ที่มา thaifreenews
4 ปีรัฐประหาร 4 เดือนพฤษภาอำมหิต”
เป็น กิจกรรมสำคัญของเครือข่ายภาคประชาชนที่รักประชาธิปไตยและคนเสื้อแดงทั้ง ในประเทศและทั่วโลกที่พร้อมใจกันจัดกิจกรรมต่างๆในวันที่ 19 กันยายนนี้ ซึ่งปีที่ 4 ของการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 แตกต่างกับปีที่ผ่านๆมา เพราะไม่มีใครเชื่อว่าจะเกิดเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ที่มีการเข่นฆ่าประชาชนอย่างโหดเหี้ยมอำมหิตมากถึง 91 ศพ และมีผู้บาดเจ็บ พิการเกือบ 2,000 ราย ถือเป็นเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
4 ปีแห่งความหายนะ
การ ทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงถือเป็น “วงจรอุบาทว์” อย่างแท้จริง แม้แต่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ก็ยอมรับว่า
“ไม่คิดว่ามันจะเลวร้ายไปถึงขนาดนี้”
รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงถือเป็น “ความสูญเปล่า” ที่ไม่เพียงฉุดให้บ้านเมืองจมปลักลงไปในเหวลึก ทำให้คนในชาติเกิดความแตกแยกและแบ่งฝ่ายเลือกขั้วอย่างที่ไม่เคยปรากฏแล้ว เศรษฐกิจยังพังพินาศ ขณะที่การบังคับใช้กฎหมายก็ไร้ซึ่งหลักนิติรัฐและนิติธรรม องค์กรอิสระต่างๆถูกวิพากษ์วิจารณ์และประณามเรื่องความไม่เป็นธรรมและ 2 มาตรฐาน
แม้แต่สถาบันตุลาการก็ถูกวิจารณ์ว่าตกต่ำสุดขีดอย่างที่ไม่ เคยปรากฏมาก่อน เพราะถูกดึงมาเกี่ยวข้องกับการเมือง ขณะที่รัฐธรรมนูญปี 2550 ก็มีการหมกเม็ดเพื่อลดทอนและทำลายความเข้มแข็งของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง นอกจากนี้คณะรัฐประหารยังหมกเม็ดมาตรา 309 ของรัฐธรรมนูญให้รับรองความชอบธรรมให้กับการรัฐประหารเป็น “รัฏฐาธิปัตย์” อีก
แต่กลับทำให้ภาคประชาชนเกิดความตื่นตัวตระหนักถึงคำว่า “ประชาธิปไตยและความยุติธรรม” อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้น ขณะที่กลุ่มปัญญาชนและกลุ่มชนชั้นกลางในเมืองกลับจมปลักอยู่กับโครงสร้าง อำนาจเดิมๆของกลุ่มทุนเก่าและกลุ่มอำมาตย์
มาตรฐานอภิสิทธิ์ชน
คน เสื้อแดงหลายล้านคนยืนหยัดเรียกร้องประชาธิปไตยและความยุติธรรมด้วยมือ เปล่า แต่กลับถูกปราบปรามด้วยกำลังทหารนับหมื่นพร้อมอาวุธสงคราม ถูกกล่าวหาว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” และเครือข่ายขบวน การ “ล้มเจ้า” แกนนำคนเสื้อแดงถูกส่งฟ้องศาลและจำคุกโดยไม่ให้ประกันตัว
แต่คนเสื้อ เหลืองปิดสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตั้งข้อหาผู้ก่อการร้ายและซ่องโจร แค่มารายงานตัวและรับทราบข้อกล่าวหาแล้วปล่อยตัว
อดีตนายกรัฐมนตรี บุกรุกและครอบครองที่ดินป่าสงวนฯบนเขาไม่มีความผิดเพราะ อัยการชี้ว่าขาดเจตนา แต่ชาวบ้านบุกเบิกพื้นที่ทำกินบริเวณเชิงเขากลับถูกจับและดำเนินการทาง กฎหมายอย่างเต็มที่
คนเสื้อเหลืองปิดถนนราชดำเนินและยึดทำเนียบ รัฐบาลนานเกือบ 7 เดือน ไม่ถูกดำเนินคดี แต่ชาวนาจังหวัดเชียงรายปิดถนนที่อำเภอพานประท้วงราคาข้าวเปลือกตกต่ำ 1 ชั่วโมง ถูกตำรวจจับส่งฟ้องศาลและถูกสั่งจำคุก 6 เดือนโดยไม่รอลงอาญา
