WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, September 29, 2010

บทบาทของนักกฎหมายไทยต่อการรัฐประหาร และการจัดการกับคณะรัฐประหารแบบตุรกี

ที่มา มติชน



โดย คุณนรินทร์ อิธิสาร

รัฐ ประหารครั้งล่าสุดของประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 19 กันยายน 2549 นั่นคือเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนในฐานะนักเรียนกฎหมายที่พอจะได้ติดตามข่าวสาร ข้อมูลเกี่ยวกับการรัฐประหารดังกล่าวอยู่บ้างเกิดความฉงนและจับต้นชนปลายไม่ ถูกคือ พฤติกรรมของนักกฎหมายบางคนบางกลุ่มในประเทศไทยซึ่งหลายคนเคยเป็นครูบา อาจารย์ของผู้เขียนที่ได้มีพฤติกรรมไปในทางสนับสนุนการทำรัฐประหาร


พฤติกรรม ดังกล่าวทำให้ผู้เขียนนึกถึงตอนที่ผู้เขียนเริ่มเรียนวิชา กฎหมายในปีแรกๆ ของการศึกษาในระดับปริญญาตรี อาจารย์คนหนึ่งได้พูดไว้อย่างน่าคิดว่า “เมื่อเสียงปืนดังขึ้น นักกฎหมายต้องนั่งลง” ซึ่งหากเปรียบกับการรัฐประหารเป็นเสียงปืนเมื่อเกิดรัฐประหารขึ้นนักกฎหมายก็ต้องนั่งลง

กรณี นี้ก็ไม่มีเหตุใดๆ ที่จะต้องไปตำหนิติเตียนหรือว่ากล่าวนักกฎหมายนั้นๆ หรือเรียกร้องให้พวกเขาเหล่านั้นออกมาดำเนินการต่อต้านการทำรัฐประหารแต่ อย่างใดได้เพราะเป็นธรรมดาของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่จะรักชีวิตร่างกายของตน การที่จะไปเรียกร้องให้ทุกคนกระทำการต่อต้านรัฐประหาร เช่น ขับรถไปชนรถถังเพื่อต่อต้านการรัฐประหารเหมือนคุณลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ก็ย่อมเป็นไปได้ยาก

สิ่ง ที่น่าผิดหวังคือนักกฎหมายของไทยบางกลุ่ม เมื่อเสียงปืนดังขึ้นหรือหลังจากที่เสียงปืนได้สงบลงแล้ว นักกฎหมายบางคนบางกลุ่มไม่ได้แค่นั่งลงเฉยๆ แต่กลับเข้าไปนั่งให้ความร่วมมือช่วยเหลือเป็นเครื่องมือให้กับคณะรัฐประหาร แล้วยังสามารถมากล่าวอ้างว่าเป็นคนที่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยได้อย่างเต็ม ปาก


บาง คนบางกลุ่มก็เป็นครูบาอาจารย์สอนกฎหมายใน มหาวิทยาลัยที่สอนหลักประชาธิปไตย หลักนิติรัฐ หลักการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ฯลฯ ซึ่งนักกฎหมายดังกล่าวก็ไม่ต่างไปจากคนที่เอาดอกไม้ ข้าวปลาอาหาร หรือแต่งชุดยอดมนุษย์ หรือส่งสาวพริตตี้ไปเต้นให้กำลังใจผู้ทำรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือก ตั้งแต่ประการใด เพราะบุคคลเหล่านี้ก็คือกลุ่มบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยและสนับสนุนรัฐประหารนั่นเอง

กลุ่ม นักวิชาการไทยบางกลุ่มโดยเฉพาะนักกฎหมายไทยที่เข้าไปร่วมกับคณะรัฐ ประหารภายหลังการล้มรัฐบาลสำเร็จแล้วไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการตรา หรือร่าง ประกาศคณะรัฐประหาร, ร่างกฎหมาย หรือร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว ฯลฯ หรือเข้าไปทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการ(พิเศษ) ที่คณะรัฐประหารได้จัดตั้งขึ้นมา หรือยอมรับและรับรองการกระทำของคณะรัฐประหารว่าเป็นการกระทำของ “รัฐาธิปัตย์” โดยไม่มีปากเสียง ไม่ว่าจะเป็นด้วยข้ออ้างประการใดก็ตามการกระทำทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นการ สนับสนุนการทำรัฐประหารและเป็นการทำลายหลักประชาธิปไตย ซึ่งพฤติกรรมของนักกฎหมายไทยบางกลุ่มในลักษณะดังกล่าวนี้เกิดขึ้นประจำซ้ำ แล้วซ้ำอีกโดยถือเป็นเรื่องปกติ

