WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, September 14, 2011

จากฎีกาแดง ถึงมาตรา 112

ที่มา thaifreenews

โดย bozo



“เสื้อแดงแม้จะมีจำนวนมาก ในระยะหนึ่งมีอำนาจสูงก็จริง
แต่ถ้าไม่เข้าใจสถานภาพของตัวเองก็พังได้
เพราะการเมืองภาคประชาชนต้องรู้จุดยืนว่ายืนอยู่ที่ไหน
เมื่อเสร็จเลือกตั้งเราต้องหวนกลับไปทำการเมืองภาคประชาชน
ถ้าขลุกอยู่แต่ระบบรัฐสภา เรื่องนั้นก็จะยุ่ง
ก็จะเหมือน 14 ตุลา ที่นักศึกษาเข้าไปยุ่งกับปัญหาทุกอย่างของประเทศ...
เมื่อคนเสื้อแดงมีประสบการณ์มาแล้ว เราอย่าไปยุ่ง”

นายวีระ หรือวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
ให้สัมภาษณ์กับ “มติชน” หลังชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นของพรรคเพื่อไทย
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้ว่าส่วนหนึ่ง มาจากพลังของ “คนเสื้อแดง”
ที่มีความศรัทธาใน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
หรือ “กระแสทักษิณ” จนถึงปรากฏการณ์ “อะเมซิ่งยิ่งลักษณ์”

ฎีกาคนเสื้อแดง

ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยหรือการได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
จึงไม่อาจปฏิเสธที่จะต้องแบกรับความหวังของคนเสื้อแดงและผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยกว่า 15 ล้านเสียง
ซึ่งไม่ใช่แค่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและข้าวยากหมากแพงเท่านั้น
แต่ยังต้องแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้มีประชาธิปไตยที่แท้จริง และคืนความยุติธรรมให้กับประชาชน
ในเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” อีกด้วย

จึงไม่แปลกที่คนเสื้อแดงจะทวงถามเรื่องฎีกาที่มีรายชื่อจำนวน 3,532,906 คน
ขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณต่อสำนักราชเลขาธิการ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2552
ซึ่งนายวีระครั้งเป็นประธาน นปช. เป็นผู้นำในการถวายฎีกาดับทุกข์ทั้งแผ่นดิน
โดยมีพิธีพราหมณ์บวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนยื่นถวายฎีกา
แต่กว่า 2 ปีในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่มีความคืบหน้า จึงทวงถามรัฐบาลยิ่งลักษณ์
และ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่กำกับกรมราชทัณฑ์
เรื่องการตรวจสอบรายชื่อในใบฎีกา

คืนความยุติธรรม

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
ให้ความเห็นเรื่องฎีกาว่า เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่ควรรายงานความคืบหน้าต่อประชาชน
เพื่อให้เกิดความเข้าใจและรับรู้ตรงกันว่าขั้นตอนไปถึงไหนแล้ว
และเหลือระยะเวลาอีกเท่าไรกว่าจะตรวจรายชื่อครบ

“สิ่งที่ประชาชน 3 ล้านรายชื่อเข้าชื่อถวายฎีกานั้นจะปล่อยให้เงียบหายไปเฉยๆ ไม่มีความคืบหน้า
คงจะไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง กระบวนการทั้งหมดควรได้รับการเปิดเผย และเป็นหน้าที่ของฝ่ายราชการ
ที่ดูแลที่น่าจะให้ข้อเท็จจริงและรายละเอียดได้”

นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ แกนนำ นปช. ที่ร่วมยื่น รายชื่อถวายฎีกาด้วย กล่าวว่า
ขณะนี้ประชาชนมีความคลางแคลงใจว่าเหตุใดชื่อของประชาชน 3 ล้าน รายชื่อ
ที่ร่วมกันขอพระราชทานอภัยโทษให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ
จึงยังไม่มีความคืบหน้า กินเวลานานมากเกินไปหรือไม่
เพราะเป็นความต้องการโดยบริสุทธิ์ใจของประชาชนที่หวังพึ่งพระบารมีและพระราชอำนาจ

เมื่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ไม่ยอมทูลเกล้าฯเดินเรื่องให้
รัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็ควรทำเรื่องนี้ให้เป็นไปตามขั้นตอน
เพราะฝ่ายกฎหมายได้ตรวจสอบแล้วว่าไม่จำเป็นที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะต้องถูกจำคุกก่อน
วันนี้ประชาชนเริ่มมีความหวัง ถ้ารัฐบาลสามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนก็จะเป็นเรื่องดี
ส่วนจะยื่นก่อนหรือหลังวันที่ 5 ธันวาคมก็ให้เป็นไปตามขั้นตอน
เพื่อให้ความยุติธรรมกับประชาชน แต่ยืนยันว่าจะไม่ก้าวล่วงพระราชอำนาจแน่นอน

อ้างต้อง “จำคุก” ก่อน?

แต่เว็บไซต์ทีนิวส์อ้างรายงานข่าวจากสำนักพระราชวังถึงการยื่นถวายฎีกาดังกล่าวว่า
ให้ยึดตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2550
ซึ่งมีความชัดเจนตามมาตรา 4 ที่ระบุว่า ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานี้
ต้องมีตัวตนอยู่ในความควบคุมของทางราชการ หรือถูกกักขังไว้ในสถานที่หรือที่อาศัย
ที่ศาลหรือทางราชการกำหนด

การยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้กับผู้ใดจึงต้องดำเนินการตามขั้นตอน
และยึดกฎหมายวิธีการพิจารณาคดีความอาญาเป็นบรรทัดฐาน
หากพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เป็นไปตามกฎหมาย ก็ไม่ควรที่เสนอมา
ขณะเดียวกันกฎหมายยังกำหนดคุณสมบัติด้วยว่าผู้ยื่นถวายฎีกา
ต้องเป็นบุตร ภรรยา หรือญาติสนิทรวมอยู่ด้วย
แต่จากการตรวจสอบจากกรมราชทัณฑ์ที่ส่งเรื่องให้ พล.ต.อ.ประชาพิจารณา
ทำความเห็นเสนอนั้นมีนามสกุล “ชินวัตร” เพียง 3 คน
แต่ไม่ใช่บุตรและภรรยา หนึ่งในจำนวน นั้นคือ น
ายพายัพ ชินวัตร น้องชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งสมัยที่นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ทำหนังสือให้นายพายัพ มาแสดงตัวยืนยัน
แต่นายพายัพไม่ติดต่อกลับมา

ล่าสุดนายพายัพกล่าวถึงกรณีที่นายพีระพันธุ์ระบุว่าตนไม่ได้ยืนยันกลับมาจึงเดินเรื่องต่อไม่ได้ว่า
ยืนยันที่จะร่วมเข้าชื่อเพื่อถวายฎีกา ถ้าหากต้องการหลักฐานอะไรเพิ่มเติมก็พร้อมจะมอบให้
อย่างน้อยก็มีสิทธิในฐานะประชาชนคนหนึ่งและในฐานะเป็นญาติ ซึ่งญาติทุกๆคนก็พร้อมจะร่วมลงชื่อด้วย
แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะร่วมยื่นหรือไม่ก็เป็นสิทธิ เนื่องจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่

ต้องปฏิเสธอำนาจเผด็จการ

แต่นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย
และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า
รัฐบาลไม่ต้อง สนใจเสียงคัดค้าน เพราะพระราชกฤษฎีกาพระราชทาน อภัยโทษ พ.ศ. 2550
ที่ออกในรัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งยึดอำนาจจากประชาชนนั้นไม่มีความชอบธรรม
หากสนใจว่าบุคคลที่ควรได้รับการอภัยโทษนั้นต้องเคย ถูกดำเนินคดี
หรือต้องรับโทษก่อนก็เท่ากับรัฐบาลประชาธิปไตยชุดนี้ยอมรับรัฐบาลเผด็จการทหาร

ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่คณะรัฐมนตรีหรือสภาผู้แทนราษฎร
จะต้องไปแก้พระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
แต่กระทรวงยุติธรรมต้องพิจารณาว่าควรทำอย่างไร
เพราะคดีที่ตัดสินให้จำคุก พ.ต.ท.ทักษิณนั้นไม่ชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย

ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวถึงเรื่องฎีกาว่า
ให้ทุกอย่างเป็นไปตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะทำเรื่องต่างๆที่ผ่านมา
ซึ่งเป็นเรื่องที่ตกค้าง เป็นการนำมาพิจารณาตามขั้นตอน
ต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาเรื่องก่อน ไม่มีการเร่งรัดเป็นกรณีพิเศษ

เชื่อคนวางยาปล่อยข่าว

ที่น่าสนใจคือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้นำเอกสารมาแจกกับผู้สื่อข่าวและ ชี้แจงว่า
การขอพระราชทานอภัยโทษ รัฐธรรมนูญ มาตรา 191 ระบุว่า
“พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระ ราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ”
และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 259-267
ผู้ที่ทูลเกล้าฯถวายเรื่องราวหรือผู้ถวายฎีกาคือ
1.ผู้ต้องโทษคำพิพากษา (ม.259)
2.ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องฯ (ม.259) และ
3.คณะรัฐมนตรี (ม.261 ทวิ)

สำหรับผู้ที่หลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษาและศาล
ได้อ่านคำพิพากษาลับหลังให้ลงโทษจำคุกมีสิทธิได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือไม่นั้น
ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดตัดสิทธิห้าม
และการพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจเฉพาะพระองค์
ไม่มีกฎหมายบัญญัติกรอบอำนาจของพระมหากษัตริย์ ว่าจะอภัยโทษในกรณีใดบ้าง
คดีประเภทใดอภัยโทษได้ คดีประเภทใดอภัยโทษไม่ได้
หรือการอภัยโทษต้อง มีเงื่อนไขใดบ้าง หรือต้องจำคุกมาแล้วนานเท่าใด

ส่วนมาตรา 4 และ 5 ก็เป็นกรณีเฉพาะรายที่ขอ
เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา
จึงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อผู้ตกทุกข์ได้ยาก
โดยออกพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์และตั้งคณะกรรมการขึ้นมา
พิจารณาการอภัยโทษเป็นรายกรณี ไม่ใช่กรณีเหมารวม
อีกทั้งพระราชกฤษฎีกาก็มีศักดิ์ทางกฎหมายน้อยกว่าพระราชบัญญัติ

อำนาจนอกระบบ

ร.ต.อ.เฉลิมจึงเชื่อว่าเรื่องฎีกามีการปล่อยข่าวและพยายามปลุกระดมให้ต่อต้านรัฐบาล
เป็นแผนของคนบางกลุ่มที่มีวาระซ่อนเร้น เพราะไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน
เนื่องจากเป็นพระราชอำนาจ และทำไมกรมราชทัณฑ์เพิ่งจะมาขยันตอนนี้ 2 ปีกว่าไปทำอะไร
ต้องมีความเป็นธรรมบนพื้นฐานความถูกต้อง

สอดคล้องกับนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ระบุว่า
ขณะนี้มีกลุ่มที่ต้องการจะล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ซึ่งอาจทำการปฏิวัติรัฐประหารอีกครั้งเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอีกก็เป็นได้
แต่หากประชาชนรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งและเหนียวแน่น ใครที่คิดจะล้มรัฐบาลก็คงไม่กล้าทำอย่างแน่นอน

แต่นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่เป็นหนึ่งในผู้ถูกตั้งข้อหามาตรา 112 กลับไม่เห็นด้วยกับการขอพระราชทานอภัยโทษ
เพราะเท่ากับ “ยอมรับผิด” ทั้งการดำเนินคดีต่างๆกับ พ.ต.ท.ทักษิณก็ต้องถือว่าเป็นโมฆะทั้งสิ้น
เพราะผิดกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง (due process)
ซึ่งนายสมศักดิ์เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณต้องถือว่าเป็นนายกฯที่ได้รับการเลือกตั้ง
ตามกระบวนการที่ถูกต้องคนสุดท้าย ตามหลักการ พ.ต.ท.ทักษิณ
จึงสามารถกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีวันนี้พรุ่งนี้ได้เลยทันทีด้วยซ้ำ

อ้างกดดันสถาบัน!

ขณะที่นายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
รองคณบดีคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
ให้ความเห็นผ่านรายการ “คนเคาะข่าว” ทาง ASTV News1
ตอบโต้ ร.ต.อ.เฉลิมที่ว่ากฎหมายไม่ได้ห้ามฎีกาผู้หลบหนีคดีนั้น
ความจริงกฎหมายไม่ได้ห้ามตั้งหลายอย่าง
แต่คนที่มีอารยะ มีสามัญสำนึก ต้องรู้ว่าอะไรควรไม่ควร รู้จารีตประเพณีก็ไม่ทำ
อย่างการพระราชทานอภัยโทษตามจารีตประเพณีที่ทำมาแต่อดีต
คนคนนั้นต้องติดคุกมาก่อนและมีความสำนึกในความผิด

นายพิชายให้ความเห็นว่า เจตนาจริงๆคงไม่ได้ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณได้อภัยโทษ
ถึงไม่เป็นไปตามกระบวนการที่ควรจะเป็นด้านหนึ่งต้องการสร้างภาพข่าวให้กว้างขวาง
อีกด้านหนึ่งอาจหวังผลทางการเมืองในแง่ของความต้องการกดดันสถาบัน

ความเห็นดังกล่าวจึงไม่ต่างจากบทวิเคราะห์ใน ASTV ผู้จัดการออนไลน์
คอลัมน์ “ผ่าประเด็นร้อน” ที่พาดหัวว่า
“หยุดเอาเปรียบ-หยุดก้าวล่วง-หยุดกดดันพระราชอำนาจ!!”
ซึ่งระบุว่า ร.ต.อ.เฉลิมกำลังทำทุกทางเพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณพ้นผิด
และกลับเข้ามามีอำนาจทางการเมืองโดยเร็วที่สุด
โดยอ้าง “พระราชอำนาจ” เพื่อตัดตอนไม่ให้สังคมวิพากษ์วิจารณ์หรือ “หุบปาก”
และสรุปว่าหากมีการถวายฎีกาในนามของคณะรัฐมนตรี
โดยอ้างรายชื่อของคนเสื้อแดงนับล้านสนับสนุนก็ไม่ต่างจากการใช้วิธี
“กดดันบีบคั้นให้ใช้พระราชอำนาจ”

ม.112 เครื่องมือการเมือง!

ขณะที่เว็บไซต์วิกิลีกส์ได้เผยแพร่โทรเลขสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทย
โดยระบุบันทึกของนายราล์ฟ แอล บอยซ์ อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยปี 2550
ที่มีข้อความถึงรัฐบาลสหรัฐในหัวข้อ
“คู่มือของการรอดพ้นจากคดีหมิ่นพระบรมฯจากกรณีของชาวสวิส”
ที่อ้างกรณีนายโอลิเวอร์ จูเฟอร์ ชาวสวิส
ที่ถูกตัดสินจำคุก 10 ปี ข้อหากระทำการดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
แต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษอย่างรวดเร็วหลังถูกจำคุกเพียง 13 วันว่า
ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี้ถูกนำมาใช้เป็น “เครื่องมือทางการเมือง”
ซึ่งชาวอเมริกันเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีนี้ รัฐบาลสหรัฐควรจะต้อง “เงียบเอาไว้”

นายบอยซ์ระบุอีกว่า สำนักพระราชวังนั้นอ่อน ไหวและอึดอัดมากกับมาตรา 112
ที่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดในทางการเมือง
และยังทำให้มีปัญหาต่อความสัมพันธ์กับประเทศอื่นอีก
เพราะการกล่าวหาผู้อื่นโดยใช้กฎหมายหมิ่นฯเป็นอาวุธที่น่าเกรงขามอย่างหนึ่งในทางการเมืองไทย
ทั้งที่มีพระราชดำรัสจะพระราชทานอภัยโทษแก่ทุกคนที่ทำผิดข้อหานี้
อย่างกรณีนายจูเฟอร์หรืออัยการที่ยกฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ

ปลดล็อก ม.112 เพื่อสถาบัน!

การออกมาเคลื่อนไหวเรื่องฎีกาของคนเสื้อแดง จึงเป็นธรรมดา
ที่กลุ่ม “อำนาจนอกระบบ” จะใช้ “ขาประจำ” ออกมาปลุกระดมว่า
เป็นการ “กดดันและก้าวล่วง” เพื่อให้ใช้ “พระราชอำนาจ”
เพื่อสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งรุนแรงในการล้มรัฐบาลเพื่อไทย
และทำลายขบวนการคนเสื้อแดงหากรัฐบาลและคนเสื้อแดงประมาท
หรือประเมิน “อำนาจนอกระบบ” ต่ำเกินไป

นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ เขียนบทความใน “มติชน”
หัวข้อ “ความคลุมเครือ-ที่มาของอำนาจนอกระบบ”
ว่าพัฒนาการทางการเมืองไทยน่าจะเดินมาถึงแพร่งสำคัญที่ต้องเลือกว่าจะไปทางใด
โดยเฉพาะเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ ความจงรักภักดี และมาตรา 112
จึงผิดหวังที่รัฐบาลนี้เลือกที่จะเล่นเกมการเมืองเก่า คือ
ยืนยันความสัมพันธ์ทางการเมืองกับสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ไม่ชัดเจนดังเดิม
ด้วยการประกาศความจงรักภักดีอย่างท่วมท้นของตน
และอย่างที่ฝ่ายค้านวางเส้นทางให้เดิน คือ
ไม่คิดจะทบทวนมาตรา 112 ไม่ว่าในแง่เนื้อหาหรือในแง่ของการปฏิบัติ

เพราะหากยังมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ต่อไปก็ต้องชัดเจนว่า
การกระทำการอย่างใดจึงจะถือว่าละเมิดกฎหมาย
ไม่ปล่อยให้ขึ้นอยู่กับการตีความของเจ้าหน้าที่และผู้ฟ้องร้องตามอำเภอใจ
และเพราะกฎหมายมาตรานี้ถูกนำมาใช้
เพื่อกลั่นแกล้งกันทั้งในเชิงบุคคลและในเชิงการเมืองอยู่เสมอ
จึงจำเป็นต้องสร้างกระบวนการกลั่นกรองการฟ้องร้องที่ละเอียดรอบคอบและโปร่งใส
ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมาทั้งนักรัฐประหารและนักการเมือง
ต่างช่วยกันทำความเสื่อมเสียให้แก่สถาบันตลอดมา และใช้มาตรา 112 เป็นเครื่องมือ

การจะหยุดการทำร้ายสถาบันจึงต้องทบทวน มาตรา 112
เพื่อให้ทุกฝ่ายไม่สามารถทำร้ายศัตรูของตนโดยใช้มาตรานี้เป็นเกราะกำบังอีกต่อไป
การประกาศว่าจะทบทวนมาตรา 112 จึงไม่ได้หมายความว่าไม่มีความจงรักภักดีต่อสถาบัน
ตรงกันข้ามกลับเป็นการขจัดความคลุมเครือในเรื่องนี้ ทำให้เกิดความมั่นคงแก่สถาบัน
เพราะในความคลุมเครือของรัฐอภิสิทธิ์นั้นย่อมไม่มีความมั่นคงแก่สถาบันใดๆทั้งสิ้น

สถาบันกับมือที่มองไม่เห็น

ดังนั้น แม้พรรคเพื่อไทยจะได้ชัยชนะอย่างถล่มทลายจนได้เป็นรัฐบาล
เพราะ “มือที่มองเห็น 15 ล้านเสียง” แต่ก็ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการต่อสู้
เพื่อให้บ้านเมืองมีประชาธิปไตยที่แท้จริง อย่างที่
ในหนังสือ “อะเมซิ่งยิ่งลักษณ์” เตือนไว้ว่า “มือที่มองไม่เห็น” และ “กองกำลังทราบฝ่าย”
เพียงแค่พักยกเลียแผลใจเพื่อรอเวลาหาจังหวะแทรกซ้อนครั้งใหม่
จาก “นวัตกรรมรัฐประหาร” ที่คนไทยตามไม่ทัน

และอำนาจแทรกซ้อนที่น่ากลัวที่สุดและเปราะบางที่สุดคือการใช้สถาบันมาปลุกระดม
ซึ่งขบวนการ “ดึงฟ้าต่ำ” ก็เป็นบทเรียนที่เจ็บปวดของ พ.ต.ท.ทักษิณ
รวมถึงการใช้ทำลายคนเสื้อแดงที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ยัดเยียดข้อหาว่าเป็นเครือข่าย “ขบวนการล้มเจ้า” จาก “ผังกำมะลอ”
ที่อุปโลกน์ขึ้นเอง รวมถึงมาตรา 112 ที่กลายเป็น “เครื่องมือทางการเมือง”
ในการกำจัดผู้ที่มีความเห็นต่าง แม้แต่สื่อ นักวิชาการ และชาวต่างชาติก็ถูกกล่าวหา
และถูกคุมขังมากมาย จนประเทศไทยกลายเป็นตัวประหลาดในสายตาของประชาคมโลก

ถึงเวลาแล้วหรือไม่? ที่สังคมไทยจะต้องเปิดใจยอมรับการทบทวนมาตรา 112

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 7 ฉบับที่ 327 วันที่ 10 - 16 กันยายน พ.ศ. 2554 หน้า 16 – 17
คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน


http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=12060