ที่มา ประชาไท
คำว่า “จังหวัดจัดการตนเอง” ผู้เขียนได้ยินกระแสนี้ดังขึ้น ในช่วงภายหลังจากรัฐอภิสิทธิ์ชนปราบปรามสังหารประชาชนคนเสื้
ผู้เขียนขออนุญาตชวนร่วมกันวิวาทะ และมีข้อวิจารณ์ ตั้งข้อสังเกตบางประการกับ “จังหวัดจัดการตนเอง” ในบริบทการเมืองไทยปัจจุบัน
ประการที่หนึ่ง ผู้มีบทบาทนำการขับเคลื่อน “จั
ประการที่สอง บทวิเคราะห์ของพวกเขามองว่า ความขัดแย้งทางการเมือง ความเป็นเหลือง-แดง รากเหง้ามาจากการรวมศูนย์อำนาจ จึงต้องมี “จังหวัดจัดการตนเอง” เป็นทางออกต่อปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองทั้งปวง
ผู้เขียนกลับเห็นว่า ความขัดแย้งที่ผ่านมา เกิดจากการรัฐประหาร 49 เป็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายอำมาตยาธิปไตย เป็นการต่อสู้ระหว่างความคิดที่ว่าจะเอา “คนดีมีศีลธรรม” หรือ “นักการเมืองที่ประชาชนเลือกเอง” หรือความคิดที่ว่า “คนเราเท่ากัน” “หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง” มิใช่ “ชาติกำเนิด” “ฐานะทางชนชั้น” ต่างหาก
เป็นความขัดแย้งระหว่างอุดมการอนุรักษ์นิยม-อำมาตย์-คลั่งชาติ กับอุดมการเสรีนิยม-ประชาธิปไตย-รักชาติ
และบทวิเคราะห์ของพวกเขาทำตัวเสมือน “เป็นกลางทางการเมือง” ไม่แดง ไม่เหลือง แต่แท้จริงแล้วพวกเขา “เหลือง” “เหลืองอ่อน” “เหลืองเข้ม” “เหลืองเนียน” “เหลืองซ่อนรูป” และก็คือ ”เหลือง” นั่นเอง ที่ไม่ยอมรับกติกาประชาธิปไตยดั่งอารยชนที่พึงมี
ประการที่สาม การขับเคลื่อนเรื่อง การรวมศูนย์อำนาจจากส่วนกลาง เป็นปัญหาสำคัญ และต้องยกเลิกส่วนภูมิภาค ต้องให้ประชาชนในจังหวัดเลือกตั้งผู้บริหารเอง เป็นมาตั้งแต่ช่วงหลังพฤษภา 35 ซึ่งต่างกับข้อเสนอของพวกเขาที่ผ่านมา เช่น ต้องมีสภาประชาชน สภาปราชญ์ที่ไม่ต้องมีการเลือกตั้ง หรือสภาองค์กรชุมชนที่เลือกกันเองภายในกลุ่มคนแวดวงขุนนางเอ็นจีโอ ซ้อนกับองค์กรปกครองท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งของคนท้องถิ่นผู้มีสิทธิ์ เสียงเองทั้งหมด
ผู้เขียนรู้สึกมึนงง จึงมีคำถามว่า พวกเขาต้องการมีการเลือกตั้ง หรือต้องการเลือกกันเอง อย่างไรกันแน่?
และทำไมปัจจุบันพวกเขาจึงเสนอ “จังหวัดจัดการตนเอง” หรือพวกเขาเพิ่งจะตกผลึก หรือพวกเขาสามารถเปลี่ยนประด็น เขียนโครงการ ได้เรื่อยๆ ตามแต่เงื่อนไขงบประมาณ และแหล่งทุน ?
ประการที่สี่ บทวิเคราะบทความหลายชิ้นในเวปไซค์ของพวก เขา ยังยึดติดโน้มเอียงกับความเป็นโรแมนติคของคนชั้นกลางในการมองชนบทแบบหยุด นิ่ง ไม่เคลื่อนไหว ไม่มีความขัดแย้ง ทั้งๆ ที่มีงานวิจัยจำนวนมากบอกว่า “ชนบทไม่เหมือนเดิม” อีกแล้ว แต่พวกเขายังจมปลักกับการมองปัญหาดิน น้ำ ป่า เกษตรอินทรีย์ เศรษฐกิจชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น แบบหยุดนิ่งตายตัวเช่นเดิม ทั้งๆ ที่พวกเขาล้วนมีชิวตอยู่ “ในเมือง” ที่ทันสมัย
ประการที่ห้า ข้อเสนอให้มีการระดมหนึ่งหมื่นรายชื่อเพื่อออก พ.ร.บ. เชียงใหม่จัดการตนเอง เข้าสู่กระบวนการรัฐสภา นับว่า พวกเขายังไม่สรุปบทเรียนความผิดพลาดใหญ่หลวง จากกรณีพระราชบัญญัติป่าชุมชนที่ขับเคลื่อนมาร่วม 20 กว่าปี และได้ออก พ.ร.บ.ป่าชุมชนอย่างรวดเร็วฉับไวสมัย สนช.ที่มีนางเตือนใจ ดีเทศน์ ได้รับการแต่งตั้งเป็น สนช.ด้วย และสนช.ได้บิดเบือดสาระสำคัญ เช่น แทนที่จะให้อำนาจชุมชนท้องถิ่น กลับให้อำนาจรวมศูนย์ที่กรมป่าไม้เช่นเดิม
หรือแม้แต่กรณีการเลือกคณะกรรมการ กสทช.ล่าสุด ผู้ได้รับการเลือก มีทหารจำนวนถึง 5 คน
เนื่องเพราะวุฒิสมาชิกมาจากการแต่งตั้งจำนวนมาก จึงไม่ต่างจาก สนช.ที่มาจาก คมช. ซึ่งพวกเขาก็น่ารู้ดีว่า ข้าราชการวิธีคิดแบบรวมศูนย์อำนาจ ชอบสั่งการสูง ไม่ชอบการตรวจสอบ ไม่โปร่งใส และที่สำคัญไม่นิยมประชาธิปไตย
ฉะนั้นจึงควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 ก่อน เพื่อมิให้อำนาจวุฒิสมาชิกลากตั้งครอบงำ
แต่พวกเขาอาจเหมือนเดิม “อุดมการอำตยาธิปไตยไม่เปลี่ยนแปลง” จักเข้าร่วมมือกับพันธมิตร พรรคประชาธิปัตย์ และอำมาตย์ ทำนอง “รัฐธรรมนูญข้าใครอย่าแตะ” เนื่องเพราะที่ผ่านมา พวกเขาเป็นจักรกลสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญ 50 และผลักดันให้รับร่างรัฐธรรมนูญ 50
เพราะพวกเขาจำนวนหนึ่งเป็น “ขุนนางเอ็นจีโอ”
ประการที่หก งบประมาณจำนวนเท่าไร กี่ล้านบาทในการขับเคลื่อน “จังหวัดจัดการตนเอง” ล้วนเป็นภาษีของประชาชน มาจากองค์กรไหน? พอช. สสส. สภม.? พวกเขาควรทำให้โปร่งใส เปิดเผย และตรวจสอบได้ด้วย เนื่องเพราะ พวกเขา ล้วนเป็น ”คนดีมีศีลธรรม” และเป็นแบบอย่างตาม ”หลักการธรรมาภิบาล” ให้แก่สังคมไทย .ใช่หรือไม่?