะบอก

ลักษณะภูมิประเทศที่เอื้อให้เดินเข้ามาได้ง่าย ประกอบกับ ความแร้นแค้นในประเทศเป็นตัวดัน และค่าแรงในประเทศไทยเป็นตัวดึง จึงทำให้แรงงานต่างด้าวทะลักเข้าไทย