WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 2, 2010

จาก "รถเมล์ฟรีเพื่อประชาชน" มาเป็น "รถเมล์ฟรีจากภาษีประชาชน"

ที่มา มติชน





คนยืนรถเมล์

บ่าย วันพุธที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์หลายฉบับพร้อมใจกันขึ้นหน้าหนึ่งถึงการต่ออายุ รถเมล์ฟรี รถไปชั้นสามฟรี ไฟฟ้าฟรีไปจนถึงสิ้นปี หรือที่สังคมไทยนิยมเรียกกันว่า "นโยบายประชานิยม" หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ พาดหัวว่า "เป้าประชานิยมชั่วชีวิต ต่ออายุน้ำไฟรถเมล์ฟรี" ในเนื้อข่าวยังพูดต่ออีกว่า "มาเหนือกว่าต้นตำรับ เตรียมใช้เป็นมาตรการตลอดชีพ"

และหลังจากการประกาศมติคณะ รัฐมนตรีแล้ว ก็เป็นที่ถกเถียงกันตามมา ว่าประชานิยมแบบนี้อาจจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย ก็ตอบว่าเป็นการมุ่งสู่การเป็นรัฐสวัสดิการ และมีมาตรการต่างๆ รองรับเรียบร้อยแล้ว รัฐสวัสดิการจะเกิดขึ้นจริงๆ ได้ไหม ความเป็นจริงจะเป็นอย่างไรกาลเวลาในภายหน้าคงเป็นผู้ให้คำตอบ ตอนนี้ในฐานะประชาชนธรรมดาที่ชอบกินมะม่วงดองมากกว่าแผนปรองดองก็คงต้องอดทน ฟังท่านนายกฯ พูด พูด พูด แล้วก็พูดต่อไป


ขสมก.แจง เปลี่ยนสติ๊กเกอร์ "รถเมล์ฟรีจากภาษีประชาชน" เพื่อต้องการปลูกจิตสำนึกให้รู้ว่าใช้เงินภาษีมาอุดหนุน ไม่มีวาระแอบแฝง แม้รูปแบบสติ๊กเกอร์ถูกมองเปลี่ยนไปตามการเมือง
(ที่มา: ไทยโพสต์ http://www.thaipost.net/x-cite/220409/3499)


ข่าว การขยายเวลาประชานิยมทำให้ผมนึกย้อนกลับไปเมื่อสักหนึ่งปีที่ แล้วได้กระมัง นึกถึงวันที่รถเมล์ฟรีเพิ่งเปลี่ยนสติ๊กเกอร์ใหม่ๆ วันนั้นผมยืนรอรถเมล์อยู่สักพักก็พลันสงสัยว่า เอ! รถเมล์ฟรีไม่มีแล้วหรือ เพราะไม่ค่อยพบเห็นมาหลายวันแล้ว หรือว่าจะหมดช่วงนโยบายที่รัฐบาลประกาศไว้ แต่ก็ไม่น่าจะใช่เพราะรัฐบาลก็เพิ่งประกาศยืดเวลาให้ประชาชนได้นั่งรถเมล์ ฟรีเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา หรือจะเป็นเพราะว่ารถเมล์สายที่ผมรอไม่ค่อยมีรถเมล์ฟรีแล้ว หรือจะเป็นเพราะว่าโดนเผาไปช่วงสงกรานต์ ผมคิดสงสัยได้ไม่นานก็มีรถเมล์ฟรีวิ่งผ่านมา ความรู้สึกแรกก็คือ เย้! ยังมีรถเมล์ฟรีเว้ยเฮ้ย แค่ป้ายที่เขียนเปลี่ยนไปบ้าง (ออกจะดูยากและไม่สะดุดตาไปบ้างแต่ก็ยังเห็นอยู่) ตัวอักษรที่ใช้ก็เปลี่ยนไป สีพื้นหลังก็เปลี่ยนไป และที่สำคัญข้อความบางส่วนก็เปลี่ยนไป นั่นคือ จาก "รถเมล์ฟรีเพื่อประชาชน" เปลี่ยนไปเป็น "รถเมล์ฟรีจากภาษีประชาชน" แล้วป้ายมันเปลี่ยนไปเพื่ออะไรหรือเพื่อใคร สองข้อความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ผมสงสัยต่อ...

