WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, September 13, 2011

เผด็จการทางรัฐสภา

ที่มา มติชน



โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 12 กันยายน 2554)


รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีเสียงในสภาอย่างท่วมท้น จึงง่ายมากที่จะถูกกล่าวหาว่าเป็นเผด็จการทางรัฐสภา

ยิ่งดำเนินนโยบายที่ชนชั้นนำไม่ชอบ ก็จะยิ่งถูกกล่าวหาเช่นนี้ได้มากขึ้น เพราะเผด็จการทางรัฐสภานั้นเป็นแนวคิดที่ชนชั้นนำประดิษฐ์ขึ้นโดยแท้

เมื่อ รสช.ทำรัฐประหารใน พ.ศ.2534 ข้ออ้างหนึ่งที่ยึดอำนาจและล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็คือ รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา ซึ่งนับเป็นตลกที่ขื่นขันอยู่พอสมควร เพราะแปลว่าเผด็จการนั้นน่ารังเกียจเพราะเป็นเผด็จการทางรัฐสภา ส่วนเผด็จการทางอื่นหาได้น่ารังเกียจแต่อย่างใด ความคิดพิลึกพิลั่นนี้ยังอยู่กับชนชั้นนำไทยสืบมาถึงปัจจุบัน

เผด็จ การทางรัฐสภามีได้จริงไหมในโลกนี้ เพื่อจะตอบคำถามนี้ เราคงต้องนิยามให้ชัดก่อนว่าเผด็จการทางรัฐสภาหมายถึงสภาวะอะไร ผมคิดว่าหมายถึงสภาวะที่เสียงข้างมากในรัฐสภาเป็นผู้ตัดสินใจการบริหาร จัดการสาธารณะทั้งหมด (โดยผ่านฝ่ายบริหารซึ่งคุมเสียงข้างมาก หรือผ่านตัวรัฐสภาซึ่งออกกฎหมายบังคับให้ฝ่ายบริหารต้องทำตาม) ทั้งนี้ โดยไม่มีอำนาจอื่นใดเข้ามาขัดขวางทัดทานได้

ผมออกจะสงสัยว่าหากนิยามตามนี้ เผด็จการทางรัฐสภาไม่น่าเคยมีอยู่จริงเลย แม้แต่รัฐสภาและโซเวียตภายใต้ฮิตเลอร์, สตาลิน หรือท่านประธานเหมา อย่างน้อยคนเหล่านี้ก็ต้องห้ำหั่นศัตรูทางการเมืองของตนตลอดสมัยที่ตนมี อำนาจ แสดงว่าพลังที่จะทัดทานต่อต้านมีอยู่ เพียงแต่ประสบความล้มเหลวเท่านั้น

สนช.ในสมัยเผด็จการ คมช.เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด แม้สมาชิกล้วนถูกเลือกมาโดยเผด็จการ คมช.ทั้งสิ้น แต่ก็ไม่สามารถออกกฎหมายลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนไปได้ทุกอย่าง ตามที่ คมช.ต้องการ มีกฎหมายหลายฉบับถูกแก้หรือบรรเทาการเผด็จอำนาจลงไปบ้าง เพราะมีการต่อต้านคัดค้านจากสื่อและองค์กรประชาชน (แม้กระนั้นที่ออกมาเป็นกฎหมายและใช้มาถึงปัจจุบัน ก็ล้วนเลวร้ายทั้งสิ้น) เผด็จการทางรัฐสภาที่ไม่มีพลังอื่นคอยทัดทานเอาเลย จึงไม่ได้เกิดขึ้น

น่า ประหลาดที่ว่า เสียงข้างมากในสภาของไทยนั้น ถูกทัดทานหรือถึงขนาดต่อต้านเสมอมา แต่มักเป็นการทัดทานต่อต้านที่ไม่ถูกกฎหมาย หรือไม่เป็นประชาธิปไตย กลุ่มพลังที่สำคัญในการทัดทานต่อต้านได้แก่กองทัพ, ข้าราชการพลเรือน, ม็อบมีเส้น, อำนาจนำทางวัฒนธรรม, สื่อที่ไม่ทำหน้าที่ของตนอย่างสุจริต ฯลฯ เอาเข้าจริงรัฐสภาไทย หรือรวมถึงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หาได้มีอำนาจมากนัก

ปัญหากลับเป็นตรงกันข้าม เผด็จการทางรัฐสภาไม่เคยเป็นปัญหาในเมืองไทย แต่พลังและอำนาจที่คอยทัดทานต่อต้านเสียงข้างมากอย่างผิดกฎหมาย หรืออย่างไม่เป็นประชาธิปไตยต่างหากที่เป็นปัญหา ทิศทางที่ถูกต้องก็คือสร้างพลังและอำนาจในการทัดทานต่อต้านที่ถูกกฎหมายและ เป็นประชาธิปไตยขึ้น