หลายครั้งหลายคราที่เกิดการรัฐประหารและนักกฎหมายเข้าไปสนับสนุนให้การรัฐประหารนั้นดำเนินไปได้ด้วยดีโดยอ้างเหตุผลต่างๆ นานา

เหตุผล ประการหนึ่งคือ “ถ้าตนไม่เข้าไปดำเนินการต่างๆ ดังกล่าว ก็จะส่งผลให้เสียให้เกิดความเสียหายหรืออาจจะเกิดความวุ่นวายต่อประเทศชาติ บ้านเมืองได้” ซึ่งเป็นเหตุผลที่เข้าใจได้ยากอย่างยิ่ง เพราะกรณีที่น่าพิจารณาคือถ้าคณะรัฐประหารไม่ได้รับการสนับสนุนจากนักกฎหมาย ในการเข้าไปเป็นเครื่องมือให้กับคณะรัฐประหาร ผลเสียจากการทำรัฐประหารก็คงจะมีความชัดเจนมากขึ้น และประชาชนชาวไทย คงได้เห็นข้อเสียของการทำรัฐประหารชัดเจนมากขึ้น และไม่เกิดความเคยชินกับรัฐประหาร และเห็นว่าเป็นเรื่องปกติเพราะตนไม่ได้มีความเดือดร้อนอะไรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

ปัญหา ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมาคือปัญหาเกี่ยวกับ ผลในทางกฎหมายของการทำรัฐประหารที่เกิดนั้นว่าจะมีผลในทางกฏหมายอย่างไร?


นัก กฎหมายไทยเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการทำรัฐประหาร หรือวิธีการดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ทำรัฐประหารโดยวิธีการทางกฎหมายภาย หลังการทำรัฐประหารอย่างไร? ปัญหาประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการทำรัฐประหารเกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทย คือการที่ไม่มีผลในทางกฎหมายใดๆ เกิดขึ้นกับคณะรัฐประหารเลย ด้วยเหตุผลที่ว่าคณะรัฐประหารได้ออกกฎหมายซึ่งมานิรโทษกรรมการกระทำของตนเอง เพื่อไม่ให้ตนเองได้รับผลในทางกฎหมายที่จะตามมาจากการล้มล้างรัฐบาลนั่นเอง


เมื่อได้นิรโทษกรรมการกระทำของตนไปแล้วทุกอย่างก็ จบสิ้นลงไม่มีใครหยิบยก กล่าวโทษหรือเอาผิดกับการทำรัฐประหารได้อีก นักกฎหมายที่มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่างก็ยินยอมน้อมรับคำสั่ง ประกาศ ฯลฯ ของคณะรัฐประหารโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ความเคยชินในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นโดยวิธีการแบบนักการเมืองหรือ กลุ่มรัฐประหาร ที่ “ชอบ” นิรโทษกรรม เห็นได้ชัดเจนจากปรากฏการณ์ในปัจจุบันที่มีการเสนอแนะให้มีการ “นิรโทษกรรม” การดำเนินการดังกล่าวก็เป็นการเพิ่มความเคยชินและสร้างความเป็นธรรมดาของ

หรือ กล่าวอีกประการหนึ่งคือการลดความร้ายแรงของเหตุการณ์ทางการเมืองที่ เกิดขึ้นให้เป็นเรื่องปกติ ทำนองว่าหลับหูหลับตากวาดขยะไว้ใต้พรมแล้วหลอกตัวเองว่าไม่มีขยะอยู่แล้ว พร้อมกันนั้นก็ปิดกั้นการพิสูจน์ความจริงที่จะเป็นบทเรียนของคนไทยทุกคน

มุม มองในทางกฎหมายต่อปัญหาดังกล่าวข้างต้นนั้น ชาวตุรกีได้มีวิธีการทางกฎหมายในการดำเนินการกับคณะรัฐประหารไว้อย่างน่า สนใจ ซึ่งเมื่อประมาณหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาประชาชนชาวตุรกีได้แสดงให้เห็นถึงทาง เลือกหนึ่งในการดำเนินการกับคณะรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา ประชาชนชาวตุรกีได้ลงประชามติเห็นด้วยกับแนวทางการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐ ธรรมนูญฉบับใหม่

