ที่มา มติชน 1.ยก เลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลัก เขตแดนทางบก ปี 2543 หรือที่เรียกกันว่า MOU43 2.ผลักดันชาวกัมพูชาที่อพยพและรุกล้ำเข้ามาอาศัยและสร้างสิ่งก่อสร้างในเขต แดนไทยออกไป และ3.ให้ถอนตัวจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก 1.การ ที่คณะผู้แทนไทยได้ดำเนินการถอนตัวตามคำเรียกร้อง ของภาคประชาชนนั้น ภาคประชาชนขอขอบคุณนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าผู้เจรจามรดกโลก ที่ได้ตัดสินใจถอนตัวออกจากสมาชิกภาคีมรดกโลก แม้จะมีแรงกดดันขอให้เสนอเลื่อนการพิจารณาวาระแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาท พระวิหารจากทั้งรัฐบาลไทยและข้าราชการเป็นจำนวนมาก 2.ภาค ประชาชนถือว่าการที่รัฐบาลตัดสินใจถอนตัวจาก ภาคีมรดกโลกเป็นการทำตามข้อเรียกร้อง 1 ใน 3 ข้อของภาคประชาชนตามที่เคยเสนอไป ถือว่าเป็นชัยชนะของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ และถือเป็นความสำเร็จ 1 ใน 3 ข้อของการชุมนุมรวมพลังปกป้องแผ่นดินของกลุ่มพันธมิตรฯ 3.การ ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ออกมาให้สัมภาษณ์ก่อนการถอนตัวของนายสุวิทย์ โดยระบุว่าคณะกรรมการมรดกโลกจะมีมติให้เลื่อนการพิจารณาวาระแผนบริหารจัดการ มรดกโลกเขาพระวิหาร แต่ไทยต้องดูถ้อยคำเรื่องการส่งทีมบูรณะปฏิสังขรณ์ว่าจะมีปัญหาหรือไม่ แต่ต้องเคารพมติของที่ประชุมนั้น แสดงว่าจุดยืนของนายอภิสิทธิ์ต้องการเพียงแค่การเลื่อน โดยยอมแลกแม้กระทั่งการซ่อมบูรณะปราสาทพระวิหาร หวังเพียงให้พ้นวันหย่อนบัตรเลือกตั้ง 3 ก.ค. ดังนั้น การตัดสินใจครั้งนี้จึงไม่ถือเป็นผลงานของนายอภิสิทธิ์ แต่เป็นผลงานของนายสุวิทย์โดยตรง 4.การ ถอนตัวครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งที่ภาคประชาชน พูดมาตลอดเป็นความจริงทุกประการ และยังสะท้อนด้วยว่าเอ็มโอยู 2543 ที่นายอภิสิทธิ์พยายามยึดถือว่าจะเป็นอำนาจและกลไกในการปกป้องไม่ให้คณะ กรรมการมรดกโลกเดินหน้าเรื่องปราสาทพระวิหารนั้น เป็นความเท็จทั้งสิ้น 5.การ ที่รัฐบาลไทยล้มเหลวในการใช้เอ็มโอยู 2543 ในเวทีคณะกรรมการมรดกโลก แสดงว่าไม่มีชาติไหนๆ เห็นด้วยกับการใช้เอ็มโอยู 2543 ในการปกป้องอธิปไตยของชาติ มีแต่จะเห็นว่าเป็นเครื่องมือที่ยืนยันแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ด้วยเหตุนี้ นานาชาติจึงเข้าข้างฝ่ายกัมพูชา ดังนั้น หากไทยยังยึดมั่นในเอ็มโอยู 2543 ก็จะเป็นอันตรายต่อไปในอนาคต ไม่ว่าจะในเวทีศาลโลก การประชุมอาเซียน หรือการประชุมในสหประชาชาติ รัฐบาลจึงต้องทบทวนเอ็มโอยู 2543 อย่างเร่งด่วน 6.แม้ ว่ารัฐบาลไทยจะถอนตัวออกมาแล้วแต่ในช่วงเวลาที่ เหลือจนถึงวันที่ 29 มิ.ย. ยังไม่มีความแน่นอนว่าจะมีการพิจารณาเรื่องปราสาทพระวิหารหรือไม่ และผลจะเป็นอย่างไร เมื่อไทยถอนตัวแล้วจะต้องมีการดำเนินการต่อเนื่องไม่ให้ฝ่ายกัมพูชาหรือยู เนสโกเข้ามากระทำการใดๆ ในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ไทยต้องถือว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นของประเทศไทย หากการถอนตัวออกจากมรดกโลกแล้วปล่อยให้ยูเนสโกเข้าไป รวมถึงการที่ทหารและชุมชนกัมพูชาอยู่ที่เดิม ปล่อยให้พัฒนาจนเป็นพื้นที่บริหารจัดการมรดกโลก ก็ถือว่าไทยล้มเหลวในทางปฏิบัติอยู่ดี การถอนตัวจากมรดกโลกก็จะสูญเปล่า ดังนั้นรัฐบาลและทหารไทยต้องดำเนินการผลักดันกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทย ไม่ปล่อยให้มีการเดินหน้าบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหารและโดยรอบอย่าง เด็ดขาด 7.