WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, July 2, 2009

วิถีประชาธิปไตยเพื่อความสงบสุข(ตอนที่3):ยุทธศาสตร์ นโยบาย ภารกิจ

ที่มา Thai E-News


โดย ทหารอาชีพ
1 กรกฎาคม 2552

ชัยชนะของงานมวลชนหรือสงครามมวลชนอยู่ที่องค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ การมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ถูกต้อง การมียุทธศาสตร์การต่อสู้ที่ถูกต้อง การจัดตั้งมีความมั่นคง ปิดลับ ตัดตอน โดยมีแนวร่วมพื้นฐานเข้าร่วมจำนวนมหาศาลนับล้านคน และ สามารถแยกมิตร แยกคู่แข่งขัน ทำให้มีมิตรมาก คู่แข่งขันถูกจำกัดวงแคบ แกนของคู่แข่งขันถูกทำลายลงด้วยงานการเมือง



การกำหนดยุทธศาสตร์/นโยบาย/ภารกิจ

- ยุทธศาสตร์/นโยบาย/ภารกิจ เริ่มต้นจากอุดมการณ์ทางการเมืองที่เป็นวิทยาศาสตร์เท่านั้น ไม่เพ้อเจ้อ หรือ จินตนาการเอาในอากาศและ ต้องมีการนิยามกรอบพฤติกรรมของอุดมการณ์นั้นว่ามีรูปธรรมเป็นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปธรรมในการมีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่เป็นประชาธิปไตย

- ยุทธศาสตร์/นโยบาย/ภารกิจ จะเกิดจากการนำทฤษฎีการเมืองไปสอบทานกับสภาพความเป็นจริงของสังคมและการรับรู้ของมวลชนที่เป็นผู้ปฏิบัติ นำความจัดเจนนั้นประมวลผลกลับมาเป็นข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์/นโยบาย/ภารกิจ ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงอยู่ตลอดเวลาแล้วจึงกำหนดเป็น ยุทธศาสตร์/นโยบาย/ภารกิจในรอบต่อไป โดยไม่มีอคติลำเอียง หรือใช้สามัญสำนึกเป็นส่วนบุคคล หากแต่เป็นการวางแผนอย่างเป็นวิทยาศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นจริงที่เป็นรูปธรรม

- ผู้ปฏิบัติงานที่นำยุทธศาสตร์/นโยบาย/ภารกิจ ไปปฏิบัติต้องรับทราบรายละเอียดของการปฏิบัติทุกทางเลือกและมีแผนรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันไว้เสมอ ในทุกกิจกรรมย่อยๆ ทุกกิจกรรมที่ได้กระทำไป ไม่ว่าจะมีข้อบกพร่องหรือได้ผลดี ต้องมีการบันทึกและอธิบายเหตุผลที่เป็นรูปธรรมได้ว่า ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากอะไร และอย่างไร เพื่อนำมาเป็นข้อมูลย้อนกลับในการปฏิบัติงานรอบต่อไป สำหรับในการรับงาน ไปปฏิบัตินั้น ผู้นำไปปฏิบัติต้องได้รับการซักถามความเข้าใจและซักซ้อมความเห็นในแง่มุมต่าง ๆ จนมีความแจ่มแจ้งว่าจะบรรลุความสำเร็จได้อย่างไรที่เป็นรูปธรรม จึงจะนำไปปฏิบัติได้

- ชัยชนะของงานมวลชนหรือสงครามมวลชนอยู่ที่องค์ประกอบ 4 ด้านได้แก่ การมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ถูกต้อง การมียุทธศาสตร์การต่อสู้ที่ถูกต้อง การจัดตั้งมีความมั่นคง ปิดลับ ตัดตอน โดยมีแนวร่วมพื้นฐานเข้าร่วมจำนวนมหาศาลนับล้านคน และ สามารถแยกมิตร แยกคู่แข่งขันทำให้มีมิตรมาก คู่แข่งขันถูกจำกัดวงแคบ แกนของคู่แข่งขันถูกทำลายลงด้วยงานการเมือง

- การจัดตั้งต้องมีรายชื่อและการติดต่อที่ชัดเจน แบ่งกำลังคนออกเป็น 3-4 ผลัดเพื่อทำกิจกรรมการเรียกร้อง หรือการแสดงพลังทางการเมือง มีการแยกรายชื่อเป็นกลุ่มที่ต้องการมาให้การสนับสนุนกับผู้ที่ต้องการร่วม เป็นร่วมตาย เอาการเอางานออกจากกัน และใช้งานแตกต่างกัน ในการลุกฮือจะมีการลุกฮือใหญ่เพียงครั้งเดียว ด้วยการกำหนดว่าจะต้องมีกำลังมวลชน และกำลังติดอาวุธที่เหนือกว่าฝ่ายตรงข้ามอย่างเด็ดขาด โดยกำลังมวลชนที่เคยผลัดเปลี่ยนกันมาแสดงพลังนั้นพร้อมใจกันเข้ามาปฏิบัติการพร้อมเพรียงกัน ไม่มียกเว้นเนื่องจากเป็นการลุกฮือเพียงครั้งเดียว หากผิดพลาดไปก็จะไม่สามารถฟื้นตัวได้อีกเป็นเวลานาน จำนวนที่ต้องการนั้นหากเป็นการเมืองระดับชาติใช้มวลชนนับเป็นล้านคน