ซึ่งก็มีประเด็นหนึ่งที่เป็นประเด็นที่ น่าสนใจที่ประชาชนหรือพรรคการ เมืองในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศไทยที่ประสบปัญหาการรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าแบบซ้ำซาก และเป็นวงจรอุบาทว์ของการเมืองไทยมาตลอดเวลา คือ ประชาชนเลือกตั้ง-รัฐบาลบริหารประเทศ-บุคคลบางกลุ่มเข้ามาทำรัฐประหารล้ม รัฐบาล-ล้มรัฐธรรมนูญ-นิรโทษกรรมตัวเอง-ออกรัฐธรรมนูญใหม่(หรือชั่ว คราว)-จัดการเลือกตั้งใหม่-ประชาชนเลือกตั้ง.....เป็นอย่างนี้อยู่เรื่อยไป เป็นวัฏสงสาร วนเวียนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่มีทางได้หลุดพ้นไปจากวงจรอุบาทว์ดังกล่าวได้

ประเด็น ที่เกี่ยวข้องกับการลงประชามติของชาวตุรกีที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ถือกันว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญของประเทศตุรกีที่ในการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ ประชาคมยุโรป และแสดงให้เห็นถึงความเป็นประชาธิปไตยของประเทศตุรกี ในการลงประชามติเห็นด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญของชาวตุรกีนั้นมี หลายประเด็นด้วยกัน ทั้งนี้โดยมีประเด็นที่สำคัญๆ คือ

1. การจำกัดอำนาจของอำนาจศาลทหาร ในส่วนของการพิจารณาคดีพลเรือนเช่นในกรณีข้อกล่าวหาว่ากระทำการอันเป็นผล กระทบต่อความมั่นคง และนอกจากนั้นยังให้อำนาจศาลพลเรือนในการพิจารณาคดีกองทัพในกรณีที่มีข้อ สงสัยว่ากองทัพจะทำการล้มรัฐบาล

2. การปฏิรูปคณะกรรมการสูงสุดของผู้พิพากษาและอัยการ เดิมคณะกรรมการดังกล่าวซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาและอัยการ โดยประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งสิ้น 5 คน โดยได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีโดยแต่งตั้งจากบัญชีรายชื่อที่เสนอโดย ศาลสูง ผลจากการปฏิรูปคณะกรรมการดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยสมาชิกทั้งสิ้น 21 คน ที่มาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และการเลือกตั้งโดยผู้พิพากษาและอัยการทั้งประเทศ

3. การปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญ จำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะเพิ่มขึ้น จากเดิม 10 คน เป็น 19 คน ที่มาจากเดิมมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีโดยบัญชีเสนอจากศาล และดำรงตำแหน่งจนถึงเกษียณอายุ เปลี่ยนมาเป็นสภาแต่งตั้ง 3 คน และที่เหลือประธานาธิบดีแต่งตั้งโดยเลือกจากบัญชีที่เสนอจากสภาทนายความ จากสภาสูงการศึกษา และศาล โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 12 ปี

4. การปฏิรูปการปิดพรรคการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาปิดพรรคการเมืองได้ก็แต่โดยมีเหตุว่าพรรคการเมือง นั้นเรียกร้องให้มีการใช้กำลัง ไม่ใช่โดยเหตุว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

5. การคุ้มครองข้อมูล มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความเข้ม ข้นมากขึ้น และให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น

6. สิทธิสตรี และสิทธิสำหรับกลุ่มพลเมืองที่มีความอ่อนแอให้มากขึ้น โดยเพิ่มสิทธิสตรี, คนพิการ, ลูกจ้าง และสหภาพแรงงาน

7. การปฏิรูปสภาทหารสูงสุด ในส่วนที่เกี่ยวกับคำสั่งในการปลด โดยให้สามารถร้องขอให้ทบทวนคำสั่งปลดดังกล่าวได้

8. ความรับผิดทางอาญาของสมาชิกของคณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญเดิมสมาชิกของคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้รับความคุ้มครองโดย ไม่ให้ได้รับการดำเนินการทางอาญา นั่นหมายถึงบรรดานายพลทั้งหลายที่ทำรัฐประหารในปี ค.ศ. 1980 (ซึ่งได้ตั้งคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นรัฐบาลในขณะนั้น) จะถูกแตะต้องและถูกดำเนินคดีไม่ได้ แต่ด้วยผลของการลงประชามติครั้งนี้ ความคุ้มครองดังกล่าวจะถูกลบล้างไป และบรรดานายพลทั้งหลายสามารถถูกดำเนินคดีในศาลได้

