WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, August 26, 2009

เชิญผู้รักประชาธิปไตยให้กำลังใจดาตอร์ปิโดวันตัดสินคดีหมิ่นฯ

ที่มา Thai E-News



โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
26 สิงหาคม 2552

สมัชชาสังคมก้าวหน้าขอเชิญพี่น้องผู้รักประชาธิปไตยให้กำลังใจคุณดา ตอปิโด ที่ศาลอาญา รัชดา ในวันที่ 28 สิงหาคม 2552 เวลา 9.00 น. เพื่อให้กำลังใจแก่นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในวันตัดสินคดีหมิ่นฯ


และขอเชิญชวนท่านเขียนจดหมายรักหรือโปสการ์ดส่งตรงถึง

คุณดารณี ชาญเชิงศิลปกุล
ห้อง 1/3 อาคารเพชร ทัณฑสถานหญิงกลาง
เรือนจำกลางคลองเปรม ถนนงามวงศ์วาน
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900


บทกวีเรียกร้องความเป็นธรรม

Outside the Law

No prison shall hold the poet
He shall not ask for pardon
When justice serves dictatorship
Is the time to establish the people’s court

You support power-craving groups
The people’s rights and freedom are robbed
Your end justifies any means
You deny the voice of the people

You forcibly plant the seeds of insane logic
That drug people tame
Covered with empty morals
Underneath, they are full of crime

You kill progressive thoughts
And people of poor status
Too honest to see through your tricks
You imprison them in poverty, hunger, sickness, and death

No prison shall hold the poet
And the millions who are free
We will shout and condemn you forever
Until the law serves the people


ติดต่อสอบถามที่ อ้นดีเจวิทยุแท็กซี่ โทร. ๐๘๓ - ๘๑๒๕๖๕๙ ontontnong@hotmail.com



องค์การนิโทษกรรมสากล(AMNESTY): พิจารณาคดีลับคุกคามความยุติธรรม

25/06/2009]

ทางการไทยควรให้มีการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยสำหรับคดีของน.ส. ดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล ซึ่งถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวในวันนี้

นายพรหมาศ ภู่แส หัวหน้าคณะผู้พิพากษาพิจารณาคดี ศาลอาญากรุงเทพฯ สั่งการให้มีการพิจารณาคดีแบบปิดลับ โดยการไต่สวนจะเริ่มขึ้นในวันอังคารสำหรับคดีของน.ส. ดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล อันสืบเนื่องมาจากคำพูดของเธอในการปราศรัยระหว่างการชุมนุมเมื่อเดือนกรกฎาคม 2551
“ตามกฎหมายระหว่างประเทศ การพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยคุ้มครองสิทธิของบุคคลให้ได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมที่เหมาะสม” Sam Zarifi ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว “การที่ผู้พิพากษาปิดประตูระหว่างการพิจารณาคดี ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากที่จะนำไปสู่ความอยุติธรรม”

ตามรายงานข่าว ผู้พิพากษาอ้างประเด็น “ความมั่นคงของชาติ” เป็นเหตุผลให้มีการตัดสินใจให้พิจารณาคดีแบบปิดลับ แม้ว่าทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) และรัฐธรรมนูญไทยอนุญาตให้มีข้อยกเว้นดังกล่าวได้ตามเหตุผลข้างต้น แต่การจำกัดสิทธิดังกล่าวจะต้องใช้ในกรณีที่จำเป็นอย่างยิ่งยวด และในกรณีที่มาตรการจำกัดสิทธิที่เข้มข้นน้อยกว่าไม่สามารถนำมาใช้ได้

“รัฐบาลไทยคงประสบความยากลำบากที่จะอธิบายว่า เหตุใดการพิจารณาคดีบุคคลซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำการหมิ่นประมาทจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติได้” Sam Zarifi กล่าว

ตามรายงานข่าว นายพรหมาศได้กล่าวว่า เขาสามารถ “ประกันให้จำเลยได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม” แม้จะห้ามไม่ให้บุคคลทั่วไปและสื่อมวลชนเข้ารับฟัง

“คำรับประกันเช่นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถตรวจสอบได้เลยเมื่อมีการปิดประตูห้องพิจารณาคดี และนั่นเป็นเหตุผลที่อธิบายว่าเหตุใดกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายในประเทศไทยต่างสนับสนุนให้มีการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผย” Sam Zarifi กล่าว “ในกรณีนี้ การพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการเปิดประตูศาล”

ความเป็นมา
น.ส. ดารณี ชาญเชิงศิลปะกุลเป็นผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกปลดจากตำแหน่งภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อปี 2549

กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในไทยห้ามไม่ให้มีการใช้คำพูดหรือกระทำการใดที่เป็นการ “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” และกำหนดระวางโทษจำคุกไว้ถึง 15 ปี

มาตรา 14 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งประเทศไทยได้ให้ภคยานุวัตรกำหนดไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับ “การพิจารณาคดีที่เป็นธรรมและเปิดเผย”

มาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 กำหนดไว้ว่าบุคคลย่อมมี “สิทธิพื้นฐานในกระบวนการพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่องการได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย”

หมายเหตุสำหรับบรรณาธิการ:
Benjamin Zawacki ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถนัดสัมภาษณ์ได้ในประเทศไทยที่หมายเลขโทรศัพท์ +66 (0)81 138 1912 (มือถือ) หรือทางอีเมล์ benjamin.zawacki@amnesty.org