สำหรับประเทศไทยควรกำหนดไว้ที่ 2-3 ล้านคน ในระดับภาคควรกำหนดไว้ที่ 3-4 แสนคน ในระดับจังหวัดควรกำหนดไว้ที่ 1-2 แสนคน โดยต้องมีแกนนำและมวลชนกระจายไปทั่วทุกเขต ทุกอำเภอ โดยมีการกำหนดจุดไปบนแผนที่สถานการณ์อย่างแน่ชัดว่า เป็นพื้นที่ฝ่ายเรา พื้นที่ฝ่ายตรงข้าม และพื้นที่ช่วงชิงมวลชน

แนวคิดทางการเมืองที่ผิด

- แนวความคิดทางการเมืองที่ต้องถือว่าเป็นแนวทางที่ผิด จะต้องถูกนำมาวิจารณ์และยุติไม่ให้มีความคิดในกลุ่มแกนนำและมวลชนหลงเหลืออยู่ ได้แก่ ลัทธิฉวยโอกาสเอียงขวา ลัทธิฉวยโอกาสเอียงซ้าย ลัทธิศักดินาอำมาตย์ ลัทธิทุนนิยมแบบเอารัดเอาเปรียบ และ ลัทธิชักต่างชาติเข้ามาเอารัดเอาเปรียบคนในประเทศ

- ลัทธิฉวยโอกาสเอียงขวาคือ ความเกรงกลัวต่อผู้มีอำนาจ ทำให้เป็นคนยอมจำนนต่อการกดขี่ ขูดรีด

- ลัทธิฉวยโอกาสเอียงซ้ายคือ ความใจร้อน ไม่รอบคอบ ชอบใช้กำลังแบบสุ่มเสี่ยง ไม่พิจารณาปัญหาเชิงรูปธรรมว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร สอดคล้องกับทฤษฎีหรือประวัติศาสตร์หรือไม่

- ลัทธิศักดินาขุนศึกอำมาตย์คือ จิตสำนึกว่ามนุษย์เกิดมาไม่เท่ากัน ชอบให้คนอื่นเป็นผู้รับใช้ของตน หรือ ต่ำกว่าตน เช่น ครูบางแห่งนิยมให้เด็กนักเรียนกล้าแสดงออกด้วยการ นุ่งน้อย ห่มน้อย แต่งหน้า ทาปาก ขึ้นไปเต้นรำหรือร้องเพลงให้ ครู อาจารย์ ได้สนุกสนานในทำนองของนางบำเรอที่มาจัดการแสดงให้กับเหล่าขุนศึกได้เชยชม แทนที่จะส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออกซึ่งเหตุผลหรือแสดงออกซึ่งความสามารถทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย

- ลัทธิทุนนิยมแบบเอารัดเอาเปรียบคือ การพยายามผูกขาดเศรษฐกิจในระดับต่างๆเพื่อผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น อย่างไม่เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับมวลชน

- ลัทธิชักต่างชาติเข้ามาเอารัดเอาเปรียบคนในประเทศคือ การพยายามนำทุนผูกขาดจากต่างประเทศเข้ามาครอบงำระบอบเศรษฐกิจของประเทศ หรือของในพื้นที่ปฏิบัติการ

เป้าหมายทางการเมืองเศรษฐกิจและการทหาร

- ทิศทางหรือเป้าหมายทางการเมือง ได้แก่ ด้านเกษตรอุตสาหกรรมที่ทันสมัย อุตสาหกรรมที่แข่งขันได้ สาธารณูปโภคและโทรคมนาคมเพื่อการติดต่อสื่อสารในระบบดิจิตอล การเงินการธนาคารที่มีช่องว่าง ดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากต่ำ การกระจายทุนและปัจจัยการผลิตไปสู่ประชาชนให้ต้นทุนต่ำที่สุด การกระจายอำนาจทางการเมืองให้ประชาชนเป็นผู้นำพรรคการเมือง การพัฒนาวิทยาศาสตร์อย่างเร่งด่วน การพัฒนา คุณภาพของประชากร การมีรัฐสวัสดิการเหมือนในยุโรปและการมีวัฒนธรรมที่มีประโยชน์ต่อประชาชน