9. ให้มีผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพื่อรับผิดชอบคำร้องทุกของประชาชน และดำเนินแก้ไขปัญหาโดยวิธีการที่ไม่ใช่การดำเนินคดีทางศาล

จาก เนื้อหาสาระสำคัญในการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญของประเทศตุรกีดังกล่าว ข้างต้น นานาประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประชาคมยุโรปต่างก็ออกมาแสดงความเห็นยอมรับและชม เชย ถึงการลงประชามติดังกล่าวของชาวตุรกีโดยเห็นว่าเป็นการก้าวสู่สังคม ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง แม้ว่าเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาก็มีข่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการจับ กุมกลุ่มนายทหารโดยข้อหาว่าเตรียมการล้มล้างรัฐบาล ก็ตามที

และนอกจากนั้นการที่รัฐบาลของนาย Erdogan ได้กำหนดเลือกเอาวันที่ 12 กันยายน 2553 เป็นวันลงประชามติในครั้งนี้นั้นเป็นการที่มีเจตนาประสงค์ที่จะให้การลง ประชามติดังกล่าวเกิดขึ้นในวันครบรอบ 30 ปี ของการเกิดการรัฐประหารในปี ค.ศ. 1980 นั่นเอง

ผลของการลงมติของชาวตุรกีที่ได้ ยกเลิกการนิรโทษกรรมของคณะรัฐประหารดัง กล่าวข้างต้นนั้น ส่งผลให้ภายหลังจากรับทราบผลของการลงประชามติ ก็ปรากฏว่ามีประชาชนชาวตุรกีบางส่วนได้เริ่มเข้าแจ้งความเพื่อให้ดำเนินคดี อาญาต่อคณะรัฐประหารเมื่อ 30 ปีก่อนโดยทันทีแล้วเช่นกัน

วิธี การในการจัดการกับคณะรัฐประหารของชาวตุรกีที่ได้ใช้วิถีทาง ประชาธิปไตยและวิธีการในทางกฎหมายในการดำเนินการกับคณะรัฐประหารดังกล่าว เป็นวิธีการที่น่ายกย่องชมเชยและถือเป็นตัวอย่างที่ดี เพราะว่าได้แสดงให้เห็นว่าการทำรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลนั้นผู้กระทำย่อมจะ ได้รับผลร้ายตามกฎหมาย

แม้ ว่าเหตุการณ์จะพ้นมาแล้ว 30 ปี และมีการออกรัฐธรรมนูญออกมานิรโทษกรรมการทำรัฐประหาร แต่ระยะเวลาที่ยาวนานและการนิรโทษกรรมดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้การกระทำของคณะ รัฐประหารในปี ค.ศ. 1980 เป็นสิ่งที่มีความถูกต้องชอบธรรมขึ้นมาแต่ประการใด


ดัง นั้นการให้มีการยกเลิกการให้ความคุ้มครองโทษ ทางอาญาต่อคณะรัฐประหารดังกล่าวย่อมเป็นหนทางหรือวิธีการหนึ่งในการดำเนิน การต่อการรัฐประหารที่เกิดขึ้น


หาก บางประเทศที่มีการทำรัฐประหารบ่อยๆ และจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะนำแนวความคิดนี้ไปดำเนินการบ้างก็ย่อมจะดีไม่ น้อย เพราะจะได้แสดงให้เห็นถึงความคงอยู่ของระบอบประชาธิปไตย การคงอยู่ของอำนาจอธิปไตยตามวิถีประชาธิปไตยที่แท้จริงของประเทศนั้นๆ


เพราะ เมื่ออำนาจอธิปไตยกลับมาอยู่ในมือของ ประชาชนอย่างแท้จริงแล้ว ประชาชนผู้ทรงอำนาจดังกล่าวย่อมสามารถตัดสินและดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ได้ ประเทศไหนที่อยากจะนำเอาแนวความคิดดังกล่าวของชาวตุรกีไปใช้บ้าง คิดว่าชาวตุรกีคงไม่สงวนวิธีการดังกล่าวแต่ประการใด


-----------------
( บทความทางวิชาการจาก เว๊บไซต์ www.pub-law.net 27 กันยายน 2553 )