WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, September 20, 2010

4ปีรัฐประหาร:อนาคตสังคมไทย

ที่มา ข่าวสด

รายงานพิเศษ




วรเจตน์ ภาคีรัตน์ /ธีระ สุธีวรางกูร

วัน ที่ 19 ก.ย. ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ (มธ.) กลุ่มนิติราษฎร์ คณะนิติศาสตร์ มธ. และสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน เปิดตัวเว็บไซต์ www.enlightened-jurists.com นิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร เพื่อเปิดช่องทางการสื่อสาร และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายในการสนับสนุนความเคลื่อนไหวทางความคิดใน ระบอบประชาธิปไตยของประชาชน

เว็บดังกล่าวจัดทำโดย อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มธ. 5 คน ประกอบด้วย นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์, น.ส.สาวตรี สุขศรี, นายธีระ สุธีวรางกูร, นายปิยบุตร แสงกนกกุล, นางจันทจิรา เอี่ยมมยุรา

โอกาสนี้ได้จัดเสวนา เรื่อง "4 ปีรัฐประหาร 4 เดือนพฤษภาอำมหิต: อนาคตสังคมไทย" มีเนื้อหาดังนี้



วรเจตน์ ภาคีรัตน์

หลาย ปีที่ผ่านมานิติศาสตร์เข้ามามีบทบาทต่อการช่วงชิงอำนาจและสร้างความชอบธรรม ให้กับอำนาจรัฐ สร้างบาดแผลให้กับวงการกฎหมายอย่างรุนแรง และสร้างความ อยุติธรรมให้กับประชาชน

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาล้วนแสดงถึงความล้ม เหลวในการสถาปนานิติรัฐของไทยที่รองรับกฎหมายระบอบประชา ธิปไตย ทำให้กฎหมายไม่สามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ จึงทำให้เกิดการรัฐประหารขึ้นเป็นระยะๆ

อีกทั้งนักกฎหมายเข้าไปรับ ใช้ภายใต้อำนาจรัฐประหาร ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ส่วนทหารควรกำหนดเป็นหน้าที่ ทหารต้องสามารถปฏิเสธคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ที่มีคำสั่งให้ทำรัฐประหารได้ หากเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ ชอบธรรม

ตอน นี้มีคำตอบที่หลายฝ่ายอยากรู้คือ การรัฐประหารในวันที่ 19 ก.ย.49 จะเป็นครั้งสุดท้ายหรือไม่ ส่วนตัวเชื่อว่าการทำรัฐ ประหารน่าจะเกิดขึ้นอีกสักครั้ง โดยครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งสุดท้าย

ส่วน การทำ รัฐประหารครั้งที่ผ่านมายังถือไม่ได้ว่าเราพ้นจากการรัฐประหารครั้งนั้นแล้ว เนื่องจากเนื้อหาและผลของการทำรัฐประหารกำลังดำเนินอยู่ในตอนนี้

การ ทำรัฐประหาร 19 ก.ย.49 ก็ยังถือมีข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือ ทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในเรื่องนี้ และยังเป็นการจุดชนวนให้กับภาคประชาชนลุกขึ้นมาต่อสู้กับการรัฐประหาร

การ ทำรัฐประหาร 19 ก.ย.49 ถือเป็นการรัฐประหารที่ใช้ต้นทุนสูง เพราะมีชนชั้นนำเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุ ประสงค์ทำลายล้างปฏิปักษ์ทางการเมืองที่มีความเข้มแข็งกว่า รวมทั้งเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับฝ่ายก่อการรัฐประหาร

สาวตรี สุขศรี / ปิยบุตร แสงกนกกุล



การ รัฐประหาร 19 ก.ย.49 ถือว่าประสบความสำเร็จแต่ไม่ทั้งหมด ในส่วนที่ประสบความสำเร็จจะอยู่ในส่วนของเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการยุบพรรค การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และการลดทอนสิทธิของประชาชน จนทำให้ประชาชนเสมือนเป็นผู้ไร้ความสามารถและความรู้สึกนึกคิด

ที่ ถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จทั้งหมด หากดูจากผลการเลือกตั้งหลังการทำรัฐประหารในช่วงเดือนธ.ค.50 ก็จะเป็นเครื่องชี้วัดได้เลยว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เอาด้วยกับการทำรัฐประหาร

เหตุการณ์ในช่วงพ.ค. 53 ถือเป็นเครื่องชี้วัดให้เห็นได้ว่า อุดมการณ์ทางความคิดเริ่มอ่อนแอลง ทำให้ต้องมีการใช้ความรุนแรงกับประชาชน ในอนาคตอาจมีการปะทะกันเช่นนี้อีก แต่เหตุการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไปจากครั้งนี้

ในครั้งหน้าคงไม่มีใครที่จะยอมให้ยิงเฉยๆ เหมือนครั้งนี้อีก และหลังจากนี้อาจมีการต่อสู้กันทางความคิดไปอีกสักระยะหนึ่ง

ส่วน ตัวเชื่อว่าอะไรที่เป็นความไม่จริงไม่ใช่สัจจะ วันหนึ่งความไม่จริงนั้นก็ต้องถูกเปิดออกและประชาชนก็จะเห็น ตอนนี้การต่อสู้ระหว่างความจริงกับความไม่จริงนั้นกำลังดำเนินอยู่ เราทุกคนต้องอดทน

ในอนาคตเราคงจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในสังคม ใครก็ไม่สามารถที่จะรั้งไว้ได้

ส่วน เรื่องการปรองดอง คงเกิดขึ้นได้ยาก ถ้าในตอนนี้ยังไม่มีการพูดความจริงกันและรัฐบาลยังทนรับฟังความจริงไม่ได้ ประกอบกับคนที่ทำผิดก็ยังไม่ได้รับผิด

หากเป็นเช่นนี้แล้วความปรองดองจะเกิดขึ้นได้อย่างไร



ธีระ สุธีวรางกูร

การ รัฐประหารเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ 19 ก.ย.49 แต่ความเป็นจริงมีกระบวนการเริ่มขึ้นก่อนประมาณ 7-8 เดือน มีความพยายามแก้ระบบการเลือกตั้ง ในช่วงเดือน พ.ค.ปี "49

มี ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองพยายามล็อบบี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในตอนนั้น เพื่อให้เพิกถอนสิทธิ์ทางการเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่ตุลาการท่านนั้นไม่ยอมทำตามคำขอ ในที่สุดจึงเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.49

หลังจากนั้นก็ มีการตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ เพื่อต้องการยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน ซึ่งก็ทำสำเร็จ แต่พอต่อมาเมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล ก็มีการกระทำที่แตกต่างกัน โดยการกระทำ ดังกล่าวเสมือนพรรคประชาธิปัตย์เป็นเมล็ดถั่วเขียวที่มีต้นสักใหญ่มาค้ำยัน ให้อยู่

ระยะเวลาที่ผ่านมามีหลายฝ่ายบอกว่า เราควรลืมการรัฐประหาร 19 ก.ย.49 ผมไม่เห็นด้วย ความจริงเราควรจดจำเอาไว้เพื่อในอนาคตคนรุ่นหลังจะได้รู้ว่า ประเทศไทยเคยมีเหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้ขึ้น

สังคมไทยในอนาคตเราคง ต้องทำใจ เพราะขณะนี้เรายังอยู่ในวังวนของความขัดแย้งไปอีกนาน เปรียบเทียบคล้ายมวย มวยคู่นี้จะชกจนกว่าจะมีใครล้มลงข้างหนึ่ง

งาน นี้จะไม่มีเจ๊า แต่จะมีแต่เจ๊งกับได้ เพราะคู่ขัดแย้งฝ่ายหนึ่งไม่อยู่ในสถานะที่จะเสมอได้ เพราะในบางกลุ่มการเสมอถือว่าแพ้ แต่ใครจะได้ชัยชนะครั้งนี้ไปนั้นก็ต้องวัดดวง



สาวตรี สุขศรี

การ เสนอข่าวของสื่อมวลชนที่ผ่านมาไม่ได้นำเสนอความเป็นจริงที่เกิดขึ้น แต่นำเสนอภาพเพียงด้านเดียวโดยเฉพาะทีวีสาธารณะ รวมไปถึงสื่อกระแสหลักและกระแสรอง ต่างก็เป็นเป้าหมายของฝ่ายรัฐที่ต้องการใช้ความพยายามจำกัดความคิดที่เห็น ต่าง

เห็นได้จากช่วง 4 เดือนหลังการทำรัฐประหาร ข่าวที่ ออกมาความน่ากลัวของการรัฐประหารจะหายไป และพยายามทำให้เห็นว่าการทำรัฐประหารเป็นสิ่งจำเป็น รวมทั้งมีการเสนอข่าวที่ว่ามีประชาชนนำดอกไม้ไปมอบและให้กำลังใจ

