ที่มา ประชาไท
มติ ครม.ตั้งผู้ว่า 48 จังหวัด เป็นคำสั่งสุดท้ายก่อนปลัดกระทรวงเกษียณอายุ ส่วนเชียงใหม่ได้ "มล.ปนัดดา ดิศกุล" นั่งผู้ว่าฯ
วาน นี้ (28 ก.ย.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง และผู้ว่าราชการจังหวัดจำนวน 48 ราย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ทั้งนี้ได้ต่ออายุราชการให้ นายสมศักดิ์ ภูรีศรีศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ต่อไปอีก 1 ปี หลังจากทำหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าว ครบ 4 ปี เนื่องจากมีผลการปฏิบัติราชการดีเยี่ยม เป็นประโยชน์ต่อการบริหารราชการของจังหวัดสุพรรณบุรี
สำหรับโยกย้าย ผู้ว่าฯทั้ง 48 ตำแหน่งมีดังนี้ 1.นายสมชัย หทยะตันติ พ้นผู้ว่าฯพิจิตร เป็น ผู้ว่าฯ เชียงราย 2.นายเชิดศักดิ์ พ้นผู้ว่าฯ พะเยาเป็นผู้ว่าฯ สมุทรปราการ 3.นายปรีชา บุตรศรี พ้นผู้ว่าฯปทุมธานี เป็นผู้ตรวจราชการฯ 4.นายธวัชชัย ฟักอังกูร พ้นผู้ว่าร้อยเอ็ด เป็นผู้ตรวจราชการฯ 5.นายสมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ พ้นผู้ว่าฯสกลนคร เป็นผู้ว่าขอนแก่น
6.นายอำนาจ ผการัตน์ พ้นผู้ว่าฯ อุดรธานี เป็น ผู้ว่าฯ สกลนคร 7. นายคมสัน เอกชัย พ้นผู้ว่าฯ หนองคาย เป็นผู้ว่าอุดรฯ 8. นายธีรเทพ ศรียะพันธ์ พ้นผู้ว่าปัตตานี เป็นผู้ว่าจันทบุรี 9. มล.ปนัดดา ดิศกุล พ้นผู้ว่าฯ นครปฐม เป็นผู้ว่าฯเชียงใหม่ 10.นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ พ้นผู้ว่าฯ สิงห์บุรี เป็นผู้ว่าฯนครปฐม
11. นายระพี ผ่องบุพกิจ พ้นผู้ว่าฯสุรินทร์ เป็นผู้ว่าฯ นครราชสีมา 12.นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี พ้นผู้ว่ากาญจนบุรี เป็นผู้ว่าฯ นครพนม 13.นายเสนีย์ จิตตเกษม พ้นผู้ว่าฯ ชลบุรี เป็นผู้ว่าน่าน 14.นายชวน ศิรินันท์พร พ้นผู้ว่าฯ อุบลราชธานี เป็นผู้ว่าฯแพร่ 15. นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย พ้นผู้ว่าเพชรบูรณ์ เป็นผู้ว่าฯ ระยอง
16.นายวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ พ้นผู้ว่าศรีษะเกษ เป็น ผู้ว่าฯ เพชรบูรณ์ 17.นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต พ้นผู้ว่าฯ หนองบัวลำภู เป็น ผู้ว่าศรีษะเกษ 18.นายวินัย บัวประดิษฐ์ พ้นผู้ตรวจราชการฯ เป็น ผู้ว่าฯ หนองบัวลำภู 19.นายวันชัย สุทธิวรชัย พ้นผู้ว่าฯ ชัยภูมิ เป็น ผู้ตรวจราชการฯ 20.นายวินัย ครุวรรณพัฒน์ พ้นผู้ว่าฯ พัทลุง เป็นผู้ว่าฯสตูล
21.นายแก่นเพชร ช่วงรังษี พ้นผู้ว่าฯ ตราด เป็นผุ้ว่าอำนาจเจริญ 22.นายศุภกิจ บุญญฤทธิพงษ์ พ้นผู้ว่าฯ ลำปาง เป็นผู้ตรวจราชการฯ 23.นายอธิคม สุพรรณพงศ์ พ้น ผู้ตรวจราชการฯ เป็นผู้ว่าฯลำปาง 24.นายพินิจ เจริญพานิช รองอธิบดีกรมการปกครอง เป็น ผู้ว่าฯ ชุมพร 25.นายชาญวิทย์ วสยางกูร พ้นที่ปรึกษาด้านบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ เป็นผู้ว่าฯ มุกดาหาร