นับจากนี้ประเทศไทย จะต้องประกาศจุดยืนให้ชัดเจนอย่าง แข็งขันในการยืนหยัดที่จะปกป้องอธิปไตยของชาติ โดยเฉพาะในเวทีศาลโลก ที่ประเทศไทยไม่เคยยอมรับอำนาจศาลโลก มาตั้งแต่คดีปราสาทพระวิหารเมื่อปี 2505 ดังนั้น ในเวทีศาลโลกไทยก็ไม่สมควรจะรับอำนาจศาลโลกอีก จากนี้อีกไม่นานศาลโลกอาจจะพิจารณาว่า จะออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวให้แก่กัมพูชาหรือไม่ หากเกิดคุ้มครองเท่ากับเราจะเสียเปรียบทันที ในทางกลับกันหากศาลโลกไม่ออกมาตรการคุ้มครอง แต่ไทยไปดีใจ ก็เท่ากับยอมรับอำนาจศาลโลก และจะต้องถูกนำคำวินิจฉัยเมื่อปี 2505 มาตีความเพิ่มเติม ดังนั้นไทยต้องไม่รับอำนาจศาลโลก ไม่เช่นนั้นจะเป็นผลต่อเนื่องไปในอนาคต 8.เรา ขอขอบคุณพี่น้องประชาชนชาวไทยที่ยืนหยัดต่อสู้กับ พวกเราในครั้งนี้ เราถือว่าความสำเร็จครั้งนี้ไม่ใช่ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ถือว่าเป็นความสำเร็จของประชาชนทุกหมู่เหล่าที่ได้ช่วยกัน ขอขอบคุณพี่น้องประชาชนมา ณ โอกาสนี้
ภาย หลังที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ได้กลับมาชุมนุมอีกครั้งที่บริเวณสะพานมัฆวานและหน้าทำเนียบรัฐบาล โดยในครั้งแรกจะให้เริ่มการชุมนุมในวันที่ 11 ธ.ค. 2553 แต่ได้เลื่อนออกมาเป็นวันที่ 25 ม.ค. 2554 จากกรณีความขัดแย้งไทย-กัมพูชาเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทำตามมติของกลุ่ม พันธมิตรฯ 3 ข้อ
ทั้ง นี้การเรียกร้องดังกล่าว รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ก็มิได้มีท่าทีสนองตอบแต่อย่างใด พร้อมกันนั้นได้ออกพระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรมาใช้รักษา ความปลอดภัย
ขณะที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาของฝ่ายไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ประกาศว่าไทยได้ลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกอย่างเป็นทางการ หลังจากการประชุมตัดสินใจบรรจุวาระการประชุมเรื่องปราสาทพระวิหารที่กัมพูชา เสนอ
ล่าสุด วันนี้ (26 มิ.ย.) ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงกรณีที่ประเทศไทยได้ถอนตัวออกจากการเป็นภาคี อนุสัญญามรดกโลก โดยประกาศเป็นจุดยืนของพันธมิตรฯ และคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรจำนวน 8 ข้อ ดังนี้
อย่าง ไรก็ตาม นายปานเทพ ยังกล่าวอีกว่า ทางคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย และกองทัพธรรมมูลนิธิ ได้ประชุมหารือกันแล้ว โดยมีมติว่าหลังจากที่รอดูสถานการณ์การประชุมมรดกโลกจนสิ้นสุดในวันที่ 29 มิ.ย.นี้ จะมีการชุมนุมต่อไปถึงคืนวันที่ 1 ก.ค. และก็จะประกาศยุติการชุมนุมทั้งด้านสะพานมัฆวานฯ และสะพานชมัยมรุเชฐ โดยจะใช้เวลาในการเก็บอุปกรณ์ 4-5 วัน ก่อนจะใช้เวลาที่เหลือติดตามสถานการณ์อธิปไตยของชาติต่อไป รวมทั้งรณรงค์โหวตโนในช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง โดยจะเริ่มถ่ายทอดสัญญาณสดของเอเอสทีวีที่ห้องส่งในวันที่ 2 ก.ค.นี้ เป็นต้นไป