ความเหมือนกันประการแรก ป้ายทั้งสองทำหน้าที่ประกาศให้ประชาชนโดยทั่วไปทราบว่า ถ้าท่านขึ้นรถคันนี้ไม่ต้องเสียเงินค่าโดยสาร

ประการที่สองคือ เป็นการประกาศให้ประชาชนทราบอีกเช่นกันว่า นี่เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ช่วยเหลือหรือบริการประชาชนในยามเศรษฐกิจตกต่ำ

ความเหมือนประการสุดท้ายในความคิดของผม ได้แก่ คำว่า "รถเมล์ฟรี" และ "ประชาชน" ยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิม ซึ่งเท่ากับเป็นการสะท้อนและยืนยันความเหมือนในสองข้อแรกข้างต้นด้วย "รถเมล์ฟรี" เป็นการบอกว่าคันนี้ขึ้นฟรี ส่วนคำว่า "ประชาชน" เป็นการย้ำความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐ/รัฐบาล ที่รัฐมักต้องทำอะไร เพื่อประชาชนอยู่แล้ว

ทีนี้มาดูความแตกต่างกันบ้าง ประการแรกเลย ลักษณะตัวอักษรที่เปลี่ยนไป ประการที่สอง สีพื้นหลังก็เปลี่ยนไป จากเดิมที่เป็นสีขาวมาเป็นสีฟ้า ตามความเห็นส่วนตัวของผม พื้นหลังสีขาวอ่านง่ายกว่าเยอะเลย สีฟ้ามันออกจะสังเกตยากเสียหน่อยโดยเฉพาะเวลาค่ำคืน ยิ่งผมสายตาสั้นและบางวันลืมใส่แว่นตาด้วยแล้วกว่าจะเห็นว่า รถเมล์คันนี้ฟรี ก็มาจอดเอาใกล้ๆ จนเกือบขึ้นไม่ทันเลยทีเดียว

จาก ความแตกต่างสองข้อ และหากความจำของผมไม่สั้นจนเกินไป เมื่อครั้งที่เป็น "รถเมล์ฟรีเพื่อประชาชน" มีบางคนกล่าวหาว่า ลักษณะตัวอักษรและองค์ประกอบโดยรวม ช่างชี้ชวนให้นึกถึง "พรรคพลังประชาชน" และ "พรรคเพื่อไทย" เสียจริง เพราะเวลาดูผ่านๆ เหมือนๆ กำลังเห็นป้ายหาเสียงของพรรคทั้งสองอย่างไรไม่รู้ และถึงแม้ป้ายจะเปลี่ยนมีความต่างแต่กลับทำหน้าที่คล้ายคลึงกัน เมื่อป้าย "รถเมล์ฟรีจากภาษีประชาชน" ทั้งตัวอักษรและสีพื้นหลังเป็นสีฟ้า ก็ชี้ชวนให้นึกถึง "พรรคประชาธิปัตย์" อย่างน้อยก็ในความคิดของผม

ความต่างประการที่สาม นั่นคือ คำว่า "เพื่อ" กับคำว่า "จากภาษี" ความต่างนี้ผมว่ามีความสำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ให้เห็น ลักษณะ อัตลักษณ์ หรือ อุดมการณ์ของพรรคการเมืองสองพรรคได้ดีเลยทีเดียว หากจำไม่ผิด ครั้งเมื่อเป็น ป้าย "เพื่อ" มีหลายคนออกมาชี้หน้ากล่าวหาว่า นี่เป็นประชานิยม ชอบแจกแบบไร้เหตุผล แล้วเวลาแจกหรือดำเนินนโยบายแล้วยังมักทำให้คิดไปว่า เป็นความใจดีของรัฐบาล หรือพูดง่ายๆ นี่มันคือการหาเสียงของพรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทยนี่นา

แต่ กับป้าย "จากภาษี" ถึงแม้จะมีคนกล่าวหาว่าเป็นการหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ได้เช่นกัน แต่ก็คงมีคนออกมาเถียงแทนว่า "แต่นี่เป็นประชานิยมที่มีเหตุผลนะ เห็นมั้ยว่าเขาบอกว่า รถเมล์ฟรีนี้มาจากภาษีของประชาชน เขาบอกที่มาของเงินที่นำมาใช้ดำเนินนโยบายไม่ได้เป็นความใจดีของรัฐบาลที่ ชอบแจก"