26. นายวิชิต ชาตไพสิฐ สำนักงานปลัดกระทรวงฯ เป็นผู้ว่าฯ ชลบุรี 27.นายบุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ พ้นผู้ว่าฯ มุกดาหาร 28.นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูร พ้นรองผู้ว่าฯ พิจิตร เป็น ผู้ว่าฯ พิจิตร 29. นายกิตติ ทรัพยวิสุทธิ์ พ้นรองผู้ว่าฯ ราชบุรี เป็นผู้ว่าฯ ฉะเชิงเทรา 30.นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ พ้นรองผู้ว่าฯ พะเยา เป็นผู้ว่าฯ พะเยา
31.นายวันชัย โอสุคนธ์ทิพย์ พ้นรองผู้ว่าฯ สุพรรณบุรี เป็นผู้ว่าฯ อุทัยธานี 32.นายธานี สามารถกิจ พ้นรองผู้ว่าฯ ชลบุรี เป็นผู้ว่าฯ ปทุมธานี 33.นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม พ้นรองผู้ว่าฯ กาฬสินธุ์ เป็น ผู้ว่าฯ ร้อยเอ็ด 34.นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล พ้นรองผู้ว่าฯ นราธิวาส เป็นผู้ว่าปัตตานี 35.นายพิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ พ้นรองผู้ว่าฯ นครนายาก เป็นผู้ว่าฯ สิงห์บุรี
36.นาย เสริม ไชยณรงค์ พ้นรองผู้ว่าฯบุรีรัมย์ เป็น ผู้ว่าฯ สุรินทร์ 37.นายชัยโรจน์ มีแดง พ้นรองผู้ว่า นครสวรรค์ เป็น ผู้ว่าฯ นครสวรรค์ 38.นายณฐพลษ์ วิเชียรเพริศ พ้นรองผู้ว่าฯ ร้อยเอ็ด เป็นผู้ว่ากาญจนบุรี 39.นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ พ้นรองผู้ว่าฯ นครนายก เป็น ผู้ว่าฯ นครนายก 40.นายวิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ พ้นรองผู้ว่าอุดรธานี เป็นผู้ว่าฯ หนองคาย
41.นาย ธำรงค์ เจริญกุล พ้นรองผู้ว่าฯ สงขลา เป็น ผู้ว่าพังงา 42.นายสุรพล สายพันธ์ พ้นรองผู้ว่าฯอุบลราชธานี เป็น ผู้ว่าฯอุบลราชธานี 43.นายตรี อัครเดชา พ้นรองผู้ว่าฯ ภูเก็ตเป็นผู้ว่าฯภูเก็ต 44.นายพิสิษฐ์ บุญช่วง พ้นรองผู้ว่าฯอุทัยธานี เป็นผู้ว่าฯพัทลุง 45.นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล พ้นรองผู้ว่าฯภูเก็ต เป็นผู้ว่าฯสุราษฎร์ธานี
46.น.ส.เบญจวรรณ อ่านเปรื่อง พ้นรองผู้ว่าฯ กำแพงเพชร เป็นผู้ว่าฯตราด 47.นายจุลภัทร แสงจันทร์ พ้นรองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นผู้ว่าฯสมุทรสาคร 48.นายจรินทร์ จักกะพาก พ้นรองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้ว่าฯชัยภูมิ ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2553 เป็นต้นไป
