WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, September 20, 2010

ขบวนการลิ้มเจ้า

ที่มา โลกวันนี้



การสำรวจความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนอายุ 15-25 ปี ในเขตกรุงเทพฯ
เนื่องในโอกาสวันเยาวชนแห่งชาติ วันที่ 20 กันยายน ปรากฏว่า
เยาวชนร้อยละ 62.1 ให้ความสนใจต่อเหตุการณ์ทางการเมืองค่อนข้างน้อย
ถึงไม่สนใจเลย แม้ส่วนใหญ่จะเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องของทุกคนในสังคม

ขณะที่เยาวชนร้อยละ 47.6 เห็นว่าการเมืองไทยในปัจจุบันมีแต่ความขัดแย้ง
และจ้องจับผิดกัน มีความวุ่นวาย ไม่เป็นประชาธิปไตย
และมีแต่การใช้ความรุนแรง โดยร้อยละ 44 ยังมีมุมมองต่อนักการเมืองไทยว่า
คำนึงถึงแต่เรื่องผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ

ส่วนความเห็นว่าอยากเห็นนักการเมืองเป็นอย่างไรนั้น ไม่ได้แตกต่างจากประชาชนทั่วไปคือ
ซื่อสัตย์สุจริต คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ และเลิกขัดแย้งกัน
ซึ่งถือเป็นเรื่องจริยธรรมของนักการเมืองทั่วโลกที่ไม่ได้เป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญเลย

สำหรับนักการเมืองไทยแล้วกลับเหมือน “ขมเข็มในมหาสมุทร” เพราะนักการเมืองทุกคน
ที่ประกาศตัวเองว่าซื่อสัตย์สุจริต และทำงานเพื่อประชาชนและประเทศชาติ
หรือถูกยกย่องว่าเป็นคนดีนั้น ล้วนแต่ “ปากว่าตาขยิบ” หรือ “ท่าดีทีเหลว” เกือบทั้งสิ้น

ปัญหาใหญ่หรือต้นเหตุสำคัญของวิกฤตบ้านเมืองวันนี้จึงอยู่ที่นักการเมือง
แต่ไม่อาจปฏิเสธว่ากองทัพก็มีส่วนอย่างมาก
เพราะหากไม่มีการปฏิวัติรัฐประหาร
ก็คงไม่มีการฉีกรัฐธรรมนูญ ระบอบประชาธิปไตยไม่ต้องเกิดและดับครั้งแล้วครั้งเล่า

ไม่มีวาทกรรมอำมหิต “ขอคืนพื้นที่” และ “กระชับวงล้อม”
จนทำให้มีประชาชนต้องเสียชีวิตถึง 91 ศพ และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 ราย
จนเป็นความวิบัติและหายนะที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย

ไม่มี “ขบวนการลิ้มเจ้า” ที่ใช้วาทกรรม “ล้มเจ้า” เป็นเครื่องมือกล่าวหาใส่ร้าย
เพื่อทำลายฝ่ายตรงข้าม ที่หลอกหลอนผู้คนทั้งแผ่นดินอย่างไม่รู้จบ

ความปรองดองจึงอยู่ที่ความยุติธรรมและความเสมอภาค
ซึ่งไม่ใช่การใช้อำนาจมากดขี่บังคับ หรือให้ทหารออกมาฉีกรัฐธรรม

แต่ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายต้องมีสติ
เพื่อร่วมกันสร้างบรรทัดฐานของนิติรัฐขึ้นมา ไม่ใช่เลือกปฏิบัติหรือ 2 มาตรฐาน
โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรมที่ต้องเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง
แม้แต่ฝ่ายตุลาการก็ต้องถือว่าอำนาจรัฐประหารเป็น “โจราธิปไตย”