สำหรับผมแล้ว ป้ายทั้งสอง ทำหน้าที่ไม่ต่างกัน เพราะต่างก็เป็นเครื่องมือหาเสียงของทั้งสองพรรค เพียงแค่พรรคนึง เลือกที่จะป่าวประกาศว่า "ฉันทำเพื่อประชาชน" แบบโต้งๆ โฆษณากันแบบเห็นๆ และถ้าหากใครชอบนโยบายนี้เลือกตั้งครั้งหน้าก็อย่าลืมเลือกพรรคนี้ แต่กับอีกพรรคหนึ่งเลือกที่จะบอกว่า เงินที่ใช้มาจากภาษีประชาชนนะ เป็นป้ายที่ดูเหมือนจะเป็นการแจ้งให้ทราบมากกว่าเป็นการโฆษณาหาเสียง แต่ถ้ามองให้ดีๆ ผมว่านี่คือ การโฆษณาหาเสียงเหมือนกัน โดยใช้ การโฆษณาว่า ฉันไม่ได้โฆษณาและตั้งใจจะหาเสียงนะ เพราะถ้าเกิดใครเห็นข้อความนี้แล้ว รู้สึกประมาณว่า เออ พรรคนี้ดีนะ บอกที่มาที่ไปของเงินด้วย หรือเออ!!! นี่งัย พรรคนี้ไม่ได้เอาดีเข้าตัวเอง เพราะบอกว่ามาจากเงินภาษีของประชาชน เมื่อความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้น ก็ทำให้คนอาจจะหันมานิยม พรรคประชาธิปัตย์ เพิ่มขึ้น แล้วมันจะต่างกับการโฆษณาหาเสียงตรงไหน

ความต่างประการสุดท้าย กลุ่มเป้าหมายของคนที่อ่านป้ายเหล่านี้ หรือกลุ่มที่รัฐบาลต้องการสื่อสารมีความแตกต่างกัน ผมเชื่อว่า คงไม่มีชนชั้นกลางในกรุงเทพฯคนใดที่ไม่รู้ว่า เงินที่ใช้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลล้วนแล้วมาจากภาษีประชาชนเสียส่วนมาก ไม่ว่าป้ายรถเมล์ฟรี จะเขียนว่าอะไร ก็ใช้เงินภาษีทำทั้งนั้น อีกทั้งป้ายแค่นั้นก็ไม่สามารถจะบ่งบอกได้ว่า รัฐบาลเอาเงินภาษีส่วนไหนมาใช้ เป็นเงินภาษีของคนทั้งประเทศหรือเปล่าเราก็มิอาจรู้ได้ แต่เมื่อพรรคประชาธิปัตย์เลือกที่จะใช้คำว่า "จากภาษี" เท่ากับเป็นการพยายามสื่อสารกับชนชั้นกลางที่มักคิดว่าเหตุผลของตัวเองถูก ต้องและดีเลิศกว่าคนอื่นๆ เป็นการเชิดชูจริตแบบชนชั้นกลาง เชิดชูว่าฉันเนี่ยแหละที่เสียภาษีเยอะกว่าคนชั้นล่างทำให้พวกคุณๆ ได้นั่งรถเมล์ฟรี ทั้งๆ ที่ในชีวิตจริงหลายคนก็ไม่ค่อยจะอยากเสียภาษีกันสักเท่าไหร่ เลี่ยงได้ก็เลี่ยง

ป้าย "รถเมล์ฟรีจากภาษีประชาชน" สำหรับผมแล้วก็คือการหาเสียงซึ่งทำหน้าที่ไม่ได้แตกต่างไปจากป้าย "รถเมล์เพื่อประชาชน" สักเท่าไหร่ เพียงแต่ "จากภาษี" แสดงถึงเหตุผล วิธีคิด และจริตแบบชนชั้นกลางในเมือง (ที่ด่าการเผายางว่าทำให้โลกร้อนแต่ไม่ยอมใช้รถสาธารณะด้วยเหตุผลเดียวกัน คือ โลกมันร้อน) อันเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์และคณะรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และล่าสุดเป็นกำลังสำคัญที่อินสุดๆ กับ สโลแกน "Together We Can" และเป็นกลุ่มคนที่ต้องการ "คืนความสุขให้กรุงเทพฯ" มากที่สุด หลังจากเหตุการณ์นองเลือดทางการเมือง เมษาฯ-พฤษภา 2553 ผ่านพ้นไป

รถเมล์ฟรีมาแล้ว ผมขออนุญาตขึ้นไปก่อนนะครับ...