WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, June 27, 2011

เวทีเสวนาซัด 1 ปี เหตุการณ์ความรุนแรงปี 53 "คืบหน้าที่ไม่คืบหน้า" ช่องโหว่ของความเป็นธรรม

ที่มา มติชน



เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดเวทีอภิปรายเรื่อง "1 ปีเหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค. 53 ความยุติธรรมที่หายไป" จัดโดย ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณีเม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.)โดยมีวิทยากร ได้แก่ อ.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล, อ.สาวตรี สุขศรี นิติศาสตร์ มธ., อ.เสนาะ เจริญพร ศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี และ คุณขวัญระวี วังอุดม ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม ม.มหิดล

ความคืบหน้าพบผู้เสียชีวิตรายที่ 93 คดีก็ยังไม่คืบ

นาย ชัยธวัช ตุลาธน คณะทำงานศปช. กล่าวถึงความคืบหน้าของข้อเท็จจริงและความยุติธรรม โดยเผยว่า 1 ปีที่ผ่านมาภาพรวมที่เกิดขึ้นคือ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) มีการสรรหาคณะกรรมการ ออกระเบียบให้สำนักนายกฯรองรับกระบวนการการตรวจสอบค้นหาความจริง เยียวยาฟื้นฟู และวางมาตรการลดความขัดแย้ง ภายในระยะเวลา 2 ปี แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ รายงานที่ทางคอป.ออกมาจนถึงวันนี้ยังเป็นแค่หลักการแนวคิด ยังไม่มีการรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะมีการเชิญสื่อไปชี้แจงเป็นระยะ


คอป. พูดถึงปัญหาว่า คอ ป.ไม่มีอำนาจในการ เรียกบุคคลมาสอบ, ขาดความคุ้มครองคนที่ออกมาให้ข้อมูล และถูกแต่งตั้งจากรัฐบาลที่เป็นคู่ความขัดแย้งจึงไม่ได้รับความไว้ใจ และความร่วมมือ ทั้งนี้มีข้อสังเกตด้วยว่ามีความมุ่งเน้นไปที่การปรองดอง มากกว่าเรื่องความยุติธรรมซึ่งอาจหลีกเลี่ยงการชี้ความผิด-ถูก


สำหรับ กรณีของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เชื่อว่า ความสูญเสียและการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นนั้น ศอฉ. เป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ แต่ดีเอสไอที่เป็นหน่วยงานหลักซึ่งทำการสอบสวนนั้นกลับต้องทำงานภายใต้การ กำกับของศอฉ.


สำหรับการสอบคดีของดีเอสไอ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ 1. มีหลักฐานว่าตายจากกลุ่มผู้ชุมนุม 2. มีข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อว่าอาจมาจากพนักงาน 3. ยังไม่มีข้อยุติ ซึ่งธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) บอกว่าจะเร่งทยอยแถลงผล แต่ผ่านมาถึงวันนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ


ทั้งนี้ คดีในกลุ่มที่ 2 ที่เมื่อมีความเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่แล้วต้องส่งกลับไปให้ตำรวจสอบสวน นั้น มีแนวโน้มว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะปรับการสรุปของดีเอสไอ เนื่องจาก พล.ต.ต. อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ตำหนิว่า พยานอ่อน ไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐที่แสดงตัวว่าเป็นผู้ทำให้เกิดการตาย หรือ พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐ


ด้านการทำงาน ของวุฒิสภา และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก็ยังไม่มีการเผยแพร่หรือรายงานใดๆ ออกมา เพราะฉะนั้น กล่าวได้ว่า เรื่องยังไม่มีความคืบหน้าชัดเจน แต่พบว่ามีข้อเท็จจริงเบื้องต้นหลายอย่าง ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่พรรคประชาธิปัตย์ก็ออกมาพูดเหมือนเดิม นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่ามีผู้เสียชีวิตศพที่ 92 และ 93 จากแก๊สน้ำตา โดยรายที่ 93 เพิ่งเสียชีวิตโดยครอบครัวเผยว่าผู้เสียชีวิตมีปัญหาจากปอดเนื่องจากผลของ แก๊สน้ำตา

สันนิษฐาน "ฮิโรยูกิ" อาจโดนชุดดำสังหาร


อ.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล กล่าวว่า มีข้อมูลในเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการตายของทั้ง 92 ศพ แต่ยังไม่ได้มีการชันสูตรพลิกศพในบางราย คำถามคือตั้งแต่วันที่13-14 เม.ย. ทำไมจึงไม่ได้มีการชันสูตรทุกศพ


