WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, September 15, 2011

บทสัมภาษณ์คุณจรรยา ยิ้มประเสริฐ ฝรั่งฟังแล้วหูผึ่ง

ที่มา Thai E-News

ถ้า เราได้ดูในประวัติศาสตร์ของประเทศพม่า ซึ่งตอนนี้เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่มีการต่อสู้กันอยู่ ประเทศไทยก็เป็นการพิสูจน์อีกเหมือนกันที่เป็นเวลา 5 ปีแล้วในตอนนี้ และพวกเขา (ประชาชน) ก็ยังดิ้นรนขวนขวายอย่างไม่หยุดหย่อนเพื่อการเปลี่ยนแปลง ความจริงจังในเรื่องเหล่านี้อยู่ที่นั่น และชาวโลกก็ไม่ควรที่จะเพิกเฉยกับเรื่องนี้เลย ชาวโลกก็ควรที่จะให้ความสนใจมากขึ้นกับคนไทยผู้ที่ยังดิ้นรนขวนขวาย ต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังเสียที

ที่มา เว็บไซต์ Thaipoliticalprisoners
แปลโดย: ดวงจำปา เว็บไซต์ Internet Freedom
หมายเหตุไทยอีนิวส์: เราได้เซ็นเซอร์บางข้อความที่ละเอียดอ่อนกับกฎหมายไทยบางมาตรา


ขอขอบพระคุณความพยายามของผู้รายงานข่าว คุณมาร์ค ทิว์เฟิล, เวปไซต์ของ PPT จึงสามารถนำเสนอเรื่องราวเป็นภาษาอังกฤษของการสัมภาษณ์ ที่เขาได้เป็นผู้ร่วมดำเนินการกับนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย คุณจรรยา ยิ้มประเสริฐ (หรือที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง โดยใช้ชื่อว่า คุณเล็ก) ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เมื่อวันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554
คุณ เล็กเป็นวิทยากรคนหนึ่งของการสัมนา ซึ่งจัดโดยกลุ่มสหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน ที่เมืองดอร์ทมุนด์, ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 11 กันยายน ที่ผ่านมา หัวข้อของการประชุมในครั้งนี้ คือ “ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและ การลุกฮือของประชาชนเพื่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย” คุณมาร์คได้กระทำเรื่องราวเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อแจกจ่ายให้กับเวปของ PPT

คุณมาร์ค: สวัสดีครับ ผมขอขอบพระคุณคุรเล็กที่ให้การสัมภาษณ์ในครั้งนี้ และขอต้อนรับสู่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แต่คิดว่าการมาครั้งนี้ คงจะไม่ใช่ครั้งแรกใช่ไหมครับ?

คุณจรรยา: สวัสดีค่ะ ดิฉันดีใจมากเหมือนกันที่ได้พบกับคุณในที่สุดค่ะ สำหรับเรื่องของเยอรมนีนั้น ดิฉันได้เคยมาเยี่ยมเยียนที่เยอรมนีเป็นเวลาหลายครั้งแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื้อเชิญจากองค์กรหลายๆ แห่ง ดิฉันได้เคยพูดถึงเรื่องสถานการณ์เกี่ยวกับสภาพแรงงานในประเทศไทย ดิฉันยังได้เคยเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวเรียกร้องของสตรี ดิฉันได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์เรื่องเสื้อผ้าสะอาด เพื่อที่จะกดดันให้ทางบริษัทผู้ผลิตสินค้าเช่น อาดิแดส และ พูม่า นั้น ได้กำหนดกฎเกณฑ์เพื่อให้ ผู้จัดส่งชิ้นส่วนต่างๆ หยุดกระทำการละเมิดสิทธิของลูกจ้าง ดิฉันมาอยู่ที่นี่หลายครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 ค่ะ

คุณมาร์ค: อย่างนั้น คุณก็คงรู้จักกับประเทศเยอรมนีดีแล้วน่ะซิครับ

คุณจรรยา: ไม่มากเท่าไรหรอกค่ะ ประเทศเยอรมนีเป็นประเทศที่ใหญ่มาก และสังคมนั้นมีความแน่นหนาและความแตกต่างมากมายหลายเรื่อง คุณไม่สามารถที่จะรู้จักประเทศเยอรมนีได้อย่างจริงจัง เมื่อได้อยู่ที่นี่เพียงสองสัปดาห์ และแถมยังต้องไปที่นี่บ้าง ที่โน่นบ้าง และเรื่องภาษานั้น ก็ยังเป็นเรื่องที่ยากอยู่เหมือนกันค่ะ

คุณมาร์ค: ดังนั้น เราควรที่จะเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับประเทศไทย ซึ่งคุณรู้มากกว่าแน่ๆ คุณเล็กครับ เราทราบว่าคุณไม่ได้เดินทางกลับไปยังประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 แล้ว ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า คุณได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้วเกี่ยวกับข้อหาที่ยังรอคุณอยู่เกี่ยวกับเรื่อง คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพใช่ไหมครับ?

คุณจรรยา: ดิฉันยังไม่ได้รับหมายประกาศอะไรเลยจากฝ่ายตำรวจนะคะ ข้อมูลข่าวสารที่มาถึงดิฉันนั้นก็คือว่า ถ้าดิฉันมีความต้องการที่จะทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับตนเอง ดิฉันก็ควรที่จะเดินทางกลับไปยังประเทศไทย และจะได้เห็นกันว่าอะไรจะเกิดขี้น เมื่อถึงสนามบินแล้ว!

ดิฉันไม่ทราบเกี่ยวกับระดับการดักสังเกตุการณ์ที่พวกเขากระทำกันและพวกเขา ได้ติดตามสภาพการณ์ของดิฉันมากน้อยแค่ไหน แต่เป็นเรื่องที่ชัดเจนก็คือ ทางการนั้นได้แจ้งเตือนให้ดิฉันทราบ เมื่อปีที่แล้ว เมื่อดิฉันได้เดินทางไปที่ประเทศฟินแลนด์เพื่อที่จะร่วมสมทบกับงานใหญ่ของ ทางกลุ่มเอนจีโอ (องค์กรอิสระ) ดิฉันได้บรรยายถึงสถานการณ์ในประเทศไทย เพราะว่า มันเป็นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเกิดขี้นหลังจากที่มีการปราบปราม (ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยคนเสื้อแดง)

เพียงไม่กี่วัน ดิฉันได้ถูกซักถามว่า อะไรจะเกิดขึ้นถ้าประชาชนชาวไทยไม่รัก(เซ็นเซอร์)) และดิฉันก็ได้ตอบไปว่า คุณก็คงจะถูกส่งเข้าไปอยู่ในเรือนจำเป็นเวลา 15 ปี สำหรับเรื่องง่ายๆ เช่นนี้ และก็มีกลุ่มคนไทยอยู่ที่นั่นด้วย และพวกเขาก็ไปบอกกับทางสถานฑูต หลังจากนั้น ผู้ร่วมจัดงานหลายคน ก็ได้รับการติดต่อจากทางสถานฑูตฯ และทางสถานฑูตไทยได้กระทำการข่มขู่พวกเขาว่า ดิฉันเป็นพลเมืองของประเทศไทย และดิฉันจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศไทย

ดังนั้น อย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ ดิฉันคิดว่า ตนเองกำลังถูกจับตามองอยู่ และ พวกเขาก็ได้จัดหาบุคคลากรเพื่อที่จะจับตามองดิฉัน และได้เกิดขึ้นกับสถานที่ที่ให้ความเคารพกับเสรีภาพในการคบค้าสมาคมค่ะ

เมื่อดิฉันได้ถูกเชิญให้เดินทางไปแถบยุโรป ดิฉันไม่ได้มีแผนการที่จะอยู่ในแถบยุโรปเลย ดิฉันได้ไปเยี่ยมเยือนประเทศสวีเดน, ประเทศฟินแลนด์ และ ประเทศโปแลนด์ เพื่อที่จะสนทนาถึงเรื่องการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นกับคนไทยหลายร้อยคน ดิฉันมาที่นี่ด้วยจุดประสงค์หลักอันนี้

แต่การปราบปรามประชาชน เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม (พ.ศ. 2553) ทำให้ดิฉันต้องตอบโต้เรื่องนั้นโดยด่วน ดิฉันก็ได้เริ่มการทำการเข้าชื่อเป็นคำร้อง โดยการสนทนาทางอินเตอร์เนทกับผู้คนในประเทศไทย เราสามารถล่าลายชื่อได้ 9 พันคนภายในเวลา 2 วัน และหลังจากนั้น รัฐบาล (ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ได้ทำการบล๊อคเวปไซต์นั้น และจากนั้น ดิฉันก็เข้าไปร่วมในองค์กรหนึ่ง ซึ่งกำลังมีการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับการปราบปรามประชาชนในประเทศฟินแลนด์

และหลังจากนั้น ดิฉันก็ได้เขียนบทความของฉันซึ่งมีชื่อว่า “ทำไมดิฉันถึงไม่รัก(เซ็นเซอร์)”

ดิฉันพยายามที่จะกล่าวว่า ดิฉันไม่ใช่ผู้ลี้ภัยทางการเมือง เพราะมันเป็นการตัดสินใจของดิฉันเองที่จะอาศัยอยู่ในยุโรปนี้ ดิฉันไม่ได้สมรสกับผู้หนึ่งผู้ใดในยุโรป ดิฉันส่งคำร้องในเรื่องการขอวีซ่าด้วยกระบวนการเดียวกันกับที่ทุกๆ ท่านได้กระทำกัน และบางครั้งมันก็เป็นเรื่องที่ยากและทำให้ดิฉันต้องหยุดการเดินทางไปไหนมา ไหน

จนกระทั่งดิฉันได้รับวีซ่าว่าเป็นพลเมืองถาวรและไม่ใช่ผู้ลี้ภัยแต่อย่าง หนึ่งอย่างใด เหตุผลที่ดิฉันพยายามที่จะไม่ระบุตัวเองว่าเป็น ผู้ลี้ภัยทางการเมืองในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น ก็เพราะว่า ดิฉันขอยืนยัน ในฐานะเป็นพลเมืองของโลกนี้ว่า ดิฉันขอใช้สิทธิเสรีภาพของการคบค้าสมาคมและสิทธิเสรีภาพของการพูดแสดงความ คิดเห็น

เรื่องนี้เป็นหัวข้อหลักและรับรองโดยปฎิญญาสากลของสิทธิมนุษยชนและประเทศไทย ก็ได้ให้สัตยาบันแล้วด้วย ดิฉันขอพูดในฐานะที่ขึ้นอยู่กับสิทธิเหล่านี้ และขอปฎิเสธที่จะก้มหัวยอมรับกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อต่อสู้กับตัวเอง ไม่มีใครที่สมควรที่จะต้องมาเป็นนักโทษการเมืองเนื่องจากการวิจารณ์สถาบันฯ ต่างๆ ในประเทศไทยด้วยความศรัทธาอันดีงาม เมื่อประเทศชาติได้เคลื่อนเข้าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยประชาชนทุกคนทุก เหล่ามีสิทธิเท่าเทียมกัน นั่นก็คือแก่นแท้ของสิทธิมนุษยชนค่ะ

คุณมาร์ค: ผู้สังเกตการณ์บางท่านได้กล่าวว่า กลุ่ม “สหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน” นั้น เป็นเพียงกลุ่มนักวิชาการเล็กๆ ที่มีความคิดแยกแยะกัน และก็ไม่มีการสนับสนุนโดยมวลชนประชาชนทั่วไปในประเทศไทยเลย ความเชื่อของคุณในเรื่องสถานการณ์ของประเทศไทยนั้นเป็นอย่างไรครับ? คุณเชื่อว่ามีประชาชนสักเท่าไร ที่เแสดงความเห็นอกเห็นใจอยู่อย่างเงียบๆ กับแนวความคิดของกลุ่มนี้ ซึ่งคุณก็เพิ่งประกาศตัวออกมาเมื่อไม่นานนัก?

คุณจรรยา: กลุ่มสหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน นั้นไม่ใช่กลุ่มทางวิชาการค่ะ ความซับซ้อนของประชากรไทยที่อยู่ในทวีปยุโรปนั้นไม่แตกต่างอะไรกันมากนัก จากประชากรที่อยู่ในประเทศไทย พวกเขามาจากสาขาหลากหลายอาชีพและมีประวัติภูมิหลังแตกต่างกัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็เพิ่งจะเปิดเผยรานงานฉบับหนึ่งเกี่ยวกับความแตกต่าง ของผู้มีส่วนร่วมสมทบกัน...

กับฝ่ายเสื้อแดง ดิฉันคิดว่าในยุโรปก็คงจะเป็นสถานภาพอย่างเดียวกัน ดิฉันเพิ่งได้พบกับแกนนำของฝ่ายเสื้อแดงหลายท่านจากเก้าประเทศและพวกเขาส่วน ใหญ่นั้น ก็ไม่ใช่นักวิชาการ พวกเขาเกือบทั้งหมดได้เดินทางมาที่ยุโรปนี้เพื่อการสมรสหรือการงานอาชีพและ ได้อาศัยอยู่ทีนี่ในขณะนี้เป็นเวลา 20 หรือ 30 ปีแล้ว และพวกเขาก็ไม่รับรู้ถึงสถานการณ์ต่างๆ ในประเทศไทยจนกระทั่งมีการปราบปรามเมื่อปี พ.ศ. 2552 และ 2553 แกนนำบางคนได้มีส่วนร่วมในการต่อสู้กับฝ่ายเผด็จการ เมื่อปี พ.ศ. 2516 และ 2519 มีหลายท่านซึ่งต้องหลบหนีออกไป แต่เมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว ก็เป็นเพียงจำนวนที่น้อยมากค่ะ

กลุ่มเสื้อแดงในยุโรปและกลุ่มสหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชนนั้น ไม่ใช่เป็นกลุ่มเล็กๆ เลย คุณจะเห็นกลุ่มชนประเภทเดียวกันนี้เช่นเดียวกันกับที่อยู่ในประเทศไทย ในการจัดงานต่างๆ คุณก็จะเห็นประชาชนจากหลายๆ ประเทศเช่นกัน.............

