WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, June 28, 2009

กระทรวงการต่างประเทศโต้องค์การนิรโทษกรรมสากลกรณีคดีดา ตอร์ปิโด

ที่มา ประชาไท

กระทรวงการต่างประเทศระบุกระบวนการพิจารณาคดี ของดารณี ชาญเชิงศิลปกุลเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมภายใต้หลักกฎหมายเช่นเดียวกับคดีอื่นๆ โต้ เป็นที่น่าเสียใจและไม่มีเหตุผลอย่างยิ่งที่องค์การนิรโทษสากลจะตั้งข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับความเที่ยงธรรมและความเป็นมืออาชีพของตุลาการไทย

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2552 นายธานี ทองภักดี รักษาการอธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวกรณีองค์การนิรโทษสากล (Amnesty International) ออกแถลงข่าวเกี่ยวกับการพิจารณาคดีของน.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด ว่า การพิจารณาคดีดังกล่าวเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมภายใต้หลักกฎหมาย เช่นเดียวกับคดีอื่นๆ

ผู้ถูกดำเนินคดีได้รับสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม มีโอกาสในการต่อสู้คดีและได้รับความช่วยเหลือจากทนาย ส่วนการที่ศาลสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับ ถือเป็นดุลพินิจของศาลตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 177 สำหรับเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันความลับอันเกี่ยวกับความปลอดภัยของประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ (ข้อ 14 ของกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง) และไม่แตกต่างจากแนวปฏิบัติของประเทศอื่นๆ

จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียใจและไม่มีเหตุผลอย่างยิ่งที่องค์การนิรโทษสากลจะตั้งข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับความเที่ยงธรรมและความเป็นมืออาชีพของตุลาการไทย

ก่อนหน้า ในวันเดียวกัน องค์การนิรโทษกรรมสากลได้ส่งหนังสือถึงสื่อมวลชนเรียกร้องให้ศาลอาญาไทยดำเนินการพิจารณาคดีของดา ตอร์ปิโดอย่างเปิดเผย โดยระบุว่าแม้ว่าสนธิสัญญาสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองระหว่างประเทศ (ICCPR) และรัฐธรรมนูญจะอนุญาตให้กีดกันสาธารณะออกจากการพิจารณาคดีได้ แต่ก็ต้องเป็นไปอย่างจำกัดอย่างยิ่ง และจะต้องเป็นเพียงมาตรการสำคัญเพียงอย่างเดียวที่เหลืออยู่หลังจากไม่มีมาตรการอื่นใดที่ใช้ได้แล้ว

"รัฐบาลไทยจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ลำบากในการอธิบายว่าทำไมการพิจารณาคดีบุคคลคนหนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่าแสดงความเห็นดูหมิ่น จึงต้องประนีประนอมกับความมั่นคงของประเทศไทย" แซม ซาริฟี ผู้อำนวยการองค์การนิรโทษกรรมสากลประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าวในตอนหนึ่งของหนังสือถึงสื่อมวลชน