ทั้งนี้ กล่าวได้ว่า ไม่พบความพยายามเชิงระบบที่จะทำให้เรื่องมีความชัดเจน และไม่สามารถเข้าถึงใบชันสูตร จากที่ในช่วงแรกสามารถดูได้ ทำให้เชื่อว่ามีความพยายามจะปกปิดข้อมูล รวมถึงแหล่งข้อมูล


สำหรับ การเสียชีวิตในรายของนายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพของญี่ปุ่นนั้น มีผู้เชี่ยวชาญอาวุธเผยว่า นายมูราโมโตะเสียชีวิตจากกระสุนประเภทปืนอาก้า ซึ่งไม่มีใช้ในราชการ จากข้อสันนิษฐานนี้ทำให้คิดได้ว่า มีความเป็นไปได้ที่อาจเสียชีวิตจากฝีมือของคนชุดดำ

นอกจากนี้ รายงาน การใช้อาวุธพบตัวเลขที่ละเอียด ด้วยว่า มีการเบิกกระสุนปืนซุ่มยิงไป 3 พันนัด ใช้ไป 2,520 นัด ซึ่งเป็นจำนวนที่มาก เมื่อลองคิดดูว่าคนที่ใช้ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมมาแล้วเป็นอย่างดี โดยเมื่อรวมกับการใช้กระสุนทุกประเภทแล้วใช้ยิงไปมากถึง 189,707 นัด


แต่ สิ่งที่น่าสนใจกว่าคำถามเรื่องใครยิง คือเรื่องกระบวนการยุติธรรมที่จะต้องมีกระบวนการนำคนผิดมาลงโทษอย่างแท้จริง ซึ่งหากยังไม่สามารถดำเนินคดี ก็จะส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการใดๆต่อไปได้ จึงเกิดคำถามว่า มีความล่าช้าในเชิงระบบ ซึ่งหากรัฐมั่นใจว่าทหารไม่ได้ทำ ทำไมจึงไม่ทุ่มทุนลงไปดำเนินการหาความจริง

คดีไม่คืบ มีหลักฐานเจ้าหน้าที่ประวิงเวลา ฟ้องได้!!!


ด้าน อ.สาวตรี สุขศรี กล่าวว่า "ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความอยุติธรรม" ทั้งนี้ การดำเนินการที่ผ่านมามีความล่าช้า จากที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นหน่วยงานพิเศษที่เพิ่งตั้งขึ้นทำให้มีช่องว่างในเรื่องระยะเวลาซึ่งระยะ เวลาหลังจากที่เสียชีวิตไปจนถึงวันที่ 25 มิ.ย. 2554 ยังไม่มีการเริ่มสอบสวนเลยยังเป็นแค่สำนวนอยู่ ทั้งในคดีที่เป็นการตายที่มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ รวมถึงการตายที่พบว่าไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ในเหตุการณ์ ซึ่งเมื่อเลยระยะเวลา 247 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มเกิดเหตุแล้ว หากญาติผู้เสียหายมีหลักฐานว่าเจ้าหน้าที่มีการประวิงเวลา อาจฟ้องร้องฐานละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ได้


สำหรับข้อเสนอแนะฝ่ายอำนวยกระบวนการยุติธรรมคือ ที่ผ่านมาการดำเนินการคดีการเมืองมักกระทำล่าช้า ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้สูญเสีย อาจมีสาเหตุจากพนักงานสอบขาดความรู้ ความสามารถ หรือไม่แน่ใจอำนาจของตัวเอง ทำงานซ้ำซ้อน จนไปถึงข้อสันนิษฐานว่ารัฐอาจไม่อยากดำเนินคดี หรือ อาจรอการปรองดองหรือไม่


การ ตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โดยยังไม่มีเงื่อนไขเวลา ทำให้เกิดช่องว่าง เพราะฉะนั้น จึงต้องอาจพิจารณาเพิ่มกฎหมายในกรณีระยะเวลาในการทำงาน


รวม ไปถึงญาติของผู้เสียหายควรติดตามคดี อาจพิจารณาฟ้องศาลควบคู่ไปด้วย เป็นการกดดันต่อรัฐ ซึ่งการโยนคดีไปมาของดีเอสไอนั้นยังไม่มีความผิดแบบชัดเจน แต่หากพบว่ามีก็สามารถใช้ข้อกฎหมายมาตรา 157 ว่าด้วยเรื่องการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ได้