7 ตุลา-พฤษภาอำมหิต 2 มาตรฐาน
เหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 คนเสื้อเหลืองชุมนุมปิดล้อมรัฐสภาเพื่อไม่ให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาสลายฝูงชน มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 2 ราย และบาดเจ็บ 443 ราย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติให้ชี้มูลความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกับนายสมชายในฐานะ นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งสั่งการให้สลายการชุมนุม นอกจากนี้ยังมีมติชี้มูลความผิดทางอาญาและวินัยร้ายแรงในฐานความผิดเดียวกับ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ในฐานะผู้บัญชาตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์
แต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) สั่ง “ขอคืนพื้นที่” และ “กระชับวงล้อม” ในเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ทำให้มีประชาชนเสียชีวิตถึง 91 ศพ และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 ราย นายอภิสิทธิ์และ ศอฉ. กลับยืนยันว่าไม่ได้กระทำความผิดเพราะไม่ได้สั่งฆ่าประชาชน ทั้งยังคงอำนาจ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อไล่ล่าและกวาดล้างคนเสื้อแดง และฝ่ายตรงข้าม
ม็อบเสื้อเหลืองขับรถชนและถอยหลังทับตำรวจที่ ปฏิบัติหน้าที่ ถูกตั้งข้อหาเจตนาฆ่าเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 จำเลยต่อสู้คดีและไม่รับสารภาพ ศาลตัดสินจำคุก แต่ปรานีให้รอลงอาญา
ขณะ ที่พราหมณ์เสื้อแดง นายศักดิ์ระพี พรหมชาติ ซึ่งทำพิธีเทเลือดสาปแช่งหน้าพรรคประชาธิปัตย์และหน้าบ้านนายอภิสิทธิ์ครั้ง เหตุการณ์เมษายน 2553 ถูกตั้งข้อหาชุมนุมโดยมิชอบด้วยกฎหมาย นายศักดิ์ระพีมอบตัวและสารภาพทุกข้อหา ศาลลงโทษจำคุก 8 เดือนโดยไม่รอลงอาญา
โบดำวิชาการ
นัก เรียน นักศึกษาเชียงราย 5 คน ถือป้ายรณรงค์ให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดนหมาย เรียกในความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ข้อหาชุมนุม 5 คนขึ้นไป กระทำการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย แต่คนเสื้อเหลืองนับร้อยชุมนุมค้านการนำปราสาทพระวิหารจดทะเบียนเป็นมรดกโลก หน้าทำเนียบรัฐบาลและกองทัพภาคที่ 1 กลับไม่ถูกดำเนินคดี
ขณะที่ กระทรวงศึกษาธิการและมหาวิทยาลัยมีหลักสูตร ให้นักเรียน นักศึกษาเข้าใจระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงที่ มาจากประชาชนและเพื่อประชาชน แต่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากลับมีหนังสือเวียนถึงผู้บริหารสถาบัน อุดมศึกษาให้ควบคุมดูแลไม่ให้ล้อเลียนและเสียดสีการเมือง เป็นตลกร้ายที่ไม่ต่างกับยุคก่อน 14 ตุลาคม 2516 และหลัง 6 ตุลาคม 2519 ที่รัฐบาลพยายามปิดกั้นสิทธิเสรีภาพทางวิชาการของนิสิต นักศึกษาไม่ให้แสดงออกและมีส่วนร่วมทางการเมือง
อำนาจ “โจราธิปัตย์”
