WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, September 25, 2010

วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7240 ข่าวสดรายวัน จดหมายจาก'อัมสเตอร์ดัม'ฉบับ3 ร้องยูเอ็น-จี้'มาร์ค'เร่งคดี91ศพ

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ รายงานพิเศษ




นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์ ทนาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ทำจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 3 "การละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศของรัฐบาลไทย" ถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ก.ย.

เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งสอบสวนคดี 91 ศพ ที่ยังไม่ คืบหน้า

เนื่องจากการสืบสวนสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ไม่ดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา ไม่ยุติธรรมและขาดอิสระ

เตือนให้รัฐบาลรู้ว่ายังมีกฎหมายอาญาระหว่างประเทศอยู่

พร้อมกันนี้ได้ส่งจดหมายดังกล่าว ไปยังสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ในวันเดียวกัน

จดหมายมีเนื้อหา ดังนี้

เรา เขียนจดหมายฉบับนี้ถึงท่านในฐานะที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และในฐานะที่ท่านเป็นบุคคลที่มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอาญา ระหว่างประเทศ

เราได้ส่งจดหมายเพื่อย้ำเตือนรัฐบาลของท่านถึงสอง ครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 และครั้งล่าสุดในวันที่ 6 สิงหาคม 2553

เนื้อหาจดหมายได้ย้ำเตือนรัฐบาลไทยถึงพันธกรณีที่มี ต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) โดยต้องมีการจัดการสอบ สวนถึงสาเหตุของการเสียชีวิตของพลเรือนกว่า 80 ราย ที่ถูกสังหารในระหว่างการชุมนุม

และยังระบุถึงหน้าที่ที่รัฐบาลที่ จะต้องให้โอกาสแก่ทีมทนายของผู้ถูกกล่าวหา และทางสำนักงานกฎหมายของเราในการเข้าถึงพยานหลักฐาน แต่จนถึงบัดนี้ท่านไม่ได้ตอบสนองถึงข้อเรียกร้องดังกล่าวของเรา

เป็น ที่ปรากฏชัดว่า แทนที่คณะรัฐบาลของคุณจะปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ แต่กลับพยายามปกปิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่กองทัพไทยกระทำต่อผู้ชุมนุมที่ ปราศจากอาวุธระหว่างการชุมนุม

โดยในวันที่ 20 เมษายน 2553 รัฐบาลของท่านได้ถอนเจ้าหน้าที่ตำรวจออกจากหน้าที่ในการสอบสวนเหตุการณ์การ สังหารประชาชน มอบหมายหน้าที่ดังกล่าวให้กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ

แต่ในสี่เดือนที่ผ่านมา กรมสอบสวนคดีพิเศษ ไม่ได้ดำเนินการสอบสวนการสังหารดังกล่าวแต่อย่างใด

จาก พยานหลักฐานนี่รัฐบาลมีอยู่มากมาย อาทิ รูปพรรณสัณฐานผู้กระทำการ และหลักฐานที่ระบุว่าการกระทำดังกล่าวสมควรแก่เหตุหรือไม่ จึงไม่เป็นเรื่องยากแต่อย่างใดที่รัฐบาลจะดำเนินการสอบสวนคดีตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา

หลักของศาลไทย ระบุว่าจะต้องมีการระบุและแสดงรูปพรรณสัณฐานผู้กระทำความผิดในการสังหาร ประชาชน (อ้างอิงจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแห่งประเทศไทย บทที่ 2 มาตรา 148)

อย่างไรก็ตาม คณะรัฐบาลของท่านได้จับกุมและกล่าวหาแกนนำนปช. ว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง และต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของประชาชน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา ในปัจจุบันแกนนำนปช.ทั้ง 19 คน ยังคงถูกรัฐบาลคุมขังตามอำเภอใจ

ในวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เป็นเวลา 4 เดือนกว่าหลังการสังหารประชาชนในระหว่างการชุมนุม ท่านได้ตอบสนองข้อเรียกร้องสาธารณชนโดยให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว

กรมสอบสวนคดี พิเศษนั้นไม่ได้มีความเป็นธรรม หรือเป็นอิสระ เพราะคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขสถาน การณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นในวันที่ 7 เมษายน 2553 ภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ได้ กล่าวหาแกนนำเสื้อแดงหลายครั้งว่าสมรู้ ร่วมคิดในการล้มล้างระบอบกษัตริย์ และยังมีการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แม้ว่าสถานการณ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะกลับสู่ปกติแล้วก็ตาม ดังนั้น ในสถานการณ์เช่นนี้จึงไม่เอื้อต่อการสอบสวนที่มีความเป็นอิสระและเป็นธรรม อย่างแท้จริง

การที่คณะรัฐบาลของท่านปฏิเสธจะยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และเพิกถอนอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลของท่านพยายามปกปิดข้อเท็จจริง แม้จะมีพยานที่อยู่ในเหตุการณ์และวิดีโอบันทึกเหตุ การณ์จำนวนมากที่ระบุว่ากองทัพไทยมีส่วนรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของพลเรือน ทั้ง 80 รายก็ตาม