รัฐธรรมนูญ 2540 แก้ปัญหาได้ถูกจุด แต่แก้ได้เพียงครึ่งเดียว คือครึ่งที่สร้างองค์กรตรวจสอบที่มาจากวุฒิสภา (ซึ่งสมมุติในรัฐธรรมนูญให้ "ไม่การเมือง") ขึ้นหลายองค์กร นับตั้งแต่ศาลรัฐธรรมนูญลงไปถึง กกต., สตง., จนถึง ป.ป.ช.เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งของการทัดทานเสียงข้างมากในรัฐสภาอย่างถูกกฎหมาย เกิดขึ้นจากสังคมเองมาตั้งแต่ก่อนมีรัฐธรรมนูญ 40 แล้ว คือการตั้งองค์กรมหาชนที่เป็นอิสระขึ้น เช่น สกว., สสส., ฯลฯ เป็นต้น และรัฐธรรมนูญก็ได้เสริมเพิ่มเติมเข้าไปเช่น กทช.เป็นต้น

แต่กระบวน การสร้างพลังและอำนาจในการทัดทานตรวจสอบนี้มีอุปสรรคมาก เพราะเป็นอำนาจใหม่ ซึ่งไม่สัมพันธ์กับพลังและอำนาจเก่าซึ่งเคยทัดทานต่อต้านเสียงข้างมากใน รัฐสภามาก่อน จึงทำให้ถูกแทรกแซงจากทั้งฝ่ายการเมืองในระบบ และนอกระบบอย่างหนัก จนกระทั่งส่วนใหญ่ล้มเหลวที่จะทำหน้าที่ของตนอย่างซื่อตรง

ฉะนั้น หากยังต้องการเดินตามวิถีทางสร้างพลังและอำนาจทัดทานอย่างถูกกฎหมายและเป็น ประชาธิปไตยต่อไป จึงต้องมาคิดใหม่ให้ดีว่า จะให้อำนาจนั้นยึดโยงอยู่กับประชาชนต่อไปอย่างไร และจะให้อำนาจใหม่นี้ไม่ถูกแทรกแซงได้อย่างไร โดยมีประชาชนหรือสังคมเป็นเกราะกำบังให้อย่างมีประสิทธิภาพ

อีกครึ่ง หนึ่งที่รัฐธรรมนูญ 2540 ไม่ได้แก้เลยก็คือ จะลดหรือทำลายอำนาจเก่าซึ่งทัดทานเสียงข้างมากในรัฐสภาให้ไม่อาจใช้วิธีการ ที่ผิดกฎหมายและไม่เป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร ขอยกตัวอย่างเช่น แม้บัญญัติให้เป็นสิทธิและหน้าที่ของชาวไทยที่จะต่อต้านการรัฐประหาร แต่ก็ไม่มีบัญญัติใดๆ ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขการจัดองค์กรของกองทัพ เพื่อทำให้กองทัพต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาอย่างเด็ดขาดของพลเรือนที่มา จากการเลือกตั้งเป็นต้น

สร้างอำนาจใหม่ที่ยังอ่อนแอ โดยไม่คุมอำนาจเก่าที่เข้มแข็ง ทำให้เมื่ออำนาจใหม่ไม่ทำงาน เหล่าปัญญาชนและนักวิชาการจำนวนหนึ่ง จึงหันไปหาอำนาจเก่าและยอมรับการแทรกแซงที่ผิดกฎหมายและไม่เป็นประชาธิปไตย อย่างเต็มหัวใจ

นอกจากคนเหล่านี้ไม่เพียงแต่ยอมรับการรัฐประหาร 2549 อย่างยินดีเท่านั้น หลายคนยังออกมาปกป้องการฉีกรัฐธรรมนูญที่ตนมีส่วนร่วมผลักดันด้วย และลึกลงไปในความคิดของเขาก็คือ ไม่มีทางที่จะสู้กับเผด็จการทางรัฐสภาด้วยวิธีอื่น ถึงเลือกตั้งใหม่ก็ไม่มีทางที่จะยุติเผด็จการทางรัฐสภาได้

ผมอยาก เตือนให้ระวังว่า ชัยชนะท่วมท้นของพรรค พท.ในการเลือกตั้ง และการคุมเสียงข้างมากอย่างเด็ดขาดในรัฐสภา ทำให้สถานการณ์กำลังกลับมาคล้ายปี 2549 อีกแล้ว ทั้งๆ ที่รัฐบาลยังบริหารงานไม่ครบเดือนดี นักวิชาการบางกลุ่มก็เริ่มออกมาโจมตีและตั้งสมญาเช่น "ดีแต่โม้" เป็นต้น