รัฐ ประหาร 19 กันยายน 2549 ยังทำให้เห็นว่านักการเมือง นักวิชาการ และผู้อาวุโสของสังคมจำนวนไม่น้อยที่เคยประกาศว่าเป็นนักประชาธิปไตย แต่กลับออกมาเห็นดีเห็นงามกับการทำรัฐประหาร ขณะที่ฝ่ายตุลาการก็ยอมรับอำนาจ “รัฏฐาธิปัตย์” ทั้งที่ในระบอบประชาธิปไตยและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ระบุว่า การล้มล้างระบอบประชาธิปไตย การปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ เป็นความผิดตามกฎหมายอาญา เป็นการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางระบอบ ประชาธิปไตย
แม้จะมีตุลาการบางคนกล้าสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการมีคำ วินิจฉัยส่วนตัวในคำ พิพากษาว่า หากศาลรับรองอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารว่าเป็น รัฏฐาธิปัตย์แล้วเท่ากับศาลไม่ได้รับใช้ประชาชน จากการใช้อำนาจโดยมิชอบและเพิกเฉยต่อการปกปักรักษาประชาธิปไตย ทั้งยังเป็นการละเลยหลักยุติธรรมตามธรรมชาติที่ว่าบุคคลใดจะรับประโยชน์จาก ความฉ้อฉลหรือความผิดของตนเองหาได้ไม่ รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการปฏิวัติหรือรัฐประหาร เป็นวงจรอุบาทว์ อยู่ร่ำไป ยิ่งกว่านั้นยังเป็นช่องทางให้บุคคลหรือคณะบุคคลดังกล่าวยืมมือกฎหมายเข้ามา จัดการสิ่งต่างๆ
การปฏิวัติรัฐประหารจึงไม่ใช่ “รัฏฐาธิปัตย์” แต่เป็น “โจราธิปัตย์” โดยเฉพาะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ถือเป็นความล้มเหลวและความเลวร้ายที่สุดของสังคมไทย ทำ ให้บ้านเมืองต้องแตกแยกและหายนะมาจนทุกวันนี้
อำนาจในมือ “อำมาตย์”
เบื้อง หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ระบุถึง “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ” ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พุ่งเป้าไปที่ผู้อยู่รายล้อมในวัง แต่ “ขบวนการอ้างแอบ” ก็ยังพยายามใช้วาทกรรมต่างๆบิดเบือนและตีความให้สูงไปกว่านั้นเพื่อเป็น อาวุธทางการเมืองกล่าวหาและทำลาย พ.ต.ท.ทักษิณและฝ่ายตรงข้าม
ในขณะ ที่ก่อนเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เดินสายด้วยการแต่งเครื่องแบบทหารเต็มยศ ให้โอวาทและบรรยายแก่นักเรียนโรงเรียนนายร้อย จปร. และนายทหารให้ตระหนักถึงบทบาทของกองทัพ โดยเฉพาะคำว่า “รัฐบาลก็เหมือนกับจ๊อกกี้ คือเข้ามาดูแลทหาร แต่ไม่ใช่เจ้าของทหาร...”
หลัง จากเกิดรัฐประหาร ซึ่งนักวิชาการมากมายระบุว่า พล.อ.เปรมน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้อง แม้แต่นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยังให้สัมภาษณ์ลงในนิตยสาร Image ระบุว่า พล.อ.เปรมเป็นผู้สั่งการให้ทำรัฐประหาร โดยนั่งบัญชาการอยู่ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์
“พล.อ.เปรมเป็นสัญลักษณ์ ของระบอบอำมาตยาธิปไตย จริงๆระบอบนี้ไม่ได้หายไปจากสังคมไทย แม้จะมีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ก็ตาม ถ้าเราดูบทบาทของ พล.อ.เปรมก็จะเห็นชัด เพียงแต่พื้นที่ของระบอบนี้คับแคบลงในระดับหนึ่ง เพราะการเติบโตของพื้นที่ภาคประชาชนที่มากขึ้น ซึ่งเป็นการท้าทายระบอบนี้โดยตรง...