การที่ศอฉ. ถอดถอนอำนาจหน้าที่ของกรมตำรวจ ในการสอบสวนคดีดังกล่าวในวันที่ 20 เมษายน 2553 ทำให้กระบวนการสอบสวนคดีเกิดความล่าช้า กรมสอบ สวนคดีพิเศษ มีผลการชันสูตรพลิกศพของผู้เสียชีวิตทั้งหมด

แต่ทางทีมทนายของผู้ ถูกกล่าวหาและญาติของผู้เสียชีวิตไม่ได้รับผลการชันสูตรดังกล่าว หรือวิดีโอบันทึกเหตุการณ์การสลายชุมนุมแต่อย่างใด

แม้ว่าจะมีหลัก ฐานที่เป็นภาพถ่าย หรือวิดีโอมาก มายที่ระบุรูปพรรณสัณฐานทหารที่ยิงอาวุธใส่กลุ่มผู้ชุมนุม แต่ยังไม่มีการจับกุม หรือสอบสวนสมาชิกกองทัพไทยแม้แต่คนเดียว

กรม สอบสวนคดีพิเศษไม่ได้ดำเนินการสอบสวนพยานในเหตุการณ์ดังกล่าว เช่น ไม่มีการเรียกผู้บริหารอาคารที่กลุ่มทหารมือปืนลอบสังหารใช้เป็นที่ซุ่มยิง ประชาชน มาสอบสวนว่ากลุ่มคนเหล่านั้นเข้ามาใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่ซุ่มยิงได้ อย่างไร

หรือเรียกกลุ่มบริษัทคมนาคมขนส่งกรุงเทพมหานคร มาระบุรูปพรรณสัณฐานบุคคลที่อยู่ในรางรถไฟฟ้าในวันที่ 19 พฤษภาคม ที่ปรากฏในวิดีโอ

ความล่าช้าของกรมสอบสวนคดีพิเศษนั้นส่งผลให้หลักฐานเหล่านั้นเน่าเปื่อย ผุพัง และสร้างความยากลำบากในการระบุพยาน

และ ยังเป็นที่แน่ชัดว่ารัฐบาลได้สร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวในประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้พยานเกิดความหวาดกลัวที่จะให้ข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ และการคงพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยังทำให้เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจอย่างล้นเหลือในการคุกคามผู้ต้องสงสัย สร้างความหวาดกลัวไปทั่ว อย่างน้อยที่สุดคือ การ์ดนปช. 3 ราย เสียชีวิตจากสาเหตุอันผิดธรรมชาติหลังจากการชุมนุม

นอกจากนี้ ศอฉ.ยังใช้อำนาจยึดทรัพย์สินของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ของกลุ่มคนเสื้อแดง ทำให้เกิดความหวาดกลัวว่าจะมีการล้างแค้นโดยการสอบสวนทรัพย์สิน และมีการใส่ร้ายกลุ่มคนเสื้อแดงผ่านสื่อที่ถูกควบคุมโดยรัฐบาล ว่าเสื้อแดงมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การยิงและลอบวางระเบิดเอ็ม 79 โดยไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด

ขณะที่กรมสอบสวนคดีพิเศษเพิกเฉยต่อข้อ กล่าวหาอันมีมูลในเรื่องการทุจริตทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกระดับ สูงของพรรคประชาธิปัตย์

สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสองมาตรฐานที่ใช้ทำลายการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงของเจ้าหน้าที่รัฐอย่างต่อเนื่อง

และ สิ่งเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นว่าคณะรัฐบาลของท่านปราศจากความน่าเชื่อถือที่จะ ดำเนินการสอบสวนคดีเกี่ยวกับการสังหารประชาชนอย่างเป็นอิสระหรือเป็นธรรม

ในขณะเดียวกันรัฐบาลยังโยนความรับผิดชอบต่อการตายของประชาชนทั้งหมดให้กับแกนนำนปช.

เรา ขอย้ำเตือนให้ท่านเห็นถึงความล้มเหลวของท่านในการเยียวยาเหยื่อของอาชญากรรม อันทารุณ อาทิ การสังหารประชาชนโดยใช้ศาลเตี้ยหรืออำนาจมืด ซึ่งเป็นการละเมิดต่อสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเรือนและสิทธิทางการเมือง

รวมถึงบทบัญญัติกรุงโรม ซึ่งเป็นรากฐานของศาลอาญาระหว่างประเทศ ที่บัญญัติให้ทหารหรือพลเรือนผู้มีอำนาจเหนือประชาชน ที่ล้มเหลวในการดำเนินการสอบสวนดำเนินคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ต้องรับผิดชอบ หากปรากฏชัดว่ากลุ่มคนดังกล่าวจงใจเพิกเฉยต่อข้อมูลที่ระบุชัดแจ้ง ว่าผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมดังกล่าว

ซึ่ง ได้ระบุไว้ในบทบัญญัติกรุงโรม มาตรา 28 (b) (III) หลักการดังกล่าวยังเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่สามารถนำไปปรับใช้กับ ประเทศไทยได้

จากการกระทำของรัฐบาลที่ได้กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความไม่เต็มใจและความไร้สมรรถภาพของรัฐบาลในการดำเนินการการ สอบสวนคดีอาชญา กรรมต่อมนุษยชาติอย่างเป็นอิสระ

เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะปฏิบัติตามข้อเรียกร้องดังกล่าว