เช่น เดียวกับช่วง 4 เดือนหลังเหตุการณ์เดือนพ.ค. 53 จะพบว่า ภาพข่าวที่มีทหารยิงประชาชนภายในวัดปทุมฯ หายไปเช่นกัน จะมีเพียงแต่ภาพข่าวประชาชนที่ออกมาร่วมกันทำความสะอาด และข่าวรัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการจัดถนนคนเดิน รวมถึงข่าวทำนองผู้ชุมนุมเป็นฝ่ายผิดทั้งหมด

หลังการสลายการชุมนุม เดือนพ.ค.53 รัฐบาลใช้อำนาจพ.ร.ก.ฉุกเฉินเข้าไปปิดสื่อหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นวิทยุชุมชน สื่อสิ่งพิมพ์และเว็บไซต์ เช่นเดียวกับการทำรัฐประหารก็มีการใช้กำลังทหารและรถถังไปปิดสื่อต่างๆ

มี สถิติการปิดเว็บไซต์ตั้งแต่ช่วงรัฐบาลทักษิณ ช่วงนั้นมีการปิดเว็บไซต์ประมาณ 2,500 เว็บ ต่อมาช่วงหลังการรัฐประหารมีการปิดเว็บไซต์มากขึ้นถึง 13,400 เว็บ

ใน ยุคของรัฐบาลประชาธิปัตย์สมัยของร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เป็น รมว.ไอซีที ปิดเว็บไซต์มากถึง 17,000 เว็บ ยุคของนายจุติ ไกรฤกษ์ ปิดเว็บไซต์มากที่สุดคือ 43,000 เว็บ

สำหรับการปฏิรูปสื่อ หากพ.ร.ก.ฉุกเฉินยังประกาศใช้อยู่ และสื่อฝ่ายตรงข้ามยังถูกไล่ล่า การปฏิรูปสื่อจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ประกอบกับตอนนี้ทหารยังอยู่หลังฉาก ทางแก้ทางเดียวคือ ต้องคืนอำนาจทั้งหมดให้ประชาชน ทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวพันกับการลิดรอนเสรีภาพของประชาชน

และรัฐต้องพร้อมที่จะให้ประชาชนตรวจสอบการทำงาน



ปิยบุตร แสงกนกกุล

การ ทำรัฐประหาร 19 ก.ย. 49 ถือเป็นการเหยียบย่ำประชาธิปไตย มีการพรากและลดสถานะพลเมืองให้กลายเป็นไพร่จากนายทหารเพียงไม่กี่นายที่ไม่ มีความรู้ทางด้านกฎหมาย

มีนักกฎ หมายเข้าไปรับใช้ออกแบบ เพื่อสร้างกลไกทางกฎหมายให้ผู้ที่ทำรัฐประหารไม่มีความผิด และการกระทำทั้งหมด ชอบด้วยตัวบทกฎหมาย

จาก นั้นคณะรัฐประหารก็ปิดรูโหว่และเร่งปราบปรามศัตรูฝ่ายตรงข้าม อาทิ การยุบพรรคการเมือง ที่มีสาเหตุมาจากการกระทำของกรรมการบริหารพรรค หากรัฐบาลยุคไหนมีความเข้มแข็งได้รับความนิยมเท่าหรือสูงกว่าชนชั้นนำ รัฐบาลนั้นต้องมีอันเป็นไป แต่รัฐบาลที่อ่อนแอและสามารถควบคุมได้ง่ายก็จะอยู่ได้นาน

ส่วนการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปนั้น ถือเป็นเรื่องไร สาระ

การ มีกลุ่มเสื้อสีแดงมารวมตัวกันไม่ได้ถือว่าเป็นกลุ่มเสื้อสีแดงทั้งหมด แต่เพราะมีจุดยืนเหมือนกัน เมื่อกลุ่มเสื้อสีแดงรวมตัวกันมากขึ้นก็มีการกลัวว่าจะเลยเถิดไปถึงชนชั้น สูง ใบอนุญาตจึงเริ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์เมื่อช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. 53 วัตถุประสงค์เพื่อกดให้คนกลุ่มนี้เป็นไพร่ต่อไป

การจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองตอนนี้ ต้องมีการตอบคำถามให้ได้ว่า ใครออกใบสั่งและใครสั่งให้ฆ่าประชาชน