...วันนี้ก็เห็นโดยพฤตินัยได้ อย่างชัดเจนว่า พล.อ.เปรมใช้อำนาจนั้นผ่านคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ท่านนั่งบัญชาการอยู่ที่บ้านสี่เสาฯ และไม่มีใครคิดว่าท่านจะกล้าทำ หรือไม่มีใครคิดตอนที่นั่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ว่าการรัฐประหารครั้งนี้องคมนตรีจะมีส่วนเกี่ยวข้องหรือเปิดเผยขนาดนี้”
ขณะ ที่ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี อดีตรองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ระบุว่า ก่อนการรัฐประหารมีการประชุมหารือที่บ้านของนายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา เจ้าของเครือแปซิฟิก ถึง 4 ครั้ง และทุกครั้งก็มีการเชิญบุคคลสำคัญๆที่มีตำแหน่งระดับสูงเป็นแขก ซึ่งต่อมานายปีย์ก็เปิดเผยเองว่าบุคคล 7 คนที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการวางแผนรัฐประหารคือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี พล.อ.พัลลภ นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูง สุด (ในขณะนั้น) นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา (ในขณะนั้น) นายจรัญ ภักดีธนากุล เลขาธิการประธานศาลฎีกา (ในขณะนั้น) นายปราโมทย์ นาครทรรพ ผู้เปิดประเด็นปฏิญญาฟินแลนด์ รวมถึงนายปีย์ โดยยืนยันว่าไม่มีการพูดถึงการทำรัฐประหารและการโค่นล้ม พ.ต.ท.ทักษิณ แต่เป็นการหารือเรื่องการบ้านการเมืองกันตามปรกติ
ขบวนการลิ้มเจ้า
ที่ สำคัญหนึ่งในเหตุผลของการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จากแถลงการณ์ คปค. ฉบับที่ 1 คือการบริหารราชการของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง แบ่งฝ่าย สลายความรู้รักสามัคคีของคนในชาติอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ ชาติไทย ประชาชนเคลือบ แคลงสงสัยการบริหารราชการแผ่นดินอันส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้าง ขวาง หน่วยงานองค์กรอิสระถูกครอบงำทางการเมือง ไม่สามารถสนองตอบเจตนารมณ์ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเกิดปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ตลอดจนหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรง เป็นที่เคารพเทิดทูนของปวงชนชาวไทยอยู่บ่อยครั้ง
แถลงการณ์ดังกล่าว สอดรับกับที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ใช้ “รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” และสื่อของเขาเคลื่อนไหวโจมตีรัฐบาลทักษิณอย่างหนัก ทั้งเรื่องคอร์รัปชันและจาบจ้วงสถาบัน จนกระทั่งมีการจัดตั้ง “องค์กรพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ที่มี “สัญลักษณ์เสื้อสีเหลือง” ชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณอย่างต่อเนื่องจนเป็นกลุ่มพันธมิตรฯในปัจจุบัน
รัฐบาล ที่ได้รับเสียงข้างมากอย่าง “พลังประชาชน” ถูกล้มโดยวิธีพิเศษถึง 2 นายกฯ จนมาเป็นรัฐบาลนายอภิสิทธิ์และยุค ศอฉ. ที่มีอำนาจล้นฟ้าไม่ต่างจากรัฐบาลในยุครัฐประหารที่ยืดใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างไม่มีกำหนด
_________________________________
ครบรอบ 4 ปีรัฐประหาร 19 กันยายน...ครบรอบ 4 เดือน 19 พฤษภาอำมหิต!!
วาท กรรม “ขอคืนพื้นที่”.. “กระชับวงล้อม”.. มีไว้ปราบปรามสลายการชุมนุม จะหนึ่งคนหรือแสนคนออกมาเรียกร้อง.. ก็สามารถจัดการได้โดยไม่ผิดกฎหมายแม้ใช้กระสุนจริง?
วาทกรรม “ล้มเจ้า”.. “ไม่ จงรักภักดี”.. มีไว้ทำลายฝ่ายตรงข้ามโดยไม่ต้องหาหลักฐาน?
วาทกรรม “ขบวนการล้มเจ้า” จึงทำท่าว่าจะเป็น “ขบวนการล้มเจ้ามือหวยบนดิน” เสียมากกว่า?
ทำไมคำว่า “ล้มเจ้า” จึงเป็นวาทกรรมตลาดกลาดเกลื่อน?
ทำไมหนังสือขายดีต้องพยายามตั้งชื่อให้มีคำว่า “ล้มเจ้า”?
ตราบใดที่ยังมี “ขบวนการลิ้มเจ้า” คอยเฝ้าอ้างแอบ แนบชิด บิดเบือน...
ตราบนั้น วาทกรรม “ล้มเจ้า” ก็จะยังคงหลอกหลอนฟั่นเฟือนสะเทือนแผ่นดินอยู่ต่อไปไม่รู้จบ...
ถ้า อยากอ่านแบบเข้มๆเต็มฉบับ แนะนำให้ไปหาซื้อพ็อกเก็ตบุ๊ค “ขบวนการลิ้มเจ้า” ผลงานขมปี๋...โดยทีมข่าว “โลกวันนี้” มาอ่านได้แล้ววันนี้ที่ร้านหนังสือทั่วประเทศ
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 277 วันที่ 18 – 24 กันยายน พ.ศ. 2553 หน้า