- มีการประกาศให้ทราบว่าประเทศไทยจะมีความเจริญรุ่งเรืองในระยะเวลาอันใกล้เนื่องจาก จะสามารถนำน้ำเข้ามาในภาคอีสาน สร้างท่าเรือนานาชาติและทำแลนด์บริดจ์เชื่อมทะเลอันดามันไปสู่อ่าวไทยหรือลัดเข้าจีนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยรถไฟรางคู่ความเร็วสูง สร้างให้ภาคเหนือและภาคใต้ตอนบนเป็นแหล่งท่องเที่ยว ของภูมิภาค นำเงินที่จะได้จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนี้ซึ่งจะกระจายรายได้ไปสู่ประชาชนทั้งสี่ภาค และนำรายได้จากภาษีนี้มาสร้างรัฐสวัสดิการให้กับทุกกลุ่มอายุ เด็กได้รับการศึกษาฟรีอย่างเต็มที่ วัยรุ่นมีสถานที่พักผ่อนและใช้เวลาว่างที่มีประโยชน์ มีการสร้างงานอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเกษตร อุตสาหกรรมเพื่อสร้างรายได้ในรอบต่อไป คนเกษียณอายุและคนชรา มีบำนาญเพียงพอที่จะใช้ชีวิตอย่างสุขสบายเนื่องจากรัฐมีรายได้เพียงพอ จากการที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคทั้งด้านการแพทย์ การขนส่ง และการโทรคมนาคม ความเป็นอยู่ที่ร่มเย็นเป็นสุขนี้ จะเกิดจากการพัฒนาการเมืองด้วยระบอบประชาธิปไตยในพื้นที่ หรือในประเทศไทยเท่านั้น

- กระบวนการสร้างอำนาจให้ประชาชนได้แก่การให้ประชาชนร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำงานร่วมตรวจสอบผลงาน ร่วมรับงานและร่วมรับผิดชอบ

- การปฏิบัติการหรือการทหารเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเมือง เมื่อมีการตกลงทางการเมืองได้ ก็ไม่เกิดสงคราม ถ้าตกลงกันอย่างสันติไม่ได้ก็จำเป็นต้องใช้สงครามตัดสิน ( เคล้าส์ วิทช์) ดังนั้นการเมืองต้องนำ การทหาร จะให้การทหารนำการเมืองไม่ได้ ความสำเร็จทางทหารเพียงเล็กน้อย อาจทำให้งานส่วนรวม เสียหายได้ หากงานการเมืองไม่มีความสมบูรณ์หรือสุกงอมเพียงพอ

- ตัวชี้วัดชัยชนะ มี 4 ประการได้แก่ การสามารถแบ่งแยกมิตร ศัตรูได้ชัดเจน ศัตรูมีการคัดค้านหรือขัดขวาง การกระทำของฝ่ายเราอย่างรุนแรงก่อนพ่ายแพ้ ศัตรูคัดค้านอะไรเราสนับสนุน ศัตรูสนับสนุนอะไรเราคัดค้าน เมื่อศัตรูจับอาวุธไม่มีอันตรายแต่หากศัตรูใช้อุดมการณ์มาต่อสู้จะอันตรายกว่า

- ชัยชนะได้มาจากการรวมกำลังจากทุกกลุ่ม ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมปฏิบัติการพร้อมกันให้มากที่สุด ณ เวลาและตำบลที่ต้องการชัยชนะอย่างเด็ดขาดด้วยมวลชนพื้นฐานที่เข้าร่วมจำนวนมหาศาล

- จะรวมกำลังจากมวลชนและประชาชนที่ให้การสนับสนุนนั้นเพื่อชัยชนะนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับการ จัดตั้ง และการสร้างองค์กรรองรับ มากกว่าการเรียกร้องหรือการชุมนุม เมื่อกำลังน้อยกว่าต้องขยายแกนนำ จัดตั้งมวลชนอย่างแน่นแฟ้น มีแกนนำและกลุ่มจำนวนไม่มากแต่มีการสื่อสารถึงกันอย่างรวดเร็ว ชัดเจน มีหมายเลข มีเครื่องหมายที่ชัดเจน แกนนำย่อยมีระบบการติดต่อกับศูนย์กลางการบริหารได้อย่างเป็นรูปธรรมและหลากหลายรูปแบบ ศูนย์กลางการบริหารต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลและมีการติดต่อกับกับแกนนำระดับล่างตลอดเวลา