พวกเขาเหล่านั้นได้เคยพบกันมาก่อนในเรื่องของกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณี พวกเขาได้จัดงานประเพณีทางศาสนาพุทธในเรื่องงานสงกรานต์และอีกหลายเรื่อง ดังนั้น ประเภทของกลุ่มทางสังคมนี้ ก็ประกอบด้วยกลุ่มผู้คนซึ่งได้รู้จักกันดีมาเป็นเวลายาวนานแล้วค่ะ

พวกเขาเหล่านี้ได้ถูกกระตุ้นออกมาทำการเคลื่อนไหวในบทบาททางการเมืองเพราะ ว่า (รัฐบาลในปี พ.ศ. 2553) ได้เริ่มการปราบปราม (กับกลุ่มเสื้อแดง) การปราบปราบนี้ ก่อให้เกิดผลกระทบที่ใหญ่มากในการริเริ่มการสนทนาในทางการเมืองระหว่างพวก ของเขา พวกเขาได้รวมตัวหรือก่อการจัดตั้งสมาคมมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วและก็ได้ สมาชิกมาเป็นจำนวนมากพอสมควรทีเดียว

เป็นต้นว่า เป็นผู้ดูแลร้านค้า, คนรักษาความสะอาด, เจ้าของกิจการบาร์, แม่บ้าน, แพทย์, พยาบาล และทำงานอยู่ในโรงยิม เป็นผู้คนที่มาจากหลายสาขาอาชีพ ดิฉันไม่คิดว่า กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มเล็กๆ เลยค่ะ เราอาจจะมีพลเมืองสัญชาติไทยอยู่ในยุโรปประมาณ 2 แสนคน และคุณสามารถเห็นได้ว่า ในทุกๆ ประเทศนั้น เมื่อคุรได้รวมตัวจัดงานอะไรกันสักอย่างหนึ่ง คุณอาจจะหาคนมาร่วมได้ประมาณ 1 ถึง 2 ร้อยคน ไม่ว่าจะเป็นโดยเหตุผลทางการเมืองประเภทใด ถ้าไม่ใช่ในเรืองของกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณี (ซึ่งจะมีมากกว่านี้ – ผู้แปล)

นี่คือจุดเริ่มต้น ถ้าคุณได้รู้เห็นถึงเรื่องราว (ในอดีต) เมื่อ 20 ปีก่อนหน้านี้ ประชาชนไทยไม่ได้มีการรวมตัวกันเป็นอย่างมากในทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น นี่คือการพัฒนาในรูปแบบที่ดีที่มีการเปลี่ยนแปลงกันอยู่ในขณะนี้ อาจจะมีโอกาสที่ว่า การเคลื่อนไหวในรูปแบบนี้จะขยายตัวออกไปอีกได้ แต่ดิฉันไม่คิดว่า คนไทยที่อยู่ต่างประเทศทั้งหมดหรือในยุโรปนั้น สามารถมารวมตัวกันได้ค่ะ

คุณมาร์ค: มีความหนักแน่นขนาดไหนในความรู้สึกของการเป็นสาธารณรัฐ (ภายในกลุ่ม) ครับ? ผมเชื่อว่า คุณใจ อึ๊งภากรณ์ได้มีส่วนร่วมในเรื่องนี้อยู่ และรวมไปถึงคุณจักรภพ เพ็ญแข ซึ่งได้โทรศัพท์เข้ามาในการประชุม มันเป็นเรื่องที่สำคัญขนาดไหนต่อความรู้สึกในเรื่องของการเป็นสาธารณรัฐ หลังจากการปราบปราม (กลุ่มคนเสื้อแดง) แล้วครับ?

คุณจรรยา: อุดมการณ์ทางการเมืองภายในกลุ่มคนเสื้อแดงนั้นยังไม่แข็งแกร่งมากเท่าไรนัก นะคะ พวกเขาสามารถพูดถึงเรื่องสาธารณรัฐและการปฎิวัติ แต่ถ้าคุณต้องการสนทนาให้ลึกลงไปถึงแก่นนั้น สิ่งที่พวกเขาต้องการอย่างแท้จริงคือจุดเริ่มของกระบวนการทางระบอบ ประชาธิปไตย การพัฒนาความก้าวหน้า (ของพวกเขา) ควรจะยอมให้เกิดขึ้นโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ

ดิฉันไม่คิดว่าความปรารถนาอย่างแท้จริงนั้น คือความต้องการที่จะมุ่งหน้าให้ประเทศเข้าไปสู่ระบบสาธารณรัฐเลยค่ะ อาจจะมีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนั้น เพราะว่า ตอนนี้เราได้ยินเรื่องแบบนี้หนาหูมากขึ้น แต่ความคิดหลักคือว่า พวกเขาต้องการให้เป็นรูปแบบของยุโรปในเรื่องประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบพระมหากษัตริย์ หรือรูปแบบของฝรั่งเศส.....

ทุกๆ คนซึ่งได้อาศัยอยู่ในประเทศหนึ่งมาเป็นเวลายาวนาน ก็จะยกย่องรูปแบบนั้นๆ ขึ้นมา ดิฉันไม่คิดว่า พวกเขาจะพร้อมโดยแท้จริงในเรื่องของการปฎิวัติ ในรูปแบบของการปฎิวัติที่มีการเสียเลือดเนื้อกัน ไม่มีใครชอบในรูปแบบนี้แน่นอนค่ะ

คุณมาร์ค: มันได้มีความเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงในภาพพจน์ของสถาบัน(เซ็นเซอร์)และความ รู้สึกของประชาชนตั้งแต่หลังเกิดการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549 คุณคิดว่า บทบาทของทางฝ่ายสถาบัน(เซ็นเซอร์)นั้นควรจะเป็นอย่างไรในอนาคตครับ?

