WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, September 17, 2011

บรรษัทระดับโลกหวั่นมาตรการควบคุมเน็ตในไทย ทำธุรกิจชะงัก

ที่มา ประชาไท

เจมส์ ฮุกเวย์ ผู้สื่อข่าวเดอะวอลสตรีทเจอนัล รายงานความกังวลใจของบริษัทที่ประกอบธุรกิจออนไลน์ ต่อการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของไทย หวั่นชะลอการขยายตัวของธุรกิจ รายละเอียดมีดังนี้

---------
15 กันยายน 2554

กรุงเทพฯ – บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกส่งสัญญาณความกังวลต่อมาตรการควบคุมการจราจรทางอิน เทอร์เน็ตในประเทศไทย ซึ่งอาจส่งผลต่อศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

ตลอดระยะเวลาสี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการประกาศใช้กฎหมายเฝ้าระวังอินเทอร์เน็ต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปราบปรามการล่อลวงออนไลน์ และส่งเสริมธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์ระบุว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวกลับถูกใช้เพื่อสอดส่องเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเมืองใน เว็บไซต์ ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกให้แก่นักลงทุนและกลุ่มอุตสาหกรรมระดับโลกที่ดำเนิน กิจการในประเทศไทย อาทิ กูเกิล ยาฮู อีเบย์ ฯลฯ

อินเทอร์เน็ตมีอิทธิพลอย่างสำคัญในประเทศไทย ซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นฮับการลงทุนนานาชาติ ปัจจุบัน คนไทยจำนวนมากจับจ่ายของใช้ประจำวัน สั่งพิซซ่า และวิจารณ์การรัฐประหาร การจลาจล รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ผ่านทางออนไลน์

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ภาครัฐของไทยเชื่อว่า คนไทยบางส่วนล้ำเส้นและกระทำการละเมิดขอบเขตของกฎหมายที่ห้ามการวิพากษ์ วิจารณ์สถาบันกษัตริย์และราชวงศ์อย่างเข้มงวด โดยในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่าน นักวิเคราะห์และนักกิจกรรมซึ่งสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความเห็น กล่าวว่า มีการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเพิ่มขึ้นอย่าง มาก

สำหรับภาคธุรกิจที่ดำเนินการด้านอินเทอร์เน็ตนั้น แสดงความวิตกกังวลเป็นพิเศษต่อกรณีที่ จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท กำลังเผชิญข้อกล่าวหาภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ ด้วยเหตุผลว่า เธอลบข้อความที่ไม่เหมาะสมออกจากกระดานการสนทนาสาธารณะช้าเกินไป หากศาลมีคำพิพากษาโดยมิให้มีการอุทธรณ์ จีรนุชอาจต้องจำคุกเป็นเวลากว่า 20 ปี

ธุรกิจรายอื่นๆ หวาดกลัวว่า พวกเขาอาจถูกดำเนินคดีได้เช่นกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจออนไลน์

“หากมีการสร้างความรับผิดให้แก่ตัวกลางสำหรับความผิดที่เกิดจากผู้ใช้งานอิน เทอร์เน็ต กรณีดังกล่าวถือเป็นก้าวย่างที่อันตรายเป็นอย่างยิ่งและจะส่งผลกระทบระยะยาว ต่อเศรษฐกิจของไทย” สหพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชียกล่าวในแถลงการณ์ที่ออกสู่สาธารณะก่อนหน้านี้ สำหรับสหพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย หรือ the Asia Internet Coalition เป็นองค์กรซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ฮ่องกง ตั้งขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา โดยอีเบย์ กูเกิล โนเกีย ไมโครซอฟท์ สไกป์ และยาฮู มีจุดประสงค์เพื่อล็อบบี้นโยบายที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตทั่วเอเชีย เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของไทย

“การเปลี่ยนแนวทางการทำงานของอินเทอร์เน็ต โดยปฏิเสธความคุ้มครองของตัวกลาง ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกนั้น ย่อมส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อประเทศไทย” สหพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชียระบุ หากแต่ไม่ได้ประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจอันอาจเกิดจากกฎหมายที่เข้มงวด นี้ ทั้งนี้ บรรษัทสมาชิกปฏิเสธการให้ความเห็นที่นอกเหนือไปจากเนื้อหาของแถลงการณ์

เหนือสิ่งอื่นใด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ยังกำหนดให้บรรษัทต่างๆ บันทึกการจราจรทางคอมพิวเตอร์เป็นเวลา 90 วัน ทั้งนี้ สาวตรี สุขศรี อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอินเทอร์เน็ตและสื่อจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า “เป็นการสิ้นเปลืองอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ซึ่งต้องใช้บันทึกข้อมูล ทั้งหมดอย่างมาก”

ขณะเดียวกัน สภาหอการค้าหลายแห่งกำลังจัดบรรยายสรุปความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจออนไลน์ในประเทศไทย

"ช่างน่าขันสิ้นดี ที่กฎหมายซึ่งถูกตั้งขึ้นเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับธุรกรรมออนไลน์ ให้ผลในทางตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง" ไทเรล ฮาเบอร์คอน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียในกรุงแคนเบอร์รา ผู้ติดตามประเด็นการใช้อินเทอร์เน็ตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว

ในกรณีดังกล่าว สงกรานต์ เตชะณรงค์ โฆษกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โต้ว่า “กฎหมายเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์นั้น ต่อต้านกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่นการปลอมแปลงบัตรเครดิต ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมธุรกิจออนไลน์”

ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยถูกสะท้อนให้ เห็นในหลายประเทศเอเชีย ซึ่งรัฐบาลพยายามจัดการกับจำนวนประชากรออนไลน์ที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่การติดต่อไร้สายและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ กำลังขยายตัวขึ้นนั้น เวียดนามและจีนก็ได้เพิ่มความถี่ในการปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์สังคมออ นไลน์ อย่างเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์

ไมเคิล มิคาแลค อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงฮานอย กล่าวเตือนในปี 2551 ว่า การควบคุมเฟซบุ๊กนั้น อาจขัดขวางสายสัมพันธ์ของธุรกิจที่กำลังผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในเวียดนามและ สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ในประเทศ เช่น มาเลเซีย กลับปล่อยให้อินเทอร์เน็ตทำงานอย่างเสรี แต่ใช้การออกกฎหมายการปลุกระดม (Sedition Act) เพื่อควบคุมกิจกรรมออนไลน์แทน

ถึงที่สุดแล้ว ประเทศไทยต้องเผชิญกับผลกระทบของการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งหนึ่ง ประเทศไทยคือดวงประทีปแห่งประชาธิปไตย และยังคงสถานะเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่ยาวนานที่สุดของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยกลับพบเจอกับทศวรรษของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ถูกกระตุ้นด้วย ความไม่สงบทางการเมือง

ความสำเร็จของทักษิณ ชินวัตร นักการเมืองสายนโยบายประชานิยมและอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันซึ่งเป็นน้องสาวนั้น ได้เพิ่มความตึงเครียดให้แก่ประเทศ ซึ่งผู้นำทางการทหารและข้าราชการพลเรือนรอยัลลิสต์ถือครองอำนาจมาแต่เดิม ทั้งสองฝ่ายต่างใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อชนะใจปวงชน ในการถกเถียงเรื่องทิศทางประเทศไทย

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ในขณะที่ชนชั้นนำทางการเมืองและผู้นำกองทัพต่างแข่งขันกันแสดงความจงรัก ภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่โพสต์ความคิดเห็นที่เป็นการวิพากษ์สถาบัน นั้น พระองค์เองกลับเคยมีพระราชดำรัสว่าคนไทยควรจะสามารถอภิปรายเกี่ยวกับบทบาท ของสถาบันฯ ได้ โดยปราศจากความกลัวต่อการถูกจับกุม

ขณะนี้ รัฐบาลของยิ่งลักษณ์กำลังนำประเทศเข้าสู่การดำเนินคดีภายใต้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และกฎหมายหมิ่นฯ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี เฉลิม อยู่บำรุงนำทีม “วอร์รูม” ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกจำนวน 40 ราย ทำหน้าที่สอดส่องข้อความต่อต้านสถาบันฯ ในอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลยังได้รับการอบรมเพื่อเฝ้าระวังข้อความที่ไม่เหมาะสม ด้วย

ปัจจุบัน สำนักงานอัยการสูงสุดได้ยื่นเรื่องให้อัยการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการ หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์กว่า 36 คดี ซึ่งมากกว่าคดีที่ส่งศาลในปี 2542 ถึงสองเท่า

จักรภพ เพ็ญแข อดีตโฆษกประจำทำเนียบรัฐบาล หนีออกนอกประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดีภายใต้ข้อกล่าวหาการหมิ่น สถาบันฯ ขณะที่นายโจ กอร์ดอน ชาวอเมริกันเชื้อสายไทย ซึ่งถูกดำเนินคดีหลายข้อกล่าวหา หนึ่งในนั้นคือ ฐานโพสต์ลิงก์หนังสือพระราชประวัติต้องห้ามในบล็อกของเขา ซึ่งเขาให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา

ตามรายงานของ iLaw ซึ่งเฝ้าระวังการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย พบว่า มีเว็บไซต์กว่า 75,000 แห่งถูกบล็อคในปีที่ผ่านมา โดย 57,000 แห่งในจำนวนนี้ถูกพิจารณาว่ามีเนื้อหาที่ดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ทั้งนี้ ในปี 2550 ซึ่งเป็นปีที่เสรีภาพออนไลน์ถูกตัดตอนมากที่สุด พบว่า เจ้าหน้าที่รัฐบล็อคแม้กระทั่งเว็บไซต์ยูทูบ ซึ่งมีผู้ใช้บางรายโพสต์วิดีโอล้อเลียนสถาบันฯ

ทั้งนี้ จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยการใช้อินเทอร์เน็ตเผยแพร่ความรู้สึกต่อต้านสถาบันฯ ก็เพิ่มมากขึ้นด้วย

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตำรวจได้เข้าจับกุมนายสุรภักดิ์ (สงวนนามสกุล) ซึ่งเป็นโปรแกรมเมอร์ ด้วยข้อกล่าวหาว่า เขาได้โพสต์ความเห็นที่เป็นการดูหมิ่นสถาบันฯ ในเฟซบุ๊ก ซึ่งเขาให้การปฏิเสธ

“ผู้คนรู้สึกได้ว่าถูกเฝ้ามอง และนี่กำลังเปลี่ยนแปลงมุมมองที่คนมีต่ออินเทอร์เน็ต" ศ.ไทเรล ฮาเบอร์กอนแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียกล่าว

................................

แปลและเรียบเรียงจาก Thai Clampdown on Internet Traffic Worries Companies, The Wall Street Journal