ใน ส่วนการสร้างองค์กรและพลังอำนาจในการตรวจสอบทัดทานเสียงข้างมากนั้น เป็นไปได้ว่ารัฐธรรมนูญ 2540 ไม่กล้าสร้างความเข้มแข็งของสังคมอย่างชัดแจ้งนัก ข้อกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้บัญญัติไว้เป็นแค่หลักการ เช่นการทำประชาพิจารณ์โครงการขนาดใหญ่ หรือการกระจายอำนาจและกระจายงบประมาณลงท้องถิ่น ซึ่งในที่สุดก็ถูกเบี้ยวจนไม่เป็นผลในทางปฏิบัติ

แท้จริง แล้ว พลังและอำนาจขององค์กรตรวจสอบต่างๆ จะเป็นผลได้จริง ก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากสังคมที่มีพลังและอำนาจเป็นของตนเอง มากกว่าการโวยผ่านสื่อ เช่นหาก อปท.มีอำนาจร่วมทางกฎหมาย ในการอนุมัติและตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ ย่อมเป็นผลให้โครงการทั้งหลายต้องฟังเสียงประชาชนในพื้นที่มากกว่าข่าวและบท ความในสื่อ การทำรัฐประหารเกิดขึ้นได้ยาก หากรัฐบาลกลางไม่ได้มีอำนาจบริหารรวมศูนย์และเด็ดขาดไปทุกเรื่องดังที่เป็น อยู่ ยึดรัฐบาลปั๊บ ก็ยึดประเทศไทยได้หมด

พลังของสังคมไม่ได้เกิด ขึ้นจากการรับรองสิทธิเพียงอย่างเดียว แต่เกิดขึ้นจากการจัดองค์กรด้วยตนเอง เพราะอำนาจเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติการทางสังคม จะปฏิบัติการได้ก็ต้องจัดองค์กร รัฐไทยในปัจจุบันไม่ได้ขัดขวางการจัดองค์กรของสังคมก็จริง แต่พื้นที่ซึ่งเปิดให้แก่การจัดองค์กรถูกจำกัดให้เป็นพื้นที่ซึ่งไม่ สัมพันธ์กับอำนาจรัฐเท่านั้น (อย่างน้อยก็ไม่สัมพันธ์โดยตรง) ทำให้องค์กรทางสังคมปราศจากพลังและอำนาจในการทัดทานเสียงข้างมากในรัฐสภา

สิ่ง ที่รัฐบาลพรรค พท.ควรเร่งทำก็คือ เปิดพื้นที่ซึ่งสัมพันธ์กับอำนาจรัฐให้แก่องค์กรทางสังคมให้มาก โดยเฉพาะอำนาจในการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นโดยตรง แม้ต้องใช้อำนาจนั้นร่วมกับส่วนกลางก็ตาม แต่ต้องร่วมในสัดส่วนที่มีนัยยะสำคัญ ไม่ใช่ร่วมในเชิงพิธีกรรมอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

นโยบายและการ ดำเนินการของรัฐบาลเสียงข้างมากอย่างเด็ดขาดในสภา จะไม่เป็นนโยบายและการดำเนินการของรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นนโยบายและการดำเนินการที่ร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลและองค์กรทางสังคม ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปทั้งประเทศ โดยวิธีนี้เท่านั้น ที่เสียงข้างมากในรัฐสภาจะไม่ถูกกล่าวหาว่าเป็นเผด็จการทางรัฐสภา อันเป็นช่องทางให้ล้มรัฐบาลด้วยวิธีที่ผิดกฎหมายและไม่เป็นประชาธิปไตย

การ เปิดพื้นที่ให้องค์กรทางสังคมเข้ามาบริหารจัดการทรัพยากร ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมือของส่วนกลาง อาจทำได้โดยไม่ต้องแก้กฎหมายใดๆ ในบางกรณี แต่อีกหลายกรณี จำเป็นต้องแก้กฎหมาย และถึงที่สุดอาจต้องแก้รัฐธรรมนูญซึ่งก็ตรงกับนโยบายของพรรคที่จะเริ่ม กระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว

ดังนั้น พรรค พท.จึงควรเป็นแกนนำในการผลักดันให้สังคมยอมรับว่า พลังและอำนาจขององค์กรสังคมต้องมีพื้นที่ในการบริหารจัดการรัฐด้วย แล้วก็เริ่มลงมือทำในพื้นที่ซึ่งทำได้ก่อนโดยไม่ต้องแก้กฎหมาย (เช่นกระทรวงมหาดไทยขอผลประชามติในท้องที่บางเรื่อง เพื่อประกอบการพิจารณา หรือขอความเห็นขององค์กรทางสังคมในพื้นที่เพื่อประกอบการพิจารณา)

"โม้" เลยครับ แต่ "โม้" เรื่องดีๆ ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิรูปประเทศไทยได้จริง