คุณจรรยา: สถาบัน(เซ็นเซอร์)กำลังเผชิญหน้ากับการท้าทายอย่างแท้จริงค่ะ ถ้าพวกเขาไม่ยอมปรับตัวกับระบบรูปแบบของประชาธิปไตย พวกเขาก็จะล้าสมัยไปแล้ว

คำถามในเวลานี้ก็คือว่า ประชาชนจะทำอย่างไรกับสถาบัน(เซ็นเซอร์) คำถามคือ สถาบัน(เซ็นเซอร์)นั้น มีความคิดแยบยลพอสมควรที่จะเข้าใจอย่างแท้จริงถึงเรื่อง การปฎิวัติที่มีต่อความตระหนักรู้ขอประชาชนอยู่หรือเปล่า

ถ้าพวกเขาเข้าใจ และต้องการที่จะอยู่รอด พวกเขาก็ควรที่จะยืดหยุ่นการปกป้องสถาบัน(เซ็นเซอร์)โดยทันที ผ่อนเบาในเรื่องของจารีตประเพณีอันเป็นเรื่องที่ผิดสมัยกาลเวลาของทางฝ่าย สถาบัน อย่างที่คุณก็รู้อยู่ และยุติแบบฉบับของพฤติกรรมที่มีความโหดเหี้ยมเหมือนไม่ใช่มนุษย์ พวกเขาก็จะต้องปรับตัวเป็นอย่างมาที่จะเปิดตัวให้กับทางสาธารณชน

ถ้าพวกเขาต้องการที่จะเคลื่อนตัวร่วมเดินไปข้างหน้าด้วยกันกับประชาชนเพื่อ อนาคตของประเทศชาติ นั่นคือคำถามหลัก และดิฉันคิดว่า ถ้าทางสถาบัน(เซ็นเซอร์)ไม่ยอมที่จะปรับตัวเปลี่ยนแปลง มันก็มีแนวโน้มเหมือนกับราชวงศ์อื่นๆ ซึ่งไม่สามารถที่จะปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงได้ พวกเขาเองก็ไม่สามารถที่จะอยู่รอดได้ค่ะ

เรื่องนี้ไม่ใช่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้นนะคะ แต่เป็นเรื่องของโลกาภิวัตน์ เพราะประชาชนเขามีสติรู้เรื่องราวต่างๆ มากขึ้น มันจะมีการล้มล้างในเรื่องต่างชนชั้น ที่เป็นเรื่องของทางพฤติกรรมที่ผิดมนุษย์ หรือมีความเป็นผู้มีอำนาจอิทธิพลเหนือกว่าคนอื่น เป็นต้นว่า ทาส และกษัตริย์ ฯลฯ

พวกเขามีสิ่งที่จะต้องกระทำอีกมากมายหลายอย่าง และพวกเราหลายคนไม่มีความรู้สึกในแง่ดีเท่าไรว่า พวกเขาจะสามารถเคลื่อนตัวและปรับเปลี่ยนแก้ไขตัวพวกเขาเอง เหมือนกับตามตัวอย่างเช่น ในรูปแบบของสหราชอาณาจักรหรือรูปแบบของประเทศนอร์เวย์ค่ะ

คุณมาร์ค: การเปลี่ยนแปลงอย่างแรกซึ่งอาจจะเป็นความต้องการอย่างยิ่งคือ ว่าด้วยเรื่องของมาตรา 112 ตามปรกติในอดีตนั้น ผู้คนจะยอมรับสารภาพ ได้รับการลดหย่อนผ่อนโทษ และหลังจากนั้น ก็หวังว่าจะได้รับการอภัยโทษจากองค์พระมหากษัติรย์

แต่เมื่อไม่นานมานี้ หลายคนได้ประกาศกับพวกเขาเองว่า “ไม่ได้กระทำความผิดใดๆ ทั้งสิ้น” (ตัวอย่างเช่น คดีของคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข) และพวกเขาก็ต่อสู้กับการพิจารณาความทางการเมือง หรือที่เราควรจะเรียกว่า การพิจารณาความในเรื่องสิทธิมนุษยชน นี่คือการขยายตัวที่คล้ายคลึงกันกับเมื่อตอนแรกเริ่มของศตวรรษที่แล้วใน ประเทศเยอรมนี เมื่อประชาชนเริ่มต่อสู้กับกฎหมาย (การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) ซึ่งต่อมา ได้บังเกิดผลที่เป็นการล้มล้างกฎหมายเรื่องนี้โดยจักรพรรดิ์ของประเทศ เยอรมัน คุณคิดว่า การพัฒนาขยายตัวในเรื่องนี้ สามารถเป็นการเริ่มต้นของจุดจบของกฎหมายนี้ในประเทศไทยด้วยหรือเปล่าครับ?

คุณจรรยา: นั่นเป็นเรื่องที่ตรงจุดจริงๆ ว่าทำไมกลุ่มสหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชนถึงได้ก่อตั้งขึ้นมา พวกเราอาศัยอยู่ในทวีปยุโรปและกฎหมายก็ปกป้องพวกเราในทวีปยุโรปด้วย พวกเรามีสิทธิเสรีภาพของการพูดและสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม ดังนั้น พวกเราในกลุ่มทั้งหมดเก้าประเทศมีความรู้สึกว่า เราได้นำเอาคดีนี้มาให้ผู้คนได้รับทราบกัน (เรากระทำเรื่องนี้) เพื่อการเปิดโอกาสช่องทางให้พี่น้องในประเทศไทยได้รับรู้กัน

และมันก็จะมีพี่น้องในประเทศไทยเป็นจำนวนมากขึ้นๆ ที่จะก้าวขึ้นมาและ (ถาม) ท้าทายด้วยคำถามในเรื่องของสถาบัน(เซ็นเซอร์) พวกเขาไม่เคยกล่าวว่า เขาไม่ต้องการพระมหากษัตริย์ ถึงแม้ว่า คุณจะสามารถพูดอย่างนี้ได้ในยุโรปก็ตาม ผู้คนส่วนมากที่ถูกจับกุมนั้น ไม่ได้กระทำเรื่องใดๆ ในการดูถูกเหยียดหยามพระมหากษัตริย์เลย

เหมือนกับคุณสมยศ เขาเป็นบรรณาธิการของนิตยสารและอาจจะมีเพียงหนึ่งหรือสองบรรทัดซึ่งมีความ สัมพันธ์เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ได้รับจากผู้ที่เขียนเรื่องให้กับ สำนักพิมพ์คนหนึ่ง เพื่อนำไปสู่การพิมพ์จำหน่ายจ่ายแจก เรามีความรู้สึกอย่างรุนแรงในเรื่องนี้

กฎหมายการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกลายเป็นเรื่องที่ไร้สาระและวิกลจริต และเพราะเพรื่องนี้เป็นการเคลื่อนไหวในระดับนานาชาติ เราจะต้องช่วยประเทศไทย เราอาจจะมีประชากรไทยประมาณห้าแสนคนทั่วทั้งโลก พวกเขาเหล่านั้นเป็นผู้หนึ่งซึ่งมีโอกาสที่จะพูดออกมาได้มากกว่าโดยไม่ต้อง ไปติดคุกเพราะว่าเขามีสิทธิเฉพาะตัวซึ่งปกป้องพวกเขาอยู่

สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ใช่เพียงแต่เฉพาะองค์พระมหากษัตริย์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงกลุ่มชนชั้นสูง, กลุ่มอำมาตย์, กลุ่มเจ้าหน้าที่ทางการของรัฐบาล, ผู้พิพากษา และ ผู้พิพากษาระดับอาวุโสอีกหลายท่าน (ซึ่งบุคคลเหล่านั้น) ในตอนนี้กลายเป็นสมาชิกของคณะองคมนตรีไปแล้ว

