WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, September 16, 2011

"คำ ผกา" วิพากษ์ "จ้ะ คันหู"/ "ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์"ชี้ ความไม่หลากหลายทางเพศวิถีเป็นเรื่องอันตราย

ที่มา มติชน





















ลักขณา ปันวิชัย หรือ "คำ ผกา" นักเขียน นักแปล และคอลัมนิสต์ชื่อดังที่มีผลงานทางด้านเพศวิถีได้กล่าวถึง "เสรีภาพเพศวิถีในสังคมไทย" ในงานประชุมวิชาการเพศวิถีศึกษา ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมเดอะรอยัลริเวอร์ เมื่อเช้าวันนี้ (15 ก.ย.) ว่า

ข้อถกเถียงหลักเรื่องเสรีภาพในเรื่องเพศของสังคมไทยนั้นมีอยู่ 2 ประการ ประการแรกคือข้อถกเถียงที่ว่า สังคมไทยดั้งเดิมหรือวัฒนธรรมไทยดั้งเดิมเป็นวัฒนธรรมที่มีความเข้มงวดทาง จริยธรรมทางเพศ และความเข้มงวดดังกล่าวมีไว้เพื่อปกป้องไม่ให้ผู้หญิงถูกเอารัดเอาเปรียบ เพื่อรักษาความสง่างามของผู้หญิงและวัฒนธรรมของชาติ อย่างในเพลงที่ร้องว่า "ดอกบัวตองนั้นบานอยู่บนยอดดอย ดอกเอื้องสามปอย บ่เกยเบ่งบานบนลานพื้นดิน..." ซึ่งสะท้อนให้เห็นแนวคิดที่ว่า ผู้หญิงมีสถานะอันสูงค่าและพึงระวังปกป้องศักดิ์ศรีของตนเอง และต้อง "ไม่ใจง่าย!"


ซึ่งข้อถกเถียงดังกล่าวนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่ยกย่องให้เกียรติผู้หญิงอย่างมาก เช่นคำว่า "แม่พระแม่นาง" "แม่เรือน" หรือการที่อ้างว่าการเรียกผู้หญิงที่แต่งงานแล้วว่า "นาง" นั้น หมายถึงการยกย่องให้เป็นเจ้าหญิง ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนั้นก็เท่ากับเป็นการกดสถานะของผู้หญิงที่ไม่แต่งงานว่า มีสถานะที่ต่ำกว่า

ข้อถกเถียงดังกล่าวยังได้นำไปสู่ข้อเสนอที่ว่า วัฒนธรรมไทยของเราดีมาแต่เดิม เราไม่มีการกดขี่ผู้หญิงเหมือนวัฒนธรรมจีนหรืออินเดีย การมีหนึ่งผัวหลายเมียนั้นก็ไม่ใช่วัฒนธรรมไทยทว่าเป็นสิ่งที่เรารับมาจาก จีน


"คนไทยแท้อย่างชาวนาก็ไม่ได้มีเมียหลายคนแต่ไม่ได้พูดถึง เหตุผลที่แท้จริงว่าชาวนาที่มีเมียคนเดียวอาจเป็นเพราะว่าเลี้ยงไม่ไหว การมีเมียหลายคนของชนชั้นสูงก็เป็นเรื่องการเมืองมากกว่าเรื่องตัณหาหรือ เรื่องทางเพศ ซึ่งจบลงด้วยข้อสรุปคลาสสิกที่บอกว่า คนรุ่นใหม่ไม่อาจรักษาความลึกซึ้งทางภูมิปัญญาไทยสมัยโบราณได้ คนไทยสมัยใหม่จึงตกเป็นทาสวัฒนธรรมตะวันตก"


ในขณะที่ข้อถกเถียงข้อที่สอง คือการบอกว่าความเข้มงวดในเรื่องเพศนั้นเป็นวัฒนธรรมตะวันตกหรือวัฒนธรรมแบบ "วิคตอเรียน" เพราะวัฒนธรรมไทยโดยเนื้อแท้แล้วเป็นวัฒนธรรมที่มีความเป็นเสรีนิยมทางเพศ มากกว่าวัฒนธรรมฝรั่ง ผู้หญิงไทยในวรรณคดีโบราณมีบทบาทที่แอ็คทีฟทางเพศและแสดงออกทางเพศได้อย่าง เปิดเผย กลุ่มคนที่สนับสนุนข้อถกเถียงประเภทนี้ก็มักจะยกบทละครนอก บทอัศจรรย์ทางเพศในวรรณคดีต่างๆ รวมไปถึงวรรณกรรมของชาวบ้านเช่น ลำตัด เพลงฉ่อย มาอ้าง


รวมถึงการอธิบายบทบาทของผู้หญิงไทยที่เป็นชนชั้นล่างและเป็นคนชนบทว่ามีความเข้มแข็ง กล้าหาญ สามารถตบตี

กับสามีหรือไล่สามีออกจากบ้านได้หากไม่พอใจ และสามารถพูดจาหยาบโลนได้


ซึ่งข้อถกเถียงอันนี้ก็นำไปสู่ข้อสรุปคลาสสิกอีกอย่างหนึ่ง ที่ว่า การที่ผู้หญิงไทยอ่อนแอลงก็เพราะว่าเราไปรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมานั่นเอง


"จะเห็นว่าทั้งสองข้อถกเถียงนี้แม้ว่าจะกลับหัวกลับหางกันก็ตาม แต่ก็ได้ข้อสรุปตรงกันว่า ไม่มีอะไรผิดปกติในวัฒนธรรมไทย ที่มันมีปัญหาก็เพราะปัญหาของวัฒนธรรมอื่นทั้งสิ้น"


"ถ้าไม่ใช่จีนหรืออินเดีย ก็เป็นวัฒนธรรมฝรั่ง หรือวัฒนธรรมต่างถิ่น เช่นที่บอกว่าผู้หญิงอีสานไปแต่งงานกับฝรั่งว่า เป็นเพราะเห็นแก่เงินจึงไปแต่งงานกับฝรั่งแก่ๆ" คำ ผกา กล่าวว่า ดังนั้นการพูดเรื่องเสรีภาพเพศวิถีไทย สิ่งที่ยากที่สุดคือกรอบความเป็นไทย อย่างอคติของความเป็นไทย


คำ ผกา กล่าวต่อไปว่า เราจะพูดเรื่องเพศวิถีในสังคมไทยได้ยากมากถ้าหากเราไม่แบ่งสังคมไทยออกเป็น 2 ยุคใหญ่ๆ อันได้แก่ ยุค "Pre-Thai" (ยุคก่อนไทย) กับ ยุคโมเดิร์นไทย (ไทยสมัยใหม่) ที่มีจุดแบ่งอยู่ที่การกำเนิดของรัฐไทยสมัยใหม่ โดยการแบ่งสังคมไทยออกเป็น 2 ยุคดังกล่าวน่าจะช่วยแก้ไขปัญหาความลักลั่นของข้อถกเถียงข้างต้น


"เช่นในการพูดถึงเพศวิถีในยุค "พรี-ไทย" เราจะได้ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมันในฐานะที่เป็นสังคมไทยภายใต้จินตนาการว่า ด้วยความเป็นไทยที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างซับซ้อนสร้างรื้อแล้วสร้างใหม่จนกลาย มาเป็นความเป็นไทยฉบับทางการแบบที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน"


"เพศวิถีในสังคมในยุคพรี-ไทยน่าจะมีชีวิตชีวามากขึ้น หากได้ถูกนำไปศึกษาในแนวทางสังคมวิทยาหรือมานุษยวิทยามากขึ้น แล้ววางพรี-ไทยไว้ในภูมิศาสตร์ของภูมิภาค มากกว่าภูมิศาสตร์ของรัฐไทยในรูปขวานทอง และวางมันในมิติเวลาที่อยู่ในระนาบเดียวกันกับสังคมพรีโมเดิร์นอื่นๆ เพื่อจะหลุดพ้นจากภาพที่ว่า วัฒนธรรมไทยพิเศษกว่าวัฒนธรรมอื่น"


คำ ผกา กล่าวต่อไปว่า เพศวิถีของไทยเมื่อเข้าสู่ความเป็น "รัฐชาติ" แล้ว ก็ต้องถูกนำมาพิจารณาโดยไม่จำเป็นต้องมีความสืบเนื่องกับเพศวิถีในยุค พรี-ไทย แต่กลับเป็นสิ่งที่มีลักษณะร่วมกับเพศวิถีของสังคมสมัยอื่นๆแม้จะต่างกันใน มิติของเวลา เพศวิถีในภูมิศาสตร์ทางการเมืองแบบใหม่จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการพิจารณา จากมุมของรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญาการเมือง สังคมวิทยาการเมืองมากขึ้น


"นั่นแปลว่า เพศวิถีแยกไม่ออกจากการสร้างชาติ แนวคิดชาตินิยม ประชาธิปไตย การเลือกตั้ง เศรษฐกิจแบบเสรีนิยม การเกิดขึ้นของชนชั้นกลาง ฯลฯ"


เราจึงจะสามารถเห็นการเกิดใหม่ของความเป็นไทยที่เป็น "วัฒนธรรมลูกผสม มีความเป็นเอกเทศในตัวเอง โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีความสืบเนื่องจากอดีต"


"คันหู"!

คำ ผกา ยังได้ยกกรณี "จ้ะ คันหู" ขึ้นมากล่าวด้วยว่า เพลงและท่าเต้นดังกล่าวเป็นปัญหาของวัฒนธรรมมวลชนที่ไม่สามารถนับรวมให้อยู่ ในความเป็นไทยได้ ท่าทีของสังคมไทยที่มีต่อเพลงและท่าเต้นดังกล่าวมีด้วยกันสองกลุ่ม กลุ่มแรกเห็นว่าไม่เหมาะสม ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมอันดีของไทย กลุ่มที่สองเห็นว่า "นี่คือวัฒนธรรมไทยแท้ไง ล่ะ! ที่ไม่มีความดัดจริตในเรื่องเพศ นี่คือไทยพื้นบ้าน นี่คือเรื่องธรรมดาของวัฒนธรรมชาวบ้านที่พูดเรื่องเพศอย่างเปิดเผย"


สองข้อถกเถียงนี้ตรงกับข้อถกเถียงหลักดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ซึ่งทำให้เรามองศิลปะไทยแขนงนี้ค่อนข้างจะคลาดเคลื่อนไป


"จริงๆแล้วเพลงคันหูอยู่ในประเภทหนึ่งของความบันเทิงของชนชั้น กลางกลุ่มหนึ่งในสังคมไทย ซึ่งเป็นกลุ่มทางสังคมที่ไม่สามารถจัดวางลงไปบนความเป็นไทยแบบทางการได้ ชนชั้นกลางเหล่านี้สามารถเข้าถึงการบริโภคได้ไม่ต่างจากชนชั้นกลางที่มีการ ศึกษาอีกประเภทหนึ่ง ด้วยรสนิยมที่แตกต่างออกไป ชนชั้นกลางเหล่านี้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมที่เราเรียกกันว่าเป็นวัฒนธรรมแบบ "ไทยๆ" หรือ "very Thai" พวกเขาอาจเป็นนายทุนในชนบท คนทำงานที่อยู่ในเมือง หรือจะเป็นใครก็ได้ที่ไม่สมาทานการหล่อหลอมรสนิยมแบบกระแสหลักที่มีฐาน มารยาทอยู่ที่หนังสือสมบัติผู้ดี ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ลุ่มหลงในวัฒนธรรมพื้นบ้านในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่จะต้องรักษาเอาไว้ให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง"


"เพราะฉะนั้นเพลงคันหูก็เป็นมหรสพความบันเทิงประเภทดังกล่าวคือเป็น "ป็อปปูลาร์คัลเจอร์" ของชนชั้นกลางที่มีรสนิยมไม่ตรงกับจินตนาการชนชั้นกลางในจินตนาการของเรา"


"มันไม่ถึงอกถึงใจชัดเจนเหมือนกับหมอ ลำซิ่งตามงานวัดหรือในหมู่บ้าน ในขณะเดียวกัน มันก็ไม่ใช่การเต้นยั่วยวนตามขนบอย่างที่เราเห็นของพริตตี้มอเตอร์โชว์ ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้มีลูกเล่นแยบคายเหมือนการแสดงของพุ่มพวง ดวงจันทร์ ในขณะเดียวกันมันก็ไม่ได้มีความ sophisticated (ซับซ้อนและมีชั้นเชิง) พอสำหรับรสนิยมของชนชั้นกลางอย่างเราๆเป็นต้น"


คำ ผกา กล่าวว่า ดังนั้น ความไม่ลงรอยกับอะไรเลยของเพลงคันหูและท่าเต้นดังกล่าวจึงสะท้อนให้เห็น พื้นที่ที่ขาดหายไปของการศึกษาเรื่องเพศวิถีของสังคมไทยที่จำเป็นต้องถูกนำ มาวิเคราะห์ใหม่โดยไม่จำเป็นต้องยึดโยงอยู่กับความสืบเนื่องของความเป็นไทย แต่ในฐานะที่เป็นหน่วยทางสังคมของรัฐชาติสมัยใหม่ ที่มีการแตกตัวไปในสังคมอย่างค่อนข้างเป็นเอกเทศ


และ "นี่คือชนชั้นกลางที่หลุดรอดมาจากกระบวนการการกล่อมเกลาทางสังคมของรัฐสมัย ใหม่ และมีอำนาจทางเศรษฐกิจมากพอที่จะสร้างประเภทของความบันเทิงของตนเองขึ้นมา" คำ ผกา กล่าวทิ้งท้ายถึงมุมมองที่มีต่อข้อถกเถียงในเรื่องเพศวิถีที่เป็น "ทอร์ค ออฟ เดอะ ทาวน์" ของกรณีดังกล่าว


ทางด้าน ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอีกบทบาทหนึ่งในฐานะประธานมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ หรือ SWING ที่เธอบอกว่า ทั้งเธอและคนทำงานในมูลนิธิ "เชื่อว่า งานบริการคือ งาน"


ซึ่งในการสัมมนา "จุดเปลี่ยนเรื่องเพศประเทศไทย" เช้าวันนี้ ชลิดาภรณ์กล่าวว่า สิ่งที่ถูกนำเสนอผ่านทางภาครัฐและสื่อกระแสหลักนั้นให้ภาพลวงตาเสมือนว่า ไม่มีอะไรเปลี่ยนเลยในเรื่องเพศ ไม่มีอะไรเปลี่ยนเลยในเรื่องการเรียกร้องว่าเราจะต้องชัดเจนในเรื่องความ เป็นชาย-ความเป็นหญิง ว่ามนุษย์มีแค่ 2 เพศสภาพ หรือการจำกัดหรือขังเรื่องเพศไว้ภายใต้สถาบันการแต่งงาน


อย่างไรก็ดี จากการเรียกร้องการคุ้มครองจากรัฐของขบถทางเพศหลายกลุ่ม ซึ่งสำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้างนั้น เราต้องยอมรับว่า ปัจจุบันรัฐและสื่อกระแสหลักระมัดระวังขึ้นมากในการรับมือกับขบถทางเพศทั้ง หลาย "รัฐไทยยอมถอยในบางเรื่องที่ขบถทางเพศเรียกร้อง"


ชลิดาภรณ์กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งที่เราได้เห็นก็คือ การที่คนหลายกลุ่มไม่รอความเมตตาจากรัฐ ไม่รอให้รัฐเปลี่ยนใจ แต่ได้พยายามจะสร้างพื้นที่และเครือข่ายของตัวเองที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหา และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จนกลายเป็นชุมชนที่น่าสนใจ กลายเป็นเครือข่ายที่เพิ่มทางเลือกให้แก่คนในหลายๆสถานการณ์


"เครือข่ายเหล่านี้ไม่ได้ทำงานเป็นข่าวในสื่อกระแสหลัก แต่เรารู้ว่ามีคนทำงานที่พร้อมจะสร้างพื้นที่ทางเลือกเหล่านี้อยู่ ในที่สุดกิจกรรมที่มองไม่เห็นเหล่านี้ได้สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาชน คนหลายกลุ่มในสังคมไทยสามารถที่จะจัดการกับกิจกรรมต่างๆของตนเองได้โดยไม่ ต้องรอรัฐ โดยเฉพาะในสถานการณ์เรื่องเพศทางเลือกทั้งหลาย"


"นี่มิใช่หรือที่เป็นองค์ประกอบหลักของประชาธิปไตยในความ หมายของการปกครองโดยประชาชน การทำงานเพื่อเพิ่มความสามารถของคนในการสำเสนอปัญหาเฉพาะของตัวเอง การร่วมมือกันจัดการกับปัญหาของตัวเองได้มากขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งพิงรัฐ เป็นคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อทั้งการทำงานในเรื่องเพศวิถีและต่อสังคมการ เมืองไทยโดยรวม"


ทั้งนี้ ชลิดาภรณ์ย้ำว่า กลุ่มคนที่โต้เถียงและตั้งคำถามกับเรื่องเพศกระแสหลักทั้งหลายควรจะต้อง ตระหนักว่า นี่เรากำลังตั้งคำถามไปเพื่ออะไร เรากำลังพยายามจะเปลี่ยนอะไร การผูกขาดความถูกต้องในเรื่องเพศนั้นไม่ได้แปลว่า เรากำลังจะเปลี่ยนให้คนทุกคนมามองเรื่องเพศในทางบวก "เพราะถ้าเช่นนั้นมันก็จะไม่ต่างกับคนพวกที่พยายามรณรงค์ให้มองเรื่องเพศใน ทางลบ"


"เป็นไปได้ไหมที่ภารกิจของเราคือการพยายามทำ ให้คนสามารถจะเห็นต่าง เชื่อต่างกัน โดยไม่รู้สึกผิดหรือต่ำต้อย ไม่มีวิธีมองเรื่องเพศแบบไหนที่ดีไปกว่ากันตราบใดที่วิธีมองเรื่องเพศแบบ นั้นๆไม่ไปละเมิดหรือรังแกคนอื่น ที่สุดแล้ว การพยายามจะทำให้คนมีวิธีคิดและวิธีมองเรื่องเพศแบบเดียวกันเป็นเรื่อง อันตราย"


และนี่คือจุดเปลี่ยนเรื่องเพศประเทศไทยในสายตา ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์