- พันธมิตรได้แก่ ชนชั้นกลาง ผู้ประกอบการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ ข้าราชการ ข้าราชการทุกฝ่าย ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ รวมถึง พวกผู้ดีและเจ้าขุนมูลนายที่มีหัวก้าวหน้าเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย

- การแบ่งงานกันทำให้แบ่งตามความถนัด ความสามารถและนิสัยใจคอ โดยมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันที่เป็นอุดมการณ์เชิงรูปธรรม

การแก้ปัญหา

- ในการแก้ปัญหาทุกชนิดให้นำวิธีการประชาธิปไตยอย่างเข้มข้นมาใช้ได้แก่ การอภิปรายกันอย่างมีโครงสร้างที่ดีและครบทุกประเด็นจนเข้าใจกันทุกฝ่ายไม่ละเลยแม้เป็นเรื่องเล็กน้อยไม่อภิปรายนอกประเด็นและ เปิดโอกาสให้ทุกคนที่ร่วมประชุมได้พูดและให้ความเห็นในสองด้านเสมอได้แก่ข้อบกพร่องและข้อดีหรือ ผลดี ผลเสียขึ้นอยู่กับหัวข้อการอภิปราย การอภิปรายดังกล่าวต้องมุ่งไปสู่การมีประสิทธิภาพและสมรรถภาพของการปฏิบัติการเสมอในการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ กำหนดเป้าหมายเป็นรูปธรรม 2-3 เรื่องที่หากทำแล้วจะบรรลุสู่ยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ข้างต้น จากเป้าหมายดังกล่าวแต่ละเรื่องกำหนดเป็นกลยุทธหรือกิจกรรม ที่จะต้องทำเพื่อให้ไปสู่เป้าหมายนั้นซึ่งจะเป็นเรื่องของ คน อุปกรณ์ และ งบประมาณ จากกลยุทธหรือ กิจกรรมต่างๆนั้นกำหนดเป็นรายละเอียดในการดำเนินการย่อยๆ 3-5 รายการต่อกลยุทธต่างๆนั้น และกำหนดให้มีตัวชี้วัดว่า การดำเนินการนั้นประสบความสำเร็จเพราะอะไรที่เป็นรูปธรรมหรือเป็นตัวเลขที่เชื่อถือได้ และสุดท้ายคือ การนำความแตกต่างระหว่าง ผลที่เกิดขึ้นกับเป้าหมายที่วางไว้ มาอภิปรายเพื่อกำหนดเป็น ยุทธศาสตร์ และเป้าหมายในรอบต่อมา จนกว่าการปฏิบัติการต่างๆจะมีประสิทธิภาพสูงสุดและยกระดับความสำเร็จขึ้นตลอดเวลาและตลอดไป

- ในการแก้ปัญหาทุกชนิด นอกจากจะอภิปรายดังกล่าวแล้ว จะต้องมีการวิจารณ์ได้แก่การกำหนดว่าเรื่องใด เป็นข้อดีและเรื่องใดเป็นข้อบกพร่องแล้วนำมาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเพื่อหาแนวทางที่ควรจะเดินไปอย่างถูกต้อง การวิจารณ์ดังกล่าวต้องถูกกำกับด้วยแนวทางดังนี้คือ ต้องไม่มีการวิจารณ์ในเรื่องส่วนตัวเพราะไม่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานนอกจากการสร้างศัตรูโดยไม่จำเป็น การวิจารณ์นั้นต้องมุ่งสู่ แนวทางประชาธิปไตย แนวทางเพื่อประชาชน แนวทางเพื่อความยุติธรรมและความเสมอภาค มุ่งแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมและ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ แนวทางในการเสริมสร้างประสิทธิภาพและสมรรถภาพในการปฏิบัติงานเท่านั้น

- ในการแก้ปัญหาทุกชนิด จะต้องไม่ใช้การสั่งการ ซึ่งเป็นแนวคิดของเผด็จการในทุกรูปแบบ แต่ต้องเป็นกระบวนการประชาธิปไตยได้แก่ การให้เหตุผลที่เป็นรูปธรรม มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และใช้การจูงใจโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยการไม่ใช้อารมณ์ส่วนตัวมาเกี่ยวข้องมากไปกว่าความจริง

- ในการแก้ปัญหาทุกชนิด สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความรู้ที่เท่าเทียมกันระหว่างแกนนำและมวลชน และระหว่าง มวลชนกันเอง ดังนั้นการให้การศึกษาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด

การให้การศึกษาประกอบด้วย ความรู้ ทางการเมือง ประวัติศาสตร์การเมือง สังคมวิทยา กฎหมายทั่วไป กฎหมายรัฐธรรมนูญ การบัญชี การบริหารจัดการ การบริหารยุทธศาสตร์และยุทธวิธีการทำศึกของตะวันออกและตะวันตก