เป็นเวลา (มากกว่า) 60 ปี อำนาจเหล่านี้ได้ถูกสะสมและเราต้องการให้ความกดดันจากนานาอารยประเทศได้เข้า มาช่วยเหลือประเทศไทย ใช่แล้วล่ะค่ะที่ประชาชนชาวไทยจะต้องลุกขึ้นยืน และแสดงให้เห็นกันว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องที่ไร้สาระ

เพราะว่าประเทศไทยเป็นจุดรวมใหญ่ของการสื่อสารนานาชาติ จึงมีสำนักงานขององค์การสหประชาชาติในกรุงเทพมหานคร และ องค์กรนานาชาติมากมายหลายแหล่ง ผู้(ที่ช่วยเหลือ) ในการบริจาคกองทุนต่างๆ ก็มีสำนักงาน (อยู่ที่นั่น) แต่ประชาชนไทยก็ยังถูกจับกุมอยู่ดี เพราะเรื่องกฎหมายการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลคุณ ยิ่งลักษณ์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันคิดว่ามีคนสามคนได้ถูกจับกุมไป และเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก

หมายถึงกฎหมายฉบับนี้ ดิฉันคิดว่ามันเป็นเรื่องที่มากเกินไปแล้ว (ที่เป็นภาระอันแสนหนัก) สำหรับประชาชนชาวไทย ถ้าสังคมนานาชาติไม่ได้เข้าไปช่วย สังคมนานาชาติควรที่จะกล่าวว่า “เราจะสนับสนุนคุณ ถ้าคุณพูดตามที่คุณคิดอยู่” และพวกเขาก็ควรที่จะแสดงให้เข้าใจกันว่า นี่แหละคือสิทธิของประชาชน

คุณมาร์ค: แต่คำถามของผมนั้น คือความจริงที่ว่า ผู้คนเขาไม่ได้ยอมรับผิดโดยต่อไปอีกแล้ว อันนี้หรือเปล่าครับ ที่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบของกฎหมายฉบับนี้?

คุณจรรยา: ดิฉันคิดว่า กฎหมายฉบับนี้กำลังจะใกล้จุดจบแล้ว ดิฉันไม่สงสัยอะไรเลย จากจำนวนผู้คนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความโกรธจงเกลียดจงชัง (และ) ความรู้สึกในความอยุติธรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยกฎหมายฉบับนี้ มันเป็นเรื่องที่เกินเลยมากไปแล้วค่ะ

ดิฉันไม่มีข้อสงสัยอะไรเลยที่กฎหมายฉบับนี้จะต้องถูกท้าทายด้วยเหตุใดเหตุ หนึ่ง แต่คำถามก็คือว่า ก่อนที่มันจะสูญสิ้นไปนั้น ประชาชนชาวไทยจะเกิดความเสียหายอีกมากขึ้นเท่าไรจากกฎหมายฉบับนี้คะ? สิ่งที่เราพยายามจะกระทำในขณะนี้ก็คือ การช่วยเหลือกัน เพื่อการเปลี่ยนแปลงจะได้ไม่ก่อความทุกข์จนเกินไปต่อกับประชาชนไทยค่ะ

คุณมาร์ค: ดังนั้นสำหรับคุณ คำถามในเรื่องของสถาบัน(เซ็นเซอร์) ก็เป็นแค่ [ประเภทหนึ่งของ] คำถามย่อยในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย มันไม่ใช่ปัญหาหลักเลยนะครับ บางท่านกล่าวว่ามันคือปัญหาหลัก และโดยปราศจากการล้มล้างสถาบัน(เซ็นเซอร์) และพวกเขาหมายถึงฝ่ายอำมาตย์ ไม่ใช่ (เพียงแต่) สถาบัน(เซ็นเซอร์)เท่านั้น มันก็ไม่มีการเปลี่ยนผ่านใดๆ ไปสู่รูปแบบของระบอบประชาธิปไตยได้ แต่เราได้เห็นประเทศอื่นๆ เช่นประเทศอัฟริกาใต้ ซึ่งมีระบบหนึ่งซึ่งกดขี่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้น การเปลี่ยนผ่านในรูปแบบที่ไม่เสียเลือดเนื้อนั้นก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ จากที่คุณจรรยาได้กล่าวไว้นั้น ผมเข้าใจ ที่คุณมีความคิดเห็นซึ่งสามารถเป็นเรื่องที่เป็นไปได้สำหรับประเทศไทยด้วย
คุณจรรยา: แต่ถ้าดิฉันได้มองลึกลงไปในเหตุการณ์ของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา หลังจากการรัฐประหาร ดิฉันสามารถเห็นได้อย่างแจ่มแจ้งว่า มันมีวิกฤติการณ์รุนแรงเกิดขึ้นอยู่เสมอค่ะ ถ้าประชาชนชาวไทยไม่ได้เรียนรู้จากกลุ่มสังคมนานาชาติแล้ว เรื่องการรุกรานก้าวร้าว เรื่องความรุนแรงที่กระทำโดยฝ่ายรัฐบาลนั้น ไม่เป็นวิธีที่ถูกต้องเลย และถ้าพวกเขาไม่ได้เปลี่ยนการปฎิบัตินี้ และถ้าพวกเขายังหลบซ่อนอยู่หลังฉากของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแล้ว.... สำหรับความคิดเห็นของดิฉันนั้น ขอกล่าวว่ามันเป็นเรื่องที่อันตรายมากกว่า

สิ่งที่ประเทศไทยต้องการก็คือการเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิตามหลักสากล ประชาชนต้องรู้ถึงหลักการของสิทธิตามหลักสากลอย่างแท้จริง เรื่องนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ไม่ได้มีการเน้นความสนใจในประเทศไทยเลยค่ะ ดิฉันได้ตอบคำถามหลายข้อจากชาวยุโรป

พวกเขาได้ถามว่า ระเบียบวาระของประเทศไทยนั้นคืออะไรบ้าง? ทัศนวิสัยในอนาคตระยะยาวนั้นเป็นอย่างไร? ดิฉันมองไม่เห็นค่ะ และนี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมสหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชนถึงได้สร้างระเบียบ วาระทางการเมืองของกลุ่มขึ้นมา มีหลายเรื่องที่จะต้องแก้ไขภายในประเทศไทย จิตวิทยาของฝ่ายชนชั้นผู้ปกครองนั้นได้ปกครองด้วยการฆ่าฟันมาก่อน

การเปลี่ยนแปลงราชวงศ์แต่ละครั้งในระยะเวลาร้อยๆ ปีที่ผ่านมา ก็มีแต่เรื่องของการฆ่าฟันผู้คนตลอดมา มีการฆ่าพี่ฆ่าน้อง (ของกษัตริย์) รวมไปถึงการประหารตัวกษัตริย์เองอีกด้วย ดังนั้น มันก็เป็นวิธีปฎิบัติการตามปรกติของไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหนของประเทศไทย แม้แต่ นายกฯ ทักษิณเองก็ใช้ระบบของความรุนแรงอยู่ด้วย และประชาชนก็คิดกันว่า มันเป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้ในการใช้ความรุนแรง เพื่อที่จะสังหารใครต่อใครก็ได้ เมื่อตัวเองขึ้นมาบริหารงานของประเทศ เรื่องเหล่านี้จะต้องเปลี่ยนรูปแบบทั้งหมดค่ะ

คุณมาร์ค: ผมเคยอ่านบทความเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับคำบรรยายของ คุณเครก เจ เรย์โนลด์ ในเวปประชาไท เมื่อไม่นานมานี้ และสร้างความสะดุ้งตกใจให้กับผม เพราะว่า ใครก็ได้ สามารถเข้าใจมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ถ้าเขาเชื่อว่า ประชาชนที่อยู่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นั้นชอบอยู่ภายใต้การปกครอง ของฝ่ายอำนาจเผด็จการ คุณมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ?