กรณีเสื้อแดงเผาศาลากลาง จ.อุบลราชธานี


อ.เสนาะ เจริญพร กล่าวว่า ข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์การเผาศาลากลาง จ.อุบลราชธานี นั้นตนมีข้อสังเกตต่อเหตุการณ์เมื่อนำหลักฐาน และสภาพแวดล้อมต่างๆ มาพิจารณาแล้ว ระบุได้ว่า กลุ่มคนเสื้อแดงที่ลงมือเผานั้นเป็นการเผาเชิงสัญลักษณ์ในสถานที่ต่างๆ เท่านั้น แต่กลับโดนยั่วยุโดยทหารที่เปลี่ยนมาเฝ้ารั้วศาลากลางแทนที่เจ้าหน้าที่ ตำรวจอย่างฉับพลัน และเมื่อมีผู้ชุมนุมพังรั้วเข้าไปในตัวศาลากลางแล้วพบว่า มีเสียงปืนดังขึ้นและมีผู้ถูกยิงบาดเจ็บ 5 ราย รวมไปถึงข้อเสังเกตว่า อาจมีเจตนาปล่อยให้มีคนเผา จากที่มีกำลังทหาร 800 นาย แต่คนที่กล้าเข้ามาป้วนเปี้ยนในบริเวณหลังมีเสียงปืนดังมีเพียงประมาณ 20 คนเท่านั้น และเปลวเพลิงเองก็เริ่มมาจากที่ชั้น 2 ด้วย


สำหรับ เรื่องการจับกุมของเจ้าหน้าที่นั้นพบว่า มีหลักฐานไม่ชัดเจน หมายจับคลุมเครือ จับแบบเหวี่ยงแห ใช้ภาพเหตุการณ์เมื่อปี 51 มาเป็นหลักฐานเปรียบจับ การจับกุมเป็นการกระทำแบบเจ้าเล่ห์ บางรายไม่รู้เรื่อง แต่ถูกบอกว่าให้มาตัดหญ้า พอมาก็โดนจับ


การ สอบสวนมีความฉ้อฉล เช่น หลายรายพบว่าเจ้าหน้าที่บอกว่ามีทนายมาให้ แต่สุดท้ายเห็นเพียงครั้งเดียวแล้วก็ไม่เห็นอีกเลย และยังมีการหลอกให้สารภาพ ซัดทอดคนที่ไม่รู้จักด้วย พูดจาหว่านล้อมว่าให้สารภาพไปก่อนแล้วค่อยสู้เอาในศาล รวมถึงการตั้งข้อหาหนัก เรียกค่าประกันทำให้ไม่สามารถประกันตัวได้


ทั้งนี้ กำหนดการตัดสินคดีดังกล่าวจะมีขึ้นในวันที่ 5 ก.ย. แต่ศาลอาจขังต่อถ้ามีการอุทธรณ์

ประชาคมโลกแสวงหาความจริง


คุณ ขวัญระวี วังอุดม กล่าวว่า ปลายเดือนที่ผ่านมารัฐบาลไทยตอบคำถามผู้แทนของสหประชาชาติ(ยูเอ็น) ในด้านการสังหารนอกกฎหมาย โดยรัฐบาลยืนยันว่า ให้ประชาชนใช้สิทธิได้ตามที่มี แต่แท้ที่จริงก่อนการชุมนุมก็มีการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน จนมีผู้ร้องเรียนไปเรื่องการใช้กำลังเกินเหตุจนทำให้มีผู้เสียชีวิต และใช้พ.ร.ก. ฉุกเฉินที่ไม่เป็นไปตามสากล


ผู้เชี่ยวชาญพิเศษยัง ตั้งคำถามในเรื่องการใช้กำลังเกินกว่าเหตุที่มี การตั้งป้ายโซนใช้กระสุนจริง จนเป็นการเอื้อให้มีการยิงเกิดขึ้น รวมไปถึงเรื่องมาตรา 17 ที่กำหนดให้ละเว้นโทษแก่เจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นมาตราที่ระบุเอาไว้กว้างมาก


นอกจากนี้ ในประเด็นการตั้งคณะกรรมการสอบค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) อาจไม่โปร่งใส รัฐบาลยังมีการจ้างทีมต่างประเทศเข้ามาชันสูตรศพเพียงแค่รายเดียวเท่านั้น แต่กลับมาใช้โฆษณาว่ามีความอิสระ แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับตัวคอป.ว่าจะเอารายงานมาเปิดเผยหรือไม่ อย่างไร