WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, September 16, 2011

เพศวิถี จาก "สงกรานต์สีลม" ถึง "เรยา-จ๊ะ คันหู" "ผู้หญิงเสื้อแดง-เสื้อเหลือง" และ "คำ ผกา"

ที่มา มติชน



เมื่อวันที่ 16 ก.ย. ได้มีการ ประชุมวิชาการเพศวิถีศึกษา ครั้งที่ 3 ณ โรงแรมเดอะรอยัลริเวอร์ ถนนจรัญสนิทวงศ์ โดยในงานได้มีเวทีเสวนาเรื่อง "เพศที่เปลี่ยนไปในสื่อและสิทธิทางเพศ" โดยจีรนุช เปรมชัยพร, สมสุข หินวิมาน และสุภัทรา นาคะผิว และมีการปาฐกถาในหัวข้อ "เพศกับการเมืองที่เปลี่ยนไป" โดยพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์


จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไทดอทคอมและเจ้าของรางวัลเฮลมานฮามเมตต์จากการรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน ออกตัวว่า สิ่งที่ตนจะพูดต่อไปนี้นั้นเป็นการ "พูดจากจริตชนชั้นกลาง" ก่อนที่จะกล่าวถึง "สื่อและสิทธิทางเพศที่เปลี่ยนไป" ว่า


เวลาที่เราพูดถึงสื่อนั้น สื่อก็มี 2 สายใหญ่ๆด้วยกัน หนึ่งคือสื่อกระแสหลัก ซึ่งมีความย้อนแย้งในตัวเอง หรือจะพูดง่ายๆได้ว่า สื่อกระแสหลักนั้นมีความ "ตอแหลต่อกัน"


"เนื่องจากสื่อกระแสหลักมีความเป็นทุนนิยมอยู่แล้ว และด้วยความเป็นทุนนิยมนี้เอง เรื่องเซ็กซ์จึงเป็นเรื่องที่ขายได้ แต่ขณะเดียวกัน สื่อกระแสหลักก็มีลักษณะที่ว่า ตัวเองจะต้องรักษาค่านิยมที่มีคุณค่าแบบเดิมหรือความเคร่งครัดทางศีลธรรม บางอย่าง ซึ่งตรงนี้จะเห็นได้ว่า สื่อกระแสหลักนั้นมีสภาพ มือถือสากปากถือศีล " จีรนุชกล่าว


"ยกตัวอย่างรายการ คนละดาวเดียวกัน ที่ "เกือบ" จะเป็นรายการน้ำดี ซึ่งถ้าใครที่อ่านหนังสือ ผู้หญิงมาจากดาวศุกร์ ผู้ชายมาจากดาวอังคาร ก็คงจะรู้สึกเป็นปลื้มกับรายการนี้ แต่ถ้าเราลองดูรายการนี้ในบริบทที่ว่า หากเราเองไม่ใช่ผู้หญิงที่ชอบผู้ชาย หรือผู้ชายที่ชอบผู้หญิง แต่เป็นคนที่อยู่ในวิถีชีวิตทางเพศอีกแบบหนึ่ง เราจะรู้สึกได้ว่า รายการนี้ไม่ได้พูดอะไรถึงเราเลย มันไม่ได้บอกถึงความมีอยู่ของเราเลย"


"นี่คือภาพเหมารวมทางเพศแบบหนึ่งที่สื่อกระแสหลักมองไม่เห็น" จีรนุชกล่าว

(จากซ้ายไปขวา) สมสุข หินวิมาน, สุภัทรา นาคะผิว, จีรนุช เปรมชัยพร


จีรนุชกล่าวต่อว่า สื่ออีกกระแสหนึ่งก็คือ สื่อประเภท "ร้อยพ่อพันแม่" ซึ่งเป็นสื่อที่ไม่ได้รวมเป็นกระแสใดๆที่ชัดเจน สื่อเหล่านี้ได้แก่ สื่ออินเตอร์เน็ตหรือ สื่อใหม่ ซึ่งกำลังนำเสนอสิ่งที่ต่างออกไปที่ไม่เคยได้รับอนุญาตให้นำเสนอบนพื้นที่ ของสื่อหลัก เราจะได้เห็นความหลากหลายของเรื่องราวที่มากกว่า และสื่อประเภทดังกล่าวยังมีลักษณะของการโต้กลับ หรือเป็นปฏิกิริยาต่อสิ่งที่ถูกนำเสนอบนสื่อกระแสหลัก


จีรนุชพูดถึงสื่อกระแสรองดังกล่าวว่า "มันมีลักษณะของการรวมกลุ่มคนที่มีความคิดความสนใจไปในทางเดียวกัน ทำให้ง่ายต่อการก่อให้เกิดการขับเคลื่อนอะไรสักอย่าง แต่ในขณะเดียวกัน มันก็อาจทำให้เราติดกับอยู่ในมายาภาพบางอย่างที่ว่า สังคมมันดีแล้ว"


"เรานั่งเล่นเฟซบุ๊กทั้งวัน เรามี "เฟรนด์" มีสิ่งแวดล้อมที่คิดไปในทางเดียวกันกับเรา แล้วเราก็คิดไปว่า อ๋อ เดี๋ยวนี้สังคมมันทันสมัยแล้ว"


ทั้งนี้ ในสายตาของจีรนุชนั้น เธอกล่าวว่า โลกสองโลกดังกล่าวนั้นเดินคู่ขนานกันไปเป็นระยะๆ และก็มีการปะทะสังสรรค์กันบ้างตามวาระและโอกาส


"อยากจะหยิบปรากฏการณ์การปะทะกันของสื่อสองกระแสนี้ขึ้นมาเป็น ตัวอย่าง ตัวอย่างแรกคือคลิปสาวสีลม ปมขัดแย้งที่สำคัญคือ การที่ทั้ง 3 สาวต้องออกมาขอโทษต่อสาธารณะ ซึ่งกรณีที่น่าสนใจก็คือ ถ้าสาวๆที่เต้นตรงนั้นไม่ใช่สาวแท้ แต่เป็นสาวข้ามเพศเนี่ย มันจะเป็นเรื่องขนาดนี้ไหม?"


"ในสังคมไทยมันมีพื้นที่ที่จะอนุญาตให้ใคร ทำอะไร ปรากฏการณ์ดังกล่าวมันเกิดขึ้นตามท้องถนนในช่วงสงกรานต์มาหลายปีแล้ว ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นในปีนี้ ทีนี้พอมันเกิดขึ้นแล้วและเราไปพบว่า เฮ้ย! ผู้หญิงพวกนี้เป็นผู้หญิงจริงๆ ก็เลยเกิดเป็นเรื่อง แลัวมันก็มาเกิดขึ้นในวาระอันเหมาะสมกับการพูดว่า เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่ ′ขัดต่อประเพณีและศีลธรรมอันดีงามของสังคมไทย′"


หรือแม้แต่ปรากฏการณ์ "เรยา" ที่จีรนุชบอกว่า ละครเรื่องนี้เป็นเรื่องการพูดถึงความสัมพันธ์นอกสมรสที่เกิดขึ้นโดยละคร ผู้หญิงซึ่งเป็นตัวนำในเรื่อง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อ "กระแสเรยา" ได้รับการยอมรับ ผู้รักษากฎในสังคม- ซึ่งเราไม่รู้ว่าเป็นใครนั้น กลับ "รับไม่ได้"


"เพราะว่าผู้รักษาศีลธรรมอันดีของสังคมไม่เชื่อว่า คนที่ดูละครคิดเองได้ ก็เลยมีการจบด้วยการมีพระเทศน์ในตอนจบ ซึ่งนี่เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ"

โปสเตอร์ให้ความรู้ภายในงาน


"ต่อมาคือปรากฏการณ์ "จ๊ะ คันหู" ที่คุณจ๊ะไปออกรายการวู้ดดี้ แล้ววู้ดดี้ก็โดนด่าเยอะมาก ส่วนตัวคิดว่าเหตุผลที่วู้ดดี้โดนด่านั้นไม่ใช่เพราะว่าวู้ดดี้เป็นคนเคร่ง ศีลธรรม "ซึ่งถ้าเทียบกับตอนที่วู้ดดี้เชิญนักร้องต่างประเทศมาสัมภาษณ์ เขาก็ไม่เคยอยู่ในบทผู้มีศีลธรรม" แต่สิ่งที่คนดูรับไม่ได้คือวิธีการที่วู้ดดี้ตั้งคำถามดูถูกแขกรับเชิญ ซึ่งนี่เป็นขนบที่สังคมไทยไม่ยอมรับ"


จีรนุชกล่าวว่า นอกจากนี้ ตัวอย่างดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเรื่องคุณค่าบางอย่างที่ซ้อนกันอยู่ในสังคม เป็นคุณค่าสองชั้น จากการที่ต่อมา "จ๊ะ" ต้องออกมาตอบโต้ว่า ตัวตนจริงๆของเธอนั้นเป็น "good girl"


"แล้วถ้าตัวตนจริงๆของเธอเป็น ′bad girl′ แล้วมันยังไงล่ะ? แล้ว ′So what?′" จีรนุชกล่าวพร้อมกับส่งท้ายว่า นี่คือคุณค่าสองชั้นที่มันทับซ้อนกันอยู่


ทางด้าน สมสุข หินวิมาน อาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ความเชื่อเกี่ยวกับสื่อในยุคปัจจุบันมีอยู่ว่า สื่อมีนั้นอิทธิพลทางความคิดของผู้คนในเรื่องเพศ มีงานวิจัยที่บอกว่า เวลาที่เราอ่านหนังสือพิมพ์ทุกวันๆ ซ้ำๆ เราก็จะได้รับการหล่อหลอมวิธีคิดแบบหนึ่ง


สมสุขได้ยกละครโทรทัศน์เรื่อง "จำเลยรัก" ขึ้นมาเป็นตัวอย่าง ก่อนจะกล่าวว่า ละครเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของชนชั้นกลางที่ต้องเผชิญปัญหาต่างๆ ในชีวิต มีการสร้างฉากให้เหมือนฉากแฟนตาซีในนิยาย มีฉาก "คลาสสิกๆ" ซึ่งสมสุขบอกว่า "นี่มันเป็นแฟนตาซีของผู้หญิงชนชั้นกลาง" ซึ่งสื่อให้เห็นวิธีการหล่อหลอมกระบวนทัศน์ในเรื่องเพศในสื่อ


สุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ กล่าวในแง่ของสิทธิทางเพศและ "เพศศึกษา" ว่า ข้อถกเถียงที่เป็นเรื่องใหญ่และมีความเกี่ยวข้องกับทัศนคติของคนในสังคมก็ คือ เรื่องของเพศศึกษา ที่เป็นที่ถกเถียงกันมากว่า "เราควรมีหลักสูตรเพศศีกษาแล้วหรือยัง? มันจะไปเป็นการชี้โพรงให้กระรอกไหม? มันจะไปเป็นการยุยงส่งเสริมไหม?" หรือเรื่องของการจะมี/ไม่มีตู้ถุงยางอนามัยในโรงเรียนก็ยังเป็นโจทย์ที่หลาย คนตั้งคำถามถึง


"เราไม่เคยเชื่อมั่นในศักยภาพเยาวชนของเรา ว่าพวกเขาจะมีความสามารถในการคิดและตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเอง และเรื่องเพศก็เป็นตัวสะท้อนที่สำคัญว่า ผู้ใหญ่เป็นผู้ที่คอยควบคุมดูแลในเรื่องดังกล่าว" สุภัทรากล่าว

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

ในขณะที่พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และพิธีกรรายการ Wake Up Thailand กล่าวในหัวข้อ "เพศกับการเมืองที่เปลี่ยนไป" ว่า


เรื่องของเพศกับการเมืองนั้น ตนจะไม่ขอตอบว่าขบวนการไหนจริงแท้กว่ากันในแง่ประชาธิปไตย หรือขบวนการไหนที่ผู้หญิงมาร่วมต่อสู้จริงแท้กว่ากัน แต่ "ผมสนใจว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีวิธีแสดงออกทางเพศสภาวะและเพศวิถีอย่างไร"


พิชญ์กล่าวว่า "ผม ไม่ได้บอกว่าเสื้อแดงต้องเป็นแม่ค้าเท่านั้น หรือว่าเสื้อเหลืองต้องเป็นชนชั้นสูงเท่านั้น เพราะผมไม่เชื่อในวิธีคิดเช่นนั้น ผมเชื่อว่าคนทั้งสองสีมาจากทุกชนชั้น นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของการเมืองระดับชาติก็มีเรื่องของเพศสภาวะและเรื่องของเพศ วิถีอยู่ด้วย และสิ่งเหล่านี้ก็ไม่เคยปรากฎอย่างชัดเจนเช่นนี้มาก่อน"


"ผมไม่ได้จะดูว่ามีผู้หญิงเข้าร่วมขบวนการ เหล่านี้มากน้อยเพียงไร คือไม่ได้ดูว่าขบวนการไหนมีผู้หญิงมากกว่ากัน แต่อยากมองไปที่ภาพลักษณ์ของผู้หญิงและเพศสภาวะ-เพศวิถีที่มีการนำมาอ้างผสม รวมอยู่ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองดังกล่าว"


จากรูป (บน) ที่เขานำมาแสดงให้ผู้ฟังเห็นนั้น พิชญ์กล่าวอธิบายว่า "มีการกำหนดเพศสภาวะของบุคคลทางการเมือง ทั้งคนที่คุณโจมตีเขาว่าเขามีสภาพเช่นนั้น หรือถ้าหากว่าคุณไม่เห็นว่าคนเหล่านั้นมีสภาพเช่นนั้น คุณทำให้มันดูเป็นเรื่องขำซะ"


"การทำให้กลายเป็นผู้หญิง (จากตัวอย่างในรูปดังกล่าว) นั้นมีส่วนในการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ผ่านมา ที่จริงแล้ว ผู้หญิงนั้นเข้าร่วมในขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองมานานแล้ว แต่ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองเมื่อไม่นานมานี้ เราจะเห็นได้ว่า มันมีการให้ความหมายกับบทบาทของหญิงชายในการเคลื่อนไหวดังกล่าว มีการโจมตีและกำหนดเรื่องเพศต่อศัตรูทางการเมืองในกระบวนการ ′การทำให้เป็นอื่น′ มันลามจากห้องเรียนขึ้นไปบนเวที ไปยังสื่อต่างๆ ก่อให้เกิดคำถามว่า ที่จริงแล้วประชาธิปไตยนั้นก้าวหน้าจริงหรือเปล่า"


"มิติเรื่องเพศทั้งหลายนี่มันสะท้อนความก้าวหน้าของประชาธิปไตยจริง ไหม สังคมได้เปิดกว้างขึ้นไหม หรือว่าสิ่งเหล่านี้มันยัง ′วนๆ′ อยู่รึเปล่า"


สงครามความสวยระหว่าง "สาวเสื้อแดง" กับ "สาวเสื้อเหลือง"


พิชญ์ยกตัวอย่างกรณีศึกษาขบวนการเสื้อ เหลืองซึ่งมีผู้หญิงจำนวนมากเข้าร่วม โดยให้ดูภาพเปรียบเทียบระหว่างผู้หญิงในขบวนการพันธมิตรกับขบวนการ นปก. (ก่อนที่จะมาเป็น นปช.) ซึ่งจะมีข้อถกเถียงที่ยกขึ้นมาว่า "สาวพันธมิตรกับสาวเสื้อแดง ฝ่ายไหนสวยกว่ากัน"

ใน การต่อสู้ของขบวนการเสื้อเหลือง ได้มีการให้ภาพความใสบริสุทธิ์ของเด็ก (รูปข้างซ้ายมือ) และผู้หญิงมาเป็นเครื่องหมาย หรือภาพความเป็นสาวชนบท ความเป็นสาวชนชั้นล่างของผู้หญิงในขบวนการเสื้อแดง


"ในขณะที่ขบวนการเสื้อหลากสี ซึ่งแม้จะมีผู้หญิงเข้าร่วมเยอะ แต่ก็ไม่ได้มีการนำเสนอภาพออกมาในรูปการเคลื่อนไหวของผู้หญิง แม้ว่าจะมีรูปผู้หญิงแต่มันก็ไม่ได้ถูกเล่นเป็นประเด็น" พิชญ์กล่าว


"กองเชียร์เสื้อแดง"


"ถ้าถามว่าการพูดถึงคำ ผกานี่แปลว่าเราให้ราคาคุณคำ ผกามากเกินไปไหม ผมยืนยันว่า ′ต้องให้′ ครับ ผมคิดว่า กระแส ′รู้ทันคนดี′ ของคุณคำ ผกามีนัยยะบางอย่างที่นอกเหนือไปจากเรื่องเพศและเรื่องของการร่วมเพศ โดยมีลักษณะไปรื้อทำลายแนวทางการศึกษาเรื่องเพศสภาวะของไทย"

"ในงานของคำ ผกา และนักวิชาการที่เป็น ′กองเชียร์เสื้อแดง′ นั้นมีมิติของความเป็นผู้หญิงที่ท้าทายโครงสร้างอำนาจรัฐ ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม มันมีความกระจัดกระจายและสลับซับซ้อน มีความเปลี่ยนแปลงหลายๆด้าน และเราควรต้องดูในหลายๆมุม" พิชญ์กล่าว