คุณจรรยา: ใช่ค่ะ มันเป็นเรื่องของความโง่เขลาจริงๆ เราไม่สามารถที่จะให้พวกเขาเหล่านั้น นำเอาคุณค่าของความเป็นไทยและค่านิยมแบบเอเซีย (เพื่อมาอธิบาย) ถึงเรื่องการปกครองของฝ่ายอำนาจเผด็จการ นั่นก็รวมไปถึงสิ่งที่ นายกฯ ทักษิณ (ได้เคยกระทำหรือพูดไว้) ด้วย

เขาเป็นผู้ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ เขาไม่ใช่นักประชาธิปไตย แม้แต่ผู้คนจากพรรคของเขาเองก็ยังเคยบอกกับดิฉันว่า เขาไม่ได้เป็นนักประชาธิปไตย เรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่น่าขบขันเป็นอย่างยิ่งที่เราได้ยอมให้ประเทศไทย ได้ใช้ความเป็นไทย เพื่อเป็นข้อแก้ตัว ในการที่ไม่ต้องมาสนทนาในเรื่องของนิเวศน์วิทยาหรือระบอบประชาธิปไตย หรือเพราะว่าเป็นเรื่องของประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากว่าทั่วทั้งโลกจะต้องยอมก้มหัวให้กับประเทศนจีน ก็เลยต้องยอมรับถึง “การปกคองควบคุมแบบเอเซีย” หรือ “ค่านิยมแบบแบบเอเซีย”

ประชาชนต้องการเสรีภาพ ประชาชนไม่ชอบการปกครองแบบเผด็จการ เราทราบว่าประชาชนได้ทำการประท้วงในประเทศมาเลเซีย ประชากรของประเทศสิงค์โปร์ที่ไม่เห็นด้วยในเรื่องนั้น ได้ถูกส่งเข้าไปอยู่ในคุกกันเป็นเวลากี่ปีคะ? เพราะว่าพวกเขาพยายามที่จะเรียกร้องความเสมอภาค มันไม่ใช่เจตนารมณ์ของประชาชนหรือเพราะพวกเขามีความสุขกับมันหรอก มันเป็นสิ่งที่ผู้นำต้องการและชอบการนำเอาระบบการปกครองแบบเผด็จการมาใช้ พวกเขาถูกปกครองโดยอาวุธปืนหรือไม่ก็สับฝ่ายตรงข้ามให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ค่ะ

คุณมาร์ค: กลับมาที่นายกฯ ทักษิณ ซึ่งคุณได้กล่าวว่า มีแนวโน้มที่จะชอบใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ และเขาก็ได้ถูกเข้ามาอยู่ภายใต้การวิจารณ์อย่างหนักเพราะเรื่องแบบนี้ บางทีถ้าไม่มีการกระทำการรัฐประหารเกิดขึ้น เขาอาจจะไม่ได้มีบทบาทอย่างสำคัญเหมือนในตอนนี้ก็ได้นะครับ

แต่ที่เขาไม่รู้คือว่า เขาได้เปิดกล่องแห่งความยุ่งเหยิงออกมาด้วยเรื่องทางการเมืองและการสนับสนุน กลุ่มเสื้อแดง ประชาชนมีความรู้สึกว่า พวกเขาสามารถกระทำบางสิ่งบางอย่างได้ และพวกเขาก็สามารถเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างได้เช่นเดียวกัน

วันหนึ่งเมื่อต้นปี พ.ศ. 2551 คุณนิค นอสติทซ์ได้กล่าวว่า อดีตนักการเมืองพรรคไทยรักไทยผู้หนึ่งได้บอกกับเขาว่า เขาทราบถึงเรื่องการก่อตัวของกลุ่มเสื้อแดง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบในเรื่องของการเมืองที่ใช้รูปแบบของการหว่าน เงินและระบอบความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน และทางฝ่ายไทยรักไทยเอง โดยการร่วมมือกันกับฝ่ายเสื้อแดง ก็จะหมดอำนาจและแรงชักจูงต่างๆ ในระยะยาวด้วย

คุณจรรยา: ดิฉันมีความรู้สึกว่า โดยทางธรรมชาติแล้ว ทุกๆ คนก็ต้องดิ้นรนขวนขวายเพื่อที่จะปลดปล่อยตัวเขาหรือตัวเธอเองให้เป็นอิสระ เมื่อคุณได้มองกลับไปด้วยใจจริง

ในเรื่องของการลุกฮือในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของ(เซ็นเซอร์) ก็จะเห็นเรื่องการนองเลือดอยู่หลายครั้งทีเดียว เรามีการลุกฮือที่ลำพูน,ล้านนาไทย – เชียงใหม่, ลำปาง จากนั้นก็เป็น การลุกฮือที่อุบลฯ, ร้อยเอ็ด ภายใต้การปกครองของรัชกาลที่ห้า

รัชกาลที่หนึ่งถึงรัชกาลที่ห้า ได้ส่งทหารจำนวนมากเพื่อไปยึดครองนครปัตตานี พวกเขาถึงกับได้เผาเมืองทั้งเมืองจนหมดและยุคที่รุ่งเรืองของปัตตานีก็ได้ สาบสูญไป

จิตใจของการลุกฮือขึ้นมา รวมทั้งความรู้สึกของการมีอิสระภาพได้ปรากฎให้เห็นผ่านตลอดของทางราชวงศ์ จักรี สิ่งที่ทำให้ฝ่ายเสื้อแดงมีความพิเศษเกิดขึ้นมานั้น อาจจะเป็นเพราะว่ามีการต่อสู้ทางพรรคการเมืองเข้ามาอยู่ด้วย

ในอดีตนั้น พวกเขาได้ทำลายพรรคการเมืองจนหมด เห็นได้จากคณะราษฎร์ ซึ่งหลังจาก 15 ปี (หลังจากปี พ.ศ. 2475) ก็ได้ถูกถล่มจนราบเป็นหน้ากลอง, ถูกฆ่า รวมไปถึงตัวรัฐมนตรีหลายคนได้ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม พวกเขาได้ฆ่าผู้นำทั้งหมดและคณะทั้งคณะก็ถึงแก่กัลปาวสาน

