ที่มา Thai E-News
โดย จรัล ดิษฐาภิชัย
ที่มา "4 years after the Coup d’état - September 19,2006" / Europe solidaire sans frontières
แปลโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
19 กันยายน 2553
หมายเหตุ: จรัล ดิษฐาภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศไทย เข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนเป็นเวลา 40 ปี ก่อน 14 ตุลาคม 2516 เขาเป็นผู้นำนักศึกษาและผู้ชักนำระบอบประชาธิปไตยต่อต้านรัฐบาลทหาร หลังจากการสังหารหมู่นักศึกษาวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เขาได้ร่วมกับการเคลื่อนไหวปฏิวัติในต่างจังหวัด ในช่วง 20 ปีให้หลังเขาเป็นผู้ที่อุทิศตนในเรื่องสิทธิมนุษยชน เขาถูกจับกุมตัวที่พม่าในเดือนสิงหาคม 2531 ในฐานะสนับสนุนประชาธิปไตย19 กันยายน 2553 เป็นวันครบรอบปีที่ 4 นับจากการรัฐประหารครั้งสุดท้ายในประเทศไทย ซึ่งนำพาไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองและสังคมที่เลวร้ายที่สุดในประวัติ ศาสตร์ของประเทศไทย ในการที่จะเข้าใจการรัฐประหารที่ต่อต้านรัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เราต้องเข้าใจว่าเขานั้นได้รับการขนานนามว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการ นิยมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ พรรคไทยรักไทย (ทรท) เข้าสู่อำนาจในปี 2544 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่พรรคการเมืองพรรคเดียวชนะการเลือกตั้ง มากกว่า 50% ของรัฐสภา สามารถที่จะตั้งรัฐบาลพรรคเดียว พรรคนี้ชนะการเลือกตั้งส่วนหนึ่งเพราะการรณรงค์หาเสียงที่เน้นไปที่ประเด็น ของ สวัสดิการสุขภาพราคาถูก และกองทุนกู้ยืม ประเด็นเหล่านี้เป็นและยังคงเป็นสิ่งสำคัญต่อประชาชนในชนบทของประเทศไทย ซึ่งเทคะแนนเสียงให้กับพรรคไทยรักไทยอย่างท่วมท้น
และอีกเช่นกัน เป็นเพราะความมุ่งมั่นสูงของ ทรท. พรรคได้เริ่มการบริหารจัดการนโยบาย ดังนั้นจึงมีการแทรกแซงต่ออาณาบริเวณของวัฒนธรรมของระบบราชการ เป็นครั้งแรกที่ข้าราชการถูกผลักดันให้ทำตามคำสั่งและนโยบายซึ่งริเริ่มโดย คนที่มาจากการเลือกตั้ง การบริหารของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณช่วยให้ประชาชนเข้มแข็งและเชื่อมั่นใน ความเป็นไปได้ของการบริหารจัดการที่ดีที่ทำให้ความเชื่อในเรื่องสังคมและการ เมืองเข้มแข็งขึ้น
ประชาชน ไทยได้รับการปลุกใจโดยทักษิณตลอด 5 ปีที่เขาอยู่ในอำนาจ ซึ่งอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย พลเมืองสามารถแสดงเจตจำนงค์ของเขาและเธอสู่รัฐบาลและเสียงของเขาถูกได้ยิน นโยบายของทักษิณกำหนดให้ข้าราชการรับใช้สาธารณะ ไม่ไช่สวนอีกทางหนึ่ง ถ้าระบบราชการแบบเก่งปล่อยให้ทักษิณและความคิดของเขายังดำรงอยู่ ความเข้มแข็งของระบบราชการจะอ่อนแอลงอย่างมาก และแน่นอนว่านโยบายของทักษิณที่จะทำให้การเมืองในชนบทเข้มแข็งเป็นที่ทราบ ว่าเป็นภัยต่อระบบราชการแบบเก่าและประโยชน์ของ “ชนชั้นสูง”
นโยบาย ที่ไทยรักไทยรณรงค์เป็นครั้งแรกที่ทำให้ประเทศไทยมีรัฐบาลที่เข้มแข็งมี เจตนารมณ์ที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความนิยมต่อไทยรักไทยที่ท่วมท้นทำให้เกิดสูญญากาศทางการเมืองต่อฝ่ายตรงข้าม ทางการเมือง พรรคประชาธิปัตย์ ที่อ่อนแอและไม่มีอิทธิพลต่อความนิยมของทักษิณ ซึ่งไม่มีบัญญัติทางกฎหมายหรืออำนาจที่จะสร้างสมดุลอำนาจที่แตกต่าง ที่จุดนี้หลังจาก 4 ปีผ่านไป คนทำงานทางสังคมและนักวิชาการ ซึ่งโดยธรรมชาติจะต่อต้านรัฐบาล พบว่าเริ่มไม่ไหวกับรัฐบาลของดร. ทักษิณ มากขึ้น มากขึ้น ไม่ใช่แต่เพียงข้าราชการและ “ชนชั้นสูง” เท่านั้น แต่กองทัพก็ไม่วางใจต่อนโยบาลของรัฐบาลทักษิณมากขึ้นด้วย
นายก รัฐมนตรีทักษิณยังคงรักษาการรณรงค์รับประกันต่อประชาชนในชนบทและให้ความ สำคัญกับการพัฒนาและสวัสดิการทางสังคม ซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับกองทัพ ซึ่งโดยวัฒนธรรมดั้งเดิมจะได้รับงบประมาณจากรัฐบาลมากมายมหาศาล ปรากฎแน่ชัดว่าการใช้จ่ายของกองทัพไม่มีทางที่อยู่ในลำดับต้น ๆ ของรายการ ไม่มีกลยุทธวิธีการอื่นใด ฉากถูกจัดขึ้นสำหรับกองทัพที่สร้างพันธมิตรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเริ่ม ต้นกระบวนการที่ทำให้เจตนารมณ์ทางการเมืองคดงอ
กอง ทัพรอจนกระทั่งฝ่ายที่เคลื่อนไหวต่อต้านทักษิณสร้างป้อมปราการท่ามกลาง ปัญญาชน สถาบันพระมหากษัตริย์ นักเคลื่อนไหวทางสังคมของเอ็น จี โอ ชนชั้นกลาง และสื่อสารมวลชน จนกระทั่งทั้งหมดนี้รวมตัวกันแล้ว กองทัพก็เข้ามายึดอำนาจ
พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ทำการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 ลักษณะการรัฐประหารนี้แตกต่างจากการรัฐประหารก่อน ๆ อย่างแรกคือ การได้รับการสนับสนุนโดยปัญญาชน คนชนชั้นกลางและสื่อสารมวลชนกระแสหลัก
ลักษณะ ที่สองคือ “การเคลื่อนไหวทางสังคม” ที่เฉพาะเจาะจงจะเป็น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นหัวหอกทางความคิดในการให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหาร สนธิ ลิ้มทองกุล นำ พันธมิตรฯ และอุดมการณ์ “การเมืองใหม่” ซึ่งยึดโยงกับ “ชนชั้นสูง” ซึ่งคาดว่าจะไม่คอร์รัปชั่น และยังคงปกครองอยู่เหนือการเมืองไทยและสภาพโดยรวมของรัฐบาล
สิ่งที่ โดดเด่นและน่าประหวั่นพรั่นพรึงอย่างที่สุดคือการเข้ามาแทรกแซงในการเมือง ขององคมนตรี องคมนตรีเป็นผู้พาผู้นำการรัฐประหารเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ตอนเที่ยงคืนและ ขอพระบรมราชานุญาตให้ทรงรับรองการยึดอำนาจมีความชอบธรรมทางกฎหมาย
คณะ เผด็จการทหารได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวและประกาศแต่งตั้งคณะรัฐบาล และสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้น โดยแอบอ้างว่าเป็นประชาธิปไตย แต่แท้จริงแล้วคนที่ได้รับการแต่งตั้งเหล่านั้นไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชน คนใด นอกจากของคณะเผด็จการทหาร กลุ่มคนชั้นสูง และขบวนการต่อต้านทักษิณเท่านั้น เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ร่างเสร็จ รัฐบาลของเผด็จการทหารได้ดำเนินการให้มีการรับรัฐธรรมนูญวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ภายใต้การควบคุมและแทรกแซงของฝ่ายทหาร และได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายในที่สุด
ใน ขณะเดียวกัน คณะเผด็จการทหารได้จัดกลไกให้เกิดการยุบพรรคไทยรักไทย ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะลดอำนาจของเหล่านักการเมืองที่เลือกขึ้นมาโดยประชาชน ขณะเดียวกันก็สร้างความเข้มแข็งให้กับอำนาจของฝ่ายข้าราชการ จากนั้นระบบการปกครองของประเทศไทยได้เปลี่ยนเป็นอำมาตยาธิปไตย ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริงอีกต่อไป และจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าที่เราจะพลิกฟื้นหลักนิติรัฐกลับมาใหม่
ตาม รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ การเลือกตั้งถูกจัดให้มีขึ้น นับเป็นการเลือกตั้งที่มีการทุจริตและโกงมากที่สุด คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลการเลือกตั้ง กลับไม่ได้ทำหน้าที่ที่พึงกระทำ ทั้งนี้เพราะคณะกรรมการชุดนี้แต่งตั้งมาโดยคณะเผด็จการทหาร กระนั้นก็ตาม พรรคพลังประชาชนก็ชนะการเลือกตั้ง และนายสมัคร สุนทรเวชก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
ภายใน 3 เดือน พันธมิตรฯ ซึ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุนการรัฐประหาร เริ่มต้นประท้วงและยึดสถานี NBT ทำเนียบรัฐบาล และสนามบินสุวรรณภูมิ ในเวลาเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิ์นายกรัฐมนตรี 2 คน รวมทั้งพรรคพลังประชาชนทางการเมือง 5 ปี ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงต่อพรรคการเมืองที่พวกเขาสนับสนุน นั่นก็คือ พรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็นรัฐบาลที่กองทัพแต่งตั้ง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากในค่ายทหาร
ครั้ง นี้ คนเสื้อแดงมีเป้าหมายไปที่รัฐบาลที่ไม่ชอบธรรมของอภิสิทธิ์และผนวกการชุมนุม 6 ครั้ง และครั้งสุดท้ายในช่วง 12 มีนาคม – 19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งถูกสลายโดยกองทัพ เป็นผลทำให้มีผู้เสียชีวิต 91 ราย และบาดเจ็บอีก 2,000 คน แม้ว่าการชุมนุมของคนเสื้อแดงจะถูกทำให้ภายใต้การควบคุม อย่างไรก็ตาม ยังคงมีคำถามที่หนักหน่วงเกี่ยวกับอนาคตของการเมืองไทย
โดย สรุป การรัฐประหาร 2549 ทำให้ประเทศไทยถอยหลังไป 50 ปี ประการแรก ไม่แต่เพียงหยุดกระบวนการประชาธิปไตยที่ดำเนินไปด้วยดีในช่วง 74 ปีของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยเท่านั้น แต่เพิ่มวิกฤตการณ์ทางการเมืองอย่างทวีคูณ
อย่างที่สอง ทำให้กองทัพกลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง รัฐบาลปัจจุบันในความเป็นจริงเป็นรัฐบาลพลเรือนผนวกกับกองทัพ และสุดท้ายการรัฐประหารทำให้ความแตกแยกของเสื้อเหลืองและเสื้อแดงกว้างและ ลึกมากขึ้น จนกระทั่งบัดนี้ความแตกแยกนี้ปรากฏในทุก ๆ ที่ และแบ่งแยกทุกองค์กรจากระดับประเทศสู้ระดับครอบครัว ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย
ประเด็นสุดท้ายที่ข้าพเจ้าต้อง การที่จะเตือนความจำว่า ตั้งแต่การปฏิวัติประชาธิปไตย 2475 ซึ่งยุติระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาจนกระทั่งปัจจุบันนั้น ที่ผ่านมา มีการรัฐประหารไป 10 ครั้งที่สำเร็จ กระทั่งวันนี้ สภาพแวดล้อมทางการเมืองยังคงสุกงอมสำหรับการรัฐประหารครั้งต่อไป การป้องกันการรัฐประหารอีกครั้งนั้นก็คือหลักการที่สำคัญของคนไทยและชาวโลก ที่รักอิสรภาพและประชาธิปไตย ข้าพเจ้าเรียกร้องให้ประชาคมโลกใส่ใจต่อสถานการณ์ในประเทศไทยในขณะนี้ด้วย เถิด
*********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:เชิญชมคลิปวีดีโอลำดับเหตุการณ์ 4 ปี รัฐประหาร “เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร”