ที่มา Thai E-News
ยังยิ้มได้ - น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด แนวร่วมนปช. สวมหน้ากากอนามัยฟังศาลพิพากษา ก่อนยกมือชูสองนิ้วแสดงชัยชนะแม้ถูกสั่งจำคุก 18 ปีในคดีหมิ่นเบื้องสูง เมื่อวันที่ 28 ส.ค. (ภาพและคำบรรยาย:มติชนออนไลน์)
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา บอร์ดชุมชนฟ้าเดียวกัน
และ บล๊อกกาซีน ประชาไท
28 สิงหาคม 2552
ข่าวเกี่ยวเนื่อง:ดาตอร์ปิโด:"เราอยากชวนคุณมาเที่ยวบ้านเรา"
คดีนี้ตามกฎหมายมีโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี แต่ที่ศาลตัดสินจำคุก 18 ปีนั้น ให้เหตุผลว่าเพราะจำเลยพูดปราศรัยกระทำผิดถึง 3 หน จึงตัดสินจำคุกกระทงละ 6 ปี รวมเป็น 18 ปี
ที่ศาลอาญา รัชดา เมื่อเวลาราว 10.00 น.วันนี้ ศาลได้ตัดสินพิพากษาจำคุกดารณี เชิงชาญศิลปกุล "ดา ตอร์ปิโด"จำเลยคดีหมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายต่อกษัตริย์ และราชินี เป็นเวลา 18 ปี ตามฐานความผิดพูดปราศรัยที่สนามหลวงในระหว่างเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม 2551 ซึ่งศาลพิเคราะห์หลักฐานแล้วจำเลยมีความผิดชัดแจ้งตามกฎหมายอาญามาตรา112
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้ไปให้กำลังใจดา ตอร์ปิโดราว 30 คน เมื่อดาทราบผลการตัดสินแล้วก็เดินออกจากห้องพิจารณาโดยชู2นิ้วเป็นสัญลักษณ์ต่อผู้สื่อข่าว
คดีนี้ตามกฎหมายมีโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี แต่ที่ศาลตัดสินจำคุก 18 ปีนั้น ให้เหตุผลว่าเพราะจำเลยพูดปราศรัยกระทำผิดถึง 3 หน จึงตัดสินจำคุกกระทงละ 6 ปี รวมเป็น 18 ปี
รายละเอียดคำพิพากษาและแนวทางต่อสู้ต่อไปของจำเลย
ที่ห้องพิจารณาคดี 904 ศาลอาญารัชดา นายพรหมาศ ภู่แส และองค์คณะขึ้นนั่งอ่านคำตัดสินคดีที่ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด ถูกอัยการฟ้องเป็นจำเลยในความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี) จากการปราศรัยที่สนามหลวง 3 ครั้ง คือวันที 7 และ 13 มิถุนายน 2551 และ วันที่ 18-19 กรกฎาคม 2551
ศาลตัดสินว่า จากพยานหลักฐาน จำเลยกระทำผิดจริงตามข้อกล่าวหา โดยจำเลยได้กระทำผิด 3 กรรม จากการปราศรัยที่สนามหลวง 3 ครั้ง ตัดสินจำคุกกรรมละ 6 ปี รวม 18 ปี
หลังจากนี้ ในช่วงบ่าย ดา ตอร์ปิโด จะต้องเข้ารับฟังการพิจารณาคดีที่ห้องพิจารณา 908 ในคดีที่ถูก พล.อ. สพรั่ง กัลยาณมิตร ฟ้องหมิ่นประมาท โดยวันนี้ จะมีการสืบพยานโจทก์นัดแรก
สำหรับบรรยากาศการฟังคำตัดสินวันนี้ มีประชาชนผู้สนใจและผู้ที่ต้องการมาให้กำลังใจ น.ส.ดารณี ประมาณ 30 คน
หลังคำติดสิน นายประเวศ ประภานุกูล ทนายจำเลยได้แจกเอกสารแก่ประชาชนและผู้สื่อข่าวเป็นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาว่า การสั่งพิจารณาคดีดังกล่าวเป็นการปิดลับซึ่งศาลอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 117 มีคำสั่งตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก เป็นการละเมิดสิทธิของจำเลย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
ฝ่ายจำเลยระบุว่าการที่ศาลสั่งพิจารณาคดีลับดังกล่าว ห้ามมิให้ประชาชนทั่วไปเข้าฟังการพิจารณานั้นเป็นการใช้บทบัญัติกฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตราที่ 40 (2) ซึ่งระบุว่าสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันพื้นฐานเรื่องการได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริง และการตรวจเอกสารอย่างเพียงพอ การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้งและพยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ และการได้รับทราบเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย คำพิพากษาหรือคำสั่ง
และรัฐธรรมนูญมาตรา 29 บัญญัติว่า การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิดได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้
ฝ่ายจำเลยเห็นว่าบทบัญญัติมาตรา 117 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่ศาลอาศัยอำนาจสั่งให้การพิจารณาคดีลับนั้นขัดและแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญยังไม่เคยมีการวินิจฉัยเรื่องนี้ จึงขอให้ศาลส่งความเห็นของจำเลยไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญํติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 211 โดยขอให้ศาลอาญารอการพิพากษาคดีนี้ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ ฝ่ายจำเลยได้ยื่นคำร้องดังกล่าวให้ศาลอาญาพิจารณาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. โดยร้องให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา อย่างไรก็ตาม ศาลยกคำร้องดังกล่าว โดยระบุว่าการพิจารณาไม่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 211 เนื่องจากจำเลยมีทนายแก้ต่าง และสามารถนำพยานหลักฐานมายังศาลได้อย่างครบถ้วน
ทนายจำเลย จึงได้ทำการยื่นคำร้องด้วยตัวเองอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 27 ส.ค. โดยศาลรัฐธรรมนูญลงประทับรับคำร้องดังกล่าว
ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล
ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2551 จากกรณีที่เธอปราศรัยบนเวทีเสียงประชาชนเมื่อวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2551 และห้ามประกัน แม้ว่าสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ใช้ตำแหน่งอาจารย์ยื่นขอประกันตัวหลายครั้ง แต่ไม่ได้รับอนุญาตทั้งในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาคดี
ดารณีปฏิเสธข้อกล่าวหาดูหมิ่นฯพระมหากษัตริย์และพระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ศาลนัดตัดสินวันนี้ในเวลา09.00 น. (รายละเอียดคดี คลิ้กที่นี่)
Before & After-ภาพบนคือดารณีในช่วงมีอิสรภาพปราศรัยต่อต้านเผด็จการอำมาตย์ที่สนามหลวง ภาพล่างหลังถูกขังคุกคดีหมิ่นแบบห้ามประกัน ห้ามไม่ให้ไปหาหมอฟันทั้งที่ปวดฟันจนกินข้าวแทบไม่ได้ ถูกพิจาณาคดีเป็นการลับ ศาลจะตัดสินคดีหมิ่นวันศุกร์ที่ 28 นี้ แต่อยุติธรรมยังไม่สามารถกัดกร่อนจิตใจทรหดของเธอได้..ความอยุติธรรมสำหรับคนๆหนึ่ง ในกรณีนี้อาจเป็นความอยุติธรรมสำหรับไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั้งแผ่นดิน..
ขอเชิญชวนท่านเขียนจดหมายรักหรือโปสการ์ดให้กำลังใจดารณีส่งตรงถึง
คุณดารณี ชาญเชิงศิลปกุล
ห้อง 1/3 อาคารเพชร ทัณฑสถานหญิงกลาง
เรือนจำกลางคลองเปรม ถนนงามวงศ์วาน
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
ติดต่อสอบถามที่ อ้นดีเจวิทยุแท็กซี่ โทร. ๐๘๓ - ๘๑๒๕๖๕๙ ontontnong@hotmail.com
ผู้รักความยุติธรรมรณรงค์เขียนจดหมายถึงดาตอร์ปิโด
ปิยะบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกว่า นี่เป็น จม. ที่ผมเขียนถึงคุณดารณี ชาญเชิงศิลปกุล
ไม่แน่ใจว่าจะผ่านเงื่อนไข ผ่านการเซนเซอร์ของผู้คุมหรือเปล่า
...
“เว้นเสียแต่ว่าข้าฯไม่พูดถึงข้อเขียนของข้าฯ ไม่พูดถึงอำนาจ ไม่พูดถึงลัทธิ ไม่พูดถึงการเมือง ไม่พูดถึงศีลธรรม ไม่พูดถึงบุคคลที่ดำรงตำแหน่ง ไม่พูดถึงคณะบัลเลต์ของเศรษฐี ไม่พูดถึงอุปรากร ไม่พูดถึงมหรสพอื่นๆ ไม่พูดถึงคนที่ถือนั่นจับนี่ ข้าฯคงเขียนทุกอย่างได้เสรี แต่ภายใต้การเซ็นเซอร์อีกสักสองถึงสามหน”...
-บทละครเรื่อง “Le Mariage de Figaro” องก์ที่ ๕ ฉากที่ ๓
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
สวัสดีครับคุณดารณี...
ในขณะที่ผมเขียนจดหมายถึงคุณดาอยู่นี้ ผมอยู่ในดินแดนแห่งเสรี มีเสรีภาพซึ่งเราสัมผัสได้ถึงมันจริงๆ ถ้าโลกนี้มีเทคโนโลยีวิเศษ ผมอยากเอาลมแห่งเสรีภาพของดินแดนแห่งนี้ใส่ในจดหมาย ฝากเอาไปให้คุณดาได้รับรู้ว่า ลมแห่งเสรีภาพที่แท้จริงนั้น ช่างสดชื่นยิ่งนัก
ตรงกันข้าม ณ เวลานี้ คุณดาต้องอยู่ในที่ปราศจากเสรีภาพ และแม้นว่าวันหนึ่งคุณดาได้ออกมาจากที่นั่น ก็ยังไม่ได้อยู่ในดินแดนที่มีเสรีภาพจริงๆอยู่นั่นเอง แต่แม้ในสถานการณ์เช่นนี้ ผมก็เชื่อว่าเสรีภาพยังคงอยู่ในจิตสำนึกของคุณดาตลอดเวลา
ผมส่งโปสการ์ดนี้มาให้ ภาพนี้เป็นภาพกำแพงเบอร์ลิน ถ่ายเมื่อเดือนสิงหาคม ๑๙๖๑ สมัยที่มหาอำนาจเอาสิ่งสมมติมาตีเส้นแบ่งเยอรมนีเป็นสองส่วน ทั้งๆที่พลเมืองก็มีสัญชาติเดียวกันแท้ๆ
คุณดาเห็นมั้ยครับ ภาพพ่อและแม่อุ้มทารกน้อย ให้มองข้ามกำแพงไปยังฝั่งเยอรมนีตะวันตก ให้ได้เห็นเสรีภาพที่อยู่อีกฟากหนึ่ง
พวกเราจะช่วยกัน อุ้มคุณดา และอุ้มสังคมของเราให้ได้เห็นเสรี
ปิยบุตร แสงกนกกุล
นี่รูปครับ อาจจะอ่านลายมือผมไม่ออก
จดหมายฉบับอื่นๆ