แต่สำหรับพรรคเพื่อไทยนั้น เนื่องจากว่าพรรคเขานั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่า (ผู้มีอำนาจ) ได้กำจัดนายกฯ ทักษิณ รวมไปถึงผู้นำของพรรครุ่นที่สองหรือรุ่นที่สามแล้วก็ตาม พวกเขา (พรรคเพื่อไทย – ผู้แปล) ก็ยังมีบุคลากรเหลืออยู่อีกมากมาย

และนี่คือเรื่องที่ทำให้เกิดความแตกต่างขึ้นมา ประชาชนนั้นก็ต่างที่จะต้องดิ้นรนขวนขวายอยู่เสมอ แต่การดิ้นรนขวนขวายที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองนั้น เป็นพลังอย่างยิ่งใหญ่ทีเดียว เราต้องให้เครดิทเรื่องนี้กับพรรคเพื่อไทย ที่มีประชาชนอยู่พอสมควรที่จะยืนหยัดเคียงข้างอยู่ หลังจากที่แกนนำนั้นได้เปลี่ยนตัวออกไป

จิตวิญญาณของประชาชน เพื่ออิสระภาพและความเป็นเสรีประชาธิปไตย ก็ยังปรากฎให้เห็นอยู่เสมอ และดิฉันก็ไม่เห็นด้วยกับผู้คนที่กล่าวว่า ไม่มีทางที่ประเทศไทยจะมีความพร้อมในเรื่องของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

คุณมาร์ค: พรรคเพื่อไทยมีกลุ่มเล็กๆ น้อยๆ เป็นจำนวนมาก พวกเขามีทั้งนักการเมืองแบบเก่าที่ร่ำรวย และนักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีหัวก้าวหน้า มีทั้งผู้เชี่ยวชาญรุ่นเก่าแก่ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและพวกข้าราช การที่ปฎิบัติงานอย่างจริงจัง แนวร่วมเหล่านี้ได้ถูกนำเข้ามาอยู่ด้วยกันโดยความกดดันทางฝ่ายกองทัพ หรือที่เราเรียกกันว่า ฝ่ายอำมาตย์ คุณคิดว่าพรรคการเมืองนี้จะพังลงมาหรือไม่ครับ?

คุณจรรยา: ดิฉันเห็นว่า เรื่องนี้ (มีแนวโน้ม) เป็นเรื่องที่ดี ถ้าคุณได้เห็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยแล้ว คุณต้องการพรรคการเมืองสามพรรค (หรือ) มากกว่านั้น ในตอนนี้คุณมีสถาบัน(เซ็นเซอร์)และกลุ่มชนชั้นสูง และอีกด้านหนึ่ง มีส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นสูงที่มั่งคั่ง

กลุ่มใหญ่ของพรรคเพื่อไทยเป็นส่วนของกลุ่มชนชั้นสูงที่มั่งคั่ง ประเทศไทยต้องการ พรรคการเมืองที่อุทิศให้กับสิ่งแวดล้อม (อย่างแท้จริง) ต้องการพรรคการเมืองที่เป็นของชนชั้นรากหญ้า การแบ่งพรรคเพื่อไทยออกมาเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะมันเป็นการทำให้ประชาชนได้เข้าใจว่า พวกเขาจะต้องไปหากลุ่มของตนเองเพื่อที่จะเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับความกังวล ใจในเรื่องทางรัฐสภาโดยไม่ต้องมีการประนีประนอมใดๆ ทั้งสิ้น

กลุ่มเสื้อแดงนั้น มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก พรรคเพื่อไทยก็มีความหลากหลายเช่นเดียวกัน และพรรคการเมืองใหม่ๆ ก็ต้องผุดขึ้นมาเพื่อท้าทายและต่อรอง (ในฐานะของ) อุดมการณ์ทางการเมือง ในตอนนี้คุณจะต้องเลือกระหว่างนายอภิสิทธิ์ กับ นางสาวยิ่งลักษณ์หรือ? ดิฉันไม่เอาหรอก เราต้องมีพรรคการเมืองมากกว่านี้ค่ะ

คุณมาร์ค: คุณคิดว่าได้มีการตกลงระหว่างนายกฯ ยิ่งลักษณ์กับฝ่ายอำมาตย์ เพื่อที่จะยอมให้รัฐบาลของนายกฯ ยิ่งลักษณ์สามารถบริหารงานต่อไปได้ ตราบนานที่เธอไม่ไปแตะต้องฝ่ายกองทัพ และมีคำถามในเรื่องของการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือเปล่าครับ?
คุณจรรยา: หลายคนเชื่อว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง เพราะว่ามันเป็นประเภทของนโยบายที่เราได้รู้จักมักคุ้นกัน แต่ถ้าเรื่องนี้เป็นความจริง และนายกฯ ยิ่งลักษณ์ได้ตกไปอยู่ในกับดักแล้ว เธออาจจะไม่ต้องไปเผชิญปัญหากับฝ่ายอำมาตย์ แต่เธอจะต้องมาเผชิญปัญหาหลายๆ อย่างกับกลุ่มเสื้อแดง ในขณะนี้ ฝ่ายเสื้อแดงได้เรียกร้องถึงความยุดติธรรม ถ้าเธอได้เพิกเฉยต่อพวกเขา โดยคิดว่า พวกเขานั้นเป็นเพียงประชาชนกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น และถ้าเชื่อว่า เธอยังสามารถควบคุมเสียงส่วนใหญ่ของคนเสื้อแดงได้อยู่ ดิฉันคิดว่า เธอกำลังคิดผิดอย่างมหันต์ทีเดียวค่ะ

ขอให้ดิฉันพูดถึงประเทศเยอรมนีสักนิดนะคะ เนื่องจากดิฉันคิดว่าประเทศเยอรมนีสามารถเล่นบทบาทที่สำคัญได้ วิถีทางที่ประเทศเยอรมนีได้อนุญาติให้มี (เสรีภาพ) ทางการพูดเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นตัวอย่างอันสำคัญต่อประเทศไทย และวิธีการที่ทางศาลได้ดำเนินการในคดีของ (การยึด) เครื่องบินของ(เซ็นเซอร์)นั้น ก็เป็นเรื่องที่น่ายกย่อง เพราะว่าเป็นการแสดงให้เห็นว่า ศาลยุติธรรมของประเทศเยอรมนีนั้น มีความเป็นอิสระอย่างไร และ (ยังได้แสดงให้เห็นว่า) ความยุติธรรมนั้น มีรากฐานอันแข็งแกร่งในประเทศเยอรมนี นี่ก็เปิดให้เห็นถึงพฤติกรรมในประเทศอื่นๆ ซึ่งได้ทำการประนีประนอมมาก่อนหน้าแล้ว เพื่อเป็นการสนทนาถึงคำถามที่มีต่อสถาบัน(เซ็นเซอร์)ไทย