โดย การแต่งตั้งดังกล่าวเป็นการออกคำสั่งในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกันยายน ก่อนนายมานิต วัฒนเสน ปลัดกระทรวงมหาดไทย เกษียณอายุราชการ และมีรองผู้ว่าฯ และรองอธิบดีระดับนักปกครองต้น ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้ว่า 21 ตำแหน่ง ขณะที่ข้าราชการระดับ 10 ในตำแหน่งผู้ว่าฯ และผู้ตรวจ ย้ายสลับกันจำนวน 21 ตำแหน่ง และผู้ว่าฯ ที่ถูกย้ายกรณีเผาศาลากลาง คือ อุบลราชธานี มุกดาหาร อุดรธานี ขอนแก่น ที่ถูกย้ายมาช่วยราชการกระทรวงมหาดไทย มีนายชวน ศิรินันทพร อดีตผู้ว่าฯ อุบลราชธานี มาเป็นผู้ว่าฯ แพร่ และนายอำนาจ ผการัตน์ อดีตผู้ว่า อุดรธานี ไปเป็นผู้ว่าฯ สกลนคร ขณะที่ นายปราโมทย์ สัจจรักษ์ ผู้ว่าขอนแก่น เกษียณอายุราชการในปีนี้ และนายบุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯ มุกดาหาร ยังต้องช่วยราชการสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยต่อไป
สำหรับ การโยกย้ายตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่น่าสนใจ ได้แก่รายของ มล.ปนัดดา ดิศกุล โฆษกกระทรวงมหาดไทย (ฝ่ายข้าราชการ) ซึ่งย้ายจากผู้ว่าฯ นครปฐม มาเป็นผู้ว่าฯ เชียงใหม่ โดย มล.ปนัดดา ถือเป็นผู้มีแนวคิดคัดค้านการกระจายอำนาจสู่การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด โดย มล.ปนัดดา เป็นผู้หนึ่งที่แสดงความเห็นในการบรรยาย หรือการประชุมคัดค้านการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดอย่างสม่ำเสมอ
ครั้งหนึ่งในปี 2549 ได้เขียนบทความหัวข้อ สาเหตุใดกัน ที่ไม่ควรเลือกตั้ง"ผวจ." ลงในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 5 ก.ย. 2549 ตอนหนึ่งของข้อเขียนระบุว่า "ผวจ. คือ ข้าราชการประจำผู้ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งหน้าที่เช่นเดียวกับเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม พิพากษา ฯลฯ และเป็นผู้ทำหน้าที่เชื่อมโยงจังหวัดในส่วนภูมิภาคกับส่วนกลาง รักษาไว้ซึ่งปรัชญาทางการบริหาร คือ ความเป็นราชอาณาจักร ที่เป็น "รัฐเดี่ยว" หรือ "Unitary State" มิใช่ระบบ "สหรัฐ" หรือ "Federation" แต่อย่างใด"
และล่าสุดในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 23 ก.ย. (กรอบบ่าย) ตีพิมพ์คำสัมภาษณ์ มล.ปนัดดา ที่ระบุว่า กระแสให้ยกเลิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)และให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นทั่วประเทศ ตามที่นักการเมืองนำเสนอข้อคิดเห็นดังกล่าวต่อ ส.ส.บางส่วนขณะนี้เป็นเรื่องน่าห่วงอย่างยิ่ง เพราะในยามประเทศชาติกำลังประสบปัญหา โดยเฉพาะความเป็นเอกภาพและความสงบเรียบร้อยคนไทยต้องช่วยกันนำเสนอข้อคิด เรื่องการเสริมสร้างทัศนคติความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง ไม่ใช่เวลาคิดค้นกระบวนวิธีการแบ่งแยกรูปแบบการบริหารของจังหวัด