ในวันที่ 19 กันยายน เอกสารที่สำคัญเรื่องหนึ่งจะนำมาปรากฎให้เห็น ก็คือ การรวบรวมข้อมูลของการสังหารบุคคลทางการเมืองเมื่อ 60 ปีที่ผ่านมาโดยทางฝ่ายอำมาตนย์ มีรายชื่อของประชาชนไทย ผู้ที่ได้ถูกฆ่า, ถูกลอบสังหาร, ถูกสำเร็จโทษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 ภายใต้การปกครองของ(เซ็นเซอร์)ปัจจุบัน

ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่ประหลาดใจ นี่คือตัวเลขอย่างเป็นทางการ ดังนั้นมันก็ยังเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดอยู่ มีจำนวนทั้งหมด 11,000 คน ดังนั้น ดิฉันต้องการถามประเทศต่างๆ ในยุโรปนะคะว่า ประเทศคุณมีเหตุผลอะไรที่ทำการเงียบเฉยอยู่เกี่ยวกับวิกฤติการณ์ทางการเมือง ในประเทศไทย? อาจจะเป็นเพราะว่าจำนวนศพที่นับอยู่นั้น มีจำนวนน้อยมาก (ในปี พ.ศ. 2553) หรือคะ?

แต่ถ้าคุณได้เห็นในระยะเวลา 60 ปี คุณจะได้เรียนรู้ว่า มีการลอบสังหารทางการเมืองประมาณ 11,000 คนค่ะ ซึ่งตัวเลขนี้เป็นจำนวนที่ทางการได้ยอมรับ ในขณะที่จำนวนที่แท้จริงนั้น จะต้องสูงมากกว่านี้แน่นอน ในการปกป้องสถาบัน(เซ็นเซอร์) สงครามต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ และเพื่อความสงบสุขของประเทศ อาจจะมีประชาชนจำนวนถึง 30,000 คน ที่ได้ถูกฆ่าตายในระยะเวลาดังกล่าว และรับรู้อย่างเป็นทางการเพียงแค่ 11,000 คนไงคะ และเราจะเสนอเรื่องนี้ให้กับรัฐบาลทุกๆ แห่งเท่าที่เราสามารถจะติดต่อได้

ในขณะนี้ ดิฉันคิดว่ามันถึงเวลาแล้วที่สังคมนานาชาติควรที่จะกล่าวถึงคำถามเกี่ยวกับ การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ในสมัยรัฐบาลของนายกฯ ทักษิณนั้น เราได้พบว่า ประชาชนจำนวน 6,000 คน (ได้ถูกฆาตกรรม) มันเป็นเรื่องสงครามเกี่ยวกับยาเสพติดและสงครามในทางภาคใต้ของประเทศไทย อุดมการณ์เรื่องนี้, ซึ่งสามารถเห็นภายใต้การบริหารของทุกรัฐบาลว่า ความรุนแรงนั้น สามารถนำเอามาใช้ได้เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ภายในประเทศ, ต้องถูกเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงค่ะ

คุณมาร์ค: คนไทยหลายคนซึ่งผมรู้จัก ก็ไม่ต้องการที่จะรู้เรื่องใดๆ ทั้งสิ้นที่เกี่ยวข้องกับการเมือง พวกเขามีความรู้สึกซึมเศร้าและเสียใจและส่วนใหญ่มีความละอายใจเกี่ยวกับ เรื่องที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ภายในประเทศของพวกเขา และพวกเขาก็ไม่ต้องการที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องหรือสนทนาในเรื่องการเมืองเลย และพวกเขาบอกกับผมว่า ไม่มีทางที่ประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงได้ คุณควรจะบอกกับกลุ่มคนเหล่านี้อย่างไรบ้างครับ?

คุณจรรยา: ดิฉันได้ยินเรื่องแบบนี้ทุกวันค่ะ ดิฉันต้องเผชิญกับคำถามหลายข้อจากกลุ่มสหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน (เกี่ยวกับ) ว่าจะทำอย่างไร (ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้) สหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชนได้ถูกก่อตั้งขึ้นมาจากกลุ่มสาขาหลายแขนง ในวันนี้เราได้พูดกันถึงคนไทยบางท่านที่มาจากฝรั่งเศส ผู้ซึ่งกล่าวว่า ระบอบประชาธิปไตยนั้นไม่มีอะไรที่จะต้องไปทำเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน

ในวาระการประชุมของเรานั้น เรามีภาพแบบองค์รวมและเราได้ไปสัมผัสในเรื่องของสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างมาก “เราต้องการที่จะตรงไปถึง (ผู้คน) ที่ยังคงดิ้นรนขวนขวายเพื่อที่จะได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตย” พวกเขาคิดว่า ยังมีขั้นตอนต่อไปอีก ดิฉันได้พูดอยู่เสมอว่า มันถึงเวลาแล้วในตอนนี้ ประเทศไทยสามารถเปลี่ยนแปลงได้เพื่อความดีงามทั้งหลาย

พลังของประชาชนในขณะนี้ก็เปรียบเสมือนรถยนต์ที่กำลังขับเข้าในเกียร์ที่สี่ มันไม่สามารถจะหยุดลงได้ต่อไปอีกแล้ว มีประชาชนจำนวนมากพอสมควรในประเทศไทย ซึ่งทราบว่า ระบอบประชาธิปไตยคืออะไร และใครเป็นผู้ที่ต้องการให้ประเทศชาติสามารถพัฒนาต่อไป เพื่อจะได้เป็นระบอบประชาธิปไตยของประชาชนอย่างแท้จริงเสียที นั่นก็คือ เป็นของประชาชน, เพื่อประชาชน และ โดยประชาชน

ถ้าเราได้ดูในประวัติศาสตร์ของประเทศพม่า ซึ่งตอนนี้เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่มีการต่อสู้กันอยู่ ประเทศไทยก็เป็นการพิสูจน์อีกเหมือนกันที่เป็นเวลา 5 ปีแล้วในตอนนี้ และพวกเขา (ประชาชน) ก็ยังดิ้นรนขวนขวายอย่างไม่หยุดหย่อนเพื่อการเปลี่ยนแปลง ความจริงจังในเรื่องเหล่านี้อยู่ที่นั่น และชาวโลกก็ไม่ควรที่จะเพิกเฉยกับเรื่องนี้เลยค่ะ

ประเทศไทยได้ผลิต (สินค้าและโภคภัณฑ์) เพื่อชาวโลก ได้อุทิศให้หลายสิ่งหลายอย่างกับชาวโลก และในขณะนี้กำลังอยู่บนหนทางของการเปลี่ยนแปลง ชาวโลกก็ควรที่จะให้บางสิ่งบางอย่างกลับคืนมากับเราบ้าง ไม่ใช่ว่าจะเอาแต่เรื่องง่ายๆ ใส่ตัวเท่านั้น

และชาวโลกก็ควรที่จะให้ความสนใจมากขึ้นกับคนไทยผู้ที่ยังดิ้นรนขวนขวาย